เรื่องเด่น กายคตาสติสูตร 13 วิธี และอานิสงส์ที่พึงหวังได้ 10 ประการ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย งูๆปลาๆ, 19 พฤษภาคม 2018.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    [​IMG]
    ๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)

    [๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
    อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
    ภิกษุมากรูปด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ
    ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้แล ฯ

    [๒๙๓] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น
    เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้
    แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน และพวกเธอสนทนาเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวกข้าพระองค์กลับจากบิณฑบาต
    ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลาเกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริงไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากันในระหว่างของพวกข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงเท่านี้ พอดีพระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ฯ

    [๒๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
    เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร
    หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
    หายใจเข้า เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร
    ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
    แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ


    [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน
    หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน
    หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง
    หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน
    หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
    ในเวลาแลดู และเหลียวดู
    ในเวลางอแขนและเหยียดแขน
    ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร
    ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม
    ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
    ในเวลา เดิน ยืน นั่งนอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร
    ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    พราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล
    ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
    ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา
    มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
    เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ
    ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
    เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
    อาหารใหม่ อาหารเก่า
    ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ
    มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้ง ๒ ข้าง
    เต็มด้วยธัญญชาติต่างๆ ชนิด คือ
    ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร
    บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่า
    นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วทอง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้
    แลข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา
    มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ
    ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
    ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
    ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่งเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล
    ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้
    ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโค
    ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล
    ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่
    โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
    เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น
    ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน
    ที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า
    แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้
    ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง
    ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง
    สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆชนิดฟอนกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า
    แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือด
    เส้นเอ็นผูกรัดไว้... เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก
    ไม่มีเนื้อ มีแต่เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้...
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ปราศจากเนื้อ
    และเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่...
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องผูก
    รัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆ คือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้า
    อยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอว
    อยู่ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูก
    หน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคอ
    อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่
    ทางหนึ่ง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็น
    ธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มี
    ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสีย
    ได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
    แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก สีขาวเปรียบดังสีสังข์...
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราดเป็นกองๆ มีอายุเกิน
    ปีหนึ่ง...
    เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก ผุเป็นจุณ จึงนำเข้ามาเปรียบ
    เทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่
    ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
    อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
    จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
    มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด โรยจุณสำหรับสรงสนานลงในภาชนะสำริดแล้ว เคล้าด้วยน้ำให้เป็นก้อนๆ ก้อนจุณสำหรับสรงสนานนั้น มียางซึม เคลือบ จึงจับกันทั้งข้างในข้างนอก และกลายเป็นผลึกด้วยยาง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข
    เกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
    จะไม่ถูกต้อง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
    ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอัน
    เป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจารไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุก
    เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่ง
    กายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออก ทั้งในทิศตะวันตก
    ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย และฝนก็ยังไม่หลั่งสายน้ำโดยชอบตามฤดูกาล
    ขณะนั้นแล ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทำห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุก
    เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้นที่
    น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อม
    ยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
    ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
    เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
    ดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภาย
    ในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้
    คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกาย
    ทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
    ดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิด ในกอบัวขาบ
    หรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เนื่องอยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ
    จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอด
    และเหง้า ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว
    ทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
    ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ
    ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เมื่อ
    ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริ
    พล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายใน
    เท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
    ภิกษุเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
    มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่ว
    กายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่
    ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนั่งเอาผ้าขาวคลุมตลอดทั้งศีรษะ
    ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของบุรุษนั้นที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง
    แผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์
    ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
    อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้น
    ได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ

    [๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตามนึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหลมาสู่สมุทรสายใดสายหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
    ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฯ

    [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่กองดินเปียก ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียกหรือหนอ ฯ

    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ
    ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
    [๓๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ ทันใดนั้น มี
    บุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟทำเตโชธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งเกราะโน้นเป็นไม้สี
    ไฟแล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟ ทำเตโชธาตุได้หรือหนอ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ
    ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำว่างเปล่า อัน
    เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือ
    หนอ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ
    ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทำ
    ให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
    บุรุษโยนกลุ่มด้ายเบาๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วน ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กลุ่มด้ายเบาๆ นั้นจะพึงได้
    ช่องบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วนหรือหนอ ฯ
    ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญ
    กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้สดมียาง ทันใดนั้น มี-
    *บุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟ ทำเตโชธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้สดมียางโน้นเป็นไม้สีไฟ
    แล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟทำเตโชธาตุได้หรือหนอ ฯ
    ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญ
    กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม
    เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษ
    มาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือหนอ ฯ
    ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกาย-
    *คตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
    [๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำ
    ให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง
    อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อ
    มีสติเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม
    เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง บุรุษมีกำลังมายัง
    หม้อกรองน้ำนั้นโดยทางใดๆ จะพึงถึงน้ำได้โดยทางนั้นๆ หรือ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญ
    กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำ
    ให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง
    นั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
    [๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ใน
    ภูมิภาคที่ราบ เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้
    บุรุษมีกำลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นทางด้านใดๆ จะพึงถึงน้ำทางด้านนั้นๆ ได้
    หรือ ฯ
    ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญ
    กายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำ
    ให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความ
    รู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
    [๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชาไนยเขาเทียมม้า
    แล้ว มีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้ง ๒ จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔
    แยก นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับสาย
    บังเหียน มือขวาจับแส้ ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอ
    ย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตน
    น้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ

    [๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
    พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ

    (๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ

    (๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ

    (๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิวความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ

    (๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบันตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ

    (๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศโดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ

    (๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ

    (๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ

    (๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้างพันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้
    มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ

    (๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ฯลฯ ๑- ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ

    (๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว
    ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้วอบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
    พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ กายคตาสติสูตร ที่ ๙
     
  2. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    พอดีได้ฟังธรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก้เลยนำมาฝากเผื่อท่านใหนอยากเจริญกายคตาสติครับ
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    กายคตาสติพระพุทธเจ้าตรัสไว้13วิธี การทำณาน1234ก้เป็นกายคตาสติ อานาปนสติก้เป็นกายคตาสติ
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัดในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้นๆ ได้
    ***********
    [๑๕๘] ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัดในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้นๆ ได้

    เปรียบเหมือนหม้อน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มได้ ที่เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง บุรุษผู้มีกำลังพึงเขย่าหม้อน้ำนั้นโดยวิธีใดๆ น้ำนั้นจะพึงไหลมาโดยวิธีนั้นๆ ได้ไหม”

    “ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
    ...ฯลฯ...
    ................
    ข้อความบางตอนใน กายคตาสติสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=19

    บทว่า กายคตาสติ ได้แก่ สติอันกำหนด (พิจารณา) กายบ้าง มีกายเป็นอารมณ์บ้าง.

    เมื่อกล่าวว่า กำหนด (พิจารณา) กาย ย่อมเป็นอันกล่าวถึงสมถะ

    เมื่อกล่าวว่า มีกายเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นอันกล่าวถึงวิปัสสนา

    ย่อมเป็นอันกล่าวถึงทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วยบททั้งสอง.
    ................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากายคตาสติสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=292

    หมายเหตุ วิธีเจริญกายคตาสติมี ๑๘ วิธี ได้แก่ การเจริญกายานุปัสสนา ๑๔ วิธี เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออกยาว-สั้น (อานาปานสติบรรพ) กำหนดอิริยาบถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน (อิริยาบถบรรพ) กำหนดอิริยาบถย่อย เช่นการก้าวไป การถอยกลับ (สัมปชัญญบรรพ) พิจารณากายว่าเป็นสิ่งไม่สะอาด (ปฏิกูลมนสิการบรรพ) พิจารณากายว่าเป็นธาตุ (ธาตุมนสิการบรรพ) พิจารณาซากศพ (นวสีวถิกาบรรพ) และวิธีเจริญฌาน ๔ วิธี (ปฐมฌาน-จตุตถฌาน)
    ในตอนท้าย ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติแบบนี้ไว้ ๑๐ ประการ
    #กายคตาสติ #สติ #สมถะ #วิปัสสนา #ปัญญา

    7DoIg6IhmR9R3sV9GOovR1YgTrvjmNU2eynKErq_Y57A&_nc_ohc=AQvr8sKfkFYAX_zb1DL&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    z1XAQ5OVZvo634cwDDeKzikesmx980zwpdVE9KRC9BQq&_nc_ohc=zzOV_x8NRuwAX_61Wfs&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    MIghCb2wqfgPyqpnfHzMWsz3DzjDPIdQGRuXl-59L3Qo&_nc_ohc=qvg4e1pj2TUAX-n57N3&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วิธีเจริญกายคตาสติมี ๑๘ วิธี ได้แก่ การเจริญกายานุปัสสนา ๑๔ วิธี
    เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออกยาว-สั้น (อานาปานสติบรรพ) กำหนดอิริยาบถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน (อิริยาบถบรรพ) กำหนดอิริยาบถย่อย เช่นการก้าวไป การถอยกลับ (สัมปชัญญบรรพ) พิจารณากายว่าเป็นสิ่งไม่สะอาด (ปฏิกูล-มนสิการบรรพ) พิจารณากายว่าเป็นธาตุ (ธาตุมนสิการบรรพ) พิจารณาซากศพ (นวสีวถิกาบรรพ) และวิธีเจริญฌาน ๔ วิธี (ปฐมฌาน-จตุตถฌาน)
    ในตอนท้าย ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติแบบนี้ไว้ ๑๐ ประการ
    ..............
    ดูรายละเอียดใน กายคตาสติสูตร ว่าด้วยวิธีเจริญกายคตาสติ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=19


    DE1fAeN1gM9-H2go8A8EmDdb9DSNX9WggY0JJ6FXxNAg&_nc_ohc=0RfJWBjNQlUAX-PIGmS&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    x3MXFXxoDaseZ3C3Y3S2tdihe0oQuIAoCfjLCMfcVFOZ&_nc_ohc=7_zbmlDtnDMAX9iiVcB&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    l0z2j09sxLhe6TbleBaTTOHPtJ1dzHV_G9BvvlDUS-PH&_nc_ohc=QFctiCBqegcAX9hHAip&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    พระอานนท์ประกอบความเพียรอย่างต่อเนื่องด้วยกายคตาสติตลอดราตรี
    ******************
    [พวกภิกษุเตือนพระอานนท์มิให้ประมาท]

    พวกภิกษุได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส! การประชุมจะมีในวันพรุ่งนี้ แต่ท่านยังเป็นเสขะบุคคลอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านไม่ควรไปสู่ที่ประชุม ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้.

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ดำริว่า การประชุมจะมีในวันพรุ่งนี้ ก็ข้อที่เรายังเป็นเสขะอยู่ จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้นไม่สมควรแก่เราแล แล้วได้ยับยั้งอยู่ด้วยกายคตาสติตลอดราตรีเป็นอันมากทีเดียว ในเวลาราตรีใกล้รุ่ง ลงจากที่จงกรมแล้ว เข้าไปยังวิหาร คิดว่าจักพักนอน ได้เอนกายลง. เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น แต่ศีรษะไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

    ความจริง ท่านพระอานนท์นี้ยับยั้งอยู่แล้วในภายนอกด้วยการจงกรม เมื่อไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้แก่เรามิใช่หรือว่า อานนท์! เธอเป็นผู้ได้ทำบุญไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้หาอาสวะมิได้โดยฉับพลัน.

    อันธรรมดาว่าโทษแห่งพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี เราปรารภความเพียรมากเกินไป เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน

    เอาเถิด! เราจะประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ ดังนี้จึงลงจากที่จงกรม ยืนล้างเท้าในที่ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่วิหารนั่งบนเตียง ดำริว่า จักพักผ่อนสักหน่อยหนึ่ง ได้เอนกายลงบนเตียง. เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ถึงหมอน ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.

    ความเป็นพระอรหันต์ของพระเถระเว้นจากอิริยาบถ ๔.

    เพราะฉะนั้น เมื่อมีผู้ถามว่า ในพระศาสนานี้ ภิกษุรูปไหนไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่จงกรม ได้บรรลุพระอรหัต จะตอบว่า พระอานนทเถระ ก็ควร.
    ...............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาพระวินัยชื่อสมันตปาสาทิกา อรรถกถา มหาวิภังค์
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=1&p=1

    ศึกษาเรื่องกายคตาสติ ในกายคตาสติสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=19



    JhXicOgx1OGGeMNTaNN_zUMKgZdqC3vy6xsA7JVna18E&_nc_ohc=cBGcWcohJosAX9fXaza&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ผู้ไม่เจริญกายคตาสติย่อมไม่บรรลุอมตนิพพาน ส่วนผู้เจริญย่อมบรรลุอมตนิพพาน
    ***********
    [๖๐๐] ชนเหล่าใดไม่เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่บรรลุอมตธรรม
    ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุอมตธรรม (๑)
    …………
    ข้อความบางตอนใน อมตวรรค อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=28

    บทว่า อมตนฺเต ภิกฺขเว ปริภุญฺชนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมบริโภคพระนิพพานอันปราศจากมรณะ.

    ถามว่า ก็พระนิพพานเป็นโลกุตระ กายคตาสติเป็นโลกิยะ มิใช่หรือ. ชนผู้บริโภคกายคตาสตินั้น ชื่อว่าบริโภคอมตะได้อย่างไร.

    ตอบว่า เพราะต้องเจริญกายคตาสติ จึงจะบรรลุ (อมตนิพพาน).

    จริงอยู่ ผู้เจริญกายคตาสติย่อมบรรลุอมตะ ไม่เจริญก็ไม่บรรลุ เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น.
    .............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอมตวรรค
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=207&p=6


    5SclQLD03tGU1FgiKx-8NkS82qMICI-NB_1m-eyRChgw&_nc_ohc=eOjYPXwoCEAAX84vfTX&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    อานิสงส์ ๑๐ ประการของผู้เจริญกายคตาสติ
    **********
    [๑๕๙] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายคตาสติอันภิกษุปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เธอพึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ

    ๑. เป็นผู้อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วได้

    ๒. เป็นผู้อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นแล้วได้

    ๓. เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหายต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่างๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนา อันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิตได้

    ๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ ซึ่งเป็นอาภิเจตสิก เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก

    ๕. บรรลุวิธีแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้

    ๖. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ

    ๗. กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากราคะ’ จิตมีโทสะ ... หรือจิตปราศจากโทสะ ... จิตมีโมหะ ... หรือจิตปราศจากโมหะ... จิตหดหู่ ... หรือจิตฟุ้งซ่าน ...
    จิตเป็นมหัคคตะ ... หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ... จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ... จิตเป็นสมาธิ ... หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ... จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’

    ๘. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้

    ๙. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

    ๑๐. เพราะอาสวะสิ้นไป ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายคตาสติอันภิกษุปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เธอพึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ได้”
    ..............
    ข้อความบางตอนใน กายคตาสติสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=19

    บทว่า กายคตาสติ ได้แก่ สติอันกำหนด (พิจารณา) กายบ้าง มีกายเป็นอารมณ์บ้าง.
    เมื่อกล่าวว่า กำหนด (พิจารณา) กาย ย่อมเป็นอันกล่าวถึงสมถะ
    เมื่อกล่าวว่า มีกายเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นอันกล่าวถึงวิปัสสนา
    ย่อมเป็นอันกล่าวถึงทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วยบททั้งสอง.
    ................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากายคตาสติสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=292

    หมายเหตุ วิธีเจริญกายคตาสติมี ๑๘ วิธี ได้แก่ การเจริญกายานุปัสสนา ๑๔ วิธี เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออกยาว-สั้น (อานาปานสติบรรพ) กำหนดอิริยาบถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน (อิริยาบถบรรพ) กำหนดอิริยาบถย่อย เช่นการก้าวไป การถอยกลับ (สัมปชัญญบรรพ) พิจารณากายว่าเป็นสิ่งไม่สะอาด (ปฏิกูลมนสิการบรรพ) พิจารณากายว่าเป็นธาตุ (ธาตุมนสิการบรรพ) พิจารณาซากศพ (นวสีวถิกาบรรพ) และวิธีเจริญฌาน ๔ วิธี (ปฐมฌาน-จตุตถฌาน)
    ในตอนท้าย ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติแบบนี้ไว้ ๑๐ ประการ


    ?temp_hash=21d0e855f580ca14306184b6716dfb70.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    กายคตาสติ
    **************
    สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญ คือเป็นบ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ.

    เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็นกายคตาสติ เหมือนกัน. คำว่า กายคตาสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากามสุตตนิทเทส
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=1&p=3&fbclid=IwAR0qw8L5HvoS_H4HuGnvJUFvvXfOOV-lzv2bW1bm56wf6CDP-1BZkiAJewI#อนุสสติ

    (มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
    ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
    ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์) คือนิพพาน
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1


    ?temp_hash=21d0e855f580ca14306184b6716dfb70.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พิจารณากายว่าเป็นสิ่งไม่สะอาด
    **********
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดชนิดต่างๆ ว่า

    ‘ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’

    ภิกษุทั้งหลาย ถุงมีปาก ๒ ข้าง เต็มไปด้วยธัญพืชชนิดต่างๆ คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร คนตาดีเปิดถุงนั้นออก พิจารณาเห็นว่า ‘นี้เป็นข้าวสาลี นี้เป็นข้าวเปลือก นี้เป็นถั่วเขียว นี้เป็นถั่วเหลืองนี้เป็นงา นี้เป็นข้าวสาร’

    แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดชนิดต่างๆ ว่า ‘ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ใส้ใหญ่ ใส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’

    ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
    ..............
    ข้อความบางตอนใน กายคตาสติสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=19

    บทว่า กายคตาสติ ได้แก่ สติอันกำหนด (พิจารณา) กายบ้าง มีกายเป็นอารมณ์บ้าง.
    เมื่อกล่าวว่า กำหนด (พิจารณา) กาย ย่อมเป็นอันกล่าวถึงสมถะ
    เมื่อกล่าวว่า มีกายเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นอันกล่าวถึงวิปัสสนา
    ย่อมเป็นอันกล่าวถึงทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วยบททั้งสอง.
    ตรัสกายานุปัสสนา ๑๔ อย่างในมหาสติปัฏฐาน
    ................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากายคตาสติสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=292

    หมายเหตุ วิธีเจริญกายคตาสติมี ๑๘ วิธี ได้แก่ การเจริญกายานุปัสสนา ๑๔ วิธี เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออกยาว-สั้น (อานาปานสติบรรพ) กำหนดอิริยาบถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน (อิริยาบถบรรพ) กำหนดอิริยาบถย่อย เช่นการก้าวไป การถอยกลับ (สัมปชัญญบรรพ) พิจารณากายว่าเป็นสิ่งไม่สะอาด (ปฏิกูลมนสิการบรรพ) พิจารณากายว่าเป็นธาตุ (ธาตุมนสิการบรรพ) พิจารณาซากศพ (นวสีวถิกาบรรพ) และวิธีเจริญฌาน ๔ วิธี (ปฐมฌาน-จตุตถฌาน)
    ในตอนท้าย ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติแบบนี้ไว้ ๑๐ ประการ
    #กายคตาสติ #จตุตถฌาน #อานิสงส์ของผู้เจริญกายคตาสติ

    JEy6A2Q3pulVPRUFCPhRBex32CXxzxEIz6tc4EN-amoM&_nc_ohc=DynL3GzC4XwAX_yDxmk&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ?temp_hash=d24086f55ec6d89a4d7f2f59f8532b8a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ถ้าบุคคลใดใช้ปัญญาหรือสมาธิเป็นเครื่องพิจารณากาย จะเห็นว่าร่างกายนี้สภาวะความเป็นจริงมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราเองไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายไม่ใช่เรา มันคนละส่วนกัน คนที่ตายจากความเป็นคนไปแล้ว ไปเกิดบนสวรรค์บ้าง ไปเป็นพรหมบ้าง ไปนิพพานบ้าง ไปเกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานบ้าง อย่างนี้เป็นต้น ทุกคนไม่ได้เอาร่างกายไปเขาไปแต่ อทิสสมานกาย คือกายภายใน ร่างกายภายนอกเป็นแค่เปลือกนอกเท่านั้น

    ถ้าบุคคลทั้งหลายเห็นว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ที่ความทุกข์มีเกิดขึ้นมาแก่เราทุกขณะ ที่มีอยู่ในเวลานี้เพราะอาศัยร่างกายเป็นเหตุ สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ได้ตรัสว่า

    อานันทะ ดูกร อานนท์ ถ้าบุคคลใดวางร่างกายภายใน คือร่างกายของเราเสียได้ วางร่างกายภายนอกคือกายของบุคคลอื่นเสียได้ วางวัตถุธาตุใด ๆ เสียได้ทั้งหมด คนทั้งหมดนี้ตายจากความเป็นคนเมื่อไร ไปนิพพานเมื่อนั้น

    จากหนังสือ
    โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๒ หน้าที่ ๑๑๘
    โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ?temp_hash=06b2b6c5b2eb12b436d540f82b01dd02.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วิธีเจริญกายคตาสติมี ๑๘ วิธี ได้แก่ การเจริญกายานุปัสสนา ๑๔ วิธี เช่น
    กำหนดลมหายใจเข้าออกยาว-สั้น (อานาปานสติบรรพ)
    กำหนดอิริยาบถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน (อิริยาบถบรรพ)
    กำหนดอิริยาบถย่อย เช่นการก้าวไป การถอยกลับ (สัมปชัญญบรรพ)
    พิจารณากายว่าเป็นสิ่งไม่สะอาด (ปฏิกูลมนสิการบรรพ)
    พิจารณากายว่าเป็นธาตุ (ธาตุมนสิการบรรพ)
    พิจารณาซากศพ (นวสีวถิกาบรรพ)
    และวิธีเจริญฌาน ๔ วิธี (ปฐมฌาน-จตุตถฌาน)
    ในตอนท้าย ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติแบบนี้ไว้ ๑๐ ประการ
    ..............
    ดูรายละเอียดใน กายคตาสติสูตร ว่าด้วยวิธีเจริญกายคตาสติ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=19
    TUmorqFRTKCTgvkZavLkFyip6eWXdtAPp1_uQNQwS-2zTkUQQ-vF06qiUkuTVoFZTLwWfKQ2&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    pnaPiqIF8AUyoJO-9vS22pGJCaBQ5j7tcTYEYBIViXBG&_nc_ohc=uDSCdQnKR8kAX8FdC3c&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อบรรลุความเป็นพระอรหันต์
    ***************
    ...ส่วนในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้น มีความประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้วบรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแล ให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี) ด้วยอาการ ๕ อย่าง กล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง สมาปัชชนะ การเข้า อธิฏฐานะ การตั้งใจ วุฏฐานะ การออก และ ปัจจเวกขณะ การพิจารณา แล้ว กำหนด รูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้าแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา.
    ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
    แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป.
    อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้นครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ในบรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุและทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.
    อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลมย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้นของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกและกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
    ครั้น เธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
    เธอนั้น ข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณากลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึงภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปในสรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
    เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.
    ................
    สมันตปาสาทิกา มหาวิภังคอรรถกถา
    วิ.มหา.อ. (ไทย) ๒/๓๗๐-๓๗๑ มหามกุฏ ฯ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=176&p=2
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...