พูดคุย แนะนำ ครูบาอาจารย์สายล้านนา...

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย kang_som, 25 มกราคม 2012.

  1. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    จ.น่าน นอกจากหลวงพ่อวัดดอนตันแล้ว เท่าที่ผมรู้จัก มีครูบาสม วัดเมืองราม และครูบาก๋ง วัดศรีมงคล
    ครูบาก๋ง เห็นเขาบอกว่าท่านเป็นสายอภิญญา บางทีท่านก็ทำอะไรแปลกๆ เช่น ทานเหล้า (เป็นวิชาอาพัดเหล้าให้เป็นน้ำ) มรณภาพแล้วท่านก็ไม่เน่าเปื่อย
     
  2. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    ผมก็เป็นลูกครึ่งเมืองน่าน (แม่เป็นคนน่านครับ) แต่ไม่ค่อยรู้จักครูบาอาจารย์ทางน่านเท่าไร ส่วนครุบาก๋ง ผมเคยอ่านข้อมูลของท่านเหมือนกันครับ วิชาที่ทำเหล้าให้เป็นน้ำเปล่านี่ทำให้ผมนึกถึงหลวงปู่เคลือบ วัดหนองกระดี่ จ.อุทัย เลยครับ.....
     
  3. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    ผมว่ากระทู้นี้ถ้าใครจะอู้เหนือ เชิญได้เลยนะครับ อนุรักษ์ภาษาไปด้วย พอเป็นภาษาอ่าน อาจจะอ่านยากหน่อยเพราะสระจะเยอะมาก 55555 ลองดูครับแล้วแต่สะดวกเลย....
     
  4. Tawatchai1889

    Tawatchai1889 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6,406
    ค่าพลัง:
    +16,787
    ถ้าแนะนำจริงๆ ต้องแยกแต่ละจังหวัดกันเลยทีเดียว

    ยังมีพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่ซ่อนเร้นอยู่อีกมาก ที่ไม่ค่อยเผยตัว แต่ไปทำบุญด้วยแล้วสนิทใจ

    บางรูปบางองค์ ไม่ยึดติดวัตถุมงคล แบบนี้ก็อีกสายครับ ปฏิบัติอย่างเดียว
    บางองค์บางรูปก็เก่งเรื่องวิชาอาคม ควบปฏิบัติ มีเยอะครับ

    พะเยา เชียงราย พอรู้ พ่อสัมผัส และพบเจอครับ
     
  5. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    ถ้าพอจะเปิดเผยได้ ช่วยแนะนำได้นะครับพี่ธวัชชัย แต่อีกใจก็กลัวจะเป็นการรบกวนท่านเหมือนกันครับ....
     
  6. Tawatchai1889

    Tawatchai1889 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6,406
    ค่าพลัง:
    +16,787
    มีทั้งยังอยู่ และไม่อยู่ครับ บางองค์เหมือนไม่มีอะไร เหมือนพระธรรมดาๆ แต่ดีครับ
     
  7. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    เหรียญหลวงปู่หล้า วัดป่าตึง เชียงใหม่ ครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    ประวัติหลวงปู่หล้า
    หลวงปู่หล้า มีชื่อ หล้า ฉายา จนฺโท (อ่านว่าจันโท) ฉายา หรือชื่อที่อุปัชฌาย์ คือ พระเถระผู้บวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนาตั้งให้ท่านได้แก่ "จนฺโท"นั้นแปลว่า พระจันทร์ การตั้งฉายาเป็นไปตามวันเกิด หลวงปู่หล้าเกิดวันพฤหัสบดี



    เกิดที่บ้านปง
    หลวงปู่หล้า เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 (เดือนเกี๋งเหนือ) ตรงกับวันที่ 22 กันยายน 2411 ซึ่งเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่หากดูจากพระประวัติเมืองเชียงใหม่แล้ว อยู่ในช่วงผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครจากเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 7 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ หรือ "เจ้าหลวงตาขาว"(พ.ศ.2426 - 2439 เป็นเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 8 คือ เจ้าอินทวโรสสุริยวงศ์ (พ.ศ. 2442-2452)
    หลวงปู่หล้า เกิดที่บ้านปง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (บ้านปงอยู่ห่างจากวัดป่าตึงประมาณ 1 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้) สำหรับบริเวณนี้ ในอดีตเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาของภาคเหนือ จึงปรากฎเตาเผาและเครื่องปั้นดินเผา โดยอาจารย์ไกรศรี นิมมนานเหมินท์ สำรวจเตาเผา เมื่อ พ.ศ.2495 มีจำนวนถึง 83 เตา จึงได้ทำการเผยแพร่ในปี พ.ศ.2503 ในชื่อ "เตาสันกำแพง" ผลผลิตส่วนหนึ่งชาวบ้าน และอาจารย์ไกรศรี ได้นำถวายหลวงปู่หล้าไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดป่าตึง เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาต่อไป

    สกุลบุญมาคำ
    โยมพ่อชื่อ นายเงิน โยมแม่ชื่อ นางแก้ว นามสกุลบุญมาคำ เหตุที่มีนามสกุลนี้ หลวงปู่หล้าเล่าว่า "เพราะพ่ออุ้ย (ปู่) อบุญมา แม่อุ๊ย (ย่า) ชื่อคำ เมื่อมีการนามสกุล
    กำนันจึงตั้งให้เป็น "บุญมาคำ" ทุกคนทั้งโยมพ่อโยมแม่ พ่ออุ้ย แม่อุ้ย เป็นชาวบ้านปงมีอาชีพทำนา มีรากอยู่ที่บ้านปงมานานแล้ว
    หลวงปู่หล้าเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว จึงมีชื่อเดิมว่า "หล้า" ซึ่งหมายถึงสุดท้าย หลวงปู่หล้า มีพ่อน้อง 4 คน เสียชีวิตหมดแล้วได้แก่
    1. นายปวน
    2. แม่แสง
    3. นางเกี๋ยงคำ
    4. นายคำ
    หลวงปู่หล้ากำพร้าพ่อตั้งแต่อายุ 1 ขวบเท่านั้น โยมแม่จึงเลี้ยงดูบุตรทั้งหมดเพียงลำพังตนเอง หลวงปู่หล้าเล่าให้ฟังว่า "การเลี้ยงลูกสมัยก่อน ต้องช่วยกันทำงาน ช่วยเลี้ยงวัว ทำผิดก็ถูกเฆี่ยน ทำพลาดก็ถูกเอ็ด” เด็กวัดป่าตึง

    หลวงปู่หล้า หรือเด็กชายหล้า บุญมาคำ อายุได้ 8 ขวบ โยมแม่ก็นำไปฝากกับครูปินตา เจ้าอาวาสวัดป่าตึง ให้เป็นเด็กวัด (สมัยก่อนชาวบ้านนิยมฝากบุตรชายให้เป็นเด็กวัดเพื่อศึกษาเล่าเรียน) หลวงปู่หล้าจึงได้เรียนหนังสือเป็นครั้งแรกกับครูบาปินตา แต่ขณะนั้นหลวงปู่หล้าเรียนหนังสือพื้นเมือง (ช่วงนั้นตรงกับ พ.ศ. 2450เกิดความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์พื้นเมือง ภายใต้การนำของครูบาฝายหิน เจ้าอาวาสวัดฝายหิน เชียงใหม่ ซึ่งได้รับสถาปนาเป็นปฐมสังฆนายกองค์ที่ 1 พ.ศ. 2438กับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย นำโดยมหาปิงเจ้าคุณนพีสีศาลคุณ จนมีการกล่าวขวัญเรื่องนี้ว่า "จะไหว้ตุ๊ป่า หรือ จะไหว้ตุ๊บ้าน" คำว่า ตุ๊ หมายถึง พระจนความทราบถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรส สมเด็จพระสังฆราช และรัชกาลที่ 5 จึงทรงมีรับสั่งให้อาราธนาครูบาฝายหินลงไปเฝ้าใน
    ปี พ.ศ. 2499 ขณะนั้นครูบาฝายหินมีอายุ 75 ปี ครูบาฝายหินได้ถวายพระพรให้ทรงทราบเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง โปรดเกล้าถวายสมณศักดิ์ตำแหน่งพระราชาคณะให้ครูบาฝายหินเป็นพระอภัยสารทะสังฆปาโมกข์ ฉะนั้น ปีที่หลวงปู่หล้าไปเป็นเด็กวัดป่าตึงนั้น ทรงราชการส่งเสริมให้ทุก ๆ วัดจัดการศึกษาแก่กุลบุตร โดยยังคงผ่อนผันให้ใช้อักษรพื้นเมืองในการเรียนการสอน)

    สู่ร่มสกาวพัสตร์
    หลวงปู่หล้าเป็นเด็กวัด ศึกษาเล่าเรียนกับครูบาปินตา จนกระทั้งอายุ 11 ขวบ ก็บวชเป็นสามเณรในช่วงเข้ารุกขมูล เข้ากรรมอยู่ในป่า มีผู้บวชพร้อมกันครั้งนั้น7 คน ครูบาปินตาเป็นผู้บวชให้ทุกคนต้องไปอยู่รุกขมูลในป่าช้า การเข้ากรรม หรืออยู่กรรม หรือ การไปอยู่รุกขมูล เรียกว่าประเพณีเข้าโสสานกรรมซึ่งเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของพุทธศาสนา มักทำกันในบริเวณป่าช้าที่อยู่นอกวัด ผู้เข้าบำเพ็ญโสสานกรรมต้องถือปฏิบัติเคร่งครัดเพื่อต้องการบรรเทากิเลสตัณหา ความห่วงต่อวัตถุ ต้องสร้างความดีด้านจิตใจให้เกิด

    นักอนุรักษ์นิยม
    ขณะที่บวชเป็นสามเณรอยู่นั้น หลวงปู่หล้ามิได้เรียน แต่เพียงหนังสือพื้นเมืองเท่านั้นแต่ได้เรียนหนังสือไทยด้วย โดยเรียนกับพระอุ่น ซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดอู่ทรายคำในเมืองเชียงใหม่ และเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ (ปัจจุบันคือโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) แต่ครูบาปินตาไม่สนับสนุนให้พระเณรเรียนหนังสือไทย ในที่สุดพระอุ่นจึงต้องเลิกสอน (ช่วงนั้นทางการพยายามให้ทุกท้องถิ่นเรียนรู้ภาษาไทยภาคกลาง ซึ่งโรงเรียนเคร่งครัดมาก ผู้ใดพูดภาษาพื้นเมืองต้องถูกปรับ พระสงฆ์พื้นเมืองกลุ่มหนึ่งต้องการรักษาเอกลักษณ์ทางภาษาของท้องถิ่นไว้ จึงไม่สนับสนุนการเรียนภาษาไทยภาคกลางและครูบาปินตาก็เป็นผู้หนึ่งด้วย)

    เข้าเมืองเชียงใหม่
    หลวงปู่หล้าศึกษาเล่าเรียนทั้งอักขรวิธี และธรรมปฏิบัติกับครูบาปินตาเรื่อยมาจวบจนกระทั้งอายุ 18 ปี จึงเดินทางเข้าไปจำพรรษาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง ซึ่งการเดินทางสมัยก่อนลำบากมากไม่มีถนนหนทาง ไม่มีรถรา พาหนะใด ๆ ก็ไม่มี จะไปไหนก็ต้องเดินไป อย่างเช่นจะไปเชียงใหม่ ชาวบ้านปงก็ต้องออกเดินทางตั้งแต่ตี 2 ก็จะไปสว่างเอาที่เชียงใหม่ หลวงปู่หล้าเล่าว่า "หลวงปู่หล้าก็ต้องเดินเหมือนกัน"

    อุปสมบท
    หลวงปู่หล้าเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพนเพียง 1 ปี ยังไม่ทันสำเร็จ ก็ต้องเดินทางกลับวัดป่าตึง เพื่อปรนนิบัติครูบาปินตาที่ชราภาพ ด้วยความกตัญญู นอกจากปรนนิบัติแล้วก็ติดตามครูบาปินตาไปตามที่ต่าง ๆ ด้วย เมื่ออายุครบ 20 ปี ก็อุปสมบทในอุโมสถน้ำ ปัจจุบันอุโบสถน้ำหลังนี้ถูกรื้อไปแล้ว (การอุปสมบทในอุโบสถน้ำ หรือการอุปสมบทแบบนทีสีมา หรืออุทกกุกเขปสีมาหรือแพโบสถ์ในน้ำ เป็นประเพณีที่รับมาจากสำนักมหาวิหารของลังกา สมัยโบราณนิยมกันมาก พระสุมนเถระผู้นำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทมาเผยแพร่ในล้านนา เมื่อ พ.ศ.1912 สมัยพระเจ้ากือนากษัตริย์องค์ที่ 6 พ.ศ.1894-1928 ได้กระทำอุปสมบทกุลบุตรชาวล้านนาครั้งแรกด้วยวิธีสมมตินทีสีมา หรือแพโบสถ์ในน้ำที่แม่ปิง บริเวณใกล้วัดจันทร์ภาโน)
    การอุปสมบทของหลวงปู่หล้าในครั้งนั้น ครูบาปินตาเป็นพระอุปัชฌาย์ ครูบาอิ่นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณวิชัยศรีเป็นพระอนุสาวนาจารย์

    นมัสการครูบาศรีวิชัย
    หลวงปู่หล้าได้ติดตามพระญาณวิชัย เจ้าคณะตำบลออนใต้ ไปนมัสการครูบาศรีวิชัย ที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตอนนั้นหลวงปู่หล้าอายุ 23 ปีได้เดินทางด้วยเท้าจากท่าเดื่อ ท่าตุ้ม บ้านโฮ่ง ไปถึงบ้างปาง ใช้เวลาเดินทางถึง 2 วันและ 2 คืน แต่เมื่อไปบ้านปางปรากฎว่า ครูบาศรีวิชัยไปที่พระธาตุดอยเกิ้ง หลวงปู่หล้าจึงรออยู่ที่บ้านปาง 2 คืน ครูบาศรีวิชัยจึงได้เดินทางกลับ หลวงปู่หล้าจึงได้เข้านมัสการแล้ว ได้เดินทางกลับวัดป่าตึง แต่ขากลับระหว่างเดินทางหลวงปู่หล้าฉันอาหารผิดสำแดงทำให้ท้องเสีย ถึงกับอาพาธนาน 1 เดือน ต้องพักกลางทางที่ฮอด (อำเภอ) และที่สบขาน ครูบาศรีวิชัยมาจำพรรษาที่วัดสิงห์ เมืองเชียงใหม่ หลวงปู่หล้าได้ไปนมัสการอีกหลายครั้ง

    ผู้สอนวิปัสสนากรรมมัฏฐาน
    หลวงปู่หล้าได้เรียนวิปัสสนากรรมมัฏฐาน กับครูบาสุริยะ วัดจอมแจ้ง ขณะที่ครูบาสุริยะจะไปวัดจอมแจ้งได้รับนิมนต์ไปจำพรรษาที่วัดเชียงแสน
    ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง (ครูบาสุริยะ วัดจอมแจ้ง เป็นศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของครูบาศรีวิชัย ซึ่งต่อมาถูกทางการบังคับให้ลาสิขา เพราะครูบาศรีวิชัยเป็นผู้บวชให้ ส่วนวัดเชียงแสนเป็นวัดเก่าที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2031 ตั้งอยู่ห่างจากวัดป่าตึงเข้าไปประมาณ 2 กม. แต่ปัจจุบันเป็นวัดร้างพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดเชียงแสน คือพระเจ้าฝนแสนห่า และหลักศิลาจารึกของหมื่นดาบเรือน ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดป่าตึง)

    สูญเสียครั้งใหญ่
    หลวงปู่หล้าปรนนิบัติครูบาปินตา จนกระทั้งล่วงเข้าปี พ.ศ.2467 ครูบาปินตาก็มรณภาพด้วยวัย 74 ปี ขณะนั้นหลวงปู่หล้า อายุ 27 ปีเท่านั้นเรียกว่าเป็น "พระหนุ่ม" ก็ต้องรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าตึงต่อจากครูบาปินตาต่อมาอีก 4 ปี หลวงปู่หล้าอายุ 31 ปี โยมแม่ซึ่งอายุ 63 ปีก็เสียชีวิตไปอีกหลังโยมพ่อ 30 ปี

    เจ้าอาวาสวัดป่าตึง
    หลวงปู่หล้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าตึง พ.ศ.2467 ต่อจากครูบาปินตา เจ้าอาวาสรูปแรก และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลออนใต้ พ.ศ.2476 (ช่วงรัชกาลที่ 7 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1 ปี มีการยุบเลิกมณฑลพายัพและการบริหารราชการระดับมณฑล คงเหลือแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน)หลวงปู่หล้าได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุ 40 ปี

    ทำถนนขึ้นดอยสุเทพ
    ปี พ.ศ. 2477 ครูบาศรีวิชัยได้อำนวยการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ โดยใช้เวลา 5 เดือน 22 วัน ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2477 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2478ผู้มีศรัทธาต่อครูบาศรีวิชัยทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส โดยเฉพาะพวกกเหรี่ยงจากอำเภอลี้จังหวัดลำพูน ได้มาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก ระยะทางที่สร้าง 11,530 กม.

    หลวงปู่หล้าเดินทางไปร่วมสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มสร้างมีคณะศรัทธาจำนวนหนึ่งติดตามไปจากวัดป่าตึง หลวงปู่หล้าเล่าว่า "การสร้างถนนมีการแบ่งงานกันตามกำลังของผู้ไปร่วม ชาวบ้านที่ติดตามไปจากวัดป่าตึงทำได้ 5 วา ใช้เวลา 14 วัน พวกที่ไปจากเมืองพานทำได้60 วา"

    พระครูจันทสมานคุณ
    หลวงปู่หล้าได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น "พระครูจันทสมานคุณ" ปี พ.ศ. 2504 อายุ 63 ปี ท่านได้เดินทางไปกรุงเทพ เพื่อรับพระราชทานพัดยศจากสมเด็จพระสังฆราช พระวันรัต (ปลด กิตติโสภโณ วัดเบญจมบพิตร ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช)
    การเดินทางไปกรุงเทพนับเป็นครั้งที่ 3 โดยครั้งแรก พ.ศ.2499 ติดตามครูบาอินถา เจ้าอาวาสวัดเชียงมั่น ครั้งที่สอง พ.ศ. 2500 เข้าอบรมเกี่ยวกับการปกครองของคณะสงฆ์ ที่วัดสามพระยา ได้มีโอกาสร่วมในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษด้วย

    ครูบาปินตา
    หลวงปู่หล้าได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับครูบาปินตา พระอุปัชฌาย์ว่า "ครูบาปินตา เป็นคนบ้านแม่ผาแหน บวชเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร เป็นศิษย์ของครูบากันธิยะ วัดแม่ผาแหน ท่านเป็นผู้สร้าง วัดป่าตึงองค์แรก หลวงปู่หล้าเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 2 เมื่อตอนที่สร้างวิหาร ครูบาปินตาต้องขออนุญาตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เพื่อตัดไม้สักมาสร้าง ครูบาปินตาเป็นพระที่เคร่งครัด ในการวิปัสนากรรมมัฎฐาน ฉันมื้อเดียวตลอดชีวิต มีความเชี่ยวชาญในหนังสือพื้นเมือง เป็นผู้สอนหนังสือพื้นเมืองให้หลวงปู่หล้า เพราะไม่ต้องการให้มีการเรียนการสอนภาษาไทยภาคกลางในวัด แต่ต้องการให้พระเณรเรียนหนังสือพื้นเมือง หลวงปู่หล้าบวชเมื่อครูบาปินตาอายุ 59 ปี และมรณภาพอายุ 74 ปี ขณะหลวงปู่หล้าอายุ 27 ปี"

    สบายอย่างตุ๊เจ้า
    ตามที่มีการพูดเชิงวิจารณ์ถึงพระภิกษุในเมืองเหนือว่า "สบายอย่างตุ๊เจ้า" คือพระเมืองเหนืออยู่สุขสบายกัน จึงไม่ปรากฎว่ามีความสำเร็จในการศึกษาได้เปรียญสูง ๆ เหมือนกับพระทางภาคอีสานนั้น หลวงปู่หล้าตอบเรื่อง่นี้ว่า พระเมืองเหนือมิใช่ว่าจะไม่อยากเรียน สมัยก่อนไม่มีระบบ ไม่ได้จัดเป็นระเบียบใครใคร่เรียนก็เรียน ไม่อยากเรียนก็ได้

    สำหรับสาเหตุที่พระเณรชอบลาสิกขา จนมีคติว่า "น้อยเวย หนานช้า" โดยชาวล้านนาเรียกผู้ที่สึกจากเณรว่า "น้อย" ผู้ที่สึกจากพระเรียกว่า "หนาน"ซึ่งแปลว่า สึกจากเณรเรียกน้อยมักรวดเร็ว แต่สึกจากพระคือหนานมักช้า หลวงปู่หล้าอธิบายว่า เพราะชาวเหนือนิยมบวฃตั้งแต่เป็นเด็กพออายุ 18-19 ปี ก็เกิดการเบื่อหน่าย โดยเฉพาะที่อายุ 27-28 ปี จะยิ่งเบื่อมาก ๆ จึงลาสิกขาบท

    หลวงปู่หล้าตาทิพย์
    มีคนยกย่องว่า "หลวงปู่หล้า ตาทิพย์" เล่ากันว่า มีอยู่วันหนึ่งฝนตั้งเค้าจะตกหนัก หลวงปู่หล้าบอกให้พระเณรรีบออกจากกุฏิ เพราะกุฏิเก่าทรุดโทรมและมีต้นลานใหญ่อยู่ข้าง ปรากฎว่าวันนั้นฝนตกหนักกิ่งต้นลานก็หักโค่นลงมาทับกุฏิพังทุกคนปลอดภัย และพากันสรรเสริญว่า "ตาทิพย์"

    อีกเรื่องหนึ่งคือ มีคณะผู้มากราบนมัสการหลวงปู่หล้าเกินจำนวนที่แจ้งขอของขลังจากท่าน แต่ได้รับแจกกันครบทุกคน จึงพากันเห็นเป็นอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์

    นอกจากนั้น นายอนันต์ อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านป่าตึงได้เล่าเพิ่มเติมว่า "เช้าวันหนึ่งประมาณตี 5 หลวงปู่หล้าให้พระเณรรีบทำความสะอาดวิหารจะมีแขกมาหาที่วัด ปรากฎว่าพอถึง 6 โมงเช้า พระศรีธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดสันป่าข่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นำญาติโยมมาหา"

    หลังจากนั้นชาวบ้านของหายหรือถูกลักขโมย มาถามหลวงปู่ก็บอกให้ไปตามทิศนั้นทิศนี้ได้ของคืนมาทุกครั้ง แต่หากท่านห้ามไม่ต้องไปตามจะไม่ได้คืน ก็จะเป็นจริง

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  8. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    พระครูมงคลรังษี (หลวงปู่ครูบาก๋ง) วัดศรีมงคล อ.ท่าวังผา จ.น่าน<HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>
    [​IMG]


    ชาติภูมิ
    พระครูมงคลรังสี นามเดิมชื่อ พรมา นามสกุล ไชยปาละ บิดาชื่อ นายธนะวงศ์ ไชยปาละ มารดาชื่อ นางอูบแก้ว ไชยปาละ เกิดเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๓ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ ณ บ้านดอนมูล ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน
    มีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน ๔ คน
    พระครูมงคลรังสี
    นายยืน ไชยปาละ (ถึงแก่กรรม)
    นางบัวเขียว พินิจทะ (ถึงแก่กรรม)
    นางตึง ไชยปาละ อายุ ๗๐ ปี

    การศึกษา
    การศึกษาเบื้องต้น หลวงปู่ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลบ้านดอนมูล สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากนั้นก็ได้เรียนหนังสือไทยล้านนา และไทยกลาง ณ วัดดอนมูล จากพระในวัดเป็นผู้สอนให้จนสามารถอ่านออกเขียนได้คล่อง

    การบรรพชา

    บรรพชาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๕๙ ขณะเมื่ออายุได้ ๑๔ปี โดยมีพระอิทธิยศเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านดอนมูล

    อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี หลวงปู่ต้องไปคัดเลือกทหาร จึงได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้ว่า “ถ้าข้าน้อยได้คัดเลือกชั้นที่ ๑ ก็จะขอเป็นทหารรับใช้ชาติตลอดไป แต่ถ้าข้าน้อยคัดเลือกได้ชั้นที่ ๒ ก็จะขออุปสมบทเป็นพระภิกษุตลอดชีวิต จะไม่ขอลาสิกขาเพศ จะขออยู่รับใช้พระศาสนาจนดับขันธ์ คงสืบเนื่องจากบุญวาสนา ซึ่งหลวงปู่ได้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด จึงคัดเลือกได้ที่ ๒ในวันรุ่งขึ้นของวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๖๖ หลวงปู่จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดดอนมูล โดยมีพระอิทธิยศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมวาท เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอินต๊ะวงศ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ให้นามฉายา ว่า “มงคโล ภิกษุ
    เมื่อได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่ได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฎฐาน และถวายตัวเป็นศิษย์ครูบาหลวงพุทธวงศ์ ครูบาอุปละ ครูบาญาณะวัดสวนดอก ครูบาก๋าอาธะวัดไฮ่สบบั่ว ครูบากิตต๊ะวงศ์ ครูบาอินต๊ะ ครูบาบ้านส้าน ครูบาขัตติยะ วัดร้อง ได้ศึกษาและปฏิบัติอยู่เป็นเวลา ๒ ปี จึงได้อำลาครูบาและอุปัชฌาย์ โดยแจ้งความจำนงที่จะออกไปบำเพ็ญเพียร ตามป่าเขาลำเนาไพรด้วยตนเอง เพื่อให้กายวิเวก ได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาในจังหวัดน่าน แล้วออกทะลุป่าดงใหญ่ไปยังจังหวัดเชียงราย เชียงตุง แล้ววกกลับมาทางเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ ตามป่าเขาอันเงียบสงบ และในป่าช้าใช้หลุมฝังศพเป็นที่ปฏิบัติธรรมอยู่เป็น เวลา ๖ ปี

    <TABLE class=ncode_imageresizer_warning id=ncode_imageresizer_warning_1 width=600><TBODY><TR><TD class=td1 width=20></TD><TD class=td2 unselectable="on"></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    การเผยแพร่ธรรมและการปกครอง

    สืบเนื่องมาจากหลวงปู่ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมอย่างเคร่งครัด ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ คณะศรัทธา ชาวบ้านก๋ง ในขณะนั้น มีจำนวน ๑๕ หลังคา ได้ส่งตัวแทนไปนมัสการหลวงปู่ โดยแจ้งความจำนงให้หลวงปู่ทราบว่า “มานิมนต์หลวงปู่ไปประจำที่วัดบ้านก๋ง เพราะเป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุและสามเณรมาจำพรรษา ให้ชาวบ้านได้ทำบุญสนทานกันหลายสิบปีแล้ว ศีลธรรมของชาวบ้านเริ่มเสื่อม มีการฉกชิง วิ่งราว ปล้นสดมภ์ ฉุดคร่าอนาจารอยู่เสมอ” หลวงปู่จึงรับนิมนต์และมาอยู่จำพรรษาบนกุฏิร้างมุงหญ้าคา ซึ่งมีอยู่หลังเดียวเท่านั้นในบริเวณวัด ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมผุพัง เป็นป่าทึบมืดครึ้ม มีเสือลายพาดกลอน และเสือโคร่ง ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ แต่ด้วยกระแสแห่งเมตตาธรรมของหลวงปู่ได้แผ่เยือกเย็นไปทั่วบริเวณกว้าง ความโหดร้ายและปรากฏตัวให้เห็นก็สูญหายไปในที่สุด ชาวบ้านที่รุ่มร้อนเบียดเบียนบีฑาซึ่งกันและกันเกินกว่าที่ผู้ใหญ่บ้านจะปกครองได้ ด้วยบุญบารมีแห่งเมตตาธรรมของหลวงปู่ที่ได้อบรมชาวบ้านทุกวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ แต่มีชาวบ้านบางคนยังขาดความสามัคคี เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นพกแต่ความโลภะ โทสะ และโมหะ หลวงปู่จึงได้สร้างพระพุทธรูปและประกาศแก่ชาวบ้านให้ทุกคนนำปอยผมของแต่ละคนมามอบให้ แล้วหลวงปู่ก็นำเอาปอยผมของทุกคนบรรจุไว้ในฐานพระ ในพิธีบรรจุปอยผมไม่ว่าเด็กเล็กชายหญิง คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าคนแก่ มาพร้อมเพียงกันทุกคน แล้วหลวงปู่ก็ประกาศว่า ต่อแต่นี้ไปชาวบ้านก๋งผู้ใดขืนกระทำความชั่ว พระพุทธรูปจะไม่ให้ความคุ้มครองเป็นอันขาด แต่ถ้าผู้ใดทำความดีละความชั่ว ให้หมั่นเข้าวัดรักษาศีล ฟังธรรม พระพุทธรูปจะให้ความคุ้มครองแก่เขาเหล่านั้น ให้มีแต่ความสุข ความเจริญ อายุยืนนาน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปรากฏว่าบ้านก๋งเริ่มเป็นดินแดงแห่งความร่มเย็น ชาวบ้านต่างก็มี เมตตาธรรม มีความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียว เลิกอบายมุขทั้งหลายจนหมดสิ้น ทั้งกลับมาฝึกกรรมมัฎฐานกันทั้งหมู่บ้าน จนทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงปู่ขจรขจายไปทั่วทุกหมู่บ้านทั้งจังหวัดน่าน
    เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยความสำนึกในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เพื่อต้องการให้กุลบุตรของพุทธศาสนิกชนได้บรรพชาและอุปสมบทสบทายาทพุทธศาสนา หลวงปู่ต้องเดินทางไปทำการบรรพชาและอุปสมบทให้ด้วยความลำบากตรากตรำในท้องที่ตำบลยม ตำบลอวนและตำบลศิลาเพชร ซึ่งเป็นท้องที่ป่าเขาลำเนาไพร ทุรกันดาร ต้องเดินทางนอนพักแรมกลางป่า บางครั้งก็ต้องใช้ม้าเป็ นพาหนะในการเดินทาง
    เมื่อวันที่ ๕ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูมงคลรังสี ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นโทในนามเดิม เจ้าคณะตำบลยม

    การทะนุบำรุงวัด

    เนื่องจากวัดก๋งเป็นวัดรกร้างมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ไม่มีพระภิกษุและสามเณรมาจำพรรษาเมื่อหลวงปู่ได้รับนิมนต์ชาวบ้านมาอยู่จำพรรษาประจำที่วัดแล้ว หลวงปู่ได้เริ่มปลูกฝังจิตใจ ฟื้นฟูสภาพจิตใจของชาวบ้านก่อน ต่อมาเมื่อชาวบ้านคลายความรุ่มร้อน ชาวบ้านมีศีล มีเมตตาต่อกัน มีหลวงปู่เป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน หลวงปู่ก็ได้ชักชวนชาวบ้านบูรณะซ่อมแซม และสร้างกุฏิ พระวิหาร พระอุโบสถ ชาวบ้านจะช่วยกันบริจาคทรัพย์และร่วมแรงกันทำการก่อสร้าง หลวงปู่จะบริจาคทรัพย์ส่วนตัว สมทบทุนในการก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ โดยมิได้หวังสะสมไว้เป็นของส่วนตัว จนกระทั่งในบั้นปลายของชีวิตบรรดาสานุศิษย์ต่างก็มีความประสงค์จะให้หลวงปู่ได้พักผ่อน ทุกคนต่างก็ร่วมมือกันสร้างกุฏิหลังใหม่ สร้างพระเจดีย์บรรจุพระธาตุ เป็นการน้อมถวายแก่หลวงปู่ เพื่อเป็นบุพการีบูชา อยากจะให้หลวงปู่มีชีวิตยาวนานเป็นมิ่งขวัญของสานุศิษย์ทั่วหน้า
    [​IMG]

    หลังจากคณะศิษย์ได้สร้างกุฏิ และได้ทำการถวายแด่หลวงปู่แล้ว ก็มีการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระธาตุ ซึ่งหลวงปู่ได้ทนุถนอมไว้เป็นเวลาอันยาวนาน พิธีบรรจุได้กระทำพร้อมกับวันสืบชะตาอายุครบ ๘๗ ปี ของหลวงปู่ เสร็จการจัดงานนมัสการพระธาตุแล้ว หลวงปู่เริ่มมีอาการป่วยเกี่ยวกับหลอดลมและความชราภาพ พระอาจารย์มนตรี ธมมเมธี ก็ได้พาไปตรวจรักษาหลายครั้ง จนกระทั่งเกินขีดความสามารถของแพทย์ที่จะทำการเยียวยา และให้การรักษาได้ แต่หลวงปู่มิได้แสดงอาการเจ็บปวดหรือบ่นแม้แต่น้อย คงมีสุขภาพจิตสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่ได้เรียกศิษย์ผู้ใกล้ชิด พร้อมกับสั่งพระอาจารย์มนตรีไว้ทุกประการ และขอมอบสังขารให้สานุศิษย์เก็บไว้ที่วัดศรีมงคล ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่ได้บูรณะซ่อมแซม ได้ทำการฟื้นฟูสภาพความเสื่อมโทรมนานัปการ ได้สร้างชาวบ้านให้เป็นชาวพุทธ ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่ได้ขอร้องให้สานุศิษย์นำหลวงปู่ไปส่งที่วัด เมื่อหลวงปู่ได้ถึงวัด ชาวบ้านก็ได้มาต้อนรับอย่างคับคั่งหลวงปู่อยู่ ๒-๓ วัน หลวงปู่ก็จากไปด้วยอาการอันสงบ ต่อหน้าสานุศิษย์ผู้ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุข เคยบุกป่าผ่าดอยมาด้วยกัน ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลา ๐๑.๓๐ น.


    <TABLE class=ncode_imageresizer_warning id=ncode_imageresizer_warning_4 width=600><TBODY><TR><TD class=td1 width=20></TD><TD class=td2 unselectable="on"></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]


     
  9. daroon

    daroon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +3,038
    [​IMG]

    ประวัติหลวงพ่อพระครูอดุลสีหวัตต์ (สิงห์คำ อริโย )อโนจา
    เจ้าคณะอำเภอแม่สรวย รูปที่ ๓
    หลวงพ่อพระครูอดุลสีหวัตต์ (สิงห์คำ อริโย ) อโนจา
    วัดพระธาตุจอมแจ้ง (ม.) ตำบลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
    พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๕๑๘
    เจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแจ้ง (ม.) ตำบลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
    ๑.ชาตกาล
    หลวงพ่อพระครูอดุลสีหวัตต์ ( สิงห์คำ อริโย ( อโนจา )มีภูมิลำเนาเดิม
    เกิดที่บ้านป่าขาม ต.ป่าขาม อ.เมือง จ.ลำพูน เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๔
    ตรงกับเดือน ๔ เหนือขึ้น ๒ ค่ำ ปีฉลูบิดานายคำแดง มารดานางคำติ๊บ นามสกุล อโนจา
    มีน้องร่วมบิดามารดา เดียวกัน ๕ คน หลวงพ่อพระครูอดุลสีหวัตต์เป็นบุตรคนแรก
    ๒.การบรรพชา -อุปสมบท
    เมื่ออายุได้ 11 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดป่าขาม ต.ป่าขาม อ.เมือง จ.ลำพูน
    เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ พระอาจารย์ตาคำ เจ้าอาวาสวัดนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์
    อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดป่าขาม ต.ป่าท่าขาม อ.เมือง จ.ลำพูน โดยมี
    พระอธิการผัด จนฺทวโร เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการปัญญาปญฺญาปชฺโชโต เจ้าอาวาสวัดร่องครก ต.หนองทอง จ.เชียงใหม่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีเจ้าอธิการบุญมี อริยวํโส เจ้าอาวาสวัดป่าขาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ๓ การศึกษา
    สอบได้ประถมศึกษาปี่ที่ ๓ เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๕
    สอบได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๔
    สอบได้นักธรรมชั้นโท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑
    ๔.การปกครอง
    พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นเจ้าคณะตำบลห้วยสัก
    พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นรักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอแม่สรวย
    พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นเจ้าคณะอำเภอแม่สรวย
    พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับตราตั้งเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแจ้ง วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๐
    ๕.สมณะศักดิ์
    พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูอดุลสีหวัตต์
    พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร
    เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
    มรณภาพ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๙ รวมสิริ อายุได้ ๗๕ ปี ๕๕ พรรษา


    [​IMG]
    เหรียญรุ่นแรกของท่านสร้างปี 2519 เหรียญอาพีจี ประสบการณ์ 3 มี.ค. 2520 ถนนสาย เทิง ตับเต่า มีผู้เสียชีวิต 27 ศพ ถูกผู้ก่อการร้ายยิงระหว่างทาง ปรากฏว่าผู้ที่ห้อยวัตถุมงคลของท่านในคอไม่มีผู้ที่เสียชีวิต ซึ่งแม่ผมได้เล่าให้ฟังว่าในหมู่บ้านแม่ไม่มีใครเสียชีวิตเลยเพราะห้อยพระของท่านอยู่ในคอ แต่หมู่บ้านอื่นตายกันเต็มไปหมด อยากเผยแพร่เพราะแม่เป็นคนเกิดที่ อำเภอแม่สรวย ใกล้วัดจอมแจ้งตอนเด็กๆ ไปวัดบ่อยมากเลยครับ
     
  10. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    เอามาฝาก สำหรับคนขี้กลัวผีครับ

    "ลูกอมผีกลัว รุ่น ๔ " ครูบาสิงห์แก้ว วัดปากกอง จ.เชียงใหม่



    รุ่นนี้ไม่ทันครูบาท่านครับแต่มวลสาร เป็นมวลสารที่ท่านได้ปลุกเสกเอาไว้ก่อนมรณะ และได้ดำริให้สร้างหลังจากท่านมรณะ รุ่นนี้จะมีเถ้าอัฐิของท่านครูบาสิงห์แก้วและมวลสารเดียวกับรุ่น ๑ ,๒ ,๓ผสมอยู่ด้วย ราคายังไม่แรงครับ ตอนที่ผมไปบูชามา ๓๐๐ บาทครับ รุ่น ๓ ที่วัดเหลือ ๒ ลูก ลูกละ ๓,๐๐๐ บาท เหลืออยู่ ๒ ลูก ส่วน รุ่น ๑,๒ ไม่ต้องพูดถึงแล้วครับ เป็นตำนานไปแล้วและราคาไปไกลเกินเอื้อม (สำหรับผม) แล้วครับ


    [​IMG]

    ด้านซ้ายมือของลูกอมจะเห็นเส้นเกษาครับ<!-- google_ad_section_end -->

    เหรียญของท่านครูบาสิงห์แก้ว วัดปากกอง เชียงใหม่

    [​IMG]

    เหรียญรุ่นนี้ทันท่านครูบาครับ เหรียญออกปี ๓๔ ครูบาท่านมรณะปี ๓๕ เป็นเหรียญรุ่น ๓

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  11. ชนคุณ

    ชนคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +299
    อยากทราบประวัติหลวงพ่อวัดดอนตันครับ ถึงผมเป็นเด็กใต้
    แต่ก็พอทราบมาว่าหลวงพ่อวัดดอนตัน ก็เหนียวสุดๆ เหมือนกัน
    ...ขอบคุณครับ...:cool:
     
  12. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    'หลวงพ่อบุญทา พุทธวังโส'
    หรือ "พระครูเนกขัมมาภินันท์"
    ที่ชาวบ้านเรียกขานกันติดปากว่า "หลวงพ่อวัดดอนตัน"<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]


    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->
    <OBJECT id=_em_hilex_emn name=_em_hilex_emn classid=clsid:d27cdb6e-ae6d-11cf-96b8-444553540000 width=1 align=middle height=1 type=application/x-shockwave-flash>
























    </OBJECT>
    <SCRIPT src="http://b.scorecardresearch.com/beacon.js" async="true"></SCRIPT><SCRIPT src="http://b.scorecardresearch.com/beacon.js" async="true"></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript src="http://a.admaxserver.com/servlet/ajrotator/818517/0/vj?z=admaxasia2&dim=280733&pid=f9495e6b-a541-414e-932e-d0ad5d5e6065&asid=b2a78f01-1304-47c3-8524-8df944047e53"></SCRIPT><!-- Zone Tag : Palungjit dot com Palungjit 300x250 --><SCRIPT type=text/javascript>innity_pub = "978d76676f5e7918f81d28e7d092ca0d";innity_zone = "25638";innity_width = "300";innity_height = "250";innity_country = "TH";</SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://cdn.innity.com/network.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://as.innity.com/synd/978d76676f5e7918f81d28e7d092ca0d/25638/js/300/250/0/1327918328815"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript>innity_housead = "1";innity_country = "TH";innity_path = "/adnetwork/house/pub_2099/";innity_proxy = "proxy_46097";innity_ord = "ord=[timestamp]";</SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://cdn.innity.com/global.js"></SCRIPT><SCRIPT>var _comscore = _comscore || [];_comscore.push({ c1: "8", c2: "6299460" ,c3: "1000000000000000003" });(function() {var s = document.createElement("script"), el = document.getElementsByTagName("script")[0]; s.async = true;s.src = (document.location.protocol == "https:" ? "https://sb" : "http://b") + ".scorecardresearch.com/beacon.js";el.parentNode.insertBefore(s, el);})();</SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript>var NetworkID = 18;var AdSpotID = "25638";</SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://sea-cdn.effectivemeasure.net/emn.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pub.innityserve.net/lib/innity.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pub.innityserve.net/adnetwork/house/pub_2099/proxy_46097.js?ord=[timestamp]"></SCRIPT><IFRAME style="PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: none; BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; HEIGHT: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; PADDING-TOP: 0px" id=_em_inv_frame__emn frameBorder=0></IFRAME><NOSCRIPT></NOSCRIPT></P>พระครูเนกขัมมาภินันท์ หรือ หลวงพ่อวัดดอนตัน มีนามเดิมว่า บุญทา ใจเฉลียว เกิดวันที่ 5 มกราคม 2439 ณ.บ้านดอนตัน ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ในวัยเยาว์ท่านได้เล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พออายุได้ 14 ปี บิดานำไปฝากเป็นศิษย์วัดดอนตัน เพื่อเรียนหนังสือ อักษรธรรมล้านนา และสามารถศึกษาได้อย่างแตกฉาน เมื่ออายุครบ16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2455 ณ.วัดดอนตัน โดย พระเตวินต๊ะ วัดสบหนอง ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา เป็นพระผู้ให้บรรพชา และเปลียนชื่อให้ใหม่ว่า สามเณร สุทธวงศ์ ใจเฉลียว เป็นสามเณรจนอายุครบบวชเมื่ออายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ.พัทธสีมาวัดดอนตัน ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา จ.น่าน โดยพระเตวินต๊ะ วัดสบหนอง ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุปทะ วัดตาลชุม ต.ตาลชุม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพรมทพ วัดอัมพวัน ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2460 เมื่ออุปสมบทแล้วมีชื่อว่า พระสุทธวงศ์ ฉายา พุทธวํโส ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมจนได้วุฒินักธรรมโทและสนใจศึกษา ฝึกฝน ด้านพุทธาคม เวทมนต์คาถาและโหราศาสตร์อีกด้วยต่อมาท่านได้อธิษฐาน สมาทานออกธุดงค์ เพื่อฝึกจิต สมาธิ ยกระดับภูมิจิตภูมิธรรม พบปะแลกเปลียนเคล็ดวิชา ฝากตัวเป็นศิษย์กับครูอาจารย์หลายสำนัก ทั้งบรรพชิตและฆราวาส ท่านเคยผ่าน พิธีอาบแช่น้ำว่าน (หรือ“อาบขาง” ในภาษาล้านนา ) มากถึง 7 หม้อ 7 อาจารย์ ซึ่งเป็นเคล็ดวิชาด้าน คงกระพันชาตรี ที่สืบทอดมีมาแต่โบราณกาล ท่านได้มุ่งมั่นฝึกฝน จนแตกฉานในด้าน เวท พุทธาคม อักขระเลขยันต์ การลงตระกรุดแบบต่างๆ ซึ่งท่านได้นำมาประยุกต์ใช้และสงเคราะห์แก่สาธุชนทั่วไป ด้วยเมตตาธรรมเป็นที่ตั้ง

    [​IMG]

    ท่านปกครองวัดดอนตันนานถึง 61 ปี ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส เป็นเจ้าคณะตำบล เป็นพระอุปัชฌาย์ จนถึงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (รูปแรกของ คณะสงฆ์ จ. น่าน) ราชทินนามที่ “ พระครูเนกขัมมาภินันท์ ”ท่านมรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ.2523 เวลา 20.25 น. ณ.วัดดอนตัน สิริรวมอายุได้ 85 ปี 65 พรรษาวัตถุมงคลของหลวงพ่อวัดดอนตัน เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ทั้งใกล้ไกลรวมถึง ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องฯ ที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางได้แก่ “เหรียญรูปเหมือน หลวงพ่อวัดดอนตัน รุ่นแรก ปี 2514” เฉพาะพระเครื่องฯ ที่จัดสร้างรวมแล้วเกือบ 30 รุ่น (หรือ ประมาณ 45 เนื้อหา / ทรงพิมพ์ ) นอกจากนี้ยังมีพวกเครื่องราง เช่น ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ แบบต่างๆ ตระกรุดโทน,ตระกรุดร้อยแปด, ตระกรุดพับ, ตระกรุดชุด ชนิดต่างๆ ลูกอมเทียนชัยฯเป็นต้น. พระเครื่องและเครื่องรางฯ ของหลวงพ่อวัดดอนตัน มีรูปแบบที่งดงาม คงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเชิงพุทธศิลป์ และมีพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์มากด้วยประสบการณ์จนเป็นที่เล่าขานกันสืบมา แต่ด้วยวัตถุมงคลบางชนิด มีจำนวนการสร้างน้อย ณ.ปัจจุบันจึงหาดูได้ยาก.


    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2012
  13. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    <BIG>ประวัติหลวงปู่ครูบาครอง ขตฺติโย

    ที่พักสงฆ์บ้านท่าอุดม อ.เถิน จ.ลำปาง

    </BIG>
    <BIG></BIG> ​
    <BIG>[​IMG]</BIG>
    <BIG></BIG> ​
    <BIG> หลวงปู่ครูบาครองปัจจุบันอายุ๘๙ ปี๖๙พรรษา(นับเฉพาะบวชพระ)เกิดวันที่ ๓ สค.๒๔๖๓เป็นลูกคนโต ของพ่อซาว แม่น้อย จากบุตรทั้งหมด๔คน บวชเณรตอนอายุ๑๖โดยพระครูพุทธวงศ์(ก๋วน) เกจิดังวัดแม่ปะหลวง ตุ๊ลุงของท่านเป็นผู้บรรพชาและบวชพระเมื่ออายุ๒๐ปีโดยพระครูรักขิตคุณ(ต๋า) วัดอุมลอง เกจิอาจารย์อีกองค์หนึ่งของ อ.เถิน เป็นพระอุปํชฌาย์ จำพรรษา ณ.วัดท่ามะเกว๋น
    เมื่อท่านบวชเณรแล้วได้ศึกษาอักขระล้านนาและศึกษาการปฏิบัติเบื้องต้นกับตุ๊ลุงของท่าน จนบวชเป็นพระแล้วก็เริ่มศึกษากับพระอุปํชฌาย์และหนานหลายคนหลังจากนั้นจึงออกเดินรุกขมูลร่ำเรียนไปทั่วภาคเหนือจนเกือบ๑๐พรรษาจึงกลับมายังบ้านท่าอุดม โดยปักกลดอยู่ในป่าลึกจากวัดเข้าไปมาก พอพี่น้องลูกหลานท่านทราบถึงการกลับมาของหลวงปู่ครูบาครองก็เกิดความปิติดีใจรีบเดินทางไปนิมนต์ท่านกลับเข้าวัดท่ามะเกว๋นแต่ท่านปฏิเสธเนื่องจากไม่ต้องการพบความวุ่นวายของโลกอีกต่อไป อยากอยู่บำเพ็ญฌานสมาบัติโดยลำพังเพียงรูปเดียวในป่านี้ ทันทีที่ลูกหลานทราบวัตถุประสงค์ของหลวงปู่ฯ ก็ได้ร่วมกันปลูกเพิงพักให้ท่านได้ปฏิบัติธรรมตามเจตนา หลวงปู่ครูบาครองจึงได้อยู่ป่าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน รวมกว่า ๖๐ปี
    </BIG>
    <BIG></BIG>
    <BIG>ปฏิปทาและวัตรปฏิบัติ

    จากการเดินทางไปกราบฝากตัวเป็นศิษย์ของผู้เขียนและอีกหลายๆครั้ง ที่ได้ไปกราบสนทนาหรือแม่กระทั่งนำวัตถุมงคลไปให้ท่านเสกเป่า ได้สังเกตว่าหลวงปู่ท่านมีอุปนิสัยที่ชุ่มเย็นสุขุมนุ่มลึก จะพูดจะจาอะไรก็คิดไตร่ตรองก่อนทุกครั้งคือท่านมีสติตลอดเวลา มีความเมตตาต่อศิษยานุศิษย์เป็นอย่างสูงขณะเดียวกันก็มีความเด็ดขาดมั่นคงทางใจ ตัดสินใจอะไรคนเดียวไม่ปรึกษาใคร
    ใบหน้าผิวพรรณท่านผ่องใสผิดคนธรรมดา หลวงปู่ ไม่เคยมีความโลภ ไม่ใส่ใจในเงินทอง ไม่สะสม ไม่มีความอยากในเรื่องขบฉัน หลวงปู่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัตร สวดมนต์ทำสมาธิเป็นนิจไม่เคยขาด ชอบอยู่อย่างสงบไม่ชอบความวุ่นวาย ไม่รับกิจนิมนต์ไปบ้านโยม ไม่ออกจากป่ามา๖๐ปี กระทั่งปีที่แล้วมีพระลูกศิษย์รูปหนึ่งนิมนต์มากรุงเทพฯ เพื่อพบแพทย์รักษาตัวท่านจึงได้ยอมออกมา
    และจะออกมาอีกครั้งในวันที่ ๕ ก.ค.๒๕๕๒ เพื่อร่วมพิธีไหว้ครูปลุกเสกวัตถุมงคล ของหลวงปู่ครูบาสิงห์โต สหธรรมิกของท่านที่นิมนต์หลวงปู่ครูบาครองมาเททองพระฤๅษีทันใจ ณ.วัดอโยธยา จ.อยุธยา
    </BIG>
    <BIG>อภิญญาจิตและความศักดิ์สิทธิ์ </BIG>
    <BIG></BIG>
    <BIG>ญาณวิถี </BIG>
    <BIG></BIG>
    <BIG> หลวงปู่ครูบาครองเป็นพระที่มีพลังจิตสูงมีญาณวิถีที่กว้างไกล และนี่เป็นหนึ่งในมูลเหตุที่ผมได้รู้จักหลวงปู่ฯ คือในราว ๔-๕ ปี มาแล้วผมได้คุยกับหนานไมตรี (ปธ.๖)อดีตพระเลขาหลวงปู่ครูบาพรหม วัดพระพุทธบาทตากผ้า(พระอาจารย์ปู่ของผม)ปัจจุบันหนานเป็นโยมอุปํฐากหลวงปู่ครูบาผัด ว่าวันหนึ่งได้พาหลวงปู่ครูบาผัดไปงานพิธีที่เชียงใหม่แล้วนั่งรถผ่านวัดท่ามะเกว๋น หลวงปู่ครูบาผัดท่านได้ชี้ไปทางวัดฯแล้วบอกว่าในนี้มีพระอริยเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งสร้างความฉงนให้หนานไมตรีเป็นอันมากเพราะอยู่อุปฐากหลวงปู่ครูบาผัดมาหลายสิบปีไม่เคยเห็นว่าหลวงปู่ครูบาผัดจะพูดเรื่องแบบนี้กับใครมาก่อนและหนานไมตรีเองก็ผ่านย่านนั้นอยู่ประจำก็ไม่เคยได้รู้เช่นกัน พอพิจาราณาดูจึงทราบว่าหลวงปู่ครูบาผัดท่านคงพบญาณวิถีของหลวงปู่ครูบาครองเข้าให้ในขณะที่รถผ่านริเวณนั้น
    หนานไมตรีจึงได้แต่ปรารภให้ผมฟังว่าจะมีจริงหรือปล่าว?ผมก็ได้แต่เร่งสนับสนุนว่าให้รีบไปดู หนานไมตรีก็ไป แต่ไปครั้งแรกเย็นมากแล้วเข้าไปดูที่วัดท่ามะเกว๋นก็ไม่เห็นใครจะมีวี่แววเป็นพระอริยสงฆ์
    ก็เลยกลับออกมาแล้วโทรมาเล่าให้ฟัง พอผมฟังแล้วก็ยังมั่นใจว่ามี ก็ยุหนานท่านอีกว่าให้ลองไปดูใหม่อีกทีตอนกลางวันคราวนี้ได้ผล ชาวบ้านบอกมีหลวงปู่อยู่องค์เดียวในป่าลึกเข้าไปทางหลังวัด หนานไมตรีจึงตามเข้าไปกราบ จากนั้นก็ทราบประวัติคร่าวๆของท่าน พอผมรู้ก็สนับสนุนให้หนานคุยกับลูกหลานของหลวงปู่ช่วยกันนิมนต์หลวงปู่ออกมาเถอะ เพราะอายุมากแล้วจะได้ดูแลกันได้ ตกลงหลวงปูท่านยอมออกมาแต่ไม่อยู่วัดขออยู่ป่าใกล้ๆหลังวัด ลูกหลานท่านจึงช่วยกันปลูกเรือนหลังเล็กๆให้ท่านอยู่จนถึงปัจจุบัน ภายหลังได้สอบถามหลวงปู่ครูบาผัดเรื่องญาณวิถีของหลวงปู่ครูบาครอง ท่านไม่ตอบแต่ไม่ปฏิเสธ
    </BIG>
    <BIG></BIG>
    <BIG>ทิพพจักขุ </BIG>
    <BIG>ในคราวหนึ่งที่หลวงปู่ครูบาสิงห์โตแวะเยี่ยมท่านหลวงปู่ครูบาครองแต่ผมลืมจัดหาของไปฝาก พอดีไปแวะเข้าห้องน้ำกันที่ปั๊มปตท.ริมทางตรงอ.เถินและพบว่ามีส้มโอลูกงามๆขายอยู่จึงรีบซื้อ พอตอนถวายก็เกรงว่าหลวงปู่ครูบาครองท่านจะถามว่าซื้อมาจากไหน?แล้วเราจะตอบว่าอย่างไรดี ถ้าตอบว่าซื้อที่เถินก็กลัวท่านจะตำหนิเอาในใจว่าไม่ได้เตรียมอะไรมาเลยเหมือนไม่ได้ตั้งใจมาหากัน หากตอบว่าซื้อมาจากกรุงเทพฯก็กลายเป็นโกหกท่าน ก็เลยคิดหาทางออกว่าจะเล่าเรื่องติดตามหลวงปู่สิงห์โต ไปงานวันเกิดหลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรีมาแล้ว ก็สรุปว่าเป็นส้มโอพันธุ์นครชัยศรี คล้ายๆกับให้ท่านเข้าใจว่าตระเตรียมซื้อมาจากนครชัยศรีตั้งแต่วันไปงานหลวงปู่เจือ ถึงเวลาถวายจริงๆสิ่งที่กลัวท่านจะถามก็โดนจนได้ ผมก็นึกในใจว่าดีนะที่เราเตรียมคำตอบมาก่อน ก็เลยตอบไป
    อย่างที่เตรียมไว้ ปรากฏว่าโดนชูชกเข้าเต็มๆ คือว่า..ชูแล้วค่อยชก ชกข้าที่หน้าแบบเต็มแรง หน้าแตกละเอียดเลย หลวงปู่ท่านฟังเราพูดเสร็จก็นิ่งครึ่งวินาทีแล้วพูดออกมาด้วยสีหน้าเรียบเฉยว่า ซื้อที่ลำปาง พวกคณะที่ไปกันต่างหันมาสบตากันแบบโอ้โฮทีเดียว เจอของจริงแล้วเนี่ย.....
    </BIG>
    <BIG></BIG>
    <BIG>เจโตปริยญาณ </BIG>
    <BIG>ในวันเดียวกันนั้นผมได้นำแผ่นตะกั่ว ขนาดประมาณ ๒ คูณ ๒.๕ นิ้ว ๑๐๘ แผ่นให้หลวงปู่ท่านลงยันต์ทำตะกรุดมอบให้กับผู้ที่สละทรัพย์ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกของท่าน ขณะเดียวกันพระเก๋(พระอุปฐากหลวงปู่สิงห์โต)ก็วิ่งไปที่รถเอาแผ่นตะกั่วแผ่นใหญ่ ๕ คูณ ๕ นิ้ว ของท่านมาขอให้หลวงปู่ลงไว้บูชาเป็นส่วนตัว ๑ แผ่น พอลงเสร็จพระเก๋จะเอากลับเลยแต่ผมทัดทานไว้ ว่าเอาไว้ให้ท่านเสกพร้อม ๑๐๘ แผ่นเลย จะได้เข้มขลังเต็มที่แล้วค่อยเอากลับพร้อมกัน พระเก๋ท่านอึกอักเล็กน้อยแต่ก็ไม่ขัดใจผม เรื่องก็ผ่านไป แต่พอตอนลากลับผมลงบันไดเป็นคนสุดท้าย โดยมีพระเก๋นำหน้า ขณะพระเก๋เดินลงถึงบันไดขั้นสุดท้ายก็ได้ยินเสียงหลวงปู่ครูบาครองท่านเรียกพระเก่กลับขึ้นไป ผมหันหลังไปดูเห็นหลวงปู่ยื่นแผ่นยันต์ของพระเก๋ให้นำกลับ พระเก๋ก็รีบรับ พอขึ้นรถปิดประตูดีแล้วพระเก๋เล่าด้วยความตื่นเต้นว่า โยมพี่เมื่อกี้ระหว่างเดินลงบันไดใจฉันยังคิดว่าอยากจะรับแผ่นยันต์กลับไปม้วนตะกรุดให้เสร็จไม่อยากมารับครั้งหน้าเพราะเดี๋ยวเกิดไม่ได้มารับเองฝากให้โยมพี่รับไป แต่เกิดโยมพี่ยึดไว้ไม่เอามาให้ฉันก็ไม้กล้าทวงกับโยมพี่เพื่อความสบายใจว่าไม่โดนยึดแผ่นยันต์นี้ไปอย่างแน่นอนก็น่าจะกลับขึ้นไปขอหลวงปู่ฯนำกลับไปคราวนี้เสียดีกว่า ปรากฏว่าหลวงปู่ท่านรู้ทันทีจึงเรียกขึ้นไปรับคืน สาธุจิตท่านไวดีแท้ๆ</BIG>
    <BIG></BIG>
    <BIG>อิทธิวิธิ </BIG>
    <BIG></BIG><BIG>วัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาครองก่อนหน้านี้ไม่เคยจัดสร้างเป็นทางการ มีแต้ผู้ซื้อของตามสนามขายพระมาให้ท่านเสกแจก จนกระทั่งมีการทำผ้ายันต์เมื่อปีก่อน ปรากฏว่ามีคนเชียงใหม่เอาไปลองแล้วกลับมาเล่าให้หลวงปู่ฯฟังว่า เอาไปจ่อยิง ๓ นัดอย่างไรก็ไม่ถูก พอนัดที่ ๔ ถูกแต่ไม่ทะลุซึ่งสอดคล้องกับการปลุกเสกประสิทธิผ้ายันต์ก่อนมอบใส่มือญาติโยม ผมสังเกตุว่าท่านชำนาญาตุลมเป็นพิเศษ ส่วนการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นแรกอย่างเป็นทางการของท่าน สังเกตุว่าท่านลงธาตุน้ำมากเป็นประวัติการแถมเสกเสร็จท่านยังอธิษฐานให้พรว่า ขอให้คุ้มครองป้องกันภัยแด่ผู้ที่บูชาเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีโชคมีลาภ รวยๆๆ</BIG>
    <BIG>วัตถุมงคลรุ่นแรกหลวงปู่ครูบาครอง </BIG><BIG>ที่มาของการสร้าง เมื่อหลวงปู่สิงห์โตท่านได้ไปเยี่ยมครูบาครองสหธรรมิกของท่าน เห็นครูบาครอง
    ไม่มีการจัดสร้างวัตถุมงคลอย่างเป็นทางการแจกแก่ลูกศิษย์ มีเพียงของซื้อจากสนามพระที่ลูกศิษย์หามาถวายเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกเล็กๆน้อยๆจึงปรารภกับครูบาครองว่าจะให้คณะศิษย์ที่ไปด้วยดำเนินการจัดสร้างถวาย ครูบาครองท่านก็อนุญาติด้วยความยินดี ท่านจึงได้ปลุกเสกและมอบมวลสารสำคัญ อาทิ เส้นเกศา ผ้าอังสะที่ใส่ภาวนานับสิบปี ข้าวก้นบาตร เขี้ยวหนุมาน(โป่งข่าม)
    ผงแป้งมหาเมตตา ผงว่าน๑๐๘ และลงแผ่นยันต์ทำตะกรุด แผ่นทองชนวนเพื่อนำมาสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกนี้ วัตถุมงคลของหลวงปู่ได้สร้างอิทธิฤทธิ์และประสบการณ์มากมาย ทำให้คนรอดตายมาแล้วหลายครั้งครับ ลูกศิษย์ลูกหาเข้ามากราบกันทุกวันครับ กระผมได้ไปกราบท่านมาแล้วครับ นับถือท่านมาก จริยาวัฒณ์งดงามครับ และต้องไม่พลาดบูชาวัตถุมงคลท่านมาเพื่อความเป็นศิริมงคลครับ


    </BIG>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2012
  14. ชนคุณ

    ชนคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +299
    ขอบคุณมากครับ...แล้ววัตถุมงคลของท่านค่านิยมอยู่ในหลักใดครับ...
    รวมถึงรุ่นไหนที่เป็นของดีราคาถูกครับ...:cool::cool:
     
  15. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    [​IMG]

    ครูบาแก้วมูล ญาณวุฑฒิ
    วัดลี อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย
    (คัดลอกมาจาก หนังสือ คติธรรมและประวัติ ครูบาแก้วมูล ญาณวุฑฒิ ๒๔ มีนาคม ๒๕๑๑)

    ประวัติท่านครูบาแก้วมูล ญาณวุฑฺฒิ เจ้าอาวาส วัดลี อ.พะเยา จ.เชียงราย
    ท่านครูบาแก้วมูล (ต๊ะก่า) ญาณวุฑฺฒิ เป็นบุตรคนที่ ๗ ของเจ้าพ่อหนานศรีหมุด เจ้าแม่หน้อย ได้ถือกำเนิดวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับวันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ (เดือนยี่ เหนือ) ปีกุล ณ บ้านทุ่งกะทิง หมู่ที่ ๑๐ ต.บ้านเป้า อ.เมือง จ.ลำปาง
    มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๐ เวลา ๐๔.๒๕ น. ณ วัดลี อ.พะเยา จ.เชียงราย สิริรวมอายุได้ ๖๘ ปี
    ท่านครูบาแก้วมูล ญาณวุฑฺฒิ มีพี่น้องร่วมกัน ๙ คน คือ
    ๑. เด็กชายขอด ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์
    ๒. แม่เฒ่าปิก ถึงแก่กรรม
    ๓. นายน้อยหลวง ถึงแก่กรรม
    ๔. น.ส.บัวผัน (หลี) ถึงแก่กรรม
    ๕. นายหนานศรีโม๊ะ ถึงแก่กรรม
    ๖. นายน้อยซาว ถึงแก่กรรม
    ๗. ท่านครูบาแก้วมูล ถึงแก่มรณภาพ เมื่อ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๐
    ๘. นายน้อยบุญโยง ถึงแก่กรรม
    ๙. พระภิกษุบุญศรี ถึงแก่มรณภาพ

    เมื่อยังเยาว์ท่านเป็นที่โปรดปราณของคุณพ่อคุณแม่มาก จึงไม่มีโอกาสได้บวชเรียนเหมือนพี่น้องด้วยกัน ประกอบกับว่า ท่านเป็นเด็กที่มีนิสัยดี ว่านอนสอนง่ายเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ประพฤติตนอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ จึงเป็นที่ชอบพอรักใคร่ของญาติและคนทั่วไป เมื่อคุณพ่อคุณแม่สิ้นบุญไปแล้วเห็นจะเป็นเพราะความว้าเหว่ใจประกอบกับในขณะ นั้น ท่านครูบาศรีวิชัย ได้รับนิมนต์ให้มานั่งหมักเพื่อปฏิสังขรณ์ วิหารวัดพระแก้วดอนเต้า ต.เวียงเหนือ และ วัดพระบาท ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง รู้สึกว่าท่านเกิดปสาทะศรัทธาในท่านครูบาศรีวิชัย อย่างเหลือเกิน อุส่าห์ไปเฝ้าปฏิบัติวัตรฐากท่านครูบาฯ โดยตลอด จนกระทั่งอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ทางการได้มีหมายเรียกเพื่อเข้าไปคัดเลือกเป็นทหาร ช่างเป็นเวรกรรมเสียจริง ๆ บังเอิญท่านคัดเลือกได้ ทว่าไม่ได้เป็นทหารตามที่คาดหมายไว้หรอก หากแต่ว่าได้เป็นตำรวจเสียนี่ ถ้าจะพูดกันถึงอุปนิสัยของท่านแล้ว ท่านชอบที่จะครองสบง ทรงจีวรเสียมากกว่าที่จะไปสวมเครื่องแบบ มือถือบาตร ถือพัด เสียมากกว่าที่จะไปจับด้าม อาวุธ ฝึกฝนอบรมจิตคนให้เป็นไปในเมตตากรุราเสียมากกว่า ที่จะไปฝึกปรืออาวุธเพื่อที่จะประหัตประหารผู้อื่น ถึงกระนั้นก็ตามท่านก็ยังอุส่าห์ฝึกหัดการใช้อาวุธท่าต่าง ๆ ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หาได้ขาดไม่ ชะรอยจะเป็นเพราะบุญกรรมที่ได้สะสมไว้แต่เบื้อง บุรพชาติคอยกระตุ้นเตือน เพื่อจะหาโอกาสสนองก็เป็นได้ ในขณะที่กำลังฝึกแถวอยู่นั้น ทำให้ท่านคิดถึงบ้านอย่างเหลือเกิน ครั้นเลิกแถวแล้ว ท่านก็ได้ขอลาผู้บังคับบัญชาเพื่อกลับไปเยี่ยมบ้าน ทางผู้บังคับบัญชาก็อนุญาตให้แต่โดยดี เมื่อท่านมาถึงบ้าน ก็ได้ยินพวกญาติพูดกันว่าขณะนี้ท่านครูบา ศรีวิชัย มาพักอยู่ที่วัดศรีบุญเรือง (อ.เมือง จ.ลำปาง) จะออกเดินทางไปยังวัดบ้านปาง ลำพูน พรุ่งนี้แล้ว พอได้ยินเท่านั้นก็ดีใจ กระวีกระวาดจัดหาจังหันเพื่อจะไปใส่บาตรท่านครูบาศรีวิชัย พอรุ่งขึ้น พร้อมด้วยญาติก็ได้ไปใส่บาตรท่านครูบาศรีวิชัย ที่วัดศรีบุญเรือง หลังจากได้กราบ-บูชาพระรัตนตรัยแล้ว ก็พากันเข้าไปกราบท่านครูบาศรีวิชัย พอท่านครูบาศรีวิชัยเห็นเข้าเท่านั้น ก็เรียกให้เข้าไปหาแล้วบอกให้นวด จนกระทั่งได้เวลาออกบิณฑบาต ฉันและกระทำอนุโมทนากิจเสร็จแล้ว ญาติโยมก็พากันทยอยกลับ ท่านอยากจะกลับเหมือนกัน แต่ท่านครูบาศรีวิชัยได้พูดไว้ว่า “ อย่าเพิ่งกลับเลยน่า เอาขันข้าว (สลุง) ฝากเขาไปเสียก่อนก็ได้” ด้วยความเคารพประกอบกับความเกรงใจ ท่านจึงได้ทำตามอย่างว่าง่าย พอตอนบ่ายท่านครูบาศรีวิชัยจะเดินทางไปพักที่วัดทุ่งกู่ด้าย (ต.ปงแสนทอง อ.เมือง ลำปาง) ได้ออกปากชวน ท่านก็ได้ติดตามไปจนถึงวัดกู่ด้าย จากนั้นท่านครุบาศรีวิชัยได้เดินทางต่อไปยัง ต.แม่สันเมืองยาว (อ.ห้างฉัตร ลำปาง) ท่านก็ได้ติดตามท่านครูบาต่อไปอีก จนกระทั่งถึงวัดบ้านปาง อ.ลี้ ลำพูน ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่นั่น โดยท่านครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌายะ
    เห็นจะเป็นเพราะคำว่า “ บุญ” คำเดียวเท่านั้น คืออาจจะถือว่าท่านได้ปฏิบัติ “ ตนบุญ” อย่างใกล้ชิดจะได้บุญมากนั่นเอง หรือจะเป็นเพราะบุญที่ตนได้สั่งสมมาแต่อดีตชาติติดตามมาเกื้อหนุน ก็เหลือที่จะเดาได้จึงทำให้ท่านลืมบ้านช่อง ลืมญาติพี่น้อง ลืมจนกระทั่งตัวท่านเอง ซึ่งกำลังรับราชการตำรวจอยู่ก็มิได้คำนึงถึง แต่เมื่อทางการตำรวจได้ทราบว่า ท่านได้ไปบวชอยู่ในลำปาง กับท่านครูบาศรีวิชัยเสียแล้ว ก็มิได้ติดตามเอาเรื่องแต่ประการใด
    ท่านบวชเป็นสามเณรจำพรรษาที่วัดบ้านปาง ๒ พรรษา จากนั้นก็ได้ติดตามท่านครูบาศรีวิชัยไปบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ จำพรรษาอยู่ที่นั่นเมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้ว ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยท่านครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌายะในนามฉายาว่า ญาณวุฑฺฒิ จากนั้นท่านก็ได้ติดตามท่านครูบาศรีวิชัยไปบูรณปฏิสังขรณ์ตามที่ต่าง ๆ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๘๑ ท่านครูบาศรีวิชัยก็ได้ถึงแก่มรณภาพ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ท่านก็ได้ไปจำพรรษาที่วัดพระเจ้าองค์หลวง อ.พะเยา จ.เชียงราย โดยการชักชวนของท่านครูบาแก้วคันธวังโส ผู้ซึ่งเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดองค์หนึ่งของท่านครูบาศรีวิชัย จากนั้นท่านก็ได้รับนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดลี ได้เป็นหัวหน้าชักชวนญาติโยมบูรณปฏิสังขรณ์ ต่อจากที่ท่านครูบาแก้วได้เริ่มไว้จนสำเร็จต่อจากนั่น ท่านก็ได้ริเริ่มก่อสร้างกุฏิ กำแพง เจดีย์องค์เล็ก ตลอดจนการติดตั้งไฟฟ้าต่อท่อน้ำประปา จนสำเร็จเรียบร้อย ในด้านสาธารณะอื่น ๆ ก็มีการตัดถนนและเป็นหัวหน้าในการจัดสร้างอาคารเรียนโรงเรียนประชาบาล เป็นต้น ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดลีนี้ ท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามตลอดถึงสาธารณประโยชน์จนถึงวารสุดท้ายของชีวิต ก็นับว่าท่านเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการ
     
  16. charoen.b

    charoen.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    5,726
    ค่าพลัง:
    +15,488
    [​IMG]













    เจ้าของกระทู้ขยันมากครับ ขอชม........
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2012
  17. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    ต้องขอออกตัวก่อนนะครับ ว่าไม่ทราบจริงๆ เรื่องราคา แต่ที่ผมเคยเห็นส่วนใหญ่เหรียญของหลวงพ่อวัดดอนตัน เป็นเหรียญแฉกอ่ะครับ แล้วก็เหรียญที่ด้านหลังเป็นครุฑแบกงา.....

    ผมดูพระไม่เป็นครับ....แหะๆๆๆ ไม่มีของหลวงพ่อวัดดอนตันเลย แต่ลุงผมมีกำลังจีบๆ อยู่ แต่นานแล้วยังไม่เจอลุงเลย จะทวงสัญญาซะหน่อย...... อิอิอิอิ

    ยังไงคงต้องรบกวนพี่ๆ ที่มีข้อมูลมาช่วยลงข้อมูลให้หน่อยครับ....
     
  18. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
     
  19. thaiart

    thaiart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +249
    ท่านใดพอทราบประวัติครูบาต๋าและลูกศิษย์ในสายของท่านไหมครับ
     
  20. kang_som

    kang_som เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    11,853
    ค่าพลัง:
    +27,807
    [​IMG]

    ครูบาต๋า ปญฺญาวุฒโฑ วัดอุโบสถบ้านเหล่า

    ครูบาต๋า ปญฺญาวุฒโฑ วัดอุโบสถบ้านเหล่า ต.ทุ่งต้อม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    ผู้ได้รับการสืบต่อไม้เท้าและพัดหางนกยูงครูบาศรีวิชัยจากครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย

    หลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ พรรษา 55 พรรษา โดยเป็นสามเณร 7 พรรษา พระภิกษุสงฆ์ 48 พรรษา นับถึงปัจจุบันมีอายุได้ 77 ปี 2 เดือน 7 วัน หลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ เป็นบุตรนาย หนิ้ว อินตัน และนางมอย อินตัน เกิดวันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ.2464 ปีระกา ณ ที่บ้านเหล่า หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้ว หลวงพ่อต๋า พระอธิการชุ่ม เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล(วังมุย) ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของหลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ เข้าถวายตัวเป็นศิษย์และเด็กรับใช้ในเวลานั้น จนการพัฒนาการการสร้างถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพสำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว ท่านครูบาศรีวิชัยก็ได้ไปพัฒนาตามวัดต่าง ๆ ต่อไปในจังหวัดลำพูนอีกหลายแห่ง เท่าที่หลวงพ่อต๋าจำได้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัดต่าง ๆ มีดังนี้

    1. การสร้างวิหารจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
    2. สร้างสะพานศรีวิชัยข้ามลำน้ำแม่ปิงเชื่อมติดต่อระหว่างจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่
    3. สร้างวัดเวียนด้ง
    4. สร้างวิหารวัดพระบาทยั้งหวีด อำเภอสันปาตอง ฯลฯ

    ต่อมาเมื่ออายุได้ 21 ปี ก็ได้ทำพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2485 ที่วัดควรนิมิตรตามเดิม โดยมีพระครูเตชา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในระหว่างที่เป็นพระภิกษุต๋า สอบนักธรรมชั้นโทได้ในเวลา 3 ปี รวมเป็นเวลา 6 ปี และในระหว่างนั้นท่านก็ได้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ เช่น งานไม้ งานปูน ไปในตัว โดยได้ค้นคว้าด้วยตนเองบ้าง ถามท่านผู้รู้บ้างจนสามารถสร้างช่อฟ้าวิหาร และใบระกาของวิหารได้ด้วยตนเอง ท่านได้ฝากฝีมือให้เห็นเป็นที่ประจักษ์เด่นชัดหลายต่อหลายวัดมาแล้ว ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดลำพูน นับว่าท่านได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะด้วยตัวท่านเองจริงๆ ฝีมือของหลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโฑ นอกจากจะเป็นพระนักพัฒนาแล้ว ท่านยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญเรื่องการทำยาสมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ และยังเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคมอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตอนที่ท่านได้ไปอยู่ปรนนิบัติรับใช้ ท่านครูบาชุ่ม โพธิโก ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของท่านนั่นเอง ซึ่งครูบาชุ่ม โพธิโกจัดว่าเป็นพระเกจิอาจาย์ที่มีชื่อเสียงมากในภาคเหนือขณะนั้น หลวงพ่อต๋า ได้ศึกษาวิทยาคมและข้อวัตรปฎิบัติต่าง ๆ อยู่กับครูบาชุ่มเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี ท่านได้ศึกษาจากตำรับตำราเวทมนต์ต่าง ๆ ของครูบาชุ่มและสิ่งไหนที่หลวงพ่อต๋า ไม่เข้าใจครูบาชุ่มท่านก็จะชี้แนะเพิ่มเติมให้ จนครูบาชุ่มเห็นว่าหลวงพ่อต๋าเชี่ยวชาญดีแล้ว กอรปกับทางคณะศรัทธาวัดอุโบสถบ้านเหล่าได้มานิมนต์ครูบาต๋าให้ไปช่วยพัฒนาวัดอุโบสถบ้านเหล่า ครูบาชุ่มจึงให้หลวงพ่อต๋า ไปช่วยพัฒนาวัดอุโบสถบ้านเหล่าต่อไป หลวงพ่อต๋าจึงได้มาพัฒนาวัดอุโบสถบ้านเหล่า ซึ่งในขณะนั้นกำลังทำการก่อสร้างศาลาบาตรขึ้นมา 1 หลัง หลังจากทำการก่อสร้างศาลาบาตรแล้วเสร็จ หลวงพ่อต๋าจึงปรึกษากับคณะศรัทธาวัดให้มีการก่อสร้างพระวิหารขึ้นอีก 1 หลัง ซึ่งในครั้งนั้นครูบาชุ่มก็ตั้งใจว่าจะมาช่วยครูบาต๋า สร้างพระวิหารด้วยแต่ต่อมาไม่นานท่านก็มรณภาพเสียก่อน หลวงพ่อต๋าพร้อมด้วยคณะศรัทธาวัดอุโบสถบ้านเหล่า จึงได้เดินทางไปร่วมพิธีศพของครูบาชุ่มด้วย ซึ่งในครั้งนั้นก็ได้มีลูกศิษย์ของครูบาชุ่ม จำนวนหนึ่งได้มาช่วยหลวงพ่อต๋า ก่อสร้างวิหารต่อ ประมาณเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2522 หลวงพ่อต๋าจึงได้ปรึกษากับคณะศิษย์ว่าจะจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมารุ่นหนึ่ง เพื่อหาทุนมาทำการก่อสร้างวิหารต่อไปให้แล้วเสร็จ หลวงพ่อต๋าจึงได้ทำการออกแบบยันต์เพื่อจะนำมาลงไว้ที่ด้านหลังเหรียญ ซึ่งยันต์นี้เป็นยันต์ที่หลวงพ่อต๋า ได้ศึกษามากับท่านครูบาชุ่ม โดยจะเป็นยันต์อักษรล้านนาอ่านว่า “อิต๊ะนา อรหัง ” ตามด้วยเลขล้านนา โดยหลวงพ่อต๋าได้จารยันต์ต่าง ๆ ใส่ให้ในแผ่นเงินและแผ่นทองแดงเพื่อให้นำเอาไปหลอมเป็นชนวนผสมในเหรียญรุ่นนี้ทั้งเนื้อเงินและเนื้อทองแดง เหรียญรุ่นแรกนี้ คำว่า อรหัง จะพิมพ์ตกอักษรสระ อัง ( )ไป หนึ่งตัว ด้านบนพิมพ์เป็นตัวหนังสือภาษาไทยว่า “ที่ระลึกสร้างวิหาร” ด้านล่างพิมพ์ วัดอุโบสถบ้านเหล่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เขียนปี พ.ศ.ที่สร้างเอาไว้ด้วย (ปี ๒๕๒๒) ส่วนด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพ่อต๋า ครึ่งองค์ ด้านล่างเหรียญเขียนหลวงพ่อต๋า ปัญญาวุฒโท ลักษณะเหรียญเป็นเหรียญวงรี จำนวนการสร้าง สร้างเป็นเนื้อเงิน 58 เหรียญ (แจกกรรมการ) และสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดงอีก 5,000 เหรียญ หลังจากสร้างเสร็จหลวงพ่อต๋า ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2522 โดยได้เชิญครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์ทางสายครูบาศรีวิชัยมาเป็นจำนวน 9 องค์ โดยเหรียญชุดนี้ได้ทำการปลุกเสกเป็นเวลา 1 วัน 1 คืน โดย ผลัดกันปลุกเสก 2 ชุด หลังจากนั้นหลวงพ่อต๋า ปลุกเสกเดี่ยวให้อีกทีหนึ่ง พระที่มาปลุกเสกในคราวนั้นเท่าที่ผู้เขียนจำได้ก็มีครูบาอินโต วัดบุญยืน, ครูบาอินตา วัดห้วยไซร์ ครูบาอิน วัดฟ้าหรั่ง ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นพระที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น การปลุกเสกหลวงพ่อต๋าได้ทำการปลุกเสกแบบโบราณโดยเอาวัตถุมงคลวางทับไว้บนศาตราวุธต่าง ๆ เพื่อเป็นการข่มอาวุธด้วย หลังจากเสร็จพิธีแล้วหลวงพ่อต๋าก็ได้นำเอาวัตถุมงคลออกแจกแก่คณะกรรมการและลูกศิษย์ลูก

    ส่วนประสบการณ์ที่ยังเล่าขานจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกสิบล้อเฉียวชนกับรถจักรยานยนต์ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นมีเด็กนักเรียนชายวัย ๘ ขวบ นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์พ่อหลังจากเลิกเรียน ร่างพ่อได้กระเด็นตกไปอยู่ฟุตบาทข้างทาง ส่วนลูกชายได้กระเด็นตกไปอยู่ใต้ท้องรถบรรทุกสิบล้อ ได้มีสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น เมื่อชาวบ้านที่ได้พบเห็นเหตุการณ์ในวันนั้นเล่าว่า ได้ปรากฏร่างพระอริยะสงฆ์ชรารูปหนึ่ง ได้อุ้มร่างเด็กชายคนดังกล่าวออกจากใต้ท้องรถบรรทุกสิบล้อโดยปลอดภัย ปราศจากร่องรอยการบาดเจ็บใด ๆ ทั้งสิ้น วางร่างเด็กชายไว้ข้างทาง แล้วร่างท่านก็หายไปต่อหน้าต่อตาผู้คนกว่าครึ่งร้อย สร้างความมหัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นเหตุการณ์ในวันนั้นเป็นหยั่งมาก ในคอของเด็กชายคนดังกล่าวมีเชือกร่มสีดำห้อยเหรียญครูบาต๋ารุ่นแรก ไว้เพียงเหรียญเดียวเท่านั้นสภาพสึกมาก แต่ก็ยังเปี่ยมไปด้วยอิทธิฤทธิ์เมตตาบารมี วิชาคงกระพันขาตรีและแคล้วคลาดของอริยะสงฆ์ "ผู้เกิดมาเพื่อสร้างเสียสละและช่วยเหลือผู้คน"

    [​IMG]

    [​IMG]

    ข้อมูลจาก http://www.songsakarn.com/forum/viewthread.php?tid=4738&extra=&page=3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012

แชร์หน้านี้

Loading...