พระพุทธเจ้า (Buddha) เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า และกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและมีการสร้างพระพุทธเจ้าเพิ่มเติมขึ้นมาจนบางองค์มีลักษณะคล้ายเทพเจ้าของศาสนาฮินดู ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่า พระพุทธเจ้า (พระโคตมพุทธเจ้า) พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสต์กาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล ความหมายของคำว่าพุทธะ ในพระพุทธศาสนา พุทธะ (ภาษาบาลี พุทฺธ แปลว่า "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน") หมายถึงบุคคลผู้ตรัสรู้อริยสัจ 4 แล้วอย่างถ่องแท้ ในชั้นอรรถกถา จำแนกพุทธะออกเป็น 3 จำพวกด้วยกันได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางทีเรียกเพียง "พระพุทธเจ้า" คือบุคคลที่ตรัสรู้ด้วยตนเองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ (พระโคตมพุทธเจ้า) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธะ,อีกอันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า คือบุคคลที่ตรัสรู้ด้วยตนเองแต่จำเพาะผู้เดียว มิได้สอนให้ผู้อื่นรู้ตาม อนุพุทธะ คือบุคคลที่ตรัสรู้เนื่องด้วยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในอรรถกถาบางแห่งจำแนกเป็น 4 ดังนี้ พระสัพพัญญูพุทธะ (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธะ จตุสัจจพุทธะ (สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล) สุตพุทธะ (ผู้เป็นพหูสูตร) คำที่ใช้กล่าวเรียกพระพุทธเจ้า มีหลายคำดังจะกล่าวต่อไปนี้ พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้ที่กำลังบำเพ็ญ บารมี 10 คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตา อุเบกขา และ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อังคีรส หมายถึง ท่านผู้มีรัศมีแผ่ออกมาจากพระกาย สิทธัตถะหมายถึง ท่านผู้ที่มีความเพียรพยายาม เมื่อต้องการสำเร็จ เป้าหมายที่ประสงค์จะทำ พระมหาบุรุษ เป็นคำที่ใช้เรียก พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อีกความหมายหนึ่งคือ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ตถาคต เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระองค์เองมี ความหมาย 8 อย่างคือ พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น พระผู้ตรัสอย่างนั้น พระผู้ทำอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง การเชื่อถือปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต ธรรมกาย หมายถึงท่าน ผู้มีธรรมในกาย ธรรมราชา หมายถึง ท่านผู้เป็นราชาแห่งธรรม ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร หมายถึง ท่านผู้เป็นใหญ่โดยเป็นเจ้าของธรรม ธรรมสามี หมายถึง ท่านผู้เป็นเจ้าของธรรม ธรรมิศราธิบดี หมายถึง ท่านผู้เป็นอธิปดีในธรรม เป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า บรมศาสดา, พระบรมศาสดา หมายถึง ท่านผู้เป็น ศาสดาอันยอดยิ่ง พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าหมายถึง ท่านผู้รู้ดี รู้ชอบ ด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ พระศาสดา หมายถึง ท่านผู้ทรงสอนชนทั้งปวง พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า]], พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า, สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ภควา หมายถึง ท่านผู้เป็นผู้มีโชค หรือ ท่านผู้จำแนกแจกธรรม มหาสมณะ โลกนาถ, พระโลกนาถ หมายถึง พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก สยัมภู, พระสัมภู หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้ได้โดยตนเอง ไม่มีใครมาสั่งสอน สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ท่านผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง พระสุคต, พระสุคโต หมายถึง ท่านผู้เสด็จไปดีแล้ว พระพุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายเถรวาท พระพุทธรูปปางประทับยืน พบที่ปากีสถาน ศิลปะคันธาระสมัยพุทธศตวรรษที่ 5-6 ในพระไตรปิฏกกล่าวว่า ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว 25 พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่ 25 และพระพุทธเจ้าองค์ถัดไปคือพระศรีอารยเมตไตรย ในทัสศนะเถรวาทถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ที่เหนือกว่าคนทั่วไปคือพระองค์พบทางดับทุกข์ได้ด้วยพระองค์เอง และเผยแพร่หนทางนั้นต่อสรรพสัตว์ ทรงเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ เมื่อทรงดับขันธปรินิพพาน คือดับไปโดยไม่เหลือเชื้อใดๆ ผู้จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องทำความดี (บารมี) มาในชาติก่อน ๆ นับชาติไม่ถ้วน (ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระโพธิสัตว์) ประเภทของพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎกจะแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าไว้ดังนี้ การแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าตามวิธีการสร้างบารมี<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>, ปัญญาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี นับแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก ๔ อสงไขยกัป กับอีก ๑๐๐ ๐๐๐ กัป ศรัทธาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี นับแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก ๘ อสงไขยกัป กับอีก ๑๐๐ ๐๐๐ กัป วิริยะพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี นับแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก ๑๖ อสงไขยกัป กับอีก ๑๐๐ ๐๐๐ กัป พระพุทธเจ้าในอดีต ในหลักฐานฝ่ายเถรวาทกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตไว้ 25 พระองค์ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและ พระโคดมพุทธเจ้าทรงได้รับคำพยากรณ์ ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรานิยมนับรวมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน โดยเรียกว่า "พระพุทธเจ้า 25 พระองค์" <TABLE class="" style="WIDTH: 100%; BACKGROUND-COLOR: transparent" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="50%"> พระทีปังกรพุทธเจ้า พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า พระสุมัคละพุทธเจ้า พระสุมนะพุทธเจ้า พระเรวตะพุทธเจ้า พระโสภิตะพุทธเจ้า พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระปทุมะพุทธเจ้า พระนารทะพุทธเจ้า พระปทุมุตตระพุทธเจ้า พระสุเมธะพุทธเจ้า พระสุชาตะพุทธเจ้า พระปิยทัสสีพุทธเจ้า </TD><TD vAlign=top align=left width="50%"> พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า พระสิทธัตถะพุทธเจ้า พระติสสะพุทธเจ้า พระปุสสะพุทธเจ้า พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า พระกกุสันธะพุทธเจ้า พระโกนาคมนะพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) </TD></TR></TBODY></TABLE> หากแบ่งตามกัปป์ โดยการนับอสงไขยในที่นี้ จะนับอสงไขยแรกโดยเริ่มนับจากช่วงเวลาที่ อดีตชาติของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มสร้างบารมี โดยการอธิษฐานในใจต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก จะมีพระพุทธเจ้าในอดีตดังต่อไปนี้ กัปแรกในต้นอสงไขยที่ 17 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์<SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP> พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า พระสรนังกรพุทธเจ้า พระทีปังกรพุทธเจ้า กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 18 เป็นสารกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 19 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ พระสุมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 20 เป็นสารวรกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ สมเด็จพระอโนมทัสสีสัมพุทธเจ้า สมเด้จพระปทุมะสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระนารทะสัมพุทธเจ้า ช่วงเศษแสนมหากัป ของ อสงไขยปัจจุบัน[3] กัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์. บางตำราว่าเป็นมัณฑกัป บางตำราก็ว่าเป็นสารกัป. พระปทุมมุตระพุทธเจ้า สูญกัป (กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น) 30,000 กัป มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสุชาตะสัมมาสัมพุทธเจ้า สูญกัป 60,000 กัป วรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ พระปียทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า สูญกัป 24 กัป สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ พระสิทธัตถะสัมมาสัมพุทธเจ้า สูญกัป 1 กัป มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า สูญกัป 60 กัป มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า สูญกัป 30 กัป กัปปัจจุบัน เป็น ภัทรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ พระกกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้า พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าในอนาคต ในคัมภีร์ทางเถรวาทนั้น ที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอนาคตได้ระบุว่าจะมีทั้งสิ้น 10 พระองค์ ดังนี้ <SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP> พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือพระอชิตเถระ ตรัสรู้ที่ไม้กากะทิง พระชนม์ 8 หมื่นพรรษา พระกายสูง 80 ศอก พระรามสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคืออุตมรามราช ตรัสรู้ที่ไม้แก่นจันทน์แดง พระชนม์ 9 หมื่นพรรษา พระกายสูง 80 ศอก พระธรรมราชสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือพระเจ้าปเสนทิโกศล ตรัสรู้ที่ไม้กากะทิง พระชนม์ 5 หมื่นพรรษา พระกายสูง 16 ศอก พระธรรมสามีสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคืออภิภูเทวราช ตรัสรู้ที่ไม้รังใหญ่ พระชนม์ 1 แสนพรรษา พระกายสูง 80 ศอก พระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคืออสุรินทราหู ตรัสรู้ที่ไม้แก่นจันทน์แดง พระชนม์ 1 หมื่นพรรษา พระกายสูง 20 ศอก พระรังสีมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือจังกีพราหมณ์ ตรัสรู้ที่ไม้ดีปลีใหญ่หรือไม้เลียบ พระชนม์ 5 พันพรรษา พระกายสูง 60 ศอก พระเทวเทพสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือสุภพราหมณ์ ตรัสรู้ที่ไม้จำปา พระชนม์ 8 หมื่นพรรษา พระกายสูง 80 ศอก พระสีหสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือโตเทยยพราหมณ์ ตรัสรู้ที่ไม้แคฝอย พระชนม์ 80 พรรษา พระกายสูง 60 ศอก พระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือช้างนาฬาคีรี ตรัสรู้ที่ไม้ไทร พระชนม์ 8 หมื่นพรรษา พระกายสูง 80 ศอก พระสุมังคลสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลคือช้างปาลิไลยกะ ตรัสรู้ที่ไม้กากะทิง พระชนม์ 1 แสนพรรษา พระกายสูง 60 ศอก พระพุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายมหายาน นิกายมหายานยอมรับพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์ฝ่ายเถรวาททั้งหมดและยังสร้างพระพุทธเจ้าอีกมากมาย ทั้งที่เป็นมนุษย์และมีสถานะเหมือนเทพเจ้าในศาสนาฮินดู นิกายมหายานเชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไม่ดับสูญแต่ไปประทับ ณ พุทธเกษตรซึ่งเป็นดินแดนที่งดงามกว่าสวรรค์ พระพุทธเจ้าตามคติมหายานแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ อาทิพุทธะ ถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่อุบัติมาพร้อมกับโลกและประทับอยู่กับโลกเป็นนิรันดร์ มีบทบาทคล้ายพระพรหมในศาสนาฮินดูที่เป็นผู้สร้างโลกและจักรวาล พระมานุสสพุทธะ เป็นพระพุทธเจ้าที่อวตารมาจากอาทิพุทธะมาเกิดในโลกมนุษย์และบำเพ็ญเพียรในฐานะพระโพธิสัตว์จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อปรินิพพานแล้วจะไปอยู่กับอาทิพุทธะ คล้ายกับคติของศาสนาฮินดูที่เมื่อทำความดีถึงขั้นสูงสุดจะกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของมหาพรหม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจจุบัน ทางมหายานเรียกว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้า เป็นพระมานุสสพุทธะด้วยเช่นกัน พระธยานิพุทธะ เป็นพุทธะที่อวตารมาจากอาทิพุทธะเช่นกันแต่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌาน (ธยาน) ของอาทิพุทธะไม่ได้ผ่านการบำเพ็ญเพียรในโลกมนุษย์ พุทธะเหล่านี้ประทับบนสวรรค์ ในสภาวะกายทิพย์ มีเฉพาะพระโพธิสัตว์ที่มองเห็นได้ พระพุทธเจ้าอื่นๆ เช่น พระสัทธรรมวิทยาตถาคต พระไภษัชยคุรุทั้ง 7 พระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต พระประภูตรัตนะ จำนวนของพระพุทธเจ้า ในคัมภีร์ของทางมหายานนั้นได้ระบุนามของพระพุทะเจ้าไว้เป็นจำนวนมาก มีทั้งพระพุทธเจ้า 35 พระองค์ พระพุทธเจ้า 53 พระองค์ และที่มากที่สุดคือพระพุทธเจ้า 3,000 พระองค์ โดยแบ่งเป็น <SUP class=reference id=cite_ref-3>[4]</SUP> พระพุทธเจ้าในกัปป์อดีตซึ่งระบุนามไว้ในคัมภีร์อดีตสมัยอลังการกัลป์สหัสพุทธนามสูตร 1,000 พระองค์ เริ่มจากพระปุณฑริกประภาพุทธเจ้าเป็นองค์แรกจนถึงพระเวศภูพุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้าย พระพุทธเจ้าในกัปป์ปัจจุบันซึ่งระบุนามไว้ในคัมภีร์ปัจจุบันสมัยภัทรกัลป์สหัสพุทธนามสูตร 1,000 พระองค์ เริ่มจากพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นองค์แรกจนถึงพระรุจิพุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้าย ซึ่งพระรุจิพุทธเจ้านี้ปัจจุบันคือพระเวทโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าในกัปป์อนาคตซึ่งระบุนามไว้ในคัมภีร์อนาคตสมัยนักษัตรกัลป์สหัสพุทธนามสูตร 1,000 พระองค์ เริ่มจากพระสูรยประภาพุทธเจ้าเป็นองค์แรกจนถึงพระสุเมรุลักษณ์พุทธเจ้าเป็นองค์สุดท้าย อ้างอิง <LI id=cite_note-0>^ [1] <LI id=cite_note-1>^ [2] <LI id=cite_note-2>^ ประชุมพงศาวดารฉบับราษฏร์ ภาค 3 อนาคตวงศ์. กทม. อมรินทร์วิชาการ. 2542 ^ ภิกษุจีนวิศวภัทร. พระพุทธเจ้าและพระธรรมสูตรฝ่ายมหายาน. กทม. หมื่นคุณธรรมสถาน.2549 ประสงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม. โอเดียนสโตร์. 2548 พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์". พระพุทธเจ้า ในสายตานักปราชญ์โลก ลานธรรม : พุทธประวัติ ธรรมะไทย : พระพุทธเจ้า 25 พระองค์ ที่พระโคดมพุทธเจ้าทรงพบ พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 พุทธวงศ์ อรรถกถา อัปปฏิวัทิตสูตร เถราปทาน พุทธวรรค ปัจเจกพุทธาปทาน <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 112/1000000Post-expand include size: 3828/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes#ifexist count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwikicache:idhash:673-0!1!0!!th!2 and timestamp 20080322172332 -->
<DD>3. กระทิง Calophyllum inophyllum Linn. <DD>วงศ์ Guttiferae <DD>ชื่ออื่น กระทิง, กากะทิง (ภาคกลาง), สารภีแนน (ภาคเหนือ), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีทะเล (ประจวบฯ) <DD>ชื่อสามัญ Alexandrian Laurel, Borneo Mahogany <DD>กระทิงเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 5-12 เมตร เรือนยอดแผ่เป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 8-15 ซม. ใบคล้ายใบสารภีแต่กว้างกว่า ปลายกลมหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบ เส้นใบถี่และขนานกัน ใบมียางสีขาว ดอกสีขาว กลิ่นหอมคล้ายกลิ่นสารภี ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอก 5-6 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. เกสรเพศผู้สีเหลืองมีจำนวนมาก ผลรูปกลมสีเขียวขนาดประมาณ 2 ซม. เมื่อผลแก่จะแห้ง ผิวย่น มีสีน้ำตาล สามารถปลูกได้ทั่วไป มีเขตการกระจายพันธุ์แถบป่าชายทะเล และตามป่าชื้นทั่วไปที่สูงจากระดับน้ำทะเล 5-50 เมตร <DD>แก่นไม้มีสีน้ำตาลอมแดง มักมีเส้นสีแก่กว่าสีพื้นหนักปานกลาง ใช้ในน้ำได้ทนทาน เลื่อยไสกบ ตกแต่งไม่ยาก ไม้ใช้ทำเรือ กระดูกงูเรือ สร้างบ้านเรือน ทำตู้ น้ำมันที่ได้จากเมล็ดใช้จุดตะเกียง ผสมทำเครื่องสำอาง ในสรรพคุณยาไทยใช้ใบสดขยำแช่น้ำเอาน้ำล้างตา แก้ตาฝ้า ตามัว ตาแดง น้ำมันใช้ทาถูนวด แก้ปวดข้อ เคล็ด บวม ดอกปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ <DD>กากทิงค์ คือพรรณไม้ตรัสรู้ของพระศรีอาริยเมตไตรย <DD>ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 84 ของ ส.ธรรมภักดี กล่าวว่า พรรณไม้ที่ชื่อบาลีว่า กากทิงค์ จะเป็นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า นามว่าพระศรีอาริยเมตไตรย บางท้องที่ในภาคกลาง เรียกกระทิงว่า กากะทิง <DD>กะลาจากผลกระทิงใช้หยอดขนมครก <DD>คนบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ใช้กะลาของผลกระทิงมาตักแป้งหยอดขนมครก โดยนำมาทำเป็นกระบวยแล้วใช้ไม้สักทำด้าม จะทำให้ได้ขนมครกที่ไม่หนาจนเกินไป และมีความกรอบพอเหมาะ โดยจะหยอดแป้งโรยไปตามขอบ ๆ หรือเทลงแล้วเอาก้นกระบวยเกลี่ยแป้งไปตามขอบ ประมาณปี พ.ศ. 2490-2495 มีขนมครกที่หยอดด้วยกระบวยกระทิงขายหน้าวัดมหาธาตุฯ ในกรุงเทพมหานคร (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคล) refer : http://www.ku.ac.th/e-magazine/november45/agri/flower.html </DD>
นี่แหละความรุ้จริงๆเลยเรื่องพระพุทธเจ้า ไม่มีปั่นแต่ง ไม่ใช่ว่าอ้างนุ่นอ้างนี่ว่าคนนุ้นเป็นคนนี้เป็น(ในเวปเห็นเยอะกันจัง) อนุโมทนาสาธุ
อะระหังสัมมาสัมพุทโธภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว อิเมหิสักกาเรหิตังภะคะวันตังอภิปูชะยามิ ข้าพเจ้าบูชาซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ เคยได้ยินกันบ้างมั้ยครับนี่คือส่วนหนึ่งของบทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ที่ไชยาใช้กันครับ
พระพุทธเจ้า ท่านสอนไว้ว่า อย่าเชื่ออะไรโดยที่ยังไม่ได้พิจารณา ใช้วิจารณญานในการรับฟังและรับรู้ ก่อนที่จะศรัทธา หรือเชื่อในสิ่งนั้นๆ อย่าหลงอย่าเชื่อโดยงมงาย