อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    พระสังกัจจายน์ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร




    [​IMG]


    พระสังกัจจายน์ หรือ พระสังกัจจายนะ ที่ ชาวพุทธทั่วไปมักเรียกเพี้ยนไปเป็น พระสังข์กระจาย นั้น แท้ที่จริงก็คือ พระมหาสังกัจจายนเถระ หรือ พระมหากัจจายนะ เถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในครั้งพุทธกาล

    พระสังกัจจายน์ ที่เราเห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน เป็นภาพหรือรูปปั้นที่อ้วน พุงพลุ้ย ใบหน้าอิ่มเอิบ ยิ้มร่าอย่างมีเมตตา เป็นการแสดงถึงการมีโชค มีลาภ มีเมตตามหานิยมแก่ผู้สักการะบูชา แต่ก่อนที่จะมามีรูปลักษณ์อย่างนี้ พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปร่างงดงาม ผิวพรรณผุดผ่อง ดุจทองคำ จนเป็นที่ต้องตาต้องใจแก่คนทั่วไป ไม่ว่าชาย หรือหญิง เรียกว่าใคร ๆ ก็อยากเห็น อยากพบ อยากทำบุญด้วย เป็นเมตตามหานิยมที่เกิดขึ้นจากตัวท่านเอง จนสตรีเพศทั้งหลายต่างก็พากันหลงใหล ไปอยู่ที่ไหนก็มีสตรีหลายคนมาคอยเฝ้าดู เฝ้าชมกันอย่างไม่ลุกไปไหน จนเป็นการขัดขวาง การปฏิบัติสมณธรรม ท่านจึงไปทูลขออนุญาตจากพระพุทธองค์ เพื่อขอแปลงกาย ไม่ให้หล่อเหลางดงาม ซึ่งก็ทรงมีพุทธอนุญาตให้เป็นไปตามที่ขอ

    พระสังกัจจายน์ จึงใช้ฤทธิ์อภิญญาของท่านแปลงกายให้อ้วนพุงพลุ้ย จนถึงต้องเอามืออุ้มไว้ เพราะมันใหญ่มาก แต่ใบหน้าก็ยังอวบอิ่มยิ้มร่าด้วยเมตตาบารมีแห่งความมีโชค มีลาภ ปัญหาก็หมดไป สำหรับการหลงใหล ในรูปร่างหน้าตา แต่ผู้คนก็ยังติดใจในเมตตาบารมีของท่านก็ยังทำบุญกับท่านอยู่เสมอ เปรียบได้กับ พระสีวลี ซึ่งเป็นพระอรหันต์แห่งโชคลาภ ก็ว่าได้

    ในเวลาที่หมู่สงฆ์จะต้องเดินทางจาริกไปทีละมาก ๆ หาก พระสีวลี ไม่สามารถที่จะเดินทางไปด้วยได้ หรือไม่อยู่ พระพุทธองค์ก็ทรงเรียกให้ พระสังกัจจายน์ ไปด้วย เพื่อว่าหมู่สงฆ์จะได้ไม่ติดขัดเรื่องบิณฑบาตร ซึ่งก็เป็นอย่างนั้น จริง ๆ อาหารบิณฑบาตร ก็จะเหลือเฟือไม่ขาดแคลน ถึงแม้ว่าหนทางนั้นจะมีหมู่บ้าน และผู้คนไม่มากนักก็ตาม เมื่อพระสีวลีไม่อยู่ แต่มี พระสังกัจจายน์ มา ก็เหมือนกับมี พระสีวลีอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีใครสงสัย เมื่อเห็นรูปปั้นท่านประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด ก็มักไปบูชาขอโชค ขอลาภกันอยู่เสมอ แล้วก็นำองค์ท่านเล็ก ๆ ไปบูชาที่บ้าน ที่ร้านค้า บริษัท เพื่อกิจการค้าขาย และการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ จะได้ก้าวหน้า เจริญเติบโต ด้วยบารมีของท่านและผู้บูชาสักการะเอง

    บุตรเศรษฐี


    มีเรื่องเล่าในอรรถกถาธรรมบทว่า บุตรเศรษฐีหนึ่งขื่อ “โสเรยยะ” มีบ้านเรือนพักอาศัยอยู่ใน โสเรยยนคร วันหนึ่งได้เห็น พระสังกัจจายน์เข้า ก็ตื่นตาตื่นใจ เพราะความรูปงามของท่านจึงคิดอกุศลกำหนดให้ท่านเป็นหญิง แล้วลวนลามทางจิตที่คึกคะนอง ด้วยจิตทีคิดพิเรนทร์ต่อพระอรหันต์เจ้า บุตรเศรษฐีโสเรยยะที่เป็นเพศชาย ก็กลับกลายเป็นเพศหญิง มีอวัยวะของสตรีครบสมบูรณ์ประหนึ่งหญิงแท้ ๆ ด้วยความอับอาย บุตรเศรษฐีโสเรยยะ จึงหนีไปอยุ่เมืองอื่น จนได้สามีและมีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาภายหลังได้กลับมาขอขมาท่าน จึงได้กลับเป็น ชายอย่างเดิม เรื่องราวดูน่าเหลือเชื่อ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในโลกนี้ ก็ล้วนเหลือเชื่อทั้งนั้น

    ย้อนดูประวัติ

    ย้อนกลับไปดูเรื่องราวประวัติตั้งแต่ต้นของท่าน สักนิด แต่เดิมนั้นท่านเป็นบุตรพราหมณ์ปุโรหิต กัจจายนโคตร ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นได้เรียนจบไตรเพท ครั้งบิดาเสียชีวิตแล้ว ก็ได้รับตำแหน่ง ปุโรหิตแทนบิดา

    กาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า ได้บังเกิดพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ขึ้นในโลกแล้ว และเสด็จเที่ยวโปรดสั่งสอนประชาชน ธรรมที่พระองค์สั่งสอนนั้นเป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ให้สำเร็จ แก่ผู้ประพฤติปฎิบัติตาม มีพระราชประสงค์จะใคร่เชิญเสด็จสมเด็จพระบรมศาสดา ไปประกาศพระศาสนาที่ กรุงอุชเชนี จึงสั่ง กัจจายนะปุโรหิต ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เรียนจบไตรเพท ไปทูลเชิญเสด็จ

    เมื่อมีโองการสั่งเช่นนั้น ท่านกัจจายนะปุโรหิต ซึ่งมีความศรัทธาอยู่ก็ถือโอกาสทูลลาบวชด้วย ครั้นได้พระบรมราชานุญาตแล้วจึงออกจากกรุงอุชเชนี พร้อมด้วยบริวาร 7 คน รอนแรมมาถึงยังที่ประทับพระบรมศาสดา ก็พากันเข้าเฝ้า ฟังพระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาสั่งสอน ในที่สุดทั้ง ท่านกัจจายนะ และบริวารทั้ง 7 ก็ได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมกัน แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดา ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    ครั้นได้อุปสมบทแล้วจึงทูลเชิญอาราธนาพระผู้มีพระ ภาคเจ้า ให้เสด็จโปรด ชาวอุชเชนี ตามประสงค์ของ พระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดารับสั่งว่า ท่านไปเองเถิด เมื่อไปแล้ว พระจัณฑปัชโชต และชาวเมืองจะเลื่อมใส ด้วยเหตุนี้ พระสังกัจจายน์ หรือ พระสังกัจจายนะ จึงถวายบังคมลาเดินทางกลับ กรุงอุชเชนี ประกาศพระพุทธศาสนาให้ พระเจ้าจัณฑปัชโชต และชาวเมืองเลื่อมใส แล้วกลับคืนมายังสำนักพระบรมศาสดา

    เป็นผู้เลิศ


    พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ ท่านเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความที่ย่อให้พิสดาร เช่นครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตร แต่โดยย่อท่ามกลางสงฆ์ โดยแสดงธรรมว่า“ผู้มีปัญญาไม่ควรคิดตาม คิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรจะมุ่งหาสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ไม่ได้ไม่ถึง ผู้ใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้งรู้ธรรมนั้นแล้วพึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจักมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผลัดเพี้ยนต่อมัจจุราชที่มีเสนาใหญ่ไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบ ระงับย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวัน และกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท อย่างนี้ เรียกว่า ผู้มีราตรีเดียว"

    ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เสด็จลุกไปสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่เข้าใจ และไม่มีโอกาสที่จะทูลถาม ความที่พระองค์ตรัสโดยย่อ นั้นให้กว้างขวางได้ จึงอาราธนาขอให้พระสังกัจจายน์อธิบายให้ฟัง ท่านอธิบายความว่า

    ท่านผู้มีอายุ เรารู้ความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อนั้นตามความพิสดารว่า

    เมื่อบุคคลคิดว่า ในกาลล่วงแล้วตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ใจกับอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรามีแล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ

    เพราะวิญญาณ อันความกำหนัดพอใจ ผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าคิดตามถึงสิ่งทึ่ล่วงมาแล้ว

    ไม่คิดอย่างนั้นความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ก็ไม่ผูกพันวิญญาณได้ ผู้นั้นก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่คิดตามถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว

    บุคคลตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้านัยน์ตากับรูป เป็นต้น ของเราจะเป็นอย่างนี้ เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัย ผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า มุ่งหมาย สิ่งที่ยังมาไม่ถึง

    บุคคลไม่ได้ตั้งจิตเพื่อจะหมายสิ่งใด สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น ก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่มุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้ว

    นัยน์ตากับรูปอย่างละสอง อันใด เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ผูกพันวิญญาณไว้แล้ว บุคคลก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ ผู้เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่า ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดเฉพาะหน้า

    ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้ บุคคลก็ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้เชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

    ท่านผู้มีอายุเราเข้าใจในเนื่อความแห่งธรรมที่ทรง แสดงแล้วโดยย่อตามความ พิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลาย ประสงค์ก็จงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามความนั้นเถิด พระองค์ทรงเล่าอย่างไร จงจำไว้อย่างนั้นเถิด

    ภิกษุเหล่านั้น ลาพระมหากัจายนะกลับเข้าเฝ้าพระศาสดาทูลความนั้นให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสสรรเสริญ พระมหากัจจายนะ ว่า“ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะ เป็นผู้มีปัญญา ถ้าท่านถามความนั้นกับเรา แม้เราก็คงเล่าเหมือน กัจจายนะ เล่าอย่างนั้น ความของธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้น อย่างนั้นแล ท่านทั้งปวงจำไว้เถิด”

    ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงได้รับ การยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร


    ด้วยความใส่ใจ


    พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ ท่านเป็นผู้ที่เอาใจใส่ สนใจในการพระศาสนามากองค์หนึ่ง ธรรมวินัยใด ที่ขัดต่อภูมิประเทศ ไม่สะดวกที่สงฆ์จะปฏิบัติตามได้โดยลำบากแล้ว ท่านก็จะทูลชี้แจง ขอพุทธานุญาต ให้แก้ไขให้เหมาะสม ให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ

    เช่นครั้งหนึ่งท่านไปพำนักหาวิเวกอยู่ ณ ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุธฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท อุบาสกผู้เป็นอุปัฎฐากของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า โสณกุฎิกัณณะ มีความประสงค์จะบวชในธรรมวินัย แต่ก็ยังบวชไม่ได้ เพียงแต่บรรพชาเป็นสามเณรเท่านั้น เวลาล่วงไปถึง 3 ปี จึงมีโอกาสอุปสมบทได้ เพราะในอวันตีทักขิณาปถชนบทนั้น หาภิกษุเป็นคณะครบองค์ไม่ได้ (10 รูปขึ้นไป)

    เมื่อท่านโสณกุฏิกัณณะอุปสมบทแล้ว มีความปรารถนาจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงไปลา พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ ผู้อุปัชฌาย์ ท่านอนุญาตแล้ว สั่งให้ไปถวายบังคมพระบาทด้วยเศียรเกล้าตามคำของท่าน โดยให้พระองค์ ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ซึ่งขัดต่ออวันตีชนบท 5 ข้อ ด้วยกันคือ

    1. ในอวันตีทักขิณาปถชนบทมีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะน้อยกว่า 10 รูป ซึ่งก็ได้รับการอนุญาตให้เหลือเพียง 5 รูป สำหรับชนบทชายแดนทั่วไป

    2. เนื่องด้วยมีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ไม่สะดวกต่อการเดินทาง พระภิกษุในชนบทได้รับความลำบากมากนัก ขอพุทธานุญาตให้ภิกษุใส่รองเท้าเป็นชั้น ๆ ในชนบทชายแดนได้ พระองค์ก็ทรงอนุญาต

    3. พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขออนุญาตพระภิกษุอาบน้ำเป็นนิตย์เถิด พระองค์ก็ทรงอนุญาติ

    4. ในชนบทนั้นมีเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังแพะ หนังแกะบริบูรณ์ดีในชนบทหาได้ง่ายกว่าอย่างอื่น ขอให้ภิกษุใช้หนังแพะ หนังแกะเป็นเครื่องลาดได้ในชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตตามนั้น

    5. ในการที่มนุษย์ถวายผ้าจีวรแก่ภิกษุก็เช่นกัน เมื่อภิกษุไม่อยู่เขามาถวายฝากไว้ เมื่อเธอกลับมา ภิกษุที่ รับฝากไว้แจ้งให้เธอทราบ เธอรังเกียจไม่ยินดีรับ เพราะล่วง 10 ราตรีแล้ว เข้าใจว่าเป็นอาบัตินิสสัคคิยะ จำต้องสละผ้านั้น เป็นการลำบากสำหรับชนบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตว่า เราอนุญาต ให้พระภิกษุรับผ้าที่เขาถวายลับหลังได้ ผ้ายังไม่ถึงมือเธอเมื่อใด จะถือว่าเธอมีสิทธิ์เต็มที่ไม่ได้ตราบนั้น

    อันนี้ก็เป็นความเอาใจใส่ดูแลพระพุทธศาสนาของท่าน โดยไม่ปล่อยให้เรื่องเล็กน้อยผ่านไป

    วรรณะใดเลิศ

    เมื่อครั้ง พระสังกัจจายน์หรือพระมหากัจจายนะ อยู่ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร เสด็จไปหา แล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่าน พระกัจจายนะ ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ถือว่า พวกเขาเป็นผู้ประเสริฐบริสุทธิ์เกิดจากพรหม ท่านเข้าใจว่าอย่างไร

    พระสังกัจจายน์หรือ พระมหากัจจายนะ ทูลตอบว่า วรรณะสี่เหล่าไม่ต่างกันดังนี้

    1. ในวรรณะ 4 เหล่านี้ วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งคั่ง ไม่ว่าวรรณะเดียวกันหรือวรรณะอื่น ย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรรณะนั้น

    2. วรรณะใดประพฤติ อกุศลกรรมบท เบี้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่ อบาย เสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ

    3. วรรณะใดประพฤติ กุศลกรรมบท เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เหมือนกันหมด

    4. วรรณะใดทำ โจรกรรม ประพฤติล่วงเมียคนอื่น วรรณะนั้นต้องรับ อาชญา เหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น

    5. วรรณะใด ออกบวช ตั้งอยู่ในศีลธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับ ความนับถือ และได้รับ บำรุงและได้รับ คุ้มครองรักษาเสมอ กันหมดฯ

    ครั้ง พระเจ้ามธุรราช ได้สดับแล้วก็เกิดความเลื่อมใส แสดงองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถระเจ้า กับ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ พระเถระทูลห้ามว่า อย่าถึงท่านเป็นสรณะเลย จงถึงพระผู้มีพระภาคผู้เป็นสรณะ ของอาตมาภาพ เป็นสรณะเถิด

    พระเจ้ามธุรราช ตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาพเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ท่านทูลว่า พระผู้มีพระภาพเจ้า ปรินิพพานเสียแล้ว พระเจ้า

    มธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาพเจ้าประทับอยู่ที่ใด แม้ใกล้ไกลเท่าใด พระองค์คงจักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้ แต่เมื่อพระผู้มีพระภาพเจ้าปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพระองค์ ขอถือพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานไปแล้วกับ พระธรรมและพระสงฆ์ เป็น
    สรณะที่พึ่ง

    ข้อนี้ย่อมชี้ให้เห็นว่า พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ อยู่มาถึงภายหลังแต่พุทธปรินิพพาน ท่านดำรงชนมายุสังขาร อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ปรินิพพานฯ

    สุดท้าย


    พระมหากัจจายนะนี้ ทางฝ่ายมหายานเขาถือไปอีกอย่าง คือถือว่าท่านยังเป็นพระโพธิสัตย์อยู่ จะได้มาตรัสรู้ เป็นพระศรีอริยเมตไตรยในอนาคต ซึ่งฟังดูไม่แน่ใจนัก เพราะทางฝ่ายเถรวาท เราถือว่าท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว สิ้นจากอัตภาพนี้ไป ก็เข้าสู่ปรินิพพาน แต่
    โดยทั่วไปต่างถือกันว่าท่านมี บารมีทางโชคลาภ มีรูปปั้นท่านประดิษฐานอยู่ที่ใด ผู้คนมักไปบูชาขอโชคขอลาภกัน

    ขอบพระคุณเวปอ้างอิง กำเนิด ประวัติ เรื่องราวความเป็นมา พระสังกัจจายน์ หรือ พระสังกัจจายนะ
     
  2. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,438
    นึกว่าพี่โญเข้านอนไปแล้วนะเนี๊ยยยยย ^_^
     
  3. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448


    กำลังจะนอนแล้วครับ

    แต่พี่ปูส่งไม้ "พระสังกัจจายน์" มา เลยต้องไปถามอากู๋

    มีหลายบทความแต่คิดว่า บทความนี้น่าจะ ok ที่สุดครับ

    เพราะน่าจะโยงไปต่อถึง "พระปิดตา" ได้ครับ
     
  4. Norr

    Norr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,105
    ค่าพลัง:
    +127,438

    รุ่นไตรมาส รวยทันใจ (ปลุกเสกเดี่ยว ตลอด ๓ เดือน)


    [​IMG]


    [​IMG]


    พระปรมาจารย์อมตะสงฆ์ทรงอภิญญา ๕ แผ่นดิน อายุ ๑๐๖ ปี มอบให้ศิษย์ใกล้ชิดไว้ใจสร้างวัตถุมงคลจากมวลสารหลัก “เหล็กน้ำพี้” โลหะธาตุศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ ตั้งแต่ครั้งโบราณหลายร้อยปี ย้อนยุคด้วยพิธีกรรมแบบโบราณ (เทดินไทย) เป็นครั้งแรกที่ท่านปลุกเสก “เดี่ยว” ตลอดพรรษา แผ่มหาบารมีธรรม นำรายได้ก่อสร้างวิหารวัดป่าหนองหล่มที่คั่งค้างให้แล้วเสร็จ พร้อมเสนาสนะวัดบ้านเกิดของท่าน

    *****พิธีปลุกเสกนั้นจัดขึ้นเมื่อถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๓ ครูบาอาจารย์ องค์สำคัญระดับประเทศได้แก่
    ๑.หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
    ๒.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
    ๓.หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    ๔.หลวงปู่ฤทธิ์วัดชลประทานราชดำริ
    ๕. หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง
    ๖.หลวงพ่อรวย วัดเขาตะโก
    ๗. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    ๘.หลวงปู่ลมัย ฐิตมโน อายุ ๑๐๑ ปี สำนักสงฆ์สวนสมุนไพร เพชรบูรณ์
    ๙.หลวงปู่ประสาน วัดโนนผึ้ง (สหธรรมิกรุ่นน้องของหลวงปู่หมุน)
    ๑๐. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม อยุธยา (แหวนไม่ไหม้ไฟ)
    ๑๑. หลวงพ่อสม วัดบ้านด่าน
    ๑๒. เจ้าคณะอำเภอวัฒนานคร ผู้เข้มขลังพลังฤทธิ์
    ร่วมอธิษฐานจิตเป็นเวลาประมาณ ๕ ชั่วโมง
    ในขณะที่หลวงปู่หมุนท่านกำหนดจิต เข้าสู่ฌานสมาบัติชั้นสูงจนเป็นอภิญญาอยู่นั้น ผู้ที่อยู่ในพิธีเห็นหลวงปู่หมุนใช้ไม้ครูเขียนยันต์กลางอากาศ (ทุกครั้งใช้มือ) แล้วส่งพลังจิตขั้นสูงสุดผ่านปลายไม้เท้าสู่วัตถุมงคล สักครู่หนึ่งท่านลืมตาขึ้นยกไม้เท้าขึ้นเหมือนสะกิดใคร พร้อมได้ยินท่านพูดและเห็นกิริยาเหมือนท่านนั่งสนทนากับใครอยู่ (แต่ไม่มีใครเห็นคู่สนทนาของท่าน) เมื่อเสร็จพิธีพระอาจารย์จ่อยซึ่งเห็นเหตุการณ์โดยตลอด ได้กราบเรียนถามหลวงปู่ว่าก่อนเสร็จพิธีหลวงปู่พูดกับใคร ท่านกล่าวตอบว่า “เมื่อตะกี้ผมเห็น หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่านท่านมายืนเสกของอยู่ข้างหน้า เลยใช้ไม้เท้าสะกิดเรียกท่านแล้วพูดคุยกัน ท่านมาเสกของให้เต็มที่เลย พระชุดนี้ของผมต่อไปจะหาไม่ได้อีกแล้ว ผมเสกให้สุด ๆ วิชาอะไรก็ใส่ให้หมด เสกนานที่สุด ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ตั้งแต่สร้างพระมา วิหารที่ก่อสร้างจะได้เสร็จ ผมจะได้หมดห่วงเสียที” จากนั้นพระอาจารย์จ่อยได้กราบเรียนถามครูบาอาจารย์องค์สำคัญที่มาร่วมอธิษฐานจิต อาทิ หลวงพ่อคีย์ วัดศรีลำยอง เจ้าตำรับน้ำมนต์ เทวดา ท่านเล่าว่า “ตอนเข้าฌานสมาบัติเห็นท้าวมหาพรหมท่านก็มา พระอินทร์ก็มา เทวดาธรรมดานับไม่ถ้วน ฤาษีก็มาหลายองค์ พระชุดนี้เยี่ยมด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ โภคทรัพย์ ” หลวงพ่อเอียด บอก “แคล้วคลาดก็มีครบ ” หลวงพ่อรวย บอก “ ชื่อเป็นมงคล รวยทันใจ” (รวย เพิ่ม พูล)

    *****รายการ จำนวนสร้าง
    ๑. พระแก้วมรกตหยกขาวลงลวดลายทอง ๙ องค์ ขนาด ๗ นิ้วเศียรบรรจุพระธาตุ(งานแกะสลักมือจากสุดยอดฝีมือระดับช่างสิบหมู่)
    ๒.พระโพธิสัตว์ “กวนอิม” ขนาด ๗ นิ้ว ๙ องค์ ประทับนั่งเหนือมังกรลวดลายทอง (งานแกะสลักมือ)
    ๓. ดาบเทพศาสตรา “นันทกาวุธ” เหล็กน้ำพี้ ด้ามปลอกแกะลาย ๑๙ เล่ม มีโค้ดและเลขหมายกำกับ ด้ามบรรจุเส้นเกศา จีวร ผงพุทธคุณ ๑๐๘
    ๔ พระบูชาหลวงปู่หมุนยืน มีโค้ดและเลขหมายกำกับ ฐานบรรจุเส้นเกศา จีวร ผงพุทธคุณ ๑๐๘
    -.พระบูชาหลวงปู่หมุนยืนเนื้อผงเหล็กน้ำพี้ สูง ๑๙ นิ้ว ๑๐๙ องค์
    - พระบูชาหลวงปู่หมุนยืนเนื้อผงเหล็กน้ำพี้ สูง ๑๒ นิ้ว ๓๙๙ องค์
    ๕. พระกริ่ง “รวยทันใจ” มีโค้ดและเลขหมายกำกับฐานบรรจุเส้นเกศา จีวร ชานหมาก ผงพุทธคุณ ๑๐๘
    - เนื้อทองคำ (หล่อโบราณเทดินไทย) ๙ องค์
    - เนื้อเหล็กน้ำพี้ ก้นเงิน (หล่อโบราณเทดินไทย) ๕๙ องค์
    - เนื้อเหล็กน้ำพี้ (หล่อโบราณเทดินไทย) ๑๙๙ องค์
    - เนื้อเงิน (หล่อโบราณเทดินไทย) ๑๙๙ องค์
    ๖. พระชัยวัฒน์
    - เนื้อเหล็กน้ำพี้ (หล่อโบราณเทดินไทย) ๙๙๙ องค์
    - เนื้อทองทิพย์ (หล่อโบราณเทดินไทย) (มีโค้ดกำกับ) ๙๙๙ องค์
    ๗. พระปิดตารวยทันใจ
    - แบบที่ ๑ เนื้อผงงาช้างดำผสมทรายดำลังกาวี เนื้อจะสีดำเข้มทั้งองค์ หายากสร้างน้อยที่สุด จำนวนหลักสิบองค์ (ตอก ๑ โค้ด) แบ่งได้ ๓ แบบ ดังนี้
    แบบที่ ๑.๑ ฝังพลอยเสกเม็ดใหญ่ที่ฝ่ามือและหัวไหล่ทั้งสองในบางองค์มีพบบ้างที่ฝังพลอยไม่ครบ ๓ เม็ด และไม่ได้ฝังพลอยในจุดตำแหน่งที่กล่าวข้างต้น
    แบบที่ ๑.๒ ไม่ฝังพลอยเม็ดใหญ่ แต่จะเห็นพลอยเม็ดเล็กโผล่ที่ผิวพระ
    แบบที่ ๑.๓ ไม่ฝังพลอยเม็ดใหญ่ และไม่เห็นพลอยเม็ดเล็กโผล่ที่ผิวพระ
    - แบบที่ ๒ เนื้อฟอสซิลคลุกรัก สร้างจากฟอสซิลของสัตว์ใหญ่อายุนับหมื่นปี นานาชนิดคลุกรัก (ไม่ตอกโค้ด) จำนวนสร้าง ๖๐ องค์
    - แบบที่ ๓ เนื้อชานหมาก สีน้ำตาลเข้ม (ไม่ตอกโค้ด) ขนาดพระจะย่อมกว่าเนื้ออื่นเล็กน้อย เนื่องจากการหดตัวของเนื้อพระมีมากกว่าพระเนื้ออื่น นอกจากจะมีชานหมากของหลวงปู่เป็นมวลสารหลักแล้วยังมีส่วนผสมชนวนมวลสารอื่นๆอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่อีกหลายอย่าง ได้แก่ จีวร เศษหมวกไหมพรม เศษไม้เท้า เส้นเกศา ผงพุทธคุณ ผงยาและว่านมงคล ๑๐๘ อีกด้วย เนื้อพระจะแห้งได้อายุและมีกลิ่นหอมเนื้อพระรักษายาก เป็นที่ต้องการกัดเจาะของมดและแมลง จำนวนสร้างน้อย หลักสิบองค์ แบ่งออกได้เป็น ๓ แบบ ดังนี้
    แบบที่ ๓.๑ ฝังตะกรุดใต้ฐานพระ (ต้องฝังคนละรูกับรูไม้เสียบ ไม่ใช่สอดใส่ตะกรุดลงไปในรูไม้เสียบ)
    แบบที่ ๓.๒ ไม่ฝังตะกรุดใต้ฐานพระ
    แบบที่ ๓.๓ เคลือบแลคเกอร์เพื่อรักษาผิวพระ
    - แบบที่ ๔ เนื้อว่าน สีน้ำตาลอ่อนกว่าสีของเนื้อชานหมาก ผิวจะละเอียดและมีน้ำหนัก มากกว่าเนื้อชานหมากเล็กน้อย และเนื้อจะหนึกนุ่มกว่า(ไม่ตอกโค้ด) จำนวนสร้างน้อยหลักสิบองค์
    - แบบที่ ๕ เนื้อผงกสิณไฟหลวงปู่สรวงผสมผงเหล็กน้ำพี้หลวงปู่หมุน ฝังเนื้อชนวนพระแก้ว สีเทา (๒ โค้ด) กรรมการ แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้างน้อยมากหลักสิบองค์ แบ่งได้เป็น ๒ แบบ ดังนี้
    แบบที่ ๕.๑ ฝังเนื้อชนวนพระแก้วองค์ใหญ่ ฝังชิ้นใหญ่ชิ้นเดียวที่ท้ององค์พระ
    แบบที่ ๕.๒ ฝังเนื้อชนวนพระแก้วองค์ใหญ่ ฝังกระจายเป็น ๒-๓ จุดหน้าองค์พระ
    - แบบที่ ๖ เนื้อผงกสิณไฟหลวงปู่สรวงผสมผงเหล็กน้ำพี้หลวงปู่หมุน ฝังเม็ดชนวนพระแก้วเป็นลักษณะเม็ดเล็กๆบริเวณกลางองค์พระด้านหน้า และตลอดแนวยันต์ด้านหลัง องค์พระ (ตอก ๒ โค้ด) แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้างน้อยหลักสิบองค์
    - แบบที่ ๗ เนื้อผงกสิณไฟหลวงปู่สรวงผสมผงเหล็กน้ำพี้หลวงปู่หมุน (ไม่ฝังชนวนพระแก้ว เนื้อเทา ตอก ๒ โค้ด) กรรมการ แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้างน้อยหลักสิบองค์
    - แบบที่ ๘ ปิดตาเคลือบเหลืองอมน้ำตาล (ตอก ๒ โค้ด) เนื้อผงเหล็กน้ำพี้ (เนื้อเดียวกับพระบูชายืนรุ่นไตรมาสรวยทันใจ) ผิวเคลือบจะละเอียดขึ้นเงา และสีจะเข้มกว่าพระปิดตาทาทอง จำนวนสร้างน้อยมากหลักสิบองค์
    - แบบที่ ๙ ปิดตาเนื้อผงเหล็กน้ำพี้ เนื้อน้ำตาลแดง (ตอก ๑ โค้ด) แม่เหล็กดูดติด เป็นเนื้อชนิดเดียวกับเนื้อพระบูชายืนเนื้อผงเหล็กน้ำพี้ รุ่นไตรมาสรวยทันใจ สร้างจำนวนน้อยมากหลักสิบองค์เท่านั้น เพราะสร้างจากเนื้อที่เหลือจากการสร้างพระบูชายืนซึ่งเหลือผงอยู่อย่างจำกัดมากโดยให้สิทธิ์เช่าบูชาเป็นพิเศษเฉพาะผู้ที่สั่งจองพระบูชายืนขนาดสูง ๑๙ นิ้ว คนละเพียง ๑ องค์เท่านั้น พระปิดตาเนื้อนี้จะมีความสวยงามคมชัดมากทุกองค์ เพราะทำการกดอัดพิมพ์แน่นเป็นพิเศษและใช้ผงเหล็กน้ำพี้ของพระบูชายืน ซึ่งเป็นเนื้อมวลสารละเอียดล้วนๆ โดยที่หลวงปู่มิได้นำมวลสารอื่นใดมาผสมรวมเพิ่มเติมแม้แต่น้อยผิวเนื้อและสีสันวรรณะของพระปิดตาเนื้อนี้ จึงเป็นแบบเดียวกับพระบูชายืนทุกประการ
    - แบบที่ ๑๐ ปิดตาเนื้อผงใบลาน สีเทาอ่อนอมดำ (ตอก ๑ โค้ด) จำนวนสร้าง ๖๐ องค์ลักษณะจะคล้ายคลึงกับแบบที่ ๑๑ (เนื้อผงเหล็กน้ำพี้)มากเพราะเป็นพระเนื้อสีเทา ตอก ๑ โค้ดเหมือนกัน แต่เนื้อผงใบลานสีจะเข้มกว่า เนื้อจะละเอียดหนึกแน่นกว่าน้ำหนักมากกว่า และแม่เหล็กดูดไม่ติด
    - แบบที่ ๑๑ เนื้อผงเหล็กน้ำพี้ เนื้อเทา (ตอก ๑ โค้ด) แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้าง ๗๐ องค์
    - แบบที่ ๑๒ เนื้อข้าวเหนียวดำ เนื้อน้ำตาลอ่อนอมเทา (ตอก ๑ โค้ด) ส่วนผสมมวลสารหลัก ได้แก่ ข้าวเหนียวดำ ผงแร่ ข้าวก้นบาตรหลวงปู่หมุน และยังมีผงกสิณไฟหลวงปู่สรวง ผงว่าน ผงพุทธคุณ ๑๐๘ ผงชานหมากหลวงปู่หมุนรวมอยู่ด้วยจำนวนสร้าง ๒๐๐ องค์ แบ่งออกเป็น ๒ แบบ ได้แก่
    แบบที่ ๑๒.๑ เนื้อข้าวเหนียวดำ ฝังพลอยเม็ดใหญ่ ๓ เม็ด ที่ฝ่ามือ ๑ เม็ด และที่หัวไหล่ทั้งสองข้างอีกข้างละ ๑ เม็ด ในบางองค์มีพบบ้างที่ฝังพลอยไม่ครบ๓ เม็ด และไม่ได้ฝังพลอยในจุดตำแหน่งที่กล่าวข้างต้นจำนวนสร้างหลักสิบองค์
    แบบที่ ๑๒.๒ เนื้อข้าวเหนียวดำ (ไม่ฝังพลอย) จำนวนสร้างร้อยกว่าองค์ (รวมกับแบบแรกแล้วไม่เกิน ๒๐๐ องค์)
    - แบบที่ ๑๓ ปิดตาทาทอง เนื้อผงดินเก่าเผา ผสมอิฐหัก ทรายลังกาวี จีวร เศษหมวกไหมพรม เศษไม้เท้า เศษเกศาหลวงปู่ ทาทองแล้วเคลือบ มีทั้งตอก 1 โค้ด และ 2 โค้ด องค์พระจะมีน้ำหนักมากกว่าทุกแบบ เพราะมวลสารส่วนใหญ่เป็นดินเก่าและอิฐหักเผา ที่รูเสียบเหล็กเผาไฟใต้ฐานพระจะมีรอยไหม้สีดำโดยรอบ จำนวนสร้าง ๓๐๐ องค์
    - แบบที่ ๑๔ เนื้อผงงาช้างผสมผงกสิณ ฝังชนวนพระแก้วมรกต เนื้อขาวนวล (สีขาวงาช้าง) ตอก ๒ โค้ด ฝังเม็ดชนวนพระแก้วเม็ดเล็กๆบริเวณกลางองค์พระด้านหน้าและตลอดแนวยันต์ด้านหลัง จำนวนสร้าง๓๐๐ องค์
    - แบบที่ ๑๕ เนื้อผงงาช้างผสมผงกสิณ (ไม่ฝังชนวนพระแก้วมรกต)เนื้อขาวนวล (สีขาวงาช้าง) (ตอก๒ โค้ด)จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐ องค์
    - แบบที่ ๑๖ เนื้อผงงาช้าง เนื้อขาวนวล (สีขาวงาช้าง)ตอก ๑ โค้ด และตอกหมายเลขประจำองค์พระจำนวนสร้าง ๑,๙๙๙ องค์
    ๘. เหรียญหล่อโบราณหูในตัว (เนื้อเหล็กน้ำพี้มีเลขหมายกำกับ เนื้อทองทิพย์มีโค้ดและเลขหมายกำกับ)
    - เนื้อเหล็กน้ำพี้ (หล่อโบราณเทดินไทย) ๓๙๙ องค์
    - เนื้อทองทิพย์ (หล่อโบราณเทดินไทย) ๙๙๙ องค์
    ๙. รูปหล่อลอยองค์พิมพ์เบ้าทุบเข้าดินไทยโบราณ
    - เนื้อทองคำ ๑๙ องค์
    - เนื้อเงิน ๓๙๙ องค์
    - เนื้อนวโลหะ ๙๙๙ องค์
    - เนื้อทองทิพย์ ๙๙๙ องค์
    - เนื้อทองทิพย์(หล่อธรรมดา) ประมาณ ๑,๐๐๐ องค์
    ๑๐. ถุงเงินรวยทันใจ ผงเหล็กน้ำพี้ (ผสมผงพุทธคุณ ๑๐๘ และว่านมงคล) ๑,๙๙๙ ถุง

    *****คำบูชาหลวงปู่หมุน ตั้ง นะโม ๓ จบ แล้วกล่าวว่า “ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบ ไหว้ แล้วว่า ( อิ มะ มะ มา มา (รวม ๗ ครั้ง) )

    *****ขอให้หลวงปู่ช่วยเหลืออะไรให้จุดธูปบอกกล่าวท่านแล้วตั้ง นะโม ๓ จบ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล มะ อะ อุ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อุ อะ มะ ให้ขอหลวงปู่ว่าจะให้หลวงปู่ช่วยเรื่องอะไร ถ้าไม่เกินกรรม
     
  5. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    121
    ค่าพลัง:
    +225,764
    ในพิธีเป่ายันต์เกราะเพชร ครั้งที่ 16 วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2534 หลวงพ่อเล่าถึงอานุภาพพระและวัตถุมงคลที่ปลุกเสกไปเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม ก่อนวันงานเป่ายันต์เกราะเพชร

    วันศุกร์ที่ 17 พฤษภามคม 2534 เป็นพิธีพุทธาภิเษกพระคำข้าวรุ่น 2 รอบ 2 มีพระคำข้าวพิมพ์พระพุทธชินราชเข้าพิธีอยู่ประมาณ 3 ล้านองค์ และมีพระคำข้าวพิมพ์หลวงพ่อนั่งในกรอบพัดยศประมาณ 1 แสนองค์ พระคำข้าวรุ่นนี้มี 2 แบบ

    แบบที่ 1 ด้านหลัีงมีชื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำเขียนตามแนวโค้ง

    แบบที่ 2 ด้านหลังชื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำเขียนตามแนวนอน ตัวยันต์เกราะเพชรจะใหญ่กว่าแบบที่ 1

    พระคำข้าวรูปหลวงพ่อนั่งในกรอบพัดยศนิยมเรียกกันว่ารุ่นปืนแตก แต่อานุภาพปืนครกแตกมีอยู่ในพระคำข้าวพิมพ์พระพุทธชินราชและวัตถุมงคลชนิดอื่นๆที่ร่วมอยู่ในพิธีนี้ด้วย

    ตอนท้ายหลวงพ่อเล่าถึงทรายเสกใช้ในการกันเพลี้ยกระโดดเอาไว้ด้วย มีเกร็ดความรู้หลายอย่าง ลองอ่านกันดูครับ


    [​IMG]
    [​IMG]



    [​IMG]
    [​IMG]


    [​IMG]
    [​IMG]


    [​IMG]
    [​IMG]


    [​IMG]
    [​IMG]



    [​IMG]
    [​IMG]

    (จากธัมมวิโมกข์ มิถุนายน 2534 หน้า 51 - 56)

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    (จากธัมมวิโมกข์ มิถุนายน 2534 หน้า 117 - 118)

    [​IMG]
     
  6. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    121
    ค่าพลัง:
    +225,764
    [​IMG]
     
  7. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    121
    ค่าพลัง:
    +225,764
    [​IMG]


    พระมงคลบพิตร จ. อยุธยา


    พระมงคลบพิตร ไม่ปรากฏหลักฐานชัดว่าสร้างในรัชกาลใดแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างใน สมัยอยุธยาตอนต้น เพราะพระพักตร์แม้จะมีลักษณะค่อนข้างเป็นวงรีแล้ว แต่ก็ยังคงเห็นเค้าพระพักตร์เป็นเหลี่ยมอยู่ ซึ่งเป็นพุทธลักษณะแบบอยุธยาตอนต้น เมื่อพิจารณาถึงเส้นพระขนงที่โค้ง ก็จะพบว่าเป็นศิลปที่ ผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยอีกด้วย องค์พระก่อด้วยอิฐแล้วหุ้มสำริดแผ่น นับเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดองค์ หนึ่งของไทย

    จากหลักฐานมีอยู่ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2146 พระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชะลอหลวงพ่อวัดมงคลบพิตร จากด้านตะวันออกของวังหลวงมาไว้ทางด้านตะวันตก ณ ที่ประดิษฐานปัจจุบัน และยังได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระมณฑปที่มีลักษณะเช่นเดียวกับมณฑปพระพุทธบาทสระบุรีสวมไว้ด้วย

    ในสมัยพระพุทธเจ้าเสือ เกิดอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑป เกิดไฟไหม้พังลงมาต้องพระศอของพระมงคล บพิตรหัก พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อเครื่องบนออกแล้วสร้างใหม่เป็นพระวิหาร แต่คงทำเครื่องยอดอย่าง มณฑปของเดิม ต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศน์เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ และได้รื้อยอดมณฑปเดิมเปลี่ยนเป็นพระวิหาร วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟเผาผลาญ ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2310 จนเครื่องบนของพระวิหารพังลงมา ถูกพระเมาฬีและพระกรขวาขององค์พระชำรุด พระยาโบราณราชธานินทรเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้บูรณะซ่อมแซมให้คืนดี สำหรับพระวิหารที่ชำรุดหักพังเกือบจะโดยสิ้นเชิงนั้น ได้บูรณะขึ้นใหม่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2499 โดย นายอูนุ นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าในขณะนั้น ได้บริจาคเงินจำนวนสองแสนบาท ร่วมกับฝ่ายรัฐบาลไทยอีกสองแสนห้าหมื่นบาท
     
  8. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,845
    กระทู้เรื่องเด่น:
    121
    ค่าพลัง:
    +225,764
    สวัสดียามดึกครับพี่ตี๋ใหญ่ พีุ่รุ่ง คุณเอ๊ะ คุณโญ คุณกูล คุณปู คุณนอร์ คุณบอย คุณชาญ คุณญาณกร คุณหมู คุณ Amuletism คุณภัทร์ คุณ Deutscher คุณตั๊น คุณตุ้ม คุณเอ๋ คุณนาย คุณเคี้ยว คุณเอ็ม คุณโอ๊ต น้องนิก และทุกๆท่านครับ

    [​IMG]
     
  9. berbapor

    berbapor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,845
    ค่าพลัง:
    +21,862
    ผมขอยินดีด้วยคนครับพี่
     
  10. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    ขอบคุณครับคุณภูมิ แวะมาทักทายกันบ่อยๆนะครับ
     
  11. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    สวัสดีครับคุณตั้น พระสิวลีรุ่นนี้ทำได้สวยจริงๆคร๊าบบ

    ช่วงปีใหม่งานน่าจะยุ่งพอควรเลยนะครับ ว่าจะชวนเพื่อนไปไหว้พระที่อยุธยาเค้าก็ยังไม่ว่างให้ซะทีเฮ้อ
     
  12. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    ขอบคุณมากครับคุณธีระศาสตร์(เห็นพี่วรรณเรียกน่าจะใช่นะครับ) สบายดีนะครับ
     
  13. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    สวัสดีครับสมาชิกอัลบั้มพระทุกท่าน ^^
     
  14. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    สวัสดีจ้าาน้องโอ๊ต เตรียมตัวออกอีสานแระ อย่าลืมเก็บข้อมูลครูบาอาจารย์มาเล่าสู่กันฟังบ้างน๊าา
     
  15. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    สวัสดียามเช้าเพื่อนสมาชิกทุกๆท่านครับ วันนี้คงมีหลายท่านเดินทางกลับบ้านบ้าง เดินทางไปเที่ยวพักผ่อนบ้าง ขอบารมีครูบาอาจารย์คุ้มครองให้เดินทางปลอดภัย มีความสุขมากๆกับช่วงเทศกาลปีใหม่และตลอดไปคร๊าบบ
     
  16. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    พระพุทธสิหิงค์ ณ.พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

    ในจำนวนพระพุทธรูปสำคัญ พระพุทธสิหิงค์มีความเป็นมาสับสนที่สุด เนื่องจากมีหลายองค์ นอกจากองค์หลักที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์แล้ว ยังมีที่เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ตรัง วัดโคกขาม สมุทรสาคร และทุกที่ก็อ้างว่าเป็นองค์จริงที่ถูกสร้างขึ้นในลังกา

    อาจารย์พิเศษ เจียรจันทร์พงษ์ ยืนยันว่าทุกองค์เป็นองค์จริง เพียงแต่ก็ทราบกันดีว่า องค์ที่เชียงใหม่สร้างขึ้นที่ล้านนา องค์ที่นครฯสร้างที่ภาคใต้ องค์ที่กรุงเทพฯสร้างขึ้นที่สุโขทัย

    คำยืนยันของผู้รู้ขั้นสุดท้าย ไม่มีพระพุทธสิหิงค์องค์ไหนในประเทศไทย สร้างจากลังกา


    ที่มา:ไทยรัฐ

    ขอขอบคุณเจ้าของภาพด้วยครับ



    [​IMG]
     
  17. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    พระบรมนามาภิไธย สิน
    พระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
    พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์ไทย
    ราชวงศ์ ราชวงศ์ธนบุรี
    ครองราชย์ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 - 6 เมษายน พ.ศ. 2325
    บรมราชาภิเษก 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310
    ระยะครองราชย์ 15 ปี
    รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
    รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    วัดประจำรัชกาล วัดอินทารามวรวิหาร

    [​IMG]

    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao) มีพระนามเดิมว่า สิน (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน) พระราชบิดาเป็นจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช




    "เหรียญพระเจ้าตากสินมหาราช" รุ่น "มหาเดช"


    [​IMG]

    วัดทองทั่วอยู่ในจ.จันทบุรีเป็นวัดเก่าแก่
    ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับพระเจ้าตากสินมหาราชโดยตรง
    ณ วัดแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระเจ้าตาก
    ซึ่งมีหลักฐานเป็นใบโพธิ์ทองคำจารึกไว้เพียงแต่ได้ถูกขโมยไป
    วัดนี้เป็นวัดมหานิกาย แต่หลวงปู่ฟัก เมตตาวัดนี้มาก
    แม้แต่การมังคลาภิเษกเหรียญพระเจ้าตากรุ่นมหาเดช
    หลวงปู่ฟักก็เมตตามาร่วมพิธี
    นับเป็นมรดกขลังชิ้นสุดท้ายที่หลวงปู่ฟักเหลือทิ้งไว้และยังพอหาได้

    [​IMG]

    ด้วยความจำเป็นหลายประการ
    ทำให้ทางวัดทองทั่วต้องสร้างศาลาขึ้นมาเพื่อประกอบศาสนกิจ
    ทางคณะศิษย์ยุคเก่าของหลวงปู่ฟักนำโดยเจ็กก้วง
    จึงได้นำเหรียญพระเจ้าตากซึ่งหลวงปู่ฟักได้เมตตามาทำพิธีมังคลาภิเษกเหรียญรุ่นนี้
    ซึ่งตามปรกติหลวงปู่ฟักจะไม่รับนิมนต์พุทธาภิเษกเลย
    ออกมาแจกผู้ร่วมบุญทอดผ้าป่าสร้างศาลาวัดทองทั่วนี้
    นี้จึงนับเป็นโอกาศอันดีที่จะได้มงคลวัตถุที่หลวงปู่ฟักเมตตาอธิษฐานจิต
    แบบไม่ต้องกังวลใจว่าพระหลวงปู่ฟักจริงหรือเปล่า

    [​IMG]


    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ประวัติวัดทองทั่ว

    เมื่อ พ.ศ. 2310ได้มีการตั้งวัดทองทั่ว และเมื่อ พ.ศ. 2318 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เพื่อรับรองว่าวัดทองทั่ว เป็นวัดสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 โดยกรมศาสนา

    ปัจจุบันวัดทองทั่วอยู่ใกล้โบราณสถานเมืองเพนียด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอารยธรรมขอมโบราณ โดยมีหลักฐาน จากโบราณวัตถุที่ค้นพบ และมี "วัดเพนียด" ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อยู่ห่างจากวัดทองทั่วทางทิศใต้ไปประมาณ 400 เมตร ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งใหม่ คือวัดทองทั่วในปัจจุบัน วัดทองทั่วตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีและห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกไปประมาณ 4-5 กิโลเมตร

    ในสมัยกรุงศรีอยุธยาหลังเสียกรุงครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มารวบรวมกำลังไพร่พลเพื่อกู้อิสรภาพที่เมืองจันทบุรี เมื่อทรงกู้อิสรภาพได้สำเร็จ ก็คงจะมีความผูกพันกับวัดทองทั่ว พระราชทานวิสุงคามสีมาแก่วัดทองทั่ว และอาจจะสถาปนาวัดทองทั่วขึ้นเป็นพระอารามหลวง เพราะวัดทองทั่วมีใบสีมารอบพระอุโบสถหลังเก่าของวัดทั้ง 8 ทิศเป็นใบสีมาคู่ ซึ่งมีแต่พระอารามหลวงเท่านั้นจึงจะตั้งใบสีมาคู่ได้ และหลักฐานอีกชิ้นที่ได้ระบุความเป็นมาของวัดทองทั่ว คือเอกสารที่เก็บไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นเอกสารในรัชกาลที่ 5 ศ.12/25 รายงานถึงมณฑลจันทบุรี ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2443) โดยพระสุคุณคณาภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) ซึ่งต่อมาได้เป็นพระวชิรญาณวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้าที่พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) โปรดเกล้าให้มาจัดการศึกษาในเมืองจันทบุรี เมื่อร.ศ. 116 (พ.ศ. 2441) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการการศึกษามณฑลจันทบุรี

    พระอุโบสถ (หลังเก่า) โครงสร้างศิลปะเดิมอยู่ในสมัยอยุธยา แต่ในปัจจุบันได้มีการต่อเติมเปลี่ยนแปลง และตามประวัติของวัดเจ้าอาวาสทุกรูปที่เคยปกครองวัด ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถ (หลังเก่า) ทำให้ศิลปะเดิมเลือนหายไปและศิลปะใหม่ก็ถูกสร้างแทนที่ไปตามสมัยนิยมนั้นๆ

    พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชร (หลวงพ่อทอง) เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ คู่มากับพระอุโบสถ (หลังเก่า) ตามหลักฐานการสร้างวัด และในปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ (หลังเก่า)


    <iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/W29YRB9prnI" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  18. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    ;aa44 อรุณสวัสดิ์ยามเช้าครับพี่ปู น้องข้าวโอ๊ต และทุก ๆ ท่าน...
     
  19. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]

    [​IMG]

    ประวัติการสร้าง "เหรียญกู้ผู้ชนะ" ของหลวงพ่อฤาษี

    หลวงพ่อท่านเล่าดังนี้..

    อย่าง พระเจ้าตากสิน นั่นต้องเรียกว่า น้ำใจเข้มแข็ง ขนาดข้าศึกล้อมอยู่แบบนั้น ท่านกับกำลังพล 500 ตีฝ่าข้าศึก ไม่ใช่ของง่ายเลยนะ ใช่ไหม ? คือไม่ใช่ของง่ายเลย ก็ยังมีลูกหาบอีก ไอ้ลูกหาบนี่ ดีไม่ดี ลูกหาบตาย นี่ไอ้รุ่นหน้าตีไป รุ่นหลังต้องประคองลูกหาบอีก สามารถเอาลูกหาบเสบียง เอาไปบ้างตามควรนิดหน่อย

    นี่เป็นนักรบที่มีฝีมือดี ถ้าใจไม่เข้มแข็งจริง ๆ จะกล้าตีข้าศึกไปได้อย่างไร กำลังนิดเดียวใช่ไหม แล้วไอ้ภายในประเทศก็ไม่ดี เสียครั้งแรก ตั้งกรุงศรีอยุธยามา 190 ปีเศษ แล้วมาครั้งที่ 2 นี่ 190 ปีเศษ

    กรุงเทพฯ เวลานี้ยุ่ง ๆ นะ 190 ปีเศษเหมือนกัน ชะตาประเทศไทย ถ้าถึง พ.ศ.2525 นะ ครบ 200 ปี พ้นเขต นี่เวลานี้มันเข้าเขตแล้วนะ แต่ว่าช่วงจังหวะนี้มันเข้าจังหวะเกณฑ์ เขาเรียกว่า เข้าเกณฑ์ดี จังหวะนี้นะ ตั้งแต่นี้ต่อไป เข้าเกณฑ์ดี ท่านถึงบอกให้ทำ "เหรียญกูผู้ชนะ" พระเจ้าตากสินให้ทำ ทีแรกจะทำก็ล้อเล่น ๆ หลวงปู่แหวนท่านทำ เหรียญเราสู้ --ปีที่แล้วไปกองบัญชาการทหารสูงสุด บอก เฮ้ย! ไอ้แค่ เราสู้ ยังแค่กัน กูสู้ว่ะ! ไอ้พวกนั้น ฮาตึง! บอก ดีครับ ๆ

    เราก็คิด พูดส่งไปตั้งปีที่แล้ว ไม่ได้คิดจะทำ มาปีนี้ท่านสั่งทำ บอก

    "เราสู้--ก็แค่นั้นแหละครับ
    กูสู้--ก็แค่นั้น
    ยังสู้ --ต้อง "กูผู้ชนะ"

    ถามท่านว่าทำไม ท่านบอก เวลานี้มันถึงเกณฑ์ชนะแล้ว ถาม เอารูปใคร บอก เอารูปผม บอก เอ้า ไม่ยกย่องตนเองเกินไปหรือ รัชกาลที่ 1 ก็เก่งใช่ไหม กรมพระราชวังบวร ท่านก็เก่ง ท่านบอกว่า ในฐานะที่ผมเป็นผู้นำ ก็ตามไปดูประวัติสิ ประวัติที่ ตากสินกู้ชาติ เคยแพ้จุดไหนบ้าง แน่ะ! เอาถึงอย่างนั้นเสียด้วย เลยต้องเอาตามท่าน เอา "กูผู้ชนะ" ก็เลยทำขึ้น ท่านสั่งทำ เวลาทำ ท่านก็มาทำด้วย ท่านทำด้วยเสร็จ



    (คัดจาก หนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่ม 14 หน้า 336 เรื่อง สนทนาหลังกรรมฐาน 25 วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2521)

    ขอบคุณคุณSpecialized กระทู้ประวัติการสร้างเหรียญ"กูผู้ชนะ"ของ หลวงพ่อฤาษี
     
  20. oatlovetong

    oatlovetong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    472
    ค่าพลัง:
    +17,296
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...