พระดี พิธีใหญ่ รับประกันแท้ทุกรายการ!!! เชิญชม บูชา ในกระทู้ได้เลยครับ"

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย HMMAmulet626, 4 กุมภาพันธ์ 2022.

  1. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    สวัสดียามเช้าครับ
     
  2. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1825.อริยสงฆ์แห่งภาคตะวันออก พระผงรูปเหมือน หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง จ.ระยอง ปี พ.ศ.2513 บล็อคด้านหลังเขากระโดน (หายาก) ให้บูชา 650 บาท


    upload_2023-5-22_10-24-12.png

    พระรุ่นนี้สร้างโดยท่านหลวงพ่อประจักษ์ อุปติสฺโส อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาบ่อทอง ได้นำมวลสารศักดิ์สิทธิ์หลายอย่างของหลวงพ่อโต ซึ่งมีเหลือเก็บไว้หลังจากที่ท่านได้มรณะภาพผสมลงไปในเนื้อพระ แล้วเสร็จจึงได้จัดพิธีปลุกเสกใหญ่โดยมี
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,
    หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่,
    หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก,
    หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า,
    หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า,
    หลวงพ่อบุญ วัดบ้านนา ฯลฯ
    และพระเกจิมาร่วมปลุกเสกอีกหลายรูป
    โดยมีพิมพ์พระสมเด็จปรกโพธิ์ฝังพลอยหลังรูปเหมือน และพระผงรูปเหมือน รายได้สมทบทุนขุดเจาะน้ำบาดาลและสร้างศาลา จากนั้นพระชุดนี้ก็ถูกจ่ายแจกเรื่อยไปจากผู้มาร่วมบุญ ตราบจนกระทั่งงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อโต เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2519 หลวงพ่อประจักษ์ท่านจึงได้นำพระส่วนที่เหลือออกแจกจ่ายแก่ศิษย์ที่มาร่วมงาน (โดยพระชุดนี้บางท่านเข้าใจกันว่าสร้างปี 2519)
    โดยพบว่ามีอยู่สองบล็อคคือ
    วัดเขาบ่อทอง
    และวัดเขากะโดน (ซึ่งพบเจอน้อยกว่า)
     
  3. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1826. พระปิดตาหลวงพ่อแพ รุ่นจงอางศึก ปี 2514 เนื้อผงใบลาน วัดพิกุลทอง จ. สิงห์บุรี ให้บูชา 750 บาท


    upload_2023-5-22_10-39-29.png

    upload_2023-5-22_10-42-43.png


    การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อแพนั้น ท่านมิได้เน้นเรื่องความสวยงาม หากแต่เน้นไปในเรื่องของความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลนั้น ๆ โดยท่านจะพิถีพิถันในการปลุกเสก ทั้งวิชาอาคม ทั้งอำนาจจิต เพื่อให้เกิดความแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง และด้วยพลังบริสุทธิ์ดังกล่าว จึงทำให้วัตถุมงคลของหลวงพ่อแพรุ่นต่าง ๆ มีประสบการณ์อภินิหารมากมาย สืบสานยาวนานมาจนทุกวันนี้

    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงพ่อแพได้สร้างพระสมเด็จเนื้อผงรุ่นหนึ่งขึ้นมาหลายพิมพ์ กล่าวกันว่า พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพสร้างขึ้น มีอานุภาพด้านพุทธคุณ ไม่ได้เป็นรองพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง แม้แต่น้อย ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากหลวงพ่อแพท่านมีศรัทธาในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เป็นอย่างมาก

    ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อแพจึงได้สร้างพระสมเด็จขึ้น โดยยึดถือแนวทางการสร้างวัตถุมงคลชุดพระสมเด็จของสมเด็จโตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหลักใหญ่หลวงพ่อแพท่านได้ลบผง เรียกว่า ผงวิเศษห้าประการ เป็นผงหลักในการสร้างพระสมเด็จ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห และ ผงพุทธคุณ โดยเฉพาะผงพุทธคุณนั้น ท่านเขียนและลบด้วยพระคาถาชินบัญชร เพื่อใช้เป็นส่วนผสมอีกด้วย

    นอกจากผงวิเศษห้าประการแล้ว ยังมีผงอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ผงบดจากหนังสือ ๗ ตำนาน, ผงยันต์ในคัมภีร์ต่าง ๆ เป็นต้น
    ในการทำผงแต่ละอย่างนั้น มีเคล็ดลับที่หลวงพ่อแพถือปฏิบัติคือ รักษาความสะอาดบริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก, ตั้งจิตสงบเป็นสมาธิจดจ่ออยู่กับคาถาอาคม และอักขระต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริกรรมภาวนา ต้องแม่นยำ ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพจัดสร้างขึ้น จึงมีพุทธานุภาพทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เยี่ยมยอดทุกรุ่น ทุกแบบพิมพ์

    หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ท่านสร้างพระไว้มาก ถ้าจะประเมินกันอย่างคร่าว ๆ ก็คงไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ แบบพิมพ์เป็นอย่างต่ำ แต่ที่นิยมแพร่หลายนั้น ส่วนมากจะเป็นเนื้อผง เช่น พระสมเด็จ พระนางพญา พระรอด พระปิดตา พระลีลาทุ่งเศรษฐี พระสิวลี พระสังกัจจายน์ พระขุนแผน พระผงรูปเหมือน นางกวัก ฯลฯ ซึ่งลูกศิษย์ลูกหา ญาติโยม ต่างก็เชื่อว่า มีพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยม, แคล้วคลาด อุดมด้วยลาภผล โภคทรัพย์พูลทวี ซึ่งก็คือ คำอวยพรของท่าน

     
  4. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
  5. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1827. พระนางพญา วัดพระแท่นดงรัง กาญจนบุรี เนื้อชินตะกั่วเก่าพื้นวิหารพระแท่น ปิดรายการครับ



    upload_2023-5-23_10-36-10.png


    upload_2023-5-23_10-37-30.png

    พระแท่นดงรังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่พระภิกษุสงฆ์และนักปฏิบัติทั้งหลาย ในพระพุทธศาสนา เดินทางมาสักการะบูชา สวดมนต์และปฏิบัติบูชา เป็นประจำต่อเนื่องกันหลายร้อยปี

    แผ่นตะกั่วเก่าที่เคยปูพื้นพระแท่นได้ถูกรื้อเมื่อปฏิสังขรและนำเอามาปั๊มสร้างเป็นพระพิมพ์ โดยมีความเชื่อถือกันว่าตะกั่วเป็นวัตถุธาตุที่สามารถดูดซับพลังงานได้ เกจิคณาจารย์จึงนิยมนำแผ่นตะกั่วมาจารอักขระและปลุกเสกทำเป็นตะกรุด ยิ่งมีพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นักปฏิบัติและพระอริยบุคคลในพระศาสนา มาทำการสักการะและปฏิบัติสวดมนต์บูชาสมาธินับองค์ไม่ถ้วนแล้ว รัศมีพลังแห่งความดีย่อมทำให้ตะกั่วนี้กลายเป็นของดีในตัว เมื่อนำมาสร้างวัตถุมงคลพระย่อมคุ้มครองมีพลังคุ้มครองได้ตามความเชื่อ
    องค์นี้เป็นพระนางพญาที่ปั๊มด้วยตะกั่วกรุเก่าจากแท่นดงรัง ทรงสามเหลี่ยม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2023
  6. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1828. พระจักรพรรดิ์สุวัณณภูมิ ด้านหลัง ฝังเหล็กไหลวัชรธาตุ ของดีจาก กองทุนหลวงปู่ปาน ปิดรายการครับ


    upload_2023-5-23_10-42-59.png

    upload_2023-5-23_10-46-47.png

    พระผงสมเด็จองค์ปฐม (สมเด็จพระพุทธสิขี ที่ ๑) "พระจักรพรรดิ์สุวัณณภูมิ" ผู้มีอิทธิฤทธิ์และบุญฤทธิ์แห่งแผ่นดินทอง ของกองทุนหลวงปู่ปาน

    1. พุทธาภิเษกเสาร์ ๕ วันที่ 12 มีนาคม 2559 ที่วัดท่าซุงงานพุทธาภิเษกและเป่ายันต์เกราะเพชรได้เข้าพิธีเป็นที่เรียบร้อย แก้วจักรพรรดิ์ สมบัติพ่อให้ แก้วจักรพรรดิ์ประจำองค์พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง ซึ่งเป็นแก้วกายสิทธิ์ที่ใช้เลี้ยงเมืองเมื่อครั้งอดีตชาติของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ แก้วจักรพรรดิ์นี้จะถูกนำมาตั้งเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกทุกครั้งนับตั้งแต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังทรงธาตุขันธ์ และจะนำน้ำอบสรงผ่านแก้วจักรพรรดิ์นี้ไปยังกองวัตถุมงคลต่างๆที่เข้าพิธี
    ซึ่งในวันเสาร์ที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙ เป็นวันเสาร์ ๕ เป็นที่รู้กันในหมู่ลูกหลานวัดท่าซุง ว่าจะมีการพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ในการนี้พระเดชพระคุณพระภาวนากิจวิมลได้เชิญแก้วจักรพรรดิ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อตั้งเป็นประธานในพิธี ซึ่งในการนี้คณะทำงานกองทุนหลวงปู่ปาน โสนันโท ได้นำวัตถุมงคลเหรียญสมเด็จองค์ปฐม "พระจักรพรรดิ์สุวัณณภูมิ" ซึ่งได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณพระภาวนากิจวิมลได้นำน้ำอบสรงผ่านลูกแก้วจักพรรดิ์ ไปยังกองวัตถุมงคลทั้งหมดเพื่อความเป็นศิริมงคล และยังเมตตานำน้ำอบสรงผ่านลูกแก้วรดศีรษะของคณะทำงานกองทุนหลวงปู่ปาน โสนันโท นำความชุ่มชื่นใจมาสู่หมู่คณะ ซึ่งในวันนั้นอากาศก่อนเริ่มพิธีได้อบอ้าวมากฟ้าคื้มเหมือนฝนจะตกแต่แล้วเมื่อเข้าสู่ช่วงพิธี เกิดมีลมพัดเย็น แดดพอออกให้มีแสง เกิดพระอาทิตย์ทรงกรดในพิธี จะเป็นเพราะธรรมชาติหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่สำหรับเราคณะทำงานกองทุนหลวงปู่ปาน โสนันโท ถือว่าได้รับพระพุทธบารมีและพุทธเมตตาจากพระใหญ่ที่ท่านสงเคราะห์หมู่คณะและเหรียญสมเด็จองค์ปฐม"พระจักรพรรดิ สุวัณณภูมิ"

    2.พิธีวาระ 2

    ปลุกเสกวาระ 2 หลวงพ่อหนุน ร่วมปลุกเสกด้วยครับ !!!!!!!!!!
    วันเสาร์ ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙
    เวลา ๑๖.๐๙ น. พิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์
    เวลา ๑๗.๔๙ น. พิธีจุดเทียนชัย โดยพระเดชพระคุณพระพรหมเวที เจ้าคณะภาค ๑๕ เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร นั่งปรกอธิษฐานจิตเป็นปฐมฤกษ์ ร่วมกับพระเดชพระคุณพระเทพญาณมงคล วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    เวลา ๑๙.๐๙ น. พิธีบวงสรวงท้าวมหาราช เริ่มพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ระลึก ตามแบบฉบับพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง โดยมีพระเดชพระคุณพระครูวิชัยสารคุณ (หลวงพ่อหนุน) วัดพุทธโมกข์ เป็นประธาน
    รายนามพระมหาเถรานุเถระ พระเถรานุเถระ อธิษฐานจิต วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จองค์ปฐม "พระจักรพรรดิ์สุวัณณภูมิ"
    -พระพรหมเวที
    เจ้าคณะภาค ๑๕ เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม
    -พระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี
    -พระครูวิชัยสารคุณ (หลวงพ่อหนุน)
    วัดพุทธโมกข์ จ.สกลนคร
    -พระครูพิพัฒนศีลาจารย์
    วัดสิรินธรเทพรัตนาราม จ.นครปฐม
    -พระครูสุวัฒนธรรมคุณ
    วัดโพธิ์ตะควร จ.สุพรรณบุรี
    -พระครูปลัดพิจารย์ วิจารโณ
    วัดโพธิผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
    -พระครูวิลาสสรคุณ
    วัดพุทธโมกข์ จ.สกลนคร
    -พระอธิการบัญญัติ อตุโล
    วัดพระราชพรหมยานรังสรรค์ จ.เพชรบุรี
    -พระครูสมุห์อภิสิทธิ์ อภิญาโณ
    วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร
    -พระปลัดสมพร สมวโร
    สำนักป่าพระธรรมญาณมุนี จ.นครปฐม
    -พระปลัดประวิทย์ ฐิตวีโร
    วัดประเสริฐสุทธาวาส กรุงเทพมหานคร
    -พระอาจารย์ธนัญชัย ญาณวโร
    วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต กรุงเทพมหานคร

    *ด้านหน้า*
    ได้อัญเชิญรูปสมเด็จองค์ปฐมแบบพระพุทธชินราชที่สมเด็จท่านมาปรากฏภาพให้หลวงพ่อพระราชพรหมยานและได้สร้างไว้เป็นที่สักการะจนถึงทุกวันนี้และเป็นต้นแบบการสร้างสมเด็จองค์ปฐมสืบมา ด้านข้างทั้งสองประดิษฐานรูปพระพรหมและพระนารายณ์ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้าเป็นครูของพรหมเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้านล่างมีพระอสุรินทราหู หมายถึง พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีสมเด็จองค์ปฐมทรงอยู่เหนืออวิชาทรงสั่งสอนจำแนกธรรมและสัตว์ ได้อย่างแจ่มแจ้ง และหมายถึงการสลายอวมงคลแห่งพลังงานวิบากของกรรม ด้านบน อัญเชิญพระนามสมเด็จองค์ปฐม นามพระพุทธสิขี๑เป็นอักษรขอม รูปแบบทั้งหมด สถิตในเหรียญรูปไข่

    *ด้านหลัง*
    ได้อัญเชิญ ยันต์ท้าวมหาพรหม ซี่งเป็นยันต์ที่หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระใช้ประทับหลังวัตถุมงคลมีพุทธคุณนานาประการในทุกๆด้านเน้นเรื่องกำจัดอุปสรรคและอวมงคล ต่างๆรวมถึงส่งผลเรื่องมหามงคล มหาลาภ แก่ผู้สักการะบูชาและเคารพในพระไตรสรณคมน์ ล้อมอักขระขอม พรหมา จะ, มหาเทวา,สัพเพยักขา,ปะลา ยันติ ซึ่งเป็นคาถาปัดอุปสรรค ด้านซ้าย-ขวา-บนของยันต์มหาพรหม ลงอักขระขอมหัวใจคาถาที่หลวงปู่ปานใช้และตกทอดถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ คือ มะ อะ อุ ใต้คำว่าสัพเพยักขามีคำว่าสัมปะติฉามิ คาถาที่ลงล้อมในวงไข่ลงด้วยพุทธคาถาคาถาคือ มหาวิชโย โหหิ อะสังวาโส และพระคาถาท้าวมหาราชคือ สัมมา สัมพุทธัสสะ พระอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ซึ่งคาถาเหล่านี้เป็นธรรมสมบัติที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯให้กับพุทธบริษัทที่มีความเคารพในพระไตรสรณคมน์ ซึ่งมาพุทธาคุณตามแต่ผู้เคารพจะอธิษฐาน และในด้านหลังนี้ได้จารึกคำว่า กองทุนหลวงปู่ปานฯ ๕๙ เป็นสัญญาลักษณ์มีแต้มเนื้อพิเศษ 173สุปฏิปันโนและเกศาหลวงพ่อพระราชพรหมยาน,เกศาครูบาวงศ์,เกศาหลวงปู่ดู่ตรงกลางยันต์ท้าวมหาพรหมตรงองค์เพื่อเป็นอาจาริยะบูชา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2023
  7. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1829.พระเกจิเรืองวิทยาคม สืบสายหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ ให้บูชา 2450 บาท



    upload_2023-5-23_11-43-10.png

    เหรียญพระครูธรรมาภิราม เป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อบุญธรรม ธมฺมาราโม ที่จัดสร้างขึ้นในปี ๒๔๙๖ เพื่อเป็นที่ระลึกในการฉลองสมณศักดิ์ที่ "พระครูธรรมาภิราม" หลวงพ่อบุญธรรม ธมฺมาราโม เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค มีความเชี่ยวชาญในสรรพวิชาต่างๆ หลายด้าน ที่โดดเด่นที่สุด คือ "ยันต์เกราะเพชร" และแพทย์แผนไทย
    หลวงพ่อบุญธรรม ธมฺมาธาโม บรรพชาเป็นสมาเณรเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุครั้งแรกตอนอายุครบบวช หลังจากนั้นลาสิกขาบทไปใช้ชีวิตแบบฆราวาสทั่วไป กระทั่งปี ๒๔๗๕ จึงได้อุปสมบทครั้งที่สองที่วัดพระปฐมเจดีย์โดยมีท่านเจ้าคุณฯโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านเป็นกำลังสำคัญของวัดพระปฐมเจดีย์ในการพัฒนา/สร้างสรรค์ศาสนประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกมากมาย ในด้านพระเครื่องและวัตถุมงคล หลวงพ่อบุญธรรม ธมฺมาราโม ได้จัดสร้างพระผงและเหรียญรูปเหมือนของท่านหลายรุ่น เล่าสืบต่อกันมาว่าพระเครื่องของหลวงพ่อบุญธรรม ธมฺมาราโม มีพลานุภาพโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดนิรันตราย หากไม่สามารถหาพระหลวงพ่อปาน นานันโท ได้ ก็สามารถใช้พระของหลวงพ่อบุญธรรม ธมฺมาราโม แทนได้


    หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์
    (ท่านเจ้าคุณ “พระปฐมเจติยาทร”)
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านให้ความเคารพนับถืออีกองค์หนึ่งและหลวงพ่อเคยเขียนเรื่องของท่านไว้ในหนังสือเรื่องจริงอิงนิทาน
    วิธีสร้างพระของพระปฐมเจติยาทร หรือหลวงพ่อบุญธรรม ท่านสร้างตามแบบฉบับตำรับพิธีสมัยโบราณ คือ สร้างเนื้อเอง กดพิมพ์เอง ปลุกเสกเอง ในกุฏิที่ท่านพักอาศัยอยู่ ท่านจะไม่ยอมทำนอกวัดเหมือนการสร้างพระในปัจจุบัน โดยท่านจะเริ่มต้นตั้งแต่สร้างผงวิเศษด้วยการเขียนอักขระยันต์คาถาลงบนแผ่นกระดานดำด้วยดินสอพองกำหนดจิตเขียนทีละตัวจนครบสูตรของท่าน แล้วลบออกเก็บผงเลขยันต์ไว้ทำผงวิเศษ (เขียนแล้วก็ลบกระทั่งได้ผงตามที่ต้องการ) ในตัวยันต์ที่เขียนนั้นจะต้องมียันต์สำคัญของอาจารย์ท่าน เช่น ยันต์เกราะเพชร ที่ท่านร่ำเรียนถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อปาน อยุธยา เลขยันต์ของท่านเจ้าคุณธรรมวโรดม (โชติ) พระอุปัชฌาย์ของท่านเป็นต้น ขั้นตอนต่อไปท่านใช้หัวว่าน ๑๐๘ ชนิดมา บดให้เป็นผงละเอียดรวมทั้งผงธูปหน้าพระประธานในพระอุโบสถและรอบ ๆ องค์พระปฐมเจดีย์ทั้ง ๔ ทิศ ผงธูปที่ท่านจุดบูชาพระอาจารย์ นำมาผสมรวมกับน้ำมนต์ตั้งอิ้วเมื่อเข้ากันดีแล้วได้ฤกษ์ดีแล้ว ท่านก็นำเนื้อนี้ลงแม่พิมพ์กดเป็นรูปพิมพ์พระตามพุทธลักษณะต่าง ๆ คือ พิมพ์พระสมเด็จปางสมาธิ ฐานสามชั้น ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ พระสมเด็จแบบพระพุทธกวัก พระพิมพ์พระนางพญา พิมพ์พระพุทธโสธร ลักษณะรูปสามเหลี่ยม ฯลฯ ที่ด้านหลังจะกดด้วยตัวอักษร “ธ” จมลงในเนื้อหมายความว่า “หลวงพ่อบุญธรรม” (ถ้าท่านผู้อ่านไม่มีพระเนื้อดินของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จะใช้พระผงของหลวงพ่อบุญธรรม แทนรับรองพุทธคุณไม่แพ้กัน เพราะสร้างตามแบตำราเดียวกัน )
    นอกจากพระเครื่องเนื้อผง ท่านยังได้ทำสิ่งมงคลสำหรับบูชาประจำบ้านเรือนที่ลูกศิษย์นิยมกันมากในสมัยนั้นคือ ผ้ายันต์ประจำบ้านเรือนหรือโรงงานป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ผ้ายันต์สามเหลี่ยมชายธงที่หลวงพ่อสักอักขระเลขยันต์ด้วยลายมือท่านเอง ทางด้านเมตตามหานิยมก็มี สาลิกา และเทียนสีผึ้งสำหรับทาริมฝีปาก เพื่อความมีเสน่ห์ในการเข้าหาพบปะผู้ใหญ่ เป็นต้น ส่วนบทพระคาถาต่าง ๆ ที่ลูกศิษย์ลูกหาเรียนไป เพื่อไว้อธิษฐานใช้ประจำตัวนั้น ผู้ที่นำไปใช้ห้ามลักขโมย ไม่ให้ปล้น ไม่ให้ดื่มเหล้า จึงจะมีคุณต่าง ๆ ตามความประสงค์
    ในช่วงที่หลวงพ่อบุญธรรมท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านยังได้ทำเหรียญเนื้อโลหะรูปเหมือนของท่านด้วยตามความปรารถนาของบรรดาลูกศิษย์รวม ๓ รุ่น เป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทองทั้งหมด และสิ่งที่จะขาดเสียมิได้นั้นคือการลงจารตัวยันต์เกราะเพชรลงในแผ่นเงิน แผ่นทอง หลอมละลายเป็นชนวนสำคัญในเนื้อเหรียญทั้ง ๓ รุ่น
    สิ่งมงคลวัตถุมงคล และพระเครื่องต่าง ๆ ของหลวงพ่อบุญธรรม เมื่อเวลาท่านนำมาแจกให้แก่ลูกศิษย์ หรือผู้ที่นับถือท่านหลวงพ่อจะเสกเป่าประสิทธิ์ประสาทมอบให้กับมือเองอีกครั้งหนึ่ง และไม่มีการตั้งราคาว่าจะต้องทำบุญองค์ละเท่าไร! เพราะหลวงพ่อท่านถือว่าสร้างขึ้นเพื่อแจก นอกจากว่าท่านที่รับพระเหล่านั้นจะทำบุญเองตามความสมัครใจของแต่ละคน ก็สุดแต่ความศรัทธา ด้านพระพุทธคุณ ของ ๆ ท่านดีเด่นทางเมตตามหานิยม ให้โชค ให้ลาภ แคล้วคลาดจากภัยพิบัติอันตรายใด ๆ ทั้งปวง และโดยเฉพาะในทางมหาเสน่ห์ด้วยแล้วหากปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม นับว่าของของท่านเป็นที่เชื่อถือได้ มีความนิยมกันมากในหมู่บรรดาลูกศิษย์และคนที่ทราบประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อบุญธรรม แต่ในบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องวงนอกอย่างเช่นปัจจุบัน ไม่ทราบทั้งประวัติของท่านและก็ไม่ทราบว่ามีพระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ อยู่ด้วย เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์จึงไม่แพร่หลาย ไม่เหมือนพระที่สร้างขึ้นใหม่ ๆ ที่มีบุคคลในวงการเกี่ยวข้องทุ่มเทลงทุนโฆษณาพุทธคุณและปาฏิหาริย์ ให้คนได้รู้จักกันไปทั่วประเทศและต่างประเทศคล้ายสินค้าทาง...ธุรกิจ
     
  8. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1830.ตะกรุดอะไรน้อ เมตตาดีจัง ตะกรุดพระยาสาริกา ( วัดมะขามแดง) พร้อมซองเดิม ปิดรายการครับ


    upload_2023-5-24_16-32-9.png


    ตะกรุดพระยาสาริกา ( วัดมะขามแดงออกให้บูชาเมื่อ พ.ศ.2556 )
    สุดยอดแห่งวิชามหาเสน่ห์ มหาหลง การเข้าหา การเจรจา ดึงดูดเป็นที่จับจิตจับใจต่อผู้คนทั้งหลายที่ได้พบ แม้นอยู่ไกล ยังคงระลึกนึกถึง เป็นห่วงเสน่ห์หา อยู่เป็นนิจ เป็นศาสตร์วิชาชั้นสูง หาผู้รู้และทำได้จริงนั้นแสนยากในปัจจุบัน ตะกรุดนี้หลวงปู่ได้ตำหรับวิชาจากสองอาจารย์เป็นหลัก องค์แรกคือองค์ครูใหญ่ หลวงพ่อทบ วัดพระพุทธบาทเขาชนแดนประสิทธิ์ให้ วิชานี้สำคัญนัก จะต้องเสกจนเต็มวิชา เพื่อให้เห็นผลทางการ เจรจาค้าขาย ต่อรองราคา เข้าหาลูกค้า เจ้านายผู้ใหญ่ เป็นสำคัญ
    ตำรานี้แม้พกตะกรุดติดตัวอยู่เฉยๆ ก็บังเกิด เป็นสง่า ราศี แก่ตน และเป็นเสน่ห์ ต่อผู้คนทั้งหลาย อีกตำราหนึ่งนั้น สำคัญไม่แพ้กัน หลวงปู่ได้รับวิชานี้ จากฆราวาสชื่อ อาจารย์บุญมา อยู่บ้านน้อยหนองหว้า อยู่ที่เขมรตอนล่าง โด่งดังมากเรื่อง เมตตา มหาเสน่ห์ แม้นอายุใกล้จะ 80 ปี มีภรรยาคนโตของอาจารย์บุญมา อายุประมาณ 70 เศษแล้วตอนนั้น ตอนหลวงปู่ดีไปพบก่อนได้วิชานั้น ฆราวาสผู้นี้มีภรรยาคนล่าสุด ประมาณอายุเพียง 17-18 ปีเท่านั้นเอง แถมวันที่หลวงปู่ได้รับวิชา เฉพาะภรรยาแกที่อยู่ในบ้านวันนั้นรวมกันก็ 5 คนแล้ว อยู่กันอย่างปกติไม่มีทะเลาะเบาะแว้งกันเลย มีแต่ช่วยเหลือดูแลกันและกัน วิชานี้แรงมาก หลวงปู่นำวิชานี้มาลงในตะกรุดอีกด้วย หลวงปู่บอกว่าทำทั้งที ก็ต้องทำให้เต็มที่ ตะกรุดรุ่นนี้ทำไว้โดยเน้นโฉลกให้ เฉพาะเจาะจง สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปใช้เพื่อหวังผล แตกต่างกันเพิ่มขึ้นไปอีก การปลุกเศกนั้นบางคืนหลวงปู่ท่านอาราธนาหลวงปู่ทบองค์ครูใหญ่ของท่าน รวมถึงครูอาจารย์เจ้าของตำราของท่านที่ล่วงลับไปแล้ว หลวงปู่อัญเชิญมาปลุกเสกด้วยเสมอ

    จำนวนการจัดสร้าง
    สีชมพูปิดทองเสริมโฉลกสำหรับผู้ต้องการเน้นให้เป็นเสน่ห์ มหาเมตตา ค้าขาย โชคลาภ เจราต่อรอง อีกทั้งยังเป็นเสน่ห์ดึงดูดเข้ามาหาโดยเฉพาะ สร้าง 500 ดอก ( มีหมายเลขกำกับทุกดอก )

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2023
  9. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,036
    ค่าพลัง:
    +6,937
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  10. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    รับทราบการจองครับ ขอบคุณมากครับ
     
  11. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    พระดีที่น่าบูชา >>>>> พระปิดตา พิมพ์หลังยันต์ นะโภคทรัพย์นูน หลวงพ่อบุญมี วัดโพธิ์สัมพันธ์ จังหวัดชลบุรี ปี ๑๘



    upload_2023-5-25_11-29-14.png

    วัดโพธิสัมพันธ์ ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี วัดโพธิสัมพันธ์
    เป็นวัดที่หลวงพ่อบุญมี อัคถปุณโญ เป็นกำลังสำคัญในการริเริ่มบุกเบิกจัดสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ภายหลังเมื่อท่านได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๗
    พระประสิทธิ์ ประสิทธิโก (ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่ทิม อิสริโก) รักษาการแทน ท่านจึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลในนามหลวงปู่ทิมผู้เป็นอาจารย์ขึ้นมา โดยจัดหามวลสาร ผงพุทธคุณต่างๆ และว่านมงคล พิธีพุทธาภิเษกอันเป็นมงคลจึงเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ตรงกับแรม ๑ ค่ำเดือน ๒ ปีขาล ณ อุโบสถ วัดวัดโพธิสัมพันธ์ ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

    ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้มีคณาจารย์ต่างๆดังต่อไปนี้
    ๑.หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ วัดประดู่ฉิมพลี จ.กรุงเทพฯ
    ๒.หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง
    ๓.หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    ๔.หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
    ๕.หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี
    ๖.หลวงปู่หิน วัดฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
    ๗.หลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว จ.เพชรบุรี
    ๘.หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่าจ. ระยอง
    ๙.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่
    ๑๐.หลวงพ่อเล็ก วัดพยอง จ.อยุธยา
    ๑๑.หลวงพ่อจำลอง วัดราชสิงขร กรุงเทพฯ
    ๑๒.หลวงปู่คำแสน วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่
    ๑๓.หลวงพ่อดู่ วัดหนองใหญ่ จ.ชลบุรี
    ๑๔.พระอาจารย์บุญรอด วัดละหารไร่ จ.ระยอง
    ๑๕.พระอาจารย์หลาย วัดนาจอมเทียน จ.ชลบุรี
    ๑๖.หลวงพ่อลั้ง วัดอัมพาราม จ.ชลบุรี
    ๑๗.หลวงพ่ออินทร์ วัดหนองเกตุใหญ่ จ.ชลบุรี
    ๑๘.หลวงพ่อแฟ้ม วัดอรัญญิกาวาส จ.ชลบุรี
    ๑๙.หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ จ.ชลบุรี

    ในระหว่างพิธีการนั่งปรกปลุกเสกของพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมต่างๆนั้น ได้มีพระภิกษุจากวัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี ได้ทำการเจริญพุทธมนต์สวดพุทธาภิเษกตลอดงานโดยมีหลวงพ่อแฟ้ม เป็นเจ้าพิธี โดยเริ่มพิธีพุทธาภิเษกเวลา ๑๙.๐๐ น. โดยหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่และหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี นั่งปลุกเสกอยู่บนธรรมมาสน์ใกล้กันที่หน้าตรงหน้าพระประธาน ใช้เวลาปลุกเสกอัดพลังกันอย่างเต็มที่อยู่หลายชั่งโมง ในพิธีนี้เองพระอาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่าหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ กับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลีท่านลองวัดพลังกันด้วย ต่างฝ่ายต่างไม่ยิ่งหย่อนต่อกันเลย ขนาดท่านเองที่คิดว่าไม่เป็นรองใครยังต้องถอยออกมาเลย ช่างอัศจรรย์จริงๆ เมื่อพิธีพุทธาภิเษกเสร็จสิ้นลงหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ได้ลุกลงจากธรรมาสน์มากราบนมัสการหลวงปู่ทิม อิสริโก พร้อมกล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า “พระภูธรณ์ นี่เก่งจริงๆ” หลวงปู่ทิมท่านก็กล่าวอย่างอารมณ์ดีตอบว่า “พระกรุงก็ไม่ธรรมดาเลยนี่” ฉะนั้นพระที่ปลุกเสกในพิธีนี้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเห็นรุ่น “เสือพบสิงห์” เลยทีเดียวจึงนับว่าพระชุดนี้เป็นวัตถุมงคลที่ทรงคุณค่ามากๆอีกชุดหนึ่งของหลวงปู่ทิม อิสริโก และหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

    นอกจากนั้นแล้วหลังจากพิธีพุทธาภิเษกเสร็จสิ้นแล้วพระประสิทธิ์ ประสิทธิโก ซึ่งเคารพนับถือหลวงปู่ทิมมากและยังเป็นศิษย์ใกล้ชิด ยังได้นำเอาพระทั้งหมดของวัดโพธิสัมพันธ์ชุดนี้ไปขอให้หลวงปู่ทิม อิสริโกปลุกเสกเดี่ยวให้อีกเป็นเวลายาวนานถึง ๘ เดือน ในปี พ.ศ.๒๕๑๘จนไปรับพระชุดนี้ทั้งหมดคืนในช่วงก่อนที่หลวงปู่ทิม อิสริโก จะไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในวาระสุดท้ายของท่าน
    วัตถุมงคลที่เข้าพิธีพุทธาภิเษกมีดังนี้
    ๑.พระนางพญาฝังตะกรุดสามกษัตริย์
    ๒.พระนางพญาธรรมดา
    ๓.พระนางพญากลีบบัว
    ๔.พระฤาษี
    ๕.เหรียญพระประธาน
    ๖.พระบูชา
    ๗.เหรียญหลวงพ่อบุญมี
    ๘.พระนางพญาพิมพ์ลึก
    ๙.พระนางพญาพิมพ์พื้นเรียบ
    ๑๐.พระปิดตาหลังยันต์
    ๑๑.ล็อกเก็ต ภาพถ่าย
    ๑๒.ตะกรุดสามกษัตริย์
    ๑๓.พระผงพิมพ์พระพุทธชินราช
    ๑๔.เหรียญกลมรูปหลวงปู่ทิม
    ๑๕.ตะกรุดโทน
    ๑๖.ปลัดขิก เป็นต้น

    วัตถุมงคลของวัดโพธิสัมพันธ์ ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จึงเป็นวัตถุมงคลอีกชุดหนึ่งที่หลวงปู่ทิมท่านได้นั่งปลุกเสกติดต่อกันเรื่อยมาเป็นเวลาหลายเดือน
     
  12. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1831. พระผงพิมพ์ขุนแผนเรือนแก้ว สุดยอดมหาเสน่ห์ หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2542 ให้บูชา 699 บาท


    upload_2023-5-25_20-26-22.png

    หลวงพ่อลำใย แห่งวัดทุ่งลาดหญ้า ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ท่านเป็นพระเถระที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา มีกิจวัตรอันประเสริฐยิ่ง ตลอดชีวิตแห่งการดำรงเพศพรหมจรรย์ นับตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณรจวบจนกระทั่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ยาวนานกว่า 60 ปี คุณงามความดีที่ท่านได้สร้างสมไว้แก่พระพุทธศาสนา และสังคมประเทศชาติ มากมาย จนมิอาจจะกล่าวได้หมดในเวลาอันสั้นนับแต่ได้รับภาระเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งลาดหญ้า เป็นเจ้าคณะตำบล เป็นเจ้าคณะอำเภอศรีสวัสดิ์ และเป็นพระอุปัชฌาย์ นอกจากจะพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง ได้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนาแล้ว ท่านยังสร้างวัดและร่วมพัฒนาวัดทั้งในเขตปกครองและนอกเขตปกครองอีกกว่า 200 วัด เป็นประธานหาทุนทรัพย์สร้าง”โบสถ์” “ศาลาการเปรียญ” อีกกว่า 100 วัด สร้าง”โรงเรียน” ทั้งมัธยม-ประถม (รวมที่ดินและอาคารเรียน) กว่า 10 แห่ง (โรงเรียนมัธยมวัดทุ่งลาดหญ้า-หลวงพ่อลำใย อุปถัมภ์ ได้รับการยกระดับเป็นโรงเรียนมัธยมระดับตำบลเป็นแห่งแรกของประเทศไทย) หลวงพ่อสร้าง”สถานีอนามัย”มอบให้แก่ทางราชการทั้งอาคาร และที่ดินนับได้ประมาณ 20 แห่ง ครั้งหลังสุดเพิ่งสร้าง”สถานพยาบาลบ้านพักคนชรา”บนเนื้อที่ราว 70 ไร่ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 100 ล้านบาท มอบให้แก่กรมประชาสงเคราะห์ และห้องสมุดประชาชนกาญจนาภิเษก ต.ลาดหญ้า พร้อมที่ดิน มูลค่ากว่า 20 ล้าน(ที่ดินติดถนนใหญ่) มอบให้แก่กรมการศึกษานอกโรงเรียนหลวงพ่อสร้าง”ระบบประปา”มอบให้แก่หมู่บ้านต่างๆหลายสิบแห่ง และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว ตรงด้านหน้าวัดทุ่งลาดหญ้า มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท และอีกแห่งตรงช่วงที่ผ่านตำบลหนองบัว มูลค่าประมาณ 10 ล้านบาท มอบให้เป็นสาธารณะประโยชน์ ในส่วนของการ”สงเคราะห์”ผู้ยากไร้ หลวงพ่อได้กระทำอย่างต่อเนื่องนับเป็นเวลาหลายสิบปี ท่านเป็นธุระจัดหาข้าวสารอาหารแห้งให้แก่สถานสงเคราะห์คนชราที่ท่านสร้างขึ้น และทุกวันที่ 14 เมษายน หลวงพ่อจะจัดงานเทกระจาด แจกข้าวสารอาหารแห้ง รวมถึงเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นแก่ผู้ยากไร้ เป็นงานประจำปีที่วัดทุ่งลาดหญ้าในเขตปกครองของท่าน คืออำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งเป็นอำเภอติดชายแดน มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้ง มอญ กระเหรี่ยง และกระหร่าง เป็นอำเภอที่ทุระกันดานมาก ในช่วงเข้าพรรษา ท่านก็จะนำข้าวสารอาหารแห้ง รวมถึงสิ่งของจำเป็น ไปแจกจ่ายแก่พระสงฆ์ตามวัดต่างๆอย่างทั่วถึงนับเป็นรัอยวัด ทำให้เขตปกครองของท่านมีความสงบเรียบร้อยมาก ซึ่งเป็นผลดีต่อบ้านเมืองจากผลงานและจริยาวัตรอันประเสริฐของท่าน ทำให้ท่านได้การยกย่องเชิดชูจากสถาบันต่างๆมากมาย รวมถึงได้รับพระราชทาน”เสมาธรรมจักร”ในฐานะ”คนดีศรีสังคม”จากสมเด็จพระเทพฯ โครงการที่ท่านกำลังดำเนินงานอยู่ในขณะนี้ คือการสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ภายในบริเวณวัดทุ่งลาดหญ้า ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน น่าเสียดายที่ท่านด่วนจากไป ด้วยความดีอันมากล้นของหลวงพ่อ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระมงคลสิทธิคุณ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2539 คนๆหนึ่ง พระสงฆ์รูปหนึ่ง เกิดมามีชีวิตที่ไม่สูญเปล่า สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมประเทศชาติมากมาย ตลอดชีวิตของท่านมีแต่การให้และการเสียสละโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากกายใดๆ ท่านได้ทำหน้าที่"พระสงฆ์" ที่สมควรกราบไหว้จนถึงนาทีสุดท้ายแห่งชีวิต สมควรที่เราทั้งหลายจะยกย่องเชิดชูให้เป็น " ปูชนียบุคคลอันประเสริฐ
     
  13. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1832.สุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชา ‘กระสุนคด’ พระเครื่อง ‘ว่านยา’ ของท่านรักษาพิษงูได้ พระเนื้อผงยา หลวงพ่อชื่น วัดป่ามุณี อ่างทอง พิมพ์สมเด็จฐานผ้าทิพย์ ให้บูชา 2350 บาท


    upload_2023-5-26_10-40-32.png

    upload_2023-5-26_10-40-38.png


    วัดป่ามุนี มีพระเครื่องเนื้อผงผสมว่านยาที่หลวงพ่อชื่น อดีตเจ้าอาวาสวัดได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยประมาณ แล้วบรรจุเก็บไว้บนเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินเขียว เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เหตุที่พบพระผงว่านยาของหลวงพ่อชื่นเพราะการรื้อกุฏิหลวงพ่อเพชรออกเพื่อสร้างกำแพงแก้ว และอัญเชิญหลวงพ่อเพชรไปประดิษฐานหน้าหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ซึ่งเป็นพระปูนปั้นสมัยอยุธยา
    วัดป่ามุนีแห่งนี้มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ‘วัดป่าโพธิ์ทอง’ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง หากแต่ไม่มีปรากฏหลักฐานความเป็นมาแต่เดิม ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าว่าครั้งปู่ย่าตาทวดก็เห็นวัดนี้มาแล้ว ซึ่งสังเกตจากถวรวัตถุและเสนาสนะของวัดสันนิษฐานได้ว่าได้สร้างขึ้นมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา
    อย่างไรก็ตามวัดป่ามุนีมีอดีตเจ้าอาวาสรูปหนึ่งชื่อ หลวงพ่อชื่น อินฺทชิต ที่มีชื่อเสียงกระเดื่องนามในอดีต เป็นพระเถระที่ถือสันโดษและเคร่งครัดในวิปัสสนากรรมฐาน ชื่อเสียงของท่านนั้นโด่งดังมาจาก ‘ยาปีป’ ซึ่งเป็นยาสำรวมใช้รักษาได้สารพัดโรค เพราะหลวงพ่อชื่นไม่เพียงเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมเท่านั้น ในด้านวิชาแพทย์แผนโบราณท่านก็มีความรอบรู้เป็นอย่างดี จึงมีชื่อในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของชาวบ้านด้วยยาสมุนไพร
    ที่วัดป่ามุนีแห่งนี้ หลวงพ่อชื่นได้ปลูกว่านยาสมุนไพรไว้เป็นจำนวนมาก และว่านยาเหล่านี้ที่หลวงพ่อชื่นนำมาผสมเข้ากับผงวิเศษสร้างเป็นพระเครื่องจำนวนมากมาย และกล่าวกันว่ามีถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่าพระธรรมขันธ์
    อย่างไรก็ตามมีการกล่าวถึงพระผงว่านยาหลวงพ่อชื่นไว้ว่ามีหลายพิมพ์ทรง แต่ที่พบจากกรุเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชรนั้น มีอยู่ด้วยกัน ๔ พิมพ์ คือ
    ๑. พิมพ์เม็ดบัว
    ๒. พิมพ์ปรกโพธิ์
    ๓. พิมพ์ฐานผ้าทิพย์
    ๔. พิมพ์ปิดตา
    กล่าวสำหรับหลวงพ่อชื่นน่าเสียดายอยู่ว่า ไม่มีการบันทึกข้อมูลหลักฐานถึงประวัติความเป็นมาแต่กำเนิดจนเติบโตเข้าอุปสมบทตราบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิตเอาไว้เลย อันเป็นธรรมดาสำหรับประวัติพระเกจิอาจารย์โดยทั่วไปที่บางรูปยากจะสืบสาวราวเรื่องได้
    แต่ยังพอมีรายละเอียดปลีกย่อยในชีวิตของหลวงพ่อชื่นที่ยังพอมีบอกเล่ากัน คือ พระครูวิจารณ์โสภณ (นาม มณิโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ท่านเคยเล่าไว้ว่า ท่านอาจารย์ชื่นรูปนี้นั้นเป็นพระอาจารย์ซึ่งมีความรอบรู้ และแตกฉานในเรื่องคาถาอาคมอักขระเลขยันต์เป็นอย่างยิ่งรูปหนึ่ง พิจารณาได้จากตำรับตำราของท่านที่ตกทอดมาอยู่กับท่าน (พระครูวิจารณ์โสภณ)
    พระครูวิจารณ์โสภณ (นาม มณิโชโต) ยังได้เล่าถึงเรื่องราวที่ท่านเคยพบเห็นประจักษ์แก่สายตามาแล้ว คือ หลวงพ่อชื่น หรือพระอาจารย์ชื่นท่านสำเร็จวิชายิงกระสุนโค้ง สามารถที่จะใช้อำนาจจิตบังคบให้ลูกกระสุนไปถูกเป้าตามความปรารถนา เช่า เฝ้าอยู่ทางด้านหลังแต่ยิงกระสุนไปทางด้านหน้าแต่ลูกกระสุนกลับวิ่งโค้งไปถูกเป้าอย่างนี้เป็นต้น
    พระครูวิจารณ์โสภณ (นาม มณิโชโต) ท่านว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งขณะที่ลูกศิษย์นั่งล้อมวงกันอยู่นั้น ท่านได้ถามขึ้นมาว่า “เอ็งเห็นมะม่วงช่อนั้นไหม ถ้าเอ็งอยากจะได้ลูกสุกเหลืองนั้นเดี๋ยวข้าจะปลิดเอาลงมา” ลูกศิษย์ต่างสนใจที่จะเห็นฝีมือหลวงพ่อที่เขาเล่าลือกันนักเหมือนกัน
    ท่านพูดพลางก็เดินเข้าไปในกุฏิสักพักหนึ่งก็ออกมาพร้อมด้วยคันกระสุนและลูก เห็นท่านง้างเล่นๆ อยู่สองสามครั้งแล้วก็ปล่อยลูกกระสุนออกไปอย่างไม่ต้องเล็งแลเท่าใดนัก ความแปลกมหัศจรรย์ได้ปรากฏแก่สายตาทันที นั่นคือมะม่วงลูกสุกเหลืองอร่ามลูกนั้นขั้วได้ขาดเหมือนถูกปลิด มะม่วงทั้งช่อถูกเฉพาะขั้วลูกที่หมายตาไว้เท่านั้น
    หรือแม้กระทั่งนกที่บินอยู่ในอากาศ หากท่านหมายตัวไหนไว้ แล้วง้างคันธนูปล่อยกระสุนไป นกตัวนั้นจะตกลงมาทันที แต่ก็แปลกมหัศจรรย์กว่านั้นอีก นกตัวนั้นเมื่อตกถึงพื้นก็ฟื้นคืนสติไม่เคยตายเลยสักตัว
    และเพราะวิชายิงกระสุนคดนี้เอง บริเวณวัดป่ามุนีเต็มไปด้วยไม้ผลนานาชนิด ทั้งมะพร้าว พุทรา มะม่วง กล้วย ส้ม มีบรรดาหัวขโมยแอบมาขโมยอยู่บ่อยๆ แต่ถ้าหลวงพ่อชื่นเห็น ท่านจะหยิบคันธนูยิงกระสุนคด แม้ขโมยจะทันเห็นท่านแอบหลบหลังต้นไม้ใหญ่ก็ตาม กระสุนที่ยิงยังโค้งมาถูกทุกที จึงเป็นที่หวาดกลัวของพวกหัวขโมยทั้งหลาย
    เล่ากันว่าคันธนูของหลวงพ่อชื่นนั้น คันแข็งมาก ขนาดคนแข็งแรง ๒ คนยังไม่สามารถง้างขึ้นได้เลย แต่กลับกันหลวงพ่อชื่นเพียงใช้แรงเบาๆ ก็ง้างคันใส่กระสุนลงไปก็ได้แล้ว ไม่เพียงเท่านั้นสำหรับคันธนูนั้นเหลาขึ้นจากไม้ไผ่สำหรับหามศพตายทั้งกลม เฉพาะที่ตายวันเสาร์เผาวันอังคาร เมื่อได้ไม่ไผ่แล้วต้องทำพิธีเหลาเซ่นวักผีตายทั้งกลมนั้น ส่วนลูกกระสุนใช้ดิน ๗ ป่าช้ามาปั้น ขณะปั้นต้องบริกรรมคาถาไปพร้อมด้วย และในขณะที่จะยิงต้องเพ่งจิตบริกรรมให้แน่วแน่ไปยังเป้าหมายที่หมายตาเอาไว้
    ดังกล่าวได้ถึงพระเครื่องเนื้อผงว่านยาของหลวงพ่อชื่นไว้แต่ข้างต้นแล้ว และพบจากกรุ คือที่เก็บพระเครื่องทั้งหมดบนเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชร มีเพียง ๔ พิมพ์ แม้ว่าภายหลังจะพบเห็นอีกหลายพิมพ์แต่ก็ไม่เป็นที่ยืนยัน แต่จากคำบอกเล่าของพระครูวิจารณ์โสภณ (นาม มณิโชโต) ท่านบอกว่า ในบั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อชื่น ได้อาพาธเป็นโรคฝีในท้อง (วัณโรค) มีอาการทรุดหนักถึงขั้นอาเจียนออกมาเป็นเลือดและหนอง ร่างกายมีความอ่อนเพลียต้องการอาหารมาทำนุบำรุงเป็นอย่างมาก จนไม่อาจสามารถที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ จึงต้องลาสิกขาออกมาเพื่อรักษา
    โดยได้ออกมาปลูกบ้านอยู่ในที่ของนายหยง สุขแสง ผู้เป็นบุตรบุญธรรม และได้ต้มยาสมุนไพรรักษาจนอาการไอเป็นเลือดและหนองออกมาหายไปดังปลิดทิ้ง และยังคงรักษาศีล นุ่งขาวห่มขาวไปตราบจนถึงแก่มรณกรรมเมื่ออายุได้ราว ๘๐ ปี
    เมื่อท่านอาจารย์ชื่นถึงแก่มรณกรรม พระครูวิจารณ์โสภณ (นาม มณิโชโต) ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะ ได้เป็นประธานในการจัดการศพ และได้เล่าว่า พระเครื่องของหลวงพ่อชื่นยังคงเหลือถึง ๖ ตุ่มมังกร ลูกหลานและท่านผู้เคารพนับถือได้แบ่งเอาไปคนละทิศคนละทาง เฉพาะรายใหญ่เอาขึ้นไปแจกแถวจังหวัดนครราชสีมา อีกสายหนึ่งเอาไปแจกที่วัดแถวอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ และยังมีในที่อื่นอีกมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ที่ได้รับจากวัดไหนอาจเข้าใจว่าเป็นของวัดที่ได้รับแจกมา ซึ่งเป็นความไขว้เข้วเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นได้ หากไม่ทราบถึงที่มาอย่างแท้จริง
    ดังนั้น พระเครื่องเนื้อผงยาผสมว่านของหลวงพ่อชื่น จึงแบ่งได้ ๒ ประเภท คือ ประเภทไม่ได้บรรจุกรุ คือ พระที่เหลืออยู่ในตุ่มมังกร และที่บรรจุกรุคือ พระที่เก็บไว้บนเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชร
    จึงเห็นความแตกต่างของทั้ง ๒ แบบนี้ได้ คือพระส่วนที่ไม่ได้บรรจุกรุนี้ วรรณะออกไปทางเขียวขี้ม้า มีความอ่อนแก่ลดหลั่นกัน ส่วนที่บรรจุกรุบนเพดานกุฏิหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นกุฏิก่ออิฐถือปูน พระส่วนนี้มีวรรณะส่วนนอกขาวนวล เข้าใจว่าผิวส่วนนอกถูกคลุกเคล้าอยู่กับปูนขาว แต่ถ้านำเอาไปล้างเอาคราบปูนออกสีของเนื้อในจะอมเขียวเล็กน้อย ไม่เขียวคล้ำเหมือนกับพระส่วนใหญ่ที่อยู่ในตุ่มมังกร




     
  14. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1833. กุมารทองดูดรกหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เนื้อดิน ปี 2518 ให้บูชา 699 บาท ไม่แพ้ของหลวงพ่อเต๋ ละกันครับ


    upload_2023-5-26_13-21-20.png

    upload_2023-5-26_13-1-56.png
    ซองเดิมๆ และมีใบคาถาจากวัด เนื้อดินผงพราย มีมวลสารดิน 7 ป่าช้า ของหลวงพ่อเต๋ คงทอง และ มีเกจิมากมายร่วมปลุกเสก
    รายละเอียด กุมารดูดรก วัดตาก้อง จ.นครปฐม เนื้อดิน ปี 2518 ปลุกเสกในวัดตาก้อง
    พิธีสุดยอด มีเกจิดังร่วมปลุกเสก
    -หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม
    -หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    -หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    -หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    -หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
    -หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม
    -หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร
    -หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว ฯลฯ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2023
  15. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    .........
     
  16. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1834. พระดีพิธีใหญ่ พระกริ่งครึ่งซีกเนื้อผงใบลาน หลวงพ่อสังกิจโจ วัดเขาพระงาม รุ่นแรก ปี 2499 ให้บูชา 750 บาท


    upload_2023-5-26_21-44-57.png

    หลวงพ่อสังกิจโจ ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อสิริจันโท และ หลวงพ่อภัทธราพุทโธ (อ่ำ) เป็นพระอาจารย์ธรรมสายกรรมฐาน ท่านได้เดินธุดงค์มากับพระอาจารย์ทั้งสองจนมาพบถ้ำที่เขาพระงาม ลพบุรี จึงได้หยุดปฏิบัติธรรมและได้รับมอบหมายจากพระอาจารย์ให้ทำนุบำรุงวัดเขาพระงามซึ่งเป็นวัดหลวงให้เจริญต่อไป .. ในปีพ.ศ.๒๔๖๙ ท่านได้สร้างหลวงพ่อใหญ่ ซึ่งต่อมาคือพระพุทธรูปองค์ประธานศักดิ์สิทธิ์คู่วัดเขาพระงาม ลพบุรี
    .. ในคราวที่สร้างหลวงพ่อใหญ่นั้น สร้างด้วยไม้ไผ่สาน โดยนายช่างที่ควบคุมงานครั้งนั้นคือ พระปลัดลี หรือ ท่านพ่อลี วัดอโศการามนั่นเอง ซึ่งต่อมาหลวงพ่อใหญ่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงจนต้องทำการปฏิสังขรณ์ใหม่ฉาบด้วยปูนจวบจนถึงปัจจุบัน
    .. สำหรับวัตถุมงคลทุกรุ่นในยุคหลวงพ่อสังกิจโจจะได้รับการอธิษฐานเสกจาก หลวงพ่อภัทธราพุทโธ ( อ่ำ ) วัดมณีชลขัณฑ์
    และนอกจากนี้ยังได้รับการอธิฐานจิตจากพระคณาจารย์สายกรรมฐาน
    อาทิ
    ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    และอีกหลายๆท่านซึ่งมีสายสัมพันธ์แนบแน่นจากสายพระอุบาลีคุณูปกรณ์ ( จันทร์ สิริจันโท )

     
  17. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1835.หน่อเนื้อสายสมเด็จโต พระสมเด็จ หลวงปู่นาค วัดระฆัง พิมพ์เทวดาสังฆาฏิ(มีหน้ามีตา) ปี ๒๔๙๕ ให้บูชา 1650 บาท


    upload_2023-5-27_13-33-24.png

    พระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค โสภโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร (เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตาราม อยู่ ๔๗ ปี นับว่าเป็นเจ้าอาวาสที่ครองวัดนานที่สุดองค์หนึ่ง) ผู้สร้างวัตถุมงคล พระผงสูตรสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) มากมายหลายรุ่น พระสมเด็จของหลวงปู่นาค วัดระฆัง เป็นพระสมเด็จที่มีส่วนผสมของเศษแตกหักของสมเด็จวัดระฆังที่ท่านได้เก็บรวบรวมไว้เป็นจำนวนมากจากการที่มีประชาชนนำเศษแตกหักของพระสมเด็จมาทิ้งไว้ที่วัดและการค้นพบพระสมเด็จจำนวนมากบนหลังคาโบสถ์วัดระฆังซึ่งท่านได้นำพระสมเด็จที่แตกหักทั้งหมดร่วมกับการสร้างผงพุทธคุณของท่านตามตำรับของสมเด็จโต ทำให้พระสมเด็จของท่านโดยเฉพาะพระในยุคต้น ๆ ช่วงปี 2485-2495 มีเนื้อหามวลสารจัดจ้านน่าบูชายิ่งนัก ซึงนับว่าเป็นพระตระกูลสมเด็จที่มีเนื้อหามวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังผสมไว้มากที่สุดสำนักหนึ่งเลยทีเดียว เรียกได้ว่า พุทธคุณเข้มขลัง ไม่แพ้สมเด็จยุคหลังสำนักอื่น แต่เนื่องจากท่านได้สร้างพิมพ์ทรงของพระสมเด็จต่าง ๆ ไว้มากมาย ในวงการจึงนิยมเล่นหากันเฉพาะพิมพ์นิยมบางพิมพ์ของท่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ใครเห็นก็ทราบว่าเป็นพระของท่าน เช่น พิมพ์เทวดาสามชั้นหูบายศรี พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ชิ้นฟัก พิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น
     
  18. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1836.พระดีเมืองปทุม ศิษย์สายตรงหลวงปู่เทียนวัดโบสถ์ พระสมเด็จรุ่นแรก หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี ปี 2500 ให้บูชา 999 บาท


    upload_2023-5-27_20-46-53.png

    หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี
    ร่ำลือกันจนทั่วตำบลบางพูด ว่า ท่านพระครูปัญญาพลคุณ หรือที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปเรียกท่านว่า "พระครูไปล่" เป็นพระแท้ มีคุณธรรมสูง มีพรหมวิหาร 4 มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี มีอารมณ์แจ่มใสอยู่เสมอมีแต่ความเมตาแก่บรรดาศิษย์ทุกคนเสมอเหมือนกันหมด ชาวบางพูดยกย่องท่านเป็น เทพเจ้าแห่งความเมตตา ท่านไม่เคยดุหรือกล่าวว่าใคร จนกระทั่งมีคำกล่าวกันว่า "ท่านมีปากพระร่วง" หรือ "มีวาจาศักดิ์สิทธิ์" ถ้าลองได้ดุหรือว่าใครแล้ว ผู้ที่ถูกว่าจะถึงกับอับโชคไปนานทีเดียว หรือหากมีใครต้องถูกตำหนิจากท่านแล้ว ก็มักจะต้องเป็นจริงตามนั้นเสมอ


    หลวงปู่ไปล่ หรือ ท่านพระครูไปล่ ท่านเป็นผู้ที่มีความเกรงใจคนมาก มีความมักน้อย พอใจเพียงสมณสารรูป ไม่มีความทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูงในลาภ ยศ สรรเสริญ
    คำสอนที่ได้ให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ก็จัดว่าเป็นคำสั่งสอนที่เป็นสัจจวาจา และอมตะตลอกกาล เช่น ท่านจะสั่งสอนลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอๆ ว่า "จงอย่าลืมตนอย่าหลงงมงายในลาภ ยศสรรเสริญ มีลาภก็มีเสื่อมลาภมียศก็มีเสื่อมยศ มีสรรเสริญก็มีนินทา มีสุขก็มีทุกข์ เป็นธรรมดาโลก คนเราถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติตัวอยู่ในทางที่ดีแล้วแม้จะมีพระศักดิ์สิทธิ์ เพียงใดห้อยคอ ก็ไม่สามารถจะปกปักรักษาหรือให้คุณแก่เจ้าของได้เลย จงรู้จักกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ แล้วจะไม่มีวันตกอับในชีวิตเลย" ดังนั้นบรรดาศิษย์ที่ได้ผ่านการอบรมสั่งสอนจากหลวงปู่ส่วนมากจะพบกับความ สำเร็จในชีวิต มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัวเพราะบารมีของหลงปู่นั่นเอง

    ประวัติวัดดาวเรือง
    วัดดาวเรือง ตั่งอยู่ริมฝั่งคลองแม่น้ำอ้อมด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม ในเนื้อที่ 16 ไร่ ตามทะเบียนราษฎร์ เลขที่ 131 บ้านบางพูด หมู่ที่ 6 ตำบลบางพูด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาณาเขตทิศเหนือยาว 80วา ติดต่อกับคลองอ้อม ทิศใต้ยาว 60 วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกยาว 85 วา ติดต่อกับที่ดินเอกชนและที่สวน ทิศตะวันตกยาว 125 วา ติดต่อกับที่ดินเอกชน
    พื้นที่ตั่งวัดเป็นที่ราบล่มน้ำจะท่วมในฤดูน้ำหลากมาทั้งนี้เพราะอยู่ริม คลองแม่น้ำอ้อม ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้ อุโบสถหลังใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ ตั้งอยู่คู่กับอุโบสถหลังเก่า ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว กุฏิสงฆ์ จำนวน 11 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและอาคารไม้ ศาลาการเปรียญหลังเก่า และหลังใหม่ หอสวดมนต์หลังใหม่ฌาปนสถาน (เมรุ)
    วัดดาวเรือง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2423 โดยมี นายดาวเรือง กับ ญาติมิตรเป็นผู้ถวายที่ดิน ซึ่งตามประวัติที่คนเก่าแก่และผู้ใหญ่ในสมัยนั้นได้เล่ากันต่อๆ มาว่า นายดาวเรืองได้สร้างบ้านเรือนอยู่บนเนื้อที่ผืนนี้ โดยปลูกบ้านไว้หลายหลัง มีข้าทาสไว้ใช้สอยมาก นายดาวเรืองประกอบอาชีพทำนาและทำสวน และจัดว่าเป็นผู้ร่ำรวยมากในสมัยนั้น แต่ไม่มีบุตร ต่อมาบ้านของนายดาวเรืองถูกโจนปล้น นายดาวเรืองและภรรยาถูกฆ่าตาย ข้าทาสชายหญิงก็ได้หนีไปหมด หมู่ญาติมิตรพี่น้องของนายดาวเรือง จึงยกบ้านและที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้เป็นที่สร้างวัด และได้ให้ชื่อว่า "วัดดาวเรือง" เดิมทีเดียวในตำบลนี้เรียกว่า ตำบลท้ายโกลน ต่อมาเมื่อมีวัดดาวเรืองเกิดขึ้นซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองกว่าสำนักสงฆ์โกลน ก็เสื่อมและร้างไปในที่สุด
    วัดดาวเรือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 และได้ผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน
    สำหรับปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดดาวเรือง ก็มี พระศรีอาริยเมตไตร 2 องค์ พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตรเนื้อดินผสมทาชาดลงรักปิดทอง ศิลปะสมัยลพบุรี พระพุทธโสธรจำลอง หม้อกรักและธรรมมาสน์ประดับมุข
    การศึกษา ทางวัดดาวเรืองได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม โดยเริ่มมาตั้งแต่แ พ.ศ. 2495 นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการศึกษาของชาติ โดยให้ทางราชการสร้างโรงเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย ชั้น 2 และเป็นศูนย์อบรมประชาชนของตำบลบางพูดอีกด้วย
    ลำดับเจ้าอาวาส
    วัดดาวเรือง ตั้งแต่ก่อสร้างเป็นวัดมาถึงปัจจุบัน มีอายุ 106 ปี มีเจ้าอาวาสปกครองตามลำดับ ดังนี้
    1. พระอธิการทองพูน เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก มีตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์ มีเรือเก๋งประจำวัด สำหรับ
    ไปสมบทพระตามวัดต่างๆ อีกด้วย
    2. พระอธิการทองจุ้ย สมภารรูปนี้ท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุ มีความถนัดในการทำพลุและลูกหนู ในงานเผาศพ
    พระที่วัดต่างๆ ด้วย
    3. พระอธิการขาว (ครั้งแรก) เป็นอดีตสมภารที่เรืองวิทยาคม สร้างเชือกคาดเอว ดังอย่าบอกใคร ปัจจุบันหายาก
    และราคาแพง ต่อมาท่านถูกฟ้องและต้องอธิการณ์ ทางคณะสงฆ์จึงถอดท่านออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นพระลูกวัดธรรมดา
    4. พระอธิการเผือก ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส แต่เป็นเจ้าอาวาสได้ไม่นาสน ท่านก็มรณภาพ
    5. พระอธิการขาว (ครั้งที่ 2) พระอธิการขาวซึ่งถูกถอดจากตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านได้ชำระอธิกรณ์ เรื่องราวของ
    ท่านจนบริสุทธิ์ ท่านจึงได้รับการแต่งตั่งเป็นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง ท่านปกครองวัดมีคนเกรงกลัวท่านมาก เพราะท่านดุ ต่อมาท่านชราภาพมากสุขภาพไม่ดี ไม่สามารถปฏิบัติกิจของสงฆ์ได้ ทางคณะสงฆ์จึงยกท่านเป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์
    6. พระอธิการไปล่ ปญฺญาพโล ได้รับการแต่งตั่งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ถึงปี พ.ศ. 2528
    7. พระภิกษุเผื่อนอชิโต เป็นผู้รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดาวเรืองอยู่ในขณะนี้ และเป็นผู้จัดการในเรื่องงานพระราชทานเพลิงศพท่านพระครูปัญญาพลคุณ

    พระครุปัญญาพลคุณ สถานะเดิม ชื่อ ไปล่ นามสกุลเดิม ภูมิจันทร์ เกิดที่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสาม
    โคก จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันศุกร์ เดือน 5 ปีจอ พ.ศ. 2440 บิดาชื่อ เทศ มารดาชื่อ อำพัน มีพี่น้องร่วม
    บิดา-มารดาเดียวกัน 3 คน หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 3 คน คือ
    1. นางปุ่น เพื่อนนัด
    2. พระครูปัญญาพลคุณ
    3. นางผูก เล็กละมุด
    หลวงปู่ไปล่ เมื่อเยาว์วัย บิดา-มารดา ได้นำไปฝากกับพระให้อยู่ที่วัดดาวเรืองเพื่อศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยหลวง ปู่ได้เล่าเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ที่เก่งหนังสือไทยหลายรูป โดยเฉพาะ พระอาจารย์เปรม และท่านเจ้าอาวาสขณะนั้น หลวงปู่ได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยจนเก่งและมีความชำนาญมาก
    เมื่อเรียนหนังสือไทยจนเก่งและแตกฉานแล้ว หลวงปู่ก็หันมาเรียนหนังสือขอม กับพระอาจารย์ที่เก่งหนังสือขอมในวัดดาวเรื่อง ท่านมีความวิริยะอุตสาหะพยายามศึกษาเล่าเรียนจนเก่งหนังสือขอมสามารถอ่าน และเขียนหนังสือขอมได้เป็นอย่างดี สามารถเขียนและลงจารอักขระขอมได้
    ในสมัยเป็นเด็ก หลวงปู่เป็นคนขี้โรค ไม่ค่อยจะแข็งแรง รูปร่างผอมบาง ท่านจึงอยู่วัดนานที่สุด จนโตเป็นหนุ่มภายในวัด และเมื่อมีอายุครบกำหนดเกณฑ์ทหารหลวงปู่ออกจากวัดดาวเรืองไปรับราชการทหาร เป็นทหารมหาดเล็กหลวง ในรัชกาลที่ 6 รักษาพระองค์ เมื่อพ้นจากราชการทหารแล้วก็กลับมาอยู่วัดบ้าง อยู่บ้านบ้าง
    ในที่สุด บิดา-มารดา ก็ได้จัดการสู่ขอภรรยา ให้สมรสกับ นางทองอยู่ ซึ่งเป็นธิดาของนายฉิม-นางชุ่ม นามสกุล บุญมี ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เมื่อปี พ.ศ. 2465 ขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 25 ปี เมื่อสมรสแล้วหลวงปู่ได้ประกอบอาชีพทำส่วนผัก ในตำบลเชียงรากใหญ่ บ้านเกิด อยู่นานถึง 6 ปี มีบุตร-ธิดา รวม 2 คน คือ
    1. นางทองสุข เนิดน้อย
    2. นายปรุยุทธ์ ภูมิจันทร์
    พ.ศ. 2469 ตัดสินใจอุปสมบท
    ระหว่างปี พ.ศ. 2469-2470 เกิดโรคระบาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า "โรคห่า" (อหิวาตกโรค) หรือโรคท้องร่วง โรคดังกล่าวนี้ในสมัย พ.ศ.2469 การแพทย์ยังไม่เจริญเช่นปัจจุบัน จึงเป็นโรคที่น่ากลัวมาก เพราะได้คร่าชีวิตของผู้คนไปมากมาย โดยไม่ละเว้นว่าเป็นคนดีหรือคนไม่ดี เด็กหรือผู้ใหญ่ คนแก่ หรือคนหนุ่มสาว
    นางทองอยู่ ภรรยาของหลวงปู่ ถึงแก่กรรมด้วยโรคร้ายนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2469 ทิ้งบุตร ซึ่งยังเล็กมากไว้ 2 คน หลวงปู่ขณะนั้นมีความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจมาก หลังจากภรรยาถึงแก่กรรมได้เพียง 13 วัน หลวงปู่จึงตัดสินใจอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดดาวเรือง ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านคลุกคลีและเคยอาศัยอยู่มานานกว่าอยู่บ้านตัวเอง
    หลวงปู่ได้อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. 2469 ขณะนั้นมีอายุได้ 29 ปี โดยมี พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์ อำเภอเมืองปทุมธานี และเจ้าคณะตำบลบ้านกลาง เป็นอุปัชฌาย์ พระอธิการเปลื้อง วัดโพธิ์เลื่อน อำเภอเมืองปทุมธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเท่ง วัดบางขันธ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาว่า "ปทีโป" ในเรื่องฉายาของท่าน ท่านได้เล่าให้ฟังว่า เดิมพระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ ได้ตั้งไว้ว่า "ปทีโป" หลวงปู่ท่านก็เจ็บออดๆ แอดๆ มาตลอด
    จนในที่สุด หลวงปู่เทียนได้เปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า "ปญฺญาพโล" ตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่ไหล่ก็ได้หายจากการเจ็บป่วย จึงนับว่าฉายา "ปญฺญาพโล" เป็นนามมงคลของหลวงปู่ เมื่อหลวงปู่อุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดดาวเรืองมาโดยตลอด ท่านมีความขยันอุตสาหะ ท่องบ่นสวดมนต์ศึกษาเล่าเรียนทั้งพระปริยัติธรรม และปฏิบัติ รวมทั้งเรียนเวทมนต์ คาถา อยู่โดยมิได้ขาดมีศิลาจารวัตรเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีความสงบเสงี่ยมในสมณเพศ
    หน้าที่ปกครองและสมณศักดิ์
    ในพรรษาที่ 3 ปี พ.ศ. 2471 หลวงปู่ไปล่ ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดดาวเรือง ทั้งนี้เพราะ พระอธิการขาว ชราภาพมากทางคณะสงฆ์จึงยกพระอธิการขาวขึ้นเป็นกิตติมาศักดิ์ และให้หลวงปู่ไปล่เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดดาวเรือง ผู้แต่งตั้งในครั้งนั้น คือ พระครูศีลานุโลมคุณ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี และต่อมาได้แต่งตั้งให้หลวงปู่ไปล่เป็นพระกรรมวาจาจารญ์ เป็นพระคู่สวดนาคในการอุปสมบท
    พรรษาที่ 8 ปี พ.ศ. 2476 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดดาวเรือง เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ขณะนั้นหลวงปู่ มีอายุ 36 ปี พรรษา 8 ปี พ.ศ. 2505 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระชั้นประทวน ที่พระครูไปล่ ปญฺญาพโล
    ต่อมาในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ที่พระครูปัญญาพลคุณ ได้รับเงินนิตยภัตรเดือนละ 60 บาท เป็นประจำทุกเดือน
    หลวงปู่ไปล่ ได้ปกครองสงฆ์ ในวัดดาวเรือง ได้เป็นอย่างดี โดยยึดหลัก " เมตตาธรรม" ทั้งพรดะภิกษุ สามเณรอุบาสก อุบาสิกา ชาวบ้านศิษย์วัด ต่างก็ให้การเคารพท่าน เกรงอกเกรงใจท่านหลวงปู่มักจะพูดให้ฟังเสมอว่า "ฉันไม่อยากให้ใครโกรธ และอย่าทำให้คนอื่นโกรธได้เป็นการดี" ท่านจึงไม่เคยพูดหรือบ่นว่าให้ใครเจ็บซ้ำน้ำใจเลยหลวงปู่จึงเป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมด้วยสายธารแห่งเมตตาธรรมเป็น เทพเจ้าแห่งความเมตตา " หลวงปู่ไปล่ ปญฺญพโล เป็นศิษย์สาย พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์ จังหวัดปทุมธานี ผู้สร้างพระสมเด็จเนื้อผงอันเลื่องลือว่ามีเนื้อ และมวลสารคล้ายสมเด็จบางขุนพรหม
    " หลวงปู่ไปล่ ปญฺญพโล นับว่าเป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งของเมืองปทุมธานีที่คณะศิษย์กลุ่มใหญ่ และประชาชนทั่วไปมีความเคารพ ความศรัทธาเลื่อมใสด้วยความจริงใจด้วยศีลาจารวัตรเสมอต้นเสมอปลายไม่โลดโผน แต่เยือกเย็น จึงได้ฉายาว่า "เทพเจ้าแห่งความเมตตา"
    " หลวงปู่ไปล่ ปญฺญพโล ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากท่านเจ้าคุณ พระอริยทัตธสังฆปาโมกข์ พระอาจารย์แห่งความเมตตา
    " การสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่น ไม่ว่าจะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง รุ่น 1 พ.ศ. 2500 เหรียญรุ่น 1 พ.ศ. 2519 พระปิดตารุ่น 1 พ.ศ. 2526 ล้วนมีพุทธคุณและประสบการณ์สูง ไม่เคยสร้างความผิดหวังเลย

    การพัฒนา ก่อสร้าง และปฏิสังขรณ์วัดดาวเรือง
    ในด้านการพัฒนาก่อสร้างทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาหลวงปู่ได้เอาใจใส่ดูแล ปฏิสังขรณ์ บำรุงซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา เช่น ถนนเข้าวัด กุฏิสงฆ์วิหาร สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ สร้างหอสวดมนต์หลังใหม่ งานชิ้นสุดท้ายเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน
    งานในด้านการศึกษา ได้หาเงินสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม และสร้างโรงเรียนประถม จากที่ต้องอาศัยศาลาวัดเรียน ให้มีตึกมีอาคารเรียนอย่างเป็นเอกเทศ และได้หาเงินมาบำรุงตลอดเวลา เรียกว่าท่านทำเพื่อชุมชนโดยแท้จริง
    พ.ศ. 2528 หลวงปู่ไปล่ มรณภาพ
    โดยทั่วไปแล้ว หลวงปู่มีสุขภาพแข็งแรงพอสมควร ถึงแม้ว่าจะมีรูปร่างผอมบางก็ตามแต่ก็สามารถเดินทางไปปฏิบัติกิจของพระศาสนา ได้เป็นอย่างดี แต่มาในระยะหลังๆ นี้ตอนที่ท่านมีอายุมากขึ้น ท่านจึงมีอาการป่วยอยู่เสมอ และได้ไปรับการรักษาตามโรงพยาบาลต่างๆ อาการก็ดีขึ้นเป็นพักๆ
    กลางปี พ.ศ. 2528 หลวงปู่มีอาการป่วยหนักอยู่ประมาณ 3 เดือนเศษ แต่อาการไม่ดีขึ้นจนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 เวลา 14.05 น. หลวงปู่ได้มรณภาพไปด้วยอาการอันสงบ สิริอายุรวมได้ 88 ปี พรรษา 59 ปกครองวัดดาวเรืองในฐานะสมภารวัดมานานถึง 56 ปีเต็ม
    ทางวัดดาวเรือง ได้จัดให้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ไปล่ ไปเรียบร้อยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 16.3. น. และท่านเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี พระสุเมธาภรณ์ วัดบางหลวงได้เขียนข้อธรรมเป็นอนุสรณ์คาถาสำหนับท่านพระครูปัญญาพลคุณ ไว้ซึ่งจะได้นำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ เพียงเล็กน้อยโดยย่อๆ ดังนี้
    "..ท่านพระครูปัญญาพลคุณ เป็นพระเถระที่มีความเมตตาสูง มีความอดทน รักสงบ พูดน้อย ทำมาก มักน้อยสันโดษ มีความจริงใจต่อหน้าที่ในศาสนกิจอย่างสม่ำเสมอมาตลอดชีวิตของท่านเป็นที่ควร แก่การเคารพกราบไหว้ ของบรรดาศิษยานุศิษย์และท่านที่มีความรู้จักมาสนทนากับท่านแล้ว ย่อมได้รับความสบายใจกลับไปทุกคน ดังนั้นการจากไปของท่านตามกฎธรรมชาติ โดยที่เราท่านทั้งหลายก็ย่อมทราบดีว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยง หรือหลบหนีไม่ได้ก็ตาม แต่ก็อดที่จะเสี่ยดายอาลัยถึงท่านไม่ได้ ...อย่างไรก็ตาม เรายังมีวิธีผ่อนคลายวามอาลัยถึงท่านได้บ้าง โดยขอให้พวกเราศิษยานุศิษย์และท่านที่มีความเคารพนับถือในตัวท่านพระครูฯ ได้ร่วมกันตั้งจิตคิดถึงความดีของท่าน แล้วประพฤติปฏิบัติตามเป็นการปฏิบัติบูชา พร้อมกับสร้างบุญกุศล อุทิศถวายท่านตามคติทางพระพุทธศาสนาต่อไป"
    วัตถุมงคลหลวงปู่ไปล่
    ในสมัยที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่ได้สร้างวัตถุมงคลทั้งประเภทเหรียญ พระผง รูปหล่อ ตะกรุด ไว้หลายอย่างแต่ละอย่าง หลวงปู่ทำด้วยคงวามตั้งใจทำ จึงมีความขลังและศักดิ์สิทธ์ ทุกรุ่น มีพุทธคุณ และมีประสบการณ์ก่ออภินิหารไว้มากมาย
    แม้ว่าวัตถุมงคลของหลวงปู่จะมีอายุการสร้างมานานนักก็ตาม แต่ทุกรุ่นจัดว่าเป็นของใหม่ที่มีผู้เสาะหากันมากในวงการ ซึ่งจะได้กล่าวถึงเป็นอย่างๆ ไปดังต่อไปนี้
    พระสมเด็จเนื้อผง รุ่นแรก พ.ศ. 2500
    ปี พ.ศ. 2500 หลวงปู่ไปล่ อายุ 60 ปี พรรษา 31 หลวงปู่ได้จัดสร้างพระสมเด็จเนื้อผงขึ้นมาเป็นครั้งแรก จะเรียกว่าเป็นรุ่นแซยิด ฉลองอายุ 60 ปี 5 รอบก็ว่าได้ ท่านได้รวบรวมผงไว้หลายปี ประกองไปด้วย ผงอิทธิเจ ผงปัทมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห ผสมว่าน 108
    พระผงสมเด็จรุ่นแรกนี้สร้างจำนวนน้อยมากประมาณ 200 องค์เท่านั้น ปัจจุบันหายากมาก ขนาดขององค์พระกว้าง 2.5 ซม. สูง 4.1 ซม. องค์พระหนา .6 ซม.
    ว่ากันว่าหลวงปู่ไปล่ ได้ผงที่หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ผู้เป็นอุปัชฌาย์ มาผสมด้วยดังนั้นจึงจัดได้ว่าพระผงสมเด็จหลวงปู่ไปล่ รุ่นแรกนี้ มีเนื้อมวลสารดี องค์พระแกร่ง แม้จะมีอายุการสร้างนับถึงปัจจุบันเพียง 29 ปีเท่านั้น
    พุทธลักษณะ ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิหูบายศรี ประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น ในซุ้มเรือนแก้ว เช่น เดียวกับพระพิมพ์สมเด็จทรงนิยมโดยทั่วไป ด้านหลังเป็นรูปหลวงปู่ไปล่ ในท่าสมาธินั่งบนฐาน ภายในซุ้มเรือนแก้ว 2 ชั้น ใจรูปหลวงปู่มีข้อความวา "พระครูไปล่" สันนิษฐานว่าหลวงปู่ไปล่ คงทำเลียนแบบพระสมเด็จที่หลวงปู่เทียนสร้าง แต่ขนาดองค์พระเล็กกว่าที่หลวงปู่เทียนสร้าง
    พระผงสมเด็จรุ่นแรกนี้หลวงปู่ทำและแจกบรรดาศิษย์ไว้ใช้ติดตัว ปรากฏในเวลาต่อมาว่า พระผงสมเด็จรุ่นแรกนี้มีประสบการณ์มากในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ อาทิเช่น นายจาริก สุวรรณโรจน์ ภูมลำเนาอยู่ตำบลบางพูด อำเภอเมืองปทุมธานีได้ขับรถมาสด้า 2 แถว ไกธุระกับเพื่อนหลายคน เมื่อวันที่ 24 สิ่งหาคม พ.ศ. 2525 ขณะรถวิ่งด้วยความเร็วสูง ยางหน้ารถเกิดระเบิด รถพลิกคว่ำหลายตลบ แถวบริเวณอ้อมน้อย ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่เดินทางไปด้วยได้รับบาดเจ็บแขนหักบ้าง หน้าแตกบ้าง ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลกันเป็นแถวอันตรายใดๆ เลยเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มากปรากฏว่า นายจาริก พกพระผงสมเด็จหลวงปู่ไปล่ รุ่นแรกไปองค์เดียว ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ของพระผงสมเด็จนี้เองจึงทำให้นายจาริกแคล้วคลาดจาก อันตรายทุกอย่างจากอุบัติเหตุรถคว่ำ
    ในปีเดียวกันนี้เอง หลวงปู่ได้สร้างพระรอดเนื้อผงขาวประมาณ 200 องค์ เช่นเดียวกับพระผงสมเด็จรุ่นแรก พ.ศ. 2500 และปัจจุบันหายากมากเช่นกัน
    ปี พ.ศ. 2519 หลวงปู่ไปล่ จัดสร้างเหรียญรุ่นแรก
    ปี พ.ศ. 2519 ขณะนั้นหลวงปู่ มีอายุได้ 79 ปี พรรษา 50 หลวงปู่ได้จัดสร้างเหรียญรุ่นแรก เป็นเหรียญทองแดงรมดำ รูปไข่หูในตัว ขนาดกว้าง 2.5 ซม. สูง 3.5 ซม.
    ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ไปล่เต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงปู่มีข้อความเป็นภาษาไทยว่า "พระครูไปล่ ปัญญาพโล" ข้างเหรียญยกขอบเป็นเส้นเล็กเส้นเดียวโดยรอบเหรียญ
    ส่วนด้านหลัง ด้านบนเป็นรูปยันต์ตรีนิสิงเห ใต้รูปยันต์ มีข้อความเป็นภาษาไทยว่า "วัดดาวเรือง ต.บางพูด อ.เมือง จ.ปทุมธานี พ.ศ. 2519 รุ่น 1" ข้างเหรียญยกขอบเป็นเส้นหนาโดยรอบเหรียญเช่นเดียวกับด้านหน้า
    เหรียญรุ่นแรกดังกล่าวนี้สร้างจำนวน 2 ครั้งด้วยกัน คือ
    ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2519 จำนวน 5,000 เหรียญ ปรากฏว่า ไม่พอแจก หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว
    ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2519 ปีเดียวกัน นำบล๊อคเดิมจัดสร้างเพิ่มขึ้นอีก 5,000 เหรียญ เหรียญที่จัดทำเพิ่มครั้ง 2 นี้ปรากฏว่ามีประสบการณ์มากในวงการเช่าหากันในราคาหลักครึ่งพันขึ้นไป และแจกหมดไปอีกเช่นกัน
    ปัจจุบันเหรียญรุ่นแรกทั้ง 2 ครั้ง ไม่มีเหลือเลยสักเหรียญเดียวที่วัดดาวเรือง จะยังพอหาได้ก็ตามลูกศิษย์ของหลวงปู่ และชาวป้านตำบลบางพูดเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันหลวงปู่ได้มรณภาพไปแล้วใครมีเหรียญรุ่นนี้ไว้ตั้งแต่แรกต่างก็ หวงแหน ไม่ยอมปล่อยกัน แม้ว่าจะให้ราคาสูงขึ้นอีก 1 เท่าตัวก็ตาม
    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ไปล่ ก่ออภินิหารช่วยเด็กรอดจากการจมน้ำตาม
    นายสมบุญ บ้านอยู่ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ได้รับเหรียญ รุ่น 1 ของหลวงปู่ไปล่ไปแล้วนำไปห้อยคอบุตรสาวที่กำลังเริ่มคลานเก่ง ด้วยความเผลอของผู้เป็นแม่ ลูกสาวคลานตกน้ำไป โดยไม่มีใครทราบ เพราะเวลานั้นเป็นฤดูน้ำท่วมพอดี เมื่อนึกถึงลูกได้ ผู้เป็นแม่เที่ยววิ่งหาลูกกันวุ่น พบลูกลอยคอป๋ออยู่ในน้ำไม่ได้รับอันตรายและเด็กก็ไม่ร้อง จึงได้ทราบว่า เพราะเหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ไปล่ ช่วยคุ้มครองลูกสาว รอดจากการจมน้ำตาย
    เรื่องนี้เป็นที่เลื่องลือกันมาก ในตำบลเชียงราก และตำบลบางพูด ในขณะนั้น อีกเรื่องหนึ่ง นายสาโรจน์ คราประยูร อายุ 18 ปี ห้อยเหรียญหลวงปู่ไปล่รุ่นแรก ติดตัวเป็นประจำ วันหนึ่งไปบ้านลุง ที่ตำบลบางพูดซึ่งปลูกบ้านอยู่ชายคลอง ใต้ถุนบ้านมีเรือจอดอยู่หลายลำนายสาโรจน์ออกมานอกชานบ้าน จะด้วยเหตุใดไม่ทราบกระดานลื่นหัวทิ่มคะมำตกลงไปในเรือซึ่งจอดอยู่ใจ้ถุน เรือน ศีรษะปักลงถูกกราบเรือนอนแผ่ไม่ได้สติ ทุกคนลงความเห็นว่า คอหักแน่ แต่เปล่าไม่ได้รับอันตรายเลยแม้แต่น้อย เพียงสลบไปสักครู่เท่านั้น เพราะเหรียญหลวงปู่ไปล่ช่วยคุ้มครองจึงรอดตาย
    เหรียญหลวงปู่ไปล่ รุ่น 2 พ.ศ. 2522
    เนื่องจากเหรียญรุ่นแรก พ.ศ. 2519 ได้ทำถึง 2 ครั้ง รวม 10,000 เหรียญ และได้หมดไปในปีนั้นเอง แต่ประชาชนชาวบ้าน บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ ส่วนใหญ่ยังมีความต้องการเหรียญมากแต่หาไม่ได้หลวงปู่ไปล่จึ้งได้จัดสร้าง เหรียญรุ่น 2 ขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่งในปี พ.ศ. 2522 เป็นเหรียญทองแดงรูปไข่ เช่นเดียวกับเหรียญรุ่นแรก
    บล๊อคด้านหน้าเป็นบล๊อคเดียวกับเหรียญรุ่นแรก แต่บล๊อคด้านหลังเปลี่ยนใหม่รูปยันต์ตรีนิสิงเหใหญ่กว่าเหรียญรุ่นแรก และด้านล่างใต้รูปยันต์ มีข้อความว่า "วัดดาวเรือง ต.บางพูด อ.เมือง จ.ปทุมธานี พ.ศ. 2522 รุ่น 2 " เหรียญรุ่น 2 นี้สร้างจำนวน 5,000 เหรียญขณะนี้ก็หมดไปจากวัดเช่นกัน
    หลวงปู่ไปล่ สร้างพระปิดตาเมตา รุ่น 1 ปี พ.ศ. 2526
    จากผงเก่าที่เหลือจากการสร้างพระสมเด็จรุ่นเดียวในปี พ.ศ. 2500 หลวงปู่นำมาบดรวมกับพระหัก พระชำรุด แล้วนำมาสร้างพระปิดตาเมตตา รุ่น 1 ในปี พ.ศ. 2526 ขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 86 ปี พรรษา 57 จำนวนการสร้างประมาณ 2526 องค์ เท่ากับปี พ.ศ. ที่สร้าง
    มวลสารต่างๆ ที่สร้างประกอบด้วย
    1. ผงพระหัก พระชำรุดต่างๆ
    2. ผงอิทธิเจ
    3. ผงปัถมัง
    4. ผงตรีนิสิงเห
    5. ผงมหาราช
    6. ผงดอกมะลิแห้ง
    7. ผงว่าน 108
    8. ผงสังเวชนียสถาน จากอินเดีย
    9. ผงใบลานเก่าๆ อายุ 100 ปี
    ลักษณะของพระปิดตารุ่นเมตตานี้ เป็นรูปพระภควัมบดี ปิดตาขนาดกว้าง วัดที่ฐานได้ 1.9 ซม. ส่วนบนขององค์
    พระมนเล็กน้อย จัดทำเป็น 2 เนื้อด้วยกันคือ เนื้อสีขาว ไม่ได้ผสมผงใบลาน และเนื้อสีดีผสมใบลานนอกจากนี้ยังได้นำผงล้วนๆ ทำพระปิดตาพระภควัมบดีองค์เล็กจิ๋ว ส่วนหนึ่งเพื่อแจกเด็กๆ (ดูภาพประกอบ) พระปิดตา รุ่น 1 นี้ทราบว่าขณะนี้ไม่มีเหลือที่วัดเลย หมดไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ปี 2526 ปีเดียวกันนี้เอง ครูบุญเรือง จันทบาล ครูโรงเรียนวัดดาวเรือง ได้นำแผ่นตะกั่ว ให้ หลวงปู่ไปล่ ลงอักขระ เพื่อทำตะกรุดในไตรมาส จำนวนประมาณ 40 ดอก และยังได้นำเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกอีกถึง 5 อุโบสถตะกรุดนี้มิได้ทำเพื่อออกเผยแพร่ แต่ประการใด
    ครูบุญเรือง ซึงเป็นศิษย์ของหลวงปู่คนหนึ่ง ที่อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่มาตลอด ได้ขอให้หลวงปู่ทำให้เพื่อแจกญาติสนิท
    มิตรสหายไว้ใช้ป้องกันตัวท่านนั้น
    หลวงปู่ไปล่ ทำพระปิดตาผงรุ่น 2 ปี พ.ศ. 2527 แจกเป็นทานบารมี
    ปลายปี พ.ศ. 2526 ดวงตาของหลวงปู่ไปล่ มืดสนิท แต่ด้วยอำนาจบุญกุศลที่หลวงปู่ทำไว้มาก หลวงปู่ได้อธิฐานขอให้หาย จะสร้างพระแจกเป็นท่านบารมี จักษุที่มืดกลับเห็นได้ ปี พ.ศ. 2527 หลวงปู่จึงสร้างพระผงปิดตา แจกฟรีตามที่ได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้
    ลักษณะเป็นพระปิดตาพระภควัมบดี คล้ายพระปิดตา เมตตา รุ่น 1 แต่องค์โตกว่าเล็กน้อย ซึ่งวัดที่ฐานได้กว้าง 2.4 ซม. สูง 2.5 ซม. ส่วนบนมนเล็กน้อย ด้านหลังเป็นรูปยันต์น้ำเต้า และมีข้อความอยู่ด้านล่างว่า "หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง"
    ปี 2527 หลวงปู่สร้างมงคลวัตถุเป็นครั้งสุดทาย
    เหมือนกับจะล่วงรู้ว่า วาระสุดท้ายกำลังจะมาถึง หลวงปู่ไปล่ได้จัดสร้างวัตถุมงคล ขึ้นมาอี 1 ชุดใหญ่ เป็นครั้งสุดท้ายของการสร้าง ซึ่งประกอบด้วยมงคลวัตถุต่างๆ ดังนี้
    1. พระกริ่งรูปเหมือนรุ่น 1 เป็นพระกริ่งรูปเหมือนขนาดเล็กเนื้อทองแดง ขนาดวัดที่ฐานได้กว้าง 1.4 ซม. สูง 2.5
    ซม. ใต้ฐานบรรจุเม็ดกริ่งและตอกโค้ดไว้
    2. พระรูปเหมือนบูชา ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว รุ่น 1 ลักษณะเหมือนกับพระกริ่งรูปเหมือน
    3. พระปิดตาเจริญลาภ รุ่น 1 (เนื้อนวโลหะ) ลักษณะเป็นพระปิดตา ประทับนั่งบนฐานบัว ด้านหน้ามีตัวอุณา
    โลม ด้านหลังเป็นยันต์น้ำเต้า และมีข้อความว่า "หลวงปู่ไปล่" ที่ฐาน
    4. พระประทานมงคล เนื้อผง ขนาดกว้าง 2 ซม. สูง 3.1 ซม. ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทานพรประทับนั่ง
    บนฐานบัว 2 ชั้น ด้านหลังเป็นรูปยังต์น้ำเต้า และมีข้อความใต้รูปยันต์ว่า "หลวงปู่ไปล่ จ.ปทุมธานี"
    5. พระสมเด็จพิมพ์นิยมรุ่นพิเศษ ขนาดกว้าง 2.4 ซม. สูง 3.8 ซม. ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิหูบายศรี
    ประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น ในซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังเป็นรูปหลวงปู่ไปล่ครึ่งองค์ พิมพ์ลึกลงในเนื้อพระและมีข้อความใต้รูปหลวงปู่ว่า "รุ่นพิเศษ หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง จ.ปทุมธานี"
    6. รูปเหมือนหยดน้ำ เนื้อผง ขนาดองค์พระวัดที่ฐานได้กว้าง 2.1 ซม. สูง 2.7 ซม. ด้านหน้า เป็นรูปหลวงปู่ไปล่
    ในท่านั่งสมาธิ ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฏิ คาดประคตเอว ใต้รูปหลวงปู่มีข้อความว่า "หลวงปู่ไปล่" ด้านหลังเป็นรูปยันต์น้ำเต้า ด้านล่างใต้รูปยันต์มีข้อความว่า "จ.ปทุมธานี" และด้านหลังจะนูนเป็นหลังเต่า
    7. พระชุด 5 องค์ บรรจุกล่อง สำหรับพระชุด 5 องค์ บรรจุกล่อง ประกอบด้วยพระผงและเหรียญรวม 5 องค์ คือ
    7.1 พระสมเด็จปรกโพธิ์รุ่นพิเศษ ขนาดองค์พระเท่ากับพระสมเด็จรุ่นพิเศษ ด้านหลังเหมือนกับพระสมเด็จรุ่น
    พิเศษทุกอย่าง ผิดกันที
    7.2 พระสังกัจจายน์ เนื้อผง ลักษณะกลม ด้านหน้าเป็นรูปพระสังกัจจายน์ นูนและคมชักมาก ส่วนด้านหลังเป็น
    รูปยันต์น้ำเต้า และมีข้อความใต้รูปยันต็ว่า "หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง" และด้านหลังนูนเป็นหลังเต่าเช่นเดียวกับพระรูปเหมือนใบโพธิ์ขนาดของพระ สังกัจจายน์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ซม.
    7.3 พระปิดตาพระควัมบดีเนื้อตะกั่ว ลักษณะเป็นพระปิดตา พระภควัมบดี เช่นเดียวกับพระปิดตาพระควัมบดี
    เนื้อผง ด้านหลังเป็นยันต์น้ำเต้า และมีข้อความใต้รูปยันต์ว่า "หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง"
    7.4 เหรียญรุ่นพิเศษ เป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดงหูในตัว ขนาดกว้าง 2.3 ซม. สูง 3 ซม. ด้านหน้าเป็นรูปหลวง
    ปู่ไปล่ ครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงปู่มีข้อความว่า "หลวงปู่ไปล่" ด้านหลังตรงกลางเหรียญเป็นรูปพระปิดตาพระภควัมบดีรอบเหรียญมีข้อความว่า "วัดดาวเรือง ต.บางพูด อ.เมือง รุ่นพิเศษ 14 พฤษภาคม 27"
    7.5 พระปรกใบมะขาม (เนื้อทองแดง) ขนาดองค์พระกว้าง 1 ซม.สูง 2 ซม. ด้านหลังเป็นชื่อ "หลวงปู่ไปล่"
    เหรียญหยดน้ำหลวงพ่อโสธร ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงหลวงปู่ไปล่ พ.ศ. 2529
    เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ไปล่ ทางวัดได้จัดสร้างเหรียญแจกเปนที่ระลึก เป็นเหรียญรูปหยดน้ำ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อโสธร จำลอง ด้านหลังเป็นรูปหลวงปู่ไปล่ครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดสังฆาฏิ และหลวงปู่ไปล่สวมแว่นตา ใต้รูปหลวงปู่ไปล่มีข้อความว่า "พระครูปัญยาพลคุณ วัดดาวเรือง อ.เมือง จ.ปทุมธานี" ที่น่าสังเกตของเหรียญรุ่นนี้คือ คำว่า พระครูปัญญาพลคุณ ในเหรียญเขียนว่า พระครูมัญญาพลคุณ เข้าใจว่าช่างแกะบล๊อคคงเข้าใจผิด หรือแกะผิด เหรียญรุ่นนี้สร้างจำนวน 2,000 เหรียญและแจกหมดในวันงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ไปล่
    วัตถุมงคลที่สร้างในปี พ.ศ. 2527 ดังกล่าว ทางวัดดาวเรืองได้นำออกให้สาธุชนได้สักการะบูชาในวันงานพระราชทานเพลิง วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ขณะนี้ยังพอมีเหลืออยู่ที่วัดจำนวนไม่มากนัก ท่านที่สนใจเชิญติดต่อได้ที่
    วัดดาวเรือง ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
    ทางไปวัดดาวเรือง ลงรถที่รังสิต แล้วเช่ารถ 2 แถวไปหรือถ้ามารถส่วนตัว พอถึงรังสิตแล้ว เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางสร้างใหม่รังสิต จังหวัดปทุมธานี เกือบถึงสะพานบางพูน ระยะทางจากแยกรังสิตประมาณ 4 ก.ม. เลี้ยวขวาไปทางเส้นทางลูกรังอีก 6 ก.ม. ก็ถึงวัดดาวเรือง
    ขอย้ำในตอนก่อนจบเรื่องว่า วัตถุมงคลหลวงปู่ไปล่ ปญฺญาพโล ทุกอย่างล้วนมีพุทธคุณสูง ทั้งนี้เพราะเกิดจากญาณของพระอริยสงฆ์คือหลวงปู่ไปล่ ที่ได้บรรจุพลังพุทธคุณลงไป
    " หลวงปู่ไปล่ ปญฺญพโล เป็นศิษย์ส่ายพระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์ จังหวัดปทุมธานี ผู้สร้างพระสมเด็จเนื้อผงอันเลื่องลือว่ามีเนื้อ และมวลสารคล้ายสมเด็จบางขุนพรหม
     
  19. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478

    upload_2023-5-27_22-25-4.png
     
  20. HMMAmulet626

    HMMAmulet626 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8,712
    ค่าพลัง:
    +478
    1837. สุดยอดพระปิดตาแดนใต้ พระปิดตาหลวงพ่อเส้ง รุ่น 2 ปี 2504 ให้บูชา.....pm.....


    upload_2023-5-27_22-32-4.png

    การสร้างพระปิดตาวัดแหลมทรายรุ่น 2 นี้ ก็มีการจัดพิธีการสร้างเหมือนรุ่นแรกทุกอย่าง นอกจากนี้ยังมีชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระปิดตารุ่นแรกซึ่งพ่อท่านเส้งได้นำมาผสมกับชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ที่ท่านหามาเพิ่มเติมอีกด้วย และได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์เก่งๆ ของภาคใต้มาร่วมปลุกเสกเช่น อาจารย์นำ อาจารย์ปาล อาจจารย์หมุน ทั้งในจังหวัดสงขลาและตรัง ด้วย...ลักษณะของพระปิดตาวัดแหลมทรายรุ่น 2 เป็นปิดตาองค์ขนาดเล็กสูง 1 ซม.กว่าๆ ด้านหน้าเป็นมหาอุด มือคู่หนึ่งยกขึ้นปิดหน้า อีกคู่หนึ่งล้วงลงปิดทวารเบื้องล่างเหมือนรุ่นแรก แต่พระปิดตารุ่น 2 พิมพ์และรายละเอียดจะมีความลึกคมชัดกว่ารุ่นแรก และมีการตัดขอบด้านข้าง จึงดูเหมือนแบบพระปิดตาลอยองค์ส่วนด้านหลังเป็นอักขระขอมตัว “ยะ” เป็นร่องลึก เนื้อโลหะออกเป็น ทองผสม วรรณะออก เหลือง อมเขียว...พระปิดตาวัดแหลมทรายรุ่น 2 ถึงจะมีการสร้างขึ้นทีหลังก็ตาม แต่ประสบการณ์นั้นก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย มีคนนำไปใช้แล้วมีประสบการณ์มากทั้งด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด และคงกระพัน เคยมีคนอุตริเอาพระปิดตาวัดแหลมทรายรุ่น 2 ใส่ปากกระบอกปืนแล้วยิงขึ้นฟ้าด้วยความคึกคะนอง ปรากฏว่าปากกระบอกปืนแตกใช้การไม่ได้อีกต่อไป


    มูลเหตุของการสร้างพระปิดตาวัดแหลมทราย รุ่นแรก ก็เนื่องมาจากว่าตอนนั้นสถานการณ์ชายแดนของไทยทางภาคตะวันออกและภาคอีสาน กำลังมีกรณีพิพาทกับอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส อีกทั้งทางภาคใต้ทวีปยุโรปกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าตอนนั้นสงครามจะยังไม่แผ่เข้ามายังประเทศไทยที แต่เค้าลางสงครามก็เริ่มก่อตัวอึมครึมขึ้นมาแล้ว เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นกำลังแผ่นแสนยานุภาพไปทั่วทวีปเอเชีย ประชาชนคนไทยพากันตื่นตระหนักไปกับภัยของสงครามกัน ด้วยเหตุนี้พ่อท่านเส้งจึงได้จัดสร้างพระปิดตาเพื่อเป็นวัตถุมงคลไว้คุ้มครองป้องกันอันตรายแก่ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร และชาวบ้านกัน


    พระปิดตาวัดแหลมทรายรุ่นแรกมีการสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 พ่อท่านเส้งท่านเรียกพระปิดตาของท่านว่า “พระโสฬสมงคล” เนื่องจากว่าเนื้อโลหะที่นำมาสร้างพระปิดตานั้น เนื้อหลักได้มาจากโลหะยอดพระเจดีย์ โลหะยอดพระปรางค์ โลหะยอดพระอุโบสถ โลหะยอดพระวิหาร โลหะยอดสถูป ฯลฯ รวมแล้วได้ 16 ยอด เท่ากับจำนวนโสฬสพอดี แล้วก็ยังมีโลหะศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ รวมอยู่เป็นจำนวนมากอีกด้วย


    พิธีการสร้างจัดได้ศักดิ์สิทธิ์ถูกต้องตามตำราโบราณทุกขั้นตอน ขณะที่ทำพิธีเททองนั้น เนื้อโลหะที่หลอมเหลวอยู่ในเบ้าได้กระเด็นไปถูกร่างกายของผู้ที่ร่วมในพิธีหลายครั้งด้วยกัน แต่ปรากฏว่าไม่มีใครได้รับอันตรายแม้แต่น้อย โลหะที่กำลังหลอมและเหลวด้วยความร้อนนั้นไม่ได้ทำให้เกิดความร้อนจนมีอาการปวดแสบปวดร้อนพุพองเลย โดยเฉพาะในตอนทำพิธีปลุกเสกพ่อท่านเส้งได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าทางวิทยาคมของภาคใต้หลายท่านด้วยกันมาร่วมปลุกเสก ขณะที่พิธีปลุกเสกกำลังดำเนินไปอยู่นั้น ได้มีฝูงผึ้งจำนวนมากบินมาเกาะในบริเวณพิธีเต็มไปหมด ผึ้งบางกลุ่มก็ไปจับเกาะตามตัวของพระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสกในพิธีจนดำพรืดไปทั้งตัว แต่ผึ้งนั้นก็ไม่ได้ทำร้ายใครแม้แต่สักคนเดียว เป็นอย่างนี้หลายวันตลอดจนพิธีปลุกเสกเสร็จสิ้นฝูงผึ้งนั้นก็บินหายไปหมด


    หลังจากที่สร้างพระปิดตารุ่นแรกไปแล้ว 22 ปี พ่อท่านเส้ง ก็ได้สร้างพระปิดตาขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งการสร้างพระปิดตาวัดแหลมทรายรุ่น 2 นี้ ก็มีการจัดพิธีการสร้างเหมือนรุ่นแรกทุกอย่าง นอกจากนี้ยังมีชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์ที่เหลือจากการสร้างพระปิดตารุ่นแรกซึ่งพ่อท่านเส้งได้นำมาผสมกับชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ที่ท่านหามาเพิ่มเติมอีกด้วย และได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์เก่งๆ ของภาคใต้มาร่วมปลุกเสกเช่นกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...