พุทธการกธรรม ธรรมที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย thanan, 24 เมษายน 2005.

  1. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,667
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,216
    <u>จากหนังสือ ธรรมะเพื่อชีวิตเล่มที่ ๓๒ ฉบับวันวิสาขบูชา ๒๕๔๕</u>


    <h3><font color=blue><center>อัฏฐธรรมสโมธาน</center></font></h3>
    ความถึงพร้อมด้วยธรรม ๘ ประการ

    พระโพธิ์สัตว์คือ ผู้ตั้งความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนานี้จะสำเร็จหรือไม่นั้น สิ่งหนึ่งที่จะบอกได้ คือ การได้รับพุทธพยากรณ์ ในชาติที่พระโพธิ์สัตว์จะได้รับพุทธพยากรณ์ (ครั้งแรก) นั้น นอกจากจะต้องบำเพ็ญบารมีมามากพอแล้ว ในชาตินั้นยังจะต้องถึงพร้อมด้วยธรรม ๘ ประการคือ

    ๑. เกิดเป็นมนุษย์

    ๒. เกิดเป็นชาย

    ๓. สามารถสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ในชาตินั้น

    ๔. ได้พบพระพุทธเจ้า

    ๕. ได้ออกบวช

    ๖. สมบูรณ์ด้วยสมาบัติ ๘ อภิญญา

    ๗. ยอมสละชีวิตตนเพื่อพระพุทธเจ้าได้

    ๘. มีฉันทะ วิริยะ อุตสาหะ แสวงหาอย่างใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่พุทธการกธรรมทั้งหลาย

    <hr>
    <h3><font color=blue><center>พุทธการกธรรม</center></font></h3>
    พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ หลังจากที่ได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้งแรกว่า ท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แท้ในอนาคต แล้วก็จะพิจารณา พุทธการธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า) ซึ่งพระโพธิ์สัตว์องค์ก่อนๆ ได้บำเพ็ญมาแล้ว ว่ามีอะไรบ้าง และจะต้องบำเพ็ญหรือปฏิบัติต่อข้อธรรมแต่ละข้ออย่างไร

    พระโพธิ์สัตว์จะพิจารณาพุทธการกธรรมทีละข้อ ๆ เมื่อพิจารณาจบแต่ละข้อ ก็จะหาต่อไปว่า ยังมีธรรมข้ออื่นที่ต้องบำเพ็ญอีกหรือไม่ ถ้าพบว่ายังมีอีก ก็จะพิจารณาต่อไปอีก จนครบทั้งหมด ๑๐ ข้อ ซึ่งก็คือ บารมี ๑๐ หรือ ทศบารมี นั่นเอง

    พุทธการธรรมที่พระโพธิสัตว์พิจารณา และเห็นว่าเป็นธรรมที่ต้องบำเพ็ญเพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า มีดังนี้

    <b>๑. ทานบารมี</b> ในข้อนี้พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญทานบารมี เหมือนอย่าง หม้อน้ำที่มีน้ำเต็มแล้วคว่ำลง หม้อน้ำนี้ย่อมคายน้ำออกจนหมดสิ้นฉันใด เราก็พึงให้ทานแก่ยาจก โดยไม่มีส่วนเหลือฉันนั้น

    <b>๒. ศีลบารมี</b> ในข้อนี้พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญศีลบารมี เหมือนอย่าง จามรี ชื่อว่าจามรีย่อมไม่อาลัยแม้ชีวิต รักษาพวงหางของตนฉันใด เราก็พึงรักษาศีล โดยไม่อาลัยแม้ชีวิตฉันนั้น

    <b>๓. เนกขัมมบารมี</b> ในข้อนี้พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไปเราพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี เหมือนอย่าง นักโทษ ที่ถูกขังและได้รับทุกข์ทรมานในเรือนจำเป็นเวลานาน เขาผู้นั้นย่อมไม่อยากอยู่ในเรือนจำ ต้องการพ้นออกไปฉันใด เราก็พึงเห็นภพทั้งปวงเป็นเสมือนเรือนจำ อยากพ้นไปจากภพทั้งปวงด้วยการมุ่งสู่เนกขัมมะฉันนั้น

    <b>๔. ปัญญาบารมี</b> ในข้อนี้พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญปัญญาบารมี เหมือนอย่าง พระภิกษุ พระภิกษุเมื่อออกบิณฑบาตโดยไม่เลือกตระกูลว่าจะมีฐานะสูง ต่ำ หรือปานกลาง ย่อมได้อาหารเพียงพอแก่อัตภาพฉันใด เราก็พึงเข้าไปหาบัณฑิตทุกท่าน เพื่อถามปัญหาฉันนั้น

    <b>๕. วิริยะบารมี</b> ในข้อนี้พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญวิริยะบารมี เหมือนอย่าง พญาราชสีห์ ชื่อว่าพญาราชสีห์ย่อมมีความเพียร ไม่ย่อหย่อนในอิริยาบถทุกเมื่อฉันใด เราก็พึงมีความเพียรอันมั่นคงในภพทั้งปวงฉันนั้น

    <b>๖. ขันติบารมี</b> ในข้อนี้พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญขันติบารมี เหมือนอย่าง แผ่นดิน ชื่อว่าแผ่นดินย่อมทนได้ต่อสิ่งของที่มีผู้ทิ้งลงไป ไม่ว่าจะสะอาดหรือสกปรกฉันใด เราก็พึงเป็นผู้อดทนต่อการยกย่องและการดูหมิ่นของคนทั้งปวงได้ฉันนั้น

    <b>๗. สัจจบารมี</b>ในข้อนี้พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญสัจจบารมีเหมือนอย่าง ดาวประกายพรึก ชื่อว่าดาวประกายพรึกย่อมไม่หลีกออกไปทางอื่น โคจรอยู่เฉพาะในทางของตนฉันใด เราก็พึงไม่ก้าวล่วงจากวิถีในสัจจะ พูดแต่ความจริงฉันนั้น

    <b>๘. อธิษฐานบารมี</b> ในข้อนี้พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไปเราพึงบำเพ็ญอธิฐานบารมี เหมือนอย่าง ภูผาหิน ชื่อว่า ภูผาหินย่อมตั้งมั่นอยู่ได้ ไม่หวั่นไหวด้วยแรงลมฉันใด เราก็จงเป็นผู้ตั้งมั่นไม่คลอนแคลนในอธิฐานบารมีฉันนั้น

    <b>๙. เมตตาบารมี</b> ในข้อนี้พระโพธิ์สัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไป เราพึงบำเพ็ญบารมี เหมือนอย่าง น้ำ ชื่อว่าน้ำย่อมทำให้รู้สึกและชำระฝุ่นผงทั้งแก่คนดีและคนไม่ดีเสมอกันฉันใด เราก็พึงแผ่เมตตาทั้งแก่คนที่ทำประโยชน์และคนที่ไม่ได้ทำประโยชน์เสมอกันฉันนั้น

    <b>๑๐. อุเบกขาบารมี</b>ในข้อนี้พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า นับแต่นี้ไปเราพึงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี เหมือนอย่าง แผ่นดิน ชื่อว่าแผ่นดินย่อมวางเฉย ไม่รู้สึกยินดียินร้ายต่อสิ่งของที่มีผู้ทิ้งลงไป ไม่ว่าจะสะอาดหรือไม่สะอาดฉันใด เราก็พึงเป็นผู้วางเฉย มีใจเสมอกันทั้งในความสุขและความทุกข์ฉันนั้น

    เมื่อพิจารณาจนเห็นพุทธการกธรรมทั้ง ๑๐ ข้อนี้แล้ว พระโพธิสัตว์ก็รู้ว่าธรรมทั้งหลายที่พระโพธิสัตว์องค์ก่อนๆ ได้บำเพ็ญ มาแล้ว เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้ามีเพียงเท่านี้ ไม่มีข้ออื่นอีก และธรรมเหล่านี้ ก็ไม่ได้มีอยู่แม้ในอากาศหรือในทิศใดๆ เลย<menu><font color=green>
    "แต่ว่าตั้งอยู่ในใจของเราเท่านั้น เราพึงตั้งใจมั่นในบารมีเหล่านี้ทั้งหมด"</font></menu>
    พระโพธิ์สัตว์จะพิจารณาพุทธการกธรรมทั้ง ๑๐ ข้อนี้ทั้งอนุโลมและปฏิโลม คือจากต้นไปยังปลาย และจากปลายย้อนกลับมายังต้น เมื่อพระโพธิสัตว์พิจารณาอยู่อย่างนี้อยู่หลายรอบ แผ่นดินก็ไหว เกิดเสียงกัมปนาท

    มนุษย์และเทวดาที่อยู่ในที่นั้น ต่างพากันมาบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยดอกไม้ และของหอม เป็นต้น กล่าวสดุดีพระโพธิ์สัตว์ว่า <menu><font color=green>
    "วันนี้ท่านปรารถนา ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ ขอความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่าน"</font></menu><hr>
    <h3><font color=blue><center>มหาวิโลกนะ</center></font></h3>
    มหาวิโลกนะ <font color=green>"การตรวจดูอันยิ่งใหญ่"</font> ข้อตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ หมายถึง สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาตรวจดู ก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลก ไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี ๕ อย่าง (นิยมเรียกว่า ปัญจมหาวิโลกนะ) คือ

    <b>๑. กาล</b> คือ อายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง ๑๐๐ ถึง ๑ แสนปี (ไม่สั้นกว่าร้อยปี ไม่ยาวเกินแสนปี)

    <b>๒. ทีปะ</b> คือ ทวีป จะอุบัติแต่ในชมพูทวีป

    <b>๓. เทสะ</b> คือประเทศ หมายถึงดินแดน จะอุบัติในมัธยมประเทศและทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์เป็นที่พึงเกิด

    <b>๔. กุละ</b> คือ ตะกูล จะอุบัติเฉพาะในขัตติยสกุล หรือในพราหมณสกุล และทรงกำหนดว่า เวลานั้นโลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา

    ๕. ชเนตติอายุปริจเฉท คือ มารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์ ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน ๑๐ เดือน ไปได้ ๗ วัน

    (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)

    (จากหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตโต) หน้า ๒๒๓ - ๒๒๔)

    * หมายเหตุ พุทธบิดาและพุทธมารดาในข้อ ๔ และข้อ ๕ หมายถึงพุทธบิดาและพุทธมารดาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ถ้าเป็นของพระพุทธเจ้าองค์อื่น จะมีชื่อและตระกูลต่างกัน

    <hr>
    <h3><font color=blue><center>มหาสุบิน</center></font></h3>
    มหาสุบิน ความฝันอันยิ่งใหญ่ ความฝันครั้งสำคัญ หมายถึง ความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน) ของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่า ทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ) ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฏก ใจความว่า

    ๑. เสด็จบรรทม โดยมีมหาปฐพีนี้เป็นพระแท่นไสยาสน์ ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย พระหัตถ์ซ้ายเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านปัจฉิมทิศ พระบาททั้งสองเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านทักษิณ (ข้อนี้เป็นบุพนิมิตหมายถึง การได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันไม่มีสิ่งใดยิ่งใหญ่กว่า

    ๒. มีหญ้าคางอกขึ้นจากนาภีของพระองค์สูงขึ้นจดท้องฟ้า(หมายถึง การที่ได้ตรัสรู้อารยอัฏฏาคิกมรรค แล้วทรงประกาศออกไปถึงมวลมนุษย์และหมูเทพ)

    ๓. หมู่หนอนตัวขาวศีรษะดำพากันไต่ขึ้นมาจากพระบาทคลุมเต็มถึงชานุมณฑล (หมายถึง การที่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์มากมายพากันถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต)

    ๔. นกทั้งหลายสี่จำพวกมีสีต่างๆ กัน บินมาแต่ทิศทั้งสี่ แล้วมาหมอบจับที่เบื้องพระบาท กลับกลายเป็นสีขาวไปหมดสิ้น (หมายถึง การที่ชนทั้งสี่วรรณะมาออกบวชรวมกันในพระธรรมวินัย และได้ประจักษ์แจ้งวิมุตติธรรม)

    ๕. เสด็จดำเนินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่ แต่ไม่ทรงแปดเปื้อนด้วยคูถ (หมายถึง การทรงเจริญลาภในปัจจัยสี่พรั่งพร้อม แต่ไม่ทรงลุ่มหลง ติดพัน ทรงบริโภคด้วยพระปัญญาที่ดำรงจิตปลอดโปร่งอิสระ)

    (จากหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตโต) หน้า ๒๒๕ - ๒๒๖)

    <hr>
    <h3><font color=blue><center>พุทธกิจประจำวัน ๕</center></font></h3>
    พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำในแต่ละวันมี ๕ อย่างคือ

    <b>๑. ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ</b> เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต

    <b>๒. สายณฺเห ธมฺมเทสนํ</b> เวลาเย็นทรงแสดงธรรม

    <b>๓. ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ</b> เวลาค่ำประทานโอวาทแต่เหล่าภิกษุ

    <b>๔. อฑฺฒรตฺเต เทวปณฺหนํ</b> เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา

    <b>๕. ปจฺจุสฺเสว คเตกาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ</b>จวนสว่างทรงตรวจพิจาณาสัตว์ที่สามารถ และที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรม อันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่

    สรุปท้ายว่า เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ วิโสเธติ มุนิปุงฺคโว พระพุทธเจ้าองค์พระมุนีผู้ประเสริฐทรงยังกิจ ๕ ประการนี้ให้หมดจด

    (จากหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตโต) หน้า ๑๘๙ - ๑๙๐)

    <hr>
    <h3><font color=blue><center>พุทธจริยา</center></font></h3>
    พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า การบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้ามี ๓ คือ

    <b>๑. โลกัตถจริยา</b> การบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก

    <b>๒. ญาตัตถจิรยา</b> การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ

    <b>๓. พุทธัตถจริยา</b> การบำเพ็ญประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า

    (จากหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตโต) หน้า ๑๙๑)

    <hr>
    <h3><font color=blue><center>คำอธิบายเพิ่มเติม</center></font></h3>
    <b>โลกัตถจริยา</b> พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่โลก ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลก คือ ทรงอาศัยพระมหากรุณา เสด็จไปประกาศพระศาสนา เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนในถิ่นฐานแว่นแคว้นต่างๆ เป็นอันมาก และประดิษฐานพระศาสนาไว้ เพื่อประโยชน์สุขแก่ชุมชนภายหลังตลอดกาลนาน (หน้า ๒๖๐)

    <b>ญาตัตถจริยา</b>พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระญาติ ทรงประพฤติประโยชน์แก่พระญาติ เช่น ทรงอนุญาตให้พระญาติที่เป็นเดียรถีย์เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนก่อน เหมือนเดียรถีย์อื่น และเสด็จไปห้ามพระญาติที่วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำ เป็นต้น (หน้า ๖๒)

    <b>พุทธัตถจริยา</b> ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตว์โลก โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า เช่น ทรงแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์ และบัญญัติวินัยขึ้นบริหารหมู่คณะ ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน มาตราบเท่าทุกวันนี้ (หน้า ๑๙๔)

    <hr>

    <h3><font color=blue><center>พุทธปรินิพาน ๓</center></font></h3>
    การปรินิพานของพระพุทธเจ้าอาจนับว่ามี ๓ อย่างคือ

    <b>๑. กิเลสปรินิพาน</b> หมายถึง การดับสิ้นแห่งกิเลสในคราวที่ทรงตรัสรู้ ณ โพธิบัลลังก์

    <b>๒. ขันธปรินิพพาน</b> หมายถึง การดับสิ้นแห่งขันธ์ในคราวที่ทรงปรินิพพานที่เมืองกุสินารา

    <b>๓. ธาตุปรินิพพาน</b> หมายถึง การดับสิ้นแห่งพระธาตุทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะมีขึ้นในคราวที่ ศาสนาสูญสิ้น

    พระธาตุทั้งหลายของพระพุทธเจ้าที่อยู่ในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะในนาคพิภพ หรือบนพรหมโลก เป็นต้น จะมารวมกันและไปสู่โพธิบัลลังก์ เมื่อไปถึง ก็จะเปล่งฉัพพรรณรังสีออกมา แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ

    เทวดาทั้งหลายจักประชุมกันแล้วกล่าวว่า <menu><font color=brown>"นี้เป็นการได้เห็นครั้งสุดท้ายของเราทั้งหลายในบัดนี้"</menu></font> จากนั้น เตโชธาตุในบรรดาพระธาตุเหล่านั้น ก็จักลุกโพลงเผาพระธาตุจนหมดสิ้น ไม่เหลือแม้เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด นับแต่นี้ไป ชื่อว่า <menu><font color=brown>"ศาสนาได้อันตรธานแล้ว"</menu></font>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2005
  2. Star Platinum

    Star Platinum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +1,152
    เยี่ยมมากครับ

    บทความถูกเรียบเรียงอย่างย่อกระทัดรัด อ่านง่ายแต่ได้ใจความ เป็นประโยชน์ต่อพุทธภูมิอย่างมากเลยครับ (verygood)
     
  3. พลังแห่งเมตตา

    พลังแห่งเมตตา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +52
    ยิ้ม......
     
  4. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    งดงามคัรบ
     
  5. art

    art เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +407
    โมทนาบุญคะ
     
  6. Mood

    Mood เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +230
    โมทนาครับผม สาธุ
     
  7. อังคาร

    อังคาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2005
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +189
    อนุโมทนา
     
  8. Seel

    Seel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    260
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,604
    โมทนาครับบบบบ
     
  9. sravnane

    sravnane เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    695
    ค่าพลัง:
    +17,914
    กุศลกรรมที่ทำให้บรรลุสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า พุทธบูชาฯ

    [b-wai]
    ขอร่วมโมทนาบุญกุศลกับทุกๆท่านเป็นอย่างสูง ขอบารมีพระฯทุกพระองค์เป็นกำลังทุกอย่างในการประพฤติปฏิบัติธรรมของทุกๆท่าน ให้เจริญรุ่งเรืองตั้งมั่นเป็นกำลังใหญ่ในการค้ำจุนพระศาสนาสืบไปชั่วกาลนานเทอญ
    :cool:
    ปล.น่าจะมีตั้งแต่เริ่มปรารถนาในใจก็ดีนะครับ
     
  10. จ๊ะโอ๋

    จ๊ะโอ๋ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ขอโมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านเป็นอย่างสูงค่ะ ขอบารมีพระฯทุก ๆ พระองค์จงดลบันดาลให้ท่านประสบแต่ความสุข ความสำเร็จ สมความปรารถนาทุกท่านตลอดเข้าสู่พระนิพพานเทอญ[b-wai]
     

แชร์หน้านี้

Loading...