สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ความสำคัญของ... “ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗”

    โดย
    * มงคลบุตร
    * ปัจจุบันคือ พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)




    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จนฺทสโร) ได้ย้ำนักหนาว่า.....

    ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้...สำคัญนัก
    ให้เอาใจไปจรดไว้ที่นั่นเสมอ...ทุกอิริยาบถเมื่อมีโอกาส
    ไม่ว่าจะในขณะ เดิน ยืน นั่ง นอน หรือ ในขณะไหว้พระสวดมนต์
    และ อธิษฐานปรารถนาในสิ่งที่ดีที่ชอบทั้งหลาย
    เพราะที่ศูนย์กลางกายนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าที่ใดๆทั้งสิ้น


    การรวมใจให้หยุดในหยุด ณ ศูนย์กลางกายนั้น...นับว่าเป็นผลดีอย่างมาก
    เพราะเป็นจุดแห่ง “ดุลย” ทั้งกายภาพและจิตใจ กล่าวคือ

    ในทางกายภาพ
    ศูนย์กลางของสรรพวัตถุทั้งหลาย ย่อมอยู่ในแนวเดียวกันกับแรงดึงดูดของโลก
    ที่เรียกว่า Center of Gravity


    ส่วนทางด้านจิตใจ
    สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาธรรมจนถึง “ธรรมกาย” แล้ว
    ก็จะสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่า.....
    ศูนย์กลางกายนั้นเอง คือ “ที่ตั้งถาวรของใจ”

    เวลาจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น
    ดวงธรรม...จะลอยมาสู่ศูนย์กลางนี้ก่อนอื่นที่เดียว
    และศูนย์กลางกายนี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับ.....
    อายตนะภพสาม อายตนะนิพพาน และ อายตนะโลกันต์


    จึงนับเป็นศูนย์ที่สำคัญที่สุด มีพลัง และอำนาจมากที่สุด
    ช่วยให้รู้เห็นได้แม่นยำ และกว้างขวาง...ไม่มีประมาณ





    *** คัดลอกบางตอนจาก
    หนังสือ ธรรมสู่สันติ เล่มที่ ๑
    จัดพิมพ์โดย โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    มิถุนายน ๒๕๒๐
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553


    “..... ให้ตั้งใจไว้ตรงกลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    อันนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) กำหนดฐานที่ตั้งใจไว้...สำคัญนัก
    เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งของ ธรรมในธรรม ฝ่ายบุญฝ่ายกุศล
    และก็ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต
    คือ ทั้งธรรม และกาย และใจ...ตั้งอยู่ตรงนั้น
    ณ ภายในมีเท่าไร สุดละเอียดเพียงไหน...อยู่ตรงนั้น ถึงนิพพานทีเดียว

    เพราะฉะนั้น ท่านให้เอาใจไปจรดไว้ตรงนั้น
    ที่นี้ ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อยู่เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ
    ถ้าท่านหายใจเข้าออก ท่านจะพบว่า...ลมหายใจเข้าไปจนสุดนั้น
    สุดตรง ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ พอดี
    และก็ตั้งต้นหายใจออกตรงนั้น เป็น “ต้นทางลม” และก็เป็น “ปลายทางลม” หายใจเข้าออก
    ตรง ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ พอดี
    ใจหยุดก็ต้องไปหยุดตรงนั้น เขาเรียกว่า “กลางพระนาภี”


    พระพุทธเจ้าทรงสอน “อานาปานสติ”

    เมื่อลมหยุด ก็ไปหยุด... “กลางพระนาภี”
    ถึงให้กำหนดใจกี่ฐานๆ ก็แล้วแต่
    สำหรับผู้ทำอานาปานสติ กำหนดที่ตั้งสติลมหายใจผ่านเข้าออก
    ทาง ปากช่องจมูก หรือ ปลายจมูก
    ที่ ลำคอ
    และที่ กลางพระนาภี
    นี่อย่างน้อย ๓ ฐาน … เขามักจะกำหนดกัน

    กำหนดอานาปานสติ ๓ ฐาน เป็นอย่างน้อย
    กำหนดอะไร กำหนดสติ รู้ลมหายใจเข้าออก...กระทบอย่างน้อย ๓ ฐาน นี้สำหรับผู้ปฏิบัติทั่วไป
    แต่เมื่อลมละเอียดเข้าไป ๆ ๆ แล้ว โดยธรรมชาติลมหายใจมันจะสั้นเข้า ๆ ๆ ละเอียดเข้า
    ทรงสอนว่า ลมหายใจเข้าออก ... พึงมีสติรู้
    ลมหยาบ ลมละเอียด ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น ... พึงรู้ มีสติรู้



    จนถึงลมหยุด ... หยุดที่ไหน ?

    หยุดที่ “กลางพระนาภี”

    หยุดกลางพระนาภี ก็คือ ศูนย์กลางกายนั่นแหละ
    ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก หรือ ที่ตั้งต้น
    หรือจะเรียกว่า “ต้นทางลม” หรือ “ปลายทางลม” ... ก็แล้วแต่จะเรียก


    จริงๆ แล้ว อยู่ตรงกลางกาย...ตรงระดับสะดือพอดี

    ที่หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖




    แต่ว่า ... ถ้าว่าเอาใจไปจรดตรงนั้นนะ

    จะไม่เห็น ธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้ชัด


    เพราะเหมือนอะไร ?
    เหมือนเอาตาแนบกระจก ไม่เห็นเงาหรือภาพข้างใน ... ฉันใด


    หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) ก็เลยให้ขยับ “เห็น จำ คิด รู้” คือ “ใจ”
    ที่ตั้ง “เห็น จำ คิด รู้” ให้สูงขึ้นมา ... เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ
    เหมือนเราขยับสายตาเรา...ห่างจากกระจก เราจะเห็นเงาได้ชัดเจน





    ประกอบกับดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายและใจ

    มีธรรมชาติ หรือ อาการเกิดดับ...ตามระดับจิต หรือ ภูมิของจิต
    คือ เมื่อจิตสะอาดยิ่งขึ้นจากกิเลส จิตดวงเดิมก็ตกศูนย์
    จาก “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ลงไปสู่ “ศูนย์กลางฐานที่ ๖”
    ธรรมในธรรม ที่ใสบริสุทธิ์ ซึ่งมีจิต หรือ จิตในจิตซ้อนกันอยู่...ที่ใสบริสุทธิ์กว่า
    ก็ลอยเด่นขึ้นมา “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ... แล้วก็ทำหน้าที่ของตนไป

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...

    เมื่อสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น
    จิตดวงเดิม ... จะตกศูนย์
    จิตดวงใหม่ ... ลอยเด่นขึ้นมาตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ... เพื่อทำหน้าที่ต่อไป


    ตรงนี้นักปริยัติบางท่านก็เข้าใจว่า…จิตเกิดดับ

    แต่เกิดดับอย่างไร...ไม่รู้ เพราะไม่เคยเห็น
    และยังมีบางท่าน...ที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีก
    บอกว่า จิตเดิมแท้ๆ ไม่ได้เกิดดับนะ
    ที่เกิดดับนั้น มันเฉพาะ...อาการของจิต ที่มีกิเลสของจรมาผสม
    หรือว่า มีบุญเข้ามาชำระกิเลสนั้น จิตก็เปลี่ยนวาระ เป็นอาการของจิต คือถูกทั้งนั้น

    แต่ว่า อาการของจิตที่เกิดดับตรงนั้น มันมาปรากฏตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”

    หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) ก็เลยกำหนดที่เหมาะๆ
    สำหรับที่ควรเอาใจ ... ไปหยุด ไปจรด ไปนิ่ง ตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”
    อันเป็น “ที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม”
    เป็นที่ตั้งของ กายในกาย จิตในจิต และ ธรรมในธรรม


    อาตมาพูด “จิตในจิต” ให้พึงเข้าใจว่า

    รวมทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ...เข้าด้วยกัน

    ที่ หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) กำหนดไว้ เพื่อให้เข้าพิจารณาเห็น
    กาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ... ไปสุดละเอียด
    เป็นตัว “สติปัฏฐาน ๔” ไปจนถึง ... “นิพพาน”
    และเป็นตัวชำระกิเลส ณ ที่ตรงนั้น ด้วยหยุดในหยุด กลางของหยุด
    เพราะ ถูกกลางของกลางธรรมในธรรม
    ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป เป็นการละ หรือ ปหานอกุศลจิตเรื่อยไป
    จึงมีสภาวะที่เป็น “นิโรธ” ดับสมุทัย





    * ที่มา
    นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๑๘
    ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๓
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ผู้ปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วช้าต่างกันเพราะเหตุใด ?

    ผู้ปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วช้าต่างกันเพราะเหตุใด ?

    -----------------------------------------

    ตอบ:


    การปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วช้าต่างกันเพราะเหตุปัจจัยต่างๆ ดังเช่นต่อไปนี้
    1. การบำเพ็ญบุญกุศล และการสร้างบาปอกุศลมากน้อยหนักเบามาไม่เท่ากัน จึงยังผลให้การปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วช้าต่างกัน เพราะว่าบุญกุศลที่ผู้ปฏิบัติธรรมประกอบบำเพ็ญในปัจจุบัน ย่อมทำหน้าที่เป็นกรรมสนับสนุน (อุปัตถัมภกกรรม) ช่วยส่งเสริมบุญกุศล ที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่เดิม ให้แก่กล้าขึ้นเป็นบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี เต็มส่วนเร็วขึ้น และช่วยให้ผลการปฏิบัติธรรมดีขึ้นตามลำดับ ส่วนว่าความประพฤติปฏิบัติที่เป็นบาปอกุศล ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันก็ทำหน้าที่เป็นกรรมบีบคั้น (อุปปีฬกกรรรม) เบียดเบียน ขัดขวาง ปิดกั้น มิให้บุญบารมีที่ได้เคยสั่งสมอบรมมา ไม่ให้ผลอย่างสมบูรณ์เต็มที่ผลของการปฏิบัติธรรม ของแต่ละบุคคลจะได้ผลเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับบุญกุศลและบาปอกุศลที่แต่ละคนประกอบบำเพ็ญ สั่งสมอบรม มาที่แตกต่างกันดังกล่าว
    2. ขึ้นอยู่กับการอธิษฐานบารมี ที่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นๆ ได้เคยอธิษฐานจิตเอาไว้ ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันว่าแตกต่างกันเพียงใด บางท่านอธิษฐานจิตปฏิบัติธรรมเพียงบรรลุมรรค ผล นิพพาน ในระดับภูมิธรรมขั้นปกติสาวก บางท่านอธิษฐานในระดับอสีติมหาสาวกผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ บางท่านอธิษฐานเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า และบางท่านอธิษฐานปรารถนาพุทธภูมิ เป็นพระอรหันต์ปัจเจกพุทธเจ้า และสูงขึ้นไปถึงเป็นพระอรหันต์ สัพพัญญูพุทธเจ้า ซึ่งจะต้องอาศัยการบำเพ็ญบารมีที่มากและนานกว่ากัน กว่าจะบำเพ็ญบารมีได้ เต็มส่วนถึงปรมัตถบารมี อันยังผลให้การปฏิบัติธรรมได้ผลเร็วและแตกต่างกัน
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    จิตสงบดีแล้ว เย็นไปทั้งตัว รู้สึกสบาย แล้วรู้สึกลอย หมุน ?



    <!-- /#breadcrumb-->เมื่อจิตสงบดีแล้วอาการเย็นไปทั้งตัวรู้สึกสบาย และลอยเหมือนไม่ได้นั่งอยู่บนพื้น แล้วรู้สึกมีอาการหมุน แต่ไม่ได้เห็นดวงแก้ว รู้สึกกลัวจึงลืมตาขึ้น แล้วลากัมมัฏฐาน ?

    <HR>ตอบ:


    ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เมื่อใจค่อยๆ สงบ รวมหยุดนิ่งสนิทระดับหนึ่ง ใจคือความเห็น-จำ-คิด-รู้ จะทำหน้าที่รับอารมณ์ภายนอกน้อยลงๆ “ใจ” ซึ่งเป็นนามธรรม เริ่มเป็นอิสระ ขาดจากรูปธรรม จึงรู้สึกกายเบาเหมือนกับจะลอย และกิเลสนิวรณ์ค่อยๆ ถูกกำจัดให้หมดไปด้วยสมถภาวนานี้ จึงเกิดปีติ รู้สึกมีอาการเย็นไปทั้งตัวและรู้สึกสบาย
    แต่ที่ไม่ได้เห็นดวงแก้วนั้น เพราะใจอันประกอบด้วยเห็น-จำ-คิด-รู้ ยังไม่รวมหยุด เป็นจุดเดียวกันนิ่งสนิทถูกส่วนตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ธาตุทั้ง 6 คือธาตุละเอียดของ ธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม-อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ ยังไม่ประชุมกันถูกส่วนตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ปฐมมรรคจึงยังไม่เกิด และอายตนะภายในอันเป็นทิพย์ก็ยังไม่เกิดและเจริญขึ้น จึงยังไม่เห็นดวงปฐมมรรคหรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายปรากฏขึ้นตามธรรมชาติที่เป็นจริง
    ที่รู้สึกมีอาการหมุน เพราะใจยังไม่หยุดนิ่งสนิทได้ถูกส่วนเครื่องธาตุเครื่องธรรม ฝ่ายบุญกุศลจึงทำงานไม่เต็มที่ เพราะถูกต่อต้านด้วยเครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบาปอกุศล เรื่องนี้ลึกซึ้ง เข้าใจเท่านี้ก็พอ แล้วท่านลืมตาจากกัมมัฏฐาน... น่าเสียดาย
    ถ้าท่านกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้วกลมใส ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมต่อไปไว้เรื่อย พอถูกส่วนก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มปรากฏขึ้นมาเอง สบายใจยิ่งกว่าเดิมอีก ดังพระพุทธวจนะว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ (ใจหยุดใจนิ่ง) ไม่มี
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    เนื่องในโอกาสครบรอบวันบรรลุธรรมหลวงปู่สด จนฺทสโร พระภิกษุสงฆ์ สามเณรอุบาสก อุบาสิกา ขอน้อบบุญในการเจริญภาวนาถวายแด่หลวงปู่


    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ทำอย่างไร เมื่อได้องค์พระใหม่ๆ จะรักษาธรรมกายให้ชัดอยู่ได้นานๆ ?

    
    ทำอย่างไรเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้องค์พระใหม่ๆ จะรักษาองค์ธรรมกายให้ชัดอยู่ได้นานๆ ?

    ---------------------------------------------------------
    ตอบ:


    ธรรมกายนั้นอุบัติขึ้นเพราะความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ จากธรรมปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะรักษาธรรมกาย จึงต้องรักษากาย วาจา และใจของตนให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ โดย

    1.เว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ประพฤติแต่กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต กล่าวคือ
    ไม่เจตนา ฆ่าสัตว์-ลักฉ้อ-ประพฤติผิดในกาม ไม่ติดอบายมุข เช่น นักเลงสุรา นักเลงผู้หญิง นักเลงการพนัน และไม่หมกมุ่นอยู่แต่กับพัสดุกาม เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารีต่อเพื่อน มนุษย์และสัตว์ร่วมโลก รู้จักแบ่งปันทรัพย์และความสุขส่วนตนแก่ผู้อื่น มีสันโดษในคู่ครองของตน และไม่เสพติดสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งปวง
    ไม่มักพูดจาโป้ปดมดเท็จหลอกลวงผู้อื่น-พูดคำหยาบ-สาบถ-สาบาน-พูดยุแยก ให้เขาแตกสามัคคีกัน และไม่พูดจาเหลวไหลไร้สาระจนเป็นอาจิณ จงพูดแต่คำพูดที่จริง พูดแต่คำพูดที่สุภาพไพเราะ อ่อนหวาน พูดแต่คำพูดที่เป็นสิริมงคลมีแกนสารมีสารประโยชน์ เป็นปกติ
    ไม่เป็นคนมักโกรธ พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น เป็นผู้มักไม่ลุแก่โทสะ ตัณหาราคะ ไม่โลภ และเห็นแก่ตัวจัด ไม่หลงมัวเมาในเรื่องหรือสิ่งที่เป็นโทษที่มิใช่พระธรรมวินัย ให้เป็นผู้ดำรงอยู่แต่ในพระธรรมพระวินัยเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ และมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ต่อกัน
    2.หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันจิตที่มักใฝ่ชั่วด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทานและมิจฉาทิฏฐิ มีความสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เมื่อกระทบเข้ากับ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย มิให้หลงเคลิบเคลิ้ม สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารักและ มิให้หลงเคียดแค้นชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กิเลสฟุ้งและให้ตัณหา อุปาทาน เข้าครอบงำได้
    3.เพียรละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วในสันดานโดยมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เกิดขึ้นในจิตใจอยู่เสมอ และเพียรระวังป้องกันมิให้กิเลสเกิดขึ้นใหม่อีก เพียรยังกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน และรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมด้วยธรรมปฏิบัติมีทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    ยามว่างจากธุรกิจหน้าที่การงาน ก็ให้หมั่นเจริญภาวนา ทำนิโรธดับสมุทัย (ปหาน อกุศลจิต) พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เพื่อชำระและรักษาธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้ใสสะอาดอยู่เสมอ อย่างน้อยที่สุดก็ให้หมั่นจรดใจสักเสี้ยวหนึ่งของใจไว้ ณ ศูนย์กลางธรรมกาย หรือพระนิพพาน หรือต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียด ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้อยู่เสมอ
    4.ควรหมั่นพบครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในวิชชาธรรมกาย เพื่อฝึกวิชชาชั้นสูง ต่อๆ ไป ก็จะช่วยให้ธรรมเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปไม่รู้เสื่อมถอย
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]




    " สละอารมณ์ "


    เมื่อสละอารมณ์ได้ ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่งบางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน

    รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทางเห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมท...ี่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่

    พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)
    จากหนังสือ : วิสุทธิวาจา 3
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ผู้ถึงธรรมกาย ลักษณะเหมือนเข้าฌานไหม ถ้าไม่ได้นั่งสมาธิ ยังคงธรรมกายไว้ได้ไหม ?

    
    ผู้ถึงธรรมกายแล้วมีลักษณะเหมือนเข้าฌานหรือไม่ เวลาปกติไม่ได้นั่งสมาธิ สภาพจิต ยังคงสภาพของธรรมกายไว้ได้ตลอดไปหรือ ?

    --------------------------------------------------------

    ตอบ:


    การที่เราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ จะต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นระดับสมาธิก็ขึ้นสูงไปเป็นลำดับ เหมือนกับท่านจะส่งดาวเทียมออกนอกโลก ท่านต้องใช้ “ฐาน” ไม่มีฐาน ยิงไม่ได้ ไม่ทะยานขึ้น ฐานนั้นอุปมาดัง “ศีล” ต้องมีท่อนเชื้อเพลิง ที่จะจุดเพื่อให้เกิดพลังผลักดัน เพื่อจะผลักดันจรวดให้พ้นออกนอกโลก อาจจะ 2-3 ท่อน แล้วแต่พลังของเชื้อเพลิงนั้น นี้อุปมาดั่ง “สมาธิ” และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้น ก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุด เหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้นก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุดเหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด “ปัญญา” ปัญญาส่งให้ดับกิเลสและเข้าถึงธรรมกาย อันเป็นธาตุล้วนธรรมล้วน เพราะฉะนั้นทั้งศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เป็นขันธ์ 5 มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ ตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียดเป็นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ โดยตลอด เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยสมาธิเพื่อเป็นแรงขับดัน กล่าวคือ เพื่อชำระกิเลสนิวรณ์ออกจากใจ เพื่อให้ใจหยุดนิ่ง เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วน คือ “ธรรมกาย” ให้ถึงให้ได้เสียก่อน เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละคน คนที่ธาตุธรรมแก่กล้ามากขึ้น ก็จะเห็นธรรมกายสว่างโพลง อยู่ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชำระกิเลสได้มาก ยิ่งเข้าเขตความเป็นพระอริยบุคคลเพียงไร ธรรมกายนั้นย่อมสว่างโพลงตลอดเวลาเพียงนั้น แม้จะเดิน จะยืน จะนอน จะลืมตา หลับตา ก็ย่อมจะเห็นอยู่

    เพราะฉะนั้นสมาธิเบื้องต้น จึงเป็นเสมือนพลังของจรวดที่จะผลักดันหัวจรวด ซึ่งมีดาวเทียมให้หลุดออกไปนอกแรงดึงดูดของโลก เมื่อพ้นแนวแรงดึงดูดของโลกแล้วก็จะลอยได้ พ้นโลกได้ เหมือนกับคนที่ก้าวข้ามโคตรปุถุชนได้แล้ว ธรรมกายจะสว่างโพลงตลอด จะยืน นอน นั่ง เดิน ทุกอิริยาบถ แต่ญาณ (ความเบิกบาน) ของธรรมกายจะไม่เท่ากัน ของพระโสดาบันนั้น ประมาณ 5 วาขึ้นไป สกิทาคามี 10 วาขึ้นไป อนาคามี 15 วาขึ้นไป พระอรหัต 20 วาขึ้นไป ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ใหญ่โตขึ้นไปตามลำดับ

    ทีนี้ แม้ผู้ที่จะเป็นโคตรภูบุคคลก็ดี หรืออาจจะก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลก็ดี ก็ย่อมเห็นธรรมกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เห็น หรือผู้ที่ธาตุธรรมแก่ ถึงแม้จะยังไม่ถึง แต่ใกล้ความเป็นพระอริยบุคคล ก็ย่อมเห็นได้มากได้บ่อย เพราะฉะนั้น ใครที่จรดใจอยู่ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ดับหยาบไปหาละเอียดไปเสมอ มากเพียงไร ธาตุธรรมของท่านผู้นั้นก็แก่กล้ามากเพียงนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เดิน ยืน นั่ง นอน ท่านก็จะเห็นอยู่ เรียกว่า มีนิพพานคือความสงบระงับจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน (ความยึดติดในขันธ์ 5) ในอารมณ์ แต่ว่าท่านจะถอนออกมาครึ่งหนึ่ง หรือกว่าครึ่งก็แล้วแต่ ถ้าอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ใจจรดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่เสมอ สติก็ครบบริบูรณ์ยิ่งขึ้นตามส่วน ใจก็จะไม่ไปรับอารมณ์อื่นให้เกิดตัณหาอุปาทานได้มาก

    เพราะฉะนั้นเรื่องธรรมกายจึงเป็นที่เข้าใจว่า ถึง ธรรมกายแล้วมีหยาบ-ละเอียด มีอ่อน มีแก่ ตามธาตุธรรม ถ้าใครทำดับหยาบไปหาละเอียดได้เรื่อยตลอดเวลา จิตจรดที่ก้อนธาตุก้อนธรรมอยู่เรื่อย อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ จิตท่านจรดอยู่ที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานเป็นตลอดเวลา อยู่ที่ธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดของนิพพาน แม้ขณะพูดหลวงพ่อฯ ก็ทำวิชชาอยู่ เท่าที่อาตมาทราบหลวงพ่อพระภาวนาฯ ก็เป็นเช่นนั้นมาก จิตท่านในส่วนละเอียดบริสุทธิ์มาก

    เพราะฉะนั้นคงจะเข้าใจขึ้น อยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละบุคคล บางคนอยู่ในระดับโคตรภูมาก ธาตุธรรมยังอ่อนอยู่ ก็ต้องทำ (ภาวนา) ต่อให้สุดละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้นพวกที่ธาตุธรรมอ่อนก็มักจะหลุดๆ ติดๆ ที่ธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนนั้น เห็นๆ หายๆ ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าธาตุธรรมจะแก่กล้า แล้วจะเห็นและเป็นถี่ขึ้น จนถึงตลอดเวลาเอง คงจะเข้าใจได้ว่า ในสมัยพุทธกาลพอพระพุทธเจ้าท่านแสดงนิดเดียว ผู้ฟังส่งใจไปตามธรรมนั้น ก็บรรลุแล้วนั้นแหละธาตุธรรมเขาแก่กล้ามาก
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม แต่ทำไมทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอนทุกครั้งไป ?

    
    สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม แต่ทำไมทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอนทุกครั้งไป ?


    -----------------------------------------------------

    ตอบ:


    ท่านมหาบอกว่า สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม ทำไมดิฉันทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอน ทุกครั้งไป ?

    อันนี้เป็นคำถามที่ดีครับ โปรดเข้าใจว่าจิตใจที่กำลังจะเป็นสมาธิที่แนบแน่น กับจิตใจที่กำลังจะหลับ มีอาการคล้ายกัน จิตใจที่ก่อนจะตายด้วย จิตใจที่กำลังจะเกิด จะดับ (คือตาย) จะหลับจะตื่น จะมีอาการอย่างนี้คือ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือพอดี จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาทำหน้าที่ต่อไป เช่นถ้าคนนอนหลับก็อาจจะทำหน้าที่ฝัน ถ้าคนจะตายก็ไปเกิด เพราะฉะนั้นอาการของใจคนที่จะเป็นสมาธิก็มีว่า จิตดวงเดิมที่ขุ่นมัวด้วยกิเลสนิวรณ์ก็จะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสปราศจากกิเลสนิวรณ์ก็จะลอยปรากฏขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ในอาการเดียวกันกับคนจะหลับ จิตดวงเดิมก่อนหลับก็จะตกศูนย์ ใจที่จะทำหน้าที่หลับ แล้วไปทำหน้าที่ฝันก็จะลอยขึ้นมา อาการตรงนี้จะมีอาการเคลิ้มๆ แต่ความเคลิ้มนั่นเพราะใจมารวมหยุดนิ่งโดยอัตโนมัติโดยธรรมชาติ ถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่นั่นเป็นสัมมาสมาธิ แต่ถ้าเผลอสติมันก็หลับ เพราะฉะนั้น อาการหลับกับอาการที่สมาธิกำลังจะเกิดแนบแน่น เป็นอาการเดียวกัน ต่างกันที่สติสัมปชัญญะ ยังอยู่หรือว่าเผลอสติ ถ้าเผลอสติก็หลับ เช่น เราตั้งใจว่าเราจะหลับ เราบริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆ เราตั้งใจจะหลับ เราปล่อยใจให้เผลอสติพอจิตรวมกันหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ศูนย์กลางกายที่นี่ก็จะหลับเลย

    เพราะฉะนั้นวิธีแก้โรคคนที่ใจฟุ้งซ่านนอนไม่หลับ ให้บริกรรมภาวนาเอาใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย สัมมาอรหังๆๆ ให้ใจรวมลงหยุดที่ศูนย์กลางกาย พอรวมแล้วเรากำหนดในใจว่าเราจะหลับ สติจะเผลอแล้วก็จะหลับได้โดยง่าย

    เพราะฉะนั้น คนทำสมาธิแล้วง่วง เพราะตรงนี้เผลอสติ ถ้าไม่เผลอสติ ทำใจให้สว่างไว้ ให้รู้สึกตัวพร้อมอยู่ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์จะรู้สึกมีอาการเหมือนหวิว นิดหน่อย แล้วใจดวงใหม่ จะปรากฏใสสว่างขึ้นมาเอง แล้วใจก็หยุดนิ่งกลางดวงใสสว่างนั่น ก็จะใสสว่างไปหมดเลย ไม่ง่วง ไม่ซึม เข้าใจนะ ถ้าใครนั่งง่วงหลับงุบงับๆ แล้วก็ให้พึงเข้าใจว่า ใจไม่เป็นสมาธิแล้วนะ กำลังเผลอสติจะหลับแล้ว ต้องพยายามอย่าเผลอสติ ให้มีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลสนิวรณ์อยู่เสมอ

    แต่ถ้าประสงค์จะทำสมาธิเพื่อให้หลับสนิท ก็กำหนดใจไปว่า เราจะหลับก็หลับ เมื่อทำบ่อยๆ แล้วเราจะกำหนดได้แม้แต่ว่าจะตื่นภายใน 1 ชั่วโมง เราจะตื่นภายใน 15 นาที เราจะ ตื่นภายในเวลาเท่าไร ก็จะเป็นไปตามนั้น
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    .....................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กันยายน 2014
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว

    

    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว คือไม่เคยเห็นดวงเห็นกายเลย นั่งทีไรพบแต่ความว่าง เผลอสติได้ง่าย ทั้งๆ ที่พยายามกำหนดจุดเล็กใสแล้ว จะแก้ไขอย่างไร ?

    -------------------------------------------------------



    ตอบ:





    เรื่องติด ก็คือหลงติดสุขในฌาน แต่ถ้าเราปฏิบัติ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำหนดศูนย์กลางไปเรื่อย เห็นดวง หยุดนิ่งกลางดวงให้ใสสว่าง ละเอียดไปสุดละเอียด เห็นกายในกาย ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ใสละเอียด ทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียด อย่างนี้แล้วก็ถูกวิธี อย่างนี้ไม่ติดสุข



    เพราะฉะนั้น เรื่องติดสุขในฌาน ไม่ต้องไปคิดละครับ ให้มีฌานจริงๆ ก่อนแล้วค่อยคิด แล้วถ้าปฏิบัติในวิชชาธรรมกายแลัวง่ายครับ ไม่ต้องคิดละครับ เพราะอะไร ผมจะเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อยในเรื่องฌานนี้ ตัวเองไม่ได้เก่งกาจละครับ ครูบาอาจารย์สั่งสอนมานะครับ มีประสบการณ์นิดนึง ไม่มาก ทีนี้จะเรียนให้ทราบ



    ในวิชชาธรรมกายนั้น เราเจริญฌานสมาบัติให้ละเอียดสุดละเอียด มุ่งหมายที่การกำจัดกิเลสนิวรณ์ บางท่านที่จะปฏิบัติให้ละเอียดไปถึงอรูปฌาน แต่ต้องอธิษฐานจิตก่อนว่า ให้ถอยกลับมาเป็นปฏิโลม ถึงเวลาแล้ว ภายในเขาจะบอกเอง เราจะรู้สึกเองว่า ถอยกลับได้แล้ว เมื่อถอยกลับเป็นอนุโลมปฏิโลมแล้ว ไม่ติดอยู่ทีไหน แล้วเที่ยวสุดท้ายโดยอนุโลมแค่จตุตถฌาน ถ้าใครทำได้นะครับ รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางธรรมกายอรหัต ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จะอยู่ตรงกลางธรรมกาย ก็เห็น พอเห็นแล้วจิตหยาบลงมาเลย จากจตุตถฌานโดยอัตโนมัติ เมื่อหยาบลงมาแล้ว เราเอาใจธรรมกายเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ซึ่งจะผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด กายหยาบกายละเอียดทั้งหมด 18 กาย จนถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต เรียกว่าสุดละเอียดของกายเถา 18 กาย รวมเรียกว่ากายเถา



    เพราะฉะนั้น เรามุ่งอย่างเดียวจะเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต คือให้ผ่องใสสุดละเอียดของธรรมกายอรหัตจากกายเถา กายที่หยาบรองลงมาชื่อว่ากายชุด เพราะแต่ละกายก็มีชุด 18 กายของเขา พิสดารไปสุดละเอียด เป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ชุดเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสอนุสัยกิเลสของเรา มันเกาะอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่รู้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นสัตว์โลกมานี่แหละ



    นั้นแหละ มีกายเถา กายชุด กายชุดสุดละเอียดไปแล้วเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ที่หยาบรองลงมาอีกก็เป็นกายชั้น กายตอน กายภาค ภายพืด ซึ่งจะมีกายในกายที่ยังไม่บริสุทธิ์อีกมาก แต่ก็ละเอียดไป ละเอียดไปจนสุดละเอียดหมด เป็นแต่ธรรมกายล้วนๆ นั่นแหละที่ว่าปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ เพราะไม่พิจารณาลบฌาน แต่ระดับสมาธิที่ละเอียดๆ สมาธิยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง สมาธิก็สูงขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ไม่ต้องคำนึงว่าสูงแค่ไหน ถึงอย่างไรเมื่อสุดละเอียดจนถึงละเอียดหนัก ปล่อยอุปาทานในเบญจขันธ์ได้แม้ชั่วคราว ปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ นั่นเขาทะลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ภพชาติติดอยู่ในศูนย์กลางธรรมในธรรมของเรา ธรรมในธรรมนั้นแหละ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั่นแหละ ธาตุละเอียดมันอยู่ตรงนั้น ธาตุละเอียดนั้นแหละครับ มันมีทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เปลี่ยนแปลงไปตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอดเวลา



    เมื่อพิสดารกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำนิโรธ สุดละเอียดเข้าไปอย่างนั้นแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดคือธรรมในธรรมที่เป็นกุสลาธัมมา มันจะเต็มเปี่ยม เป็นมรรคมีองค์ 8 ถ้ายังไม่ถึงอริยมรรค ก็เป็นมรรคในโคตรภูญาณ นั่นมรรคเขารวมกันเป็นเอกสมังคี แต่ในระดับโคตรภูญาณแล้ว เตรียมพร้อม ถ้าบุญบารมีเต็ม ก็พร้อมที่จะ... ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า จิตของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้นจะพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นภพสุดท้ายที่สุดละเอียด ธรรมกายหยาบจึงตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจึงพ้นโลก ไปปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอายตนะนิพพานใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน รู้สึกมันหวิวนิดๆ นั้นแหละ ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ หยาบในขณะนั้นคือสุดละเอียดแล้วนะ แล้วที่สุดละเอียดก็ยังจะปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะความบริสุทธิ์ของธรรมกาย บริสุทธิ์พอที่จะสัมผัสรู้เห็นอายตนะนิพพานและความเป็นไปในอายตนะนิพพาน กล่าวคือ พระนิพพานธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระอรหันต์ขีณาสพที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สัมผัสได้ เห็นได้ รู้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้นะครับ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยอัตโนมัติครับ เมื่อจิตละเอียด สุดละเอียด เหมือนกับยิงจรวดนะครับ ยิงไปด้วยกำลังที่สูง แล้วพ้นแรงดึงดูดของโลก ตัวจรวดที่พ้นคือตัวดาวเทียมที่เขาส่งไป แต่ว่าตัวที่เป็นโลกๆ ก็ยังอยู่ทางโลกนี้แหละ หล่นอยู่ทางโลก แต่ตัวที่เขาต้องการให้พ้น มันก็พ้นออกไป พ้นแนวดึงดูดของโลก พ้นโลกแต่ยังอยู่ในโลกๆ เลยเล่าให้ฟัง



    เพราะฉะนั้น การติดฌาน ในแนววิชชาธรรมกายไม่ต้องพูดถึง ถ้าปฏิบัติถูกจะเป็นอย่างนี้ หรือจะเจริญแม้ถึงอรูปฌานเป็นสมาบัติ 8 ทบไปทวนมา เมื่อจะทวนขึ้นถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานไปได้โดยอัตโนมัติก็หลุดไปได้เหมือนกัน เพราะธรรมกายที่หยาบ เมื่อละเอียดไปสุดละเอียด ตกศูนย์ พ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมกายที่สุดละเอียดก็ไปปรากฏได้เหมือนกัน นั้นเขามักเรียกว่า เจโตวิมุตติ แต่ว่าจริงๆ ปัญญาวิมุตติด้วย กระผมก็เลยกราบเรียนเพื่อทราบว่าอย่างนี้
    -------------------------------------------------


    การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นที่ 29 6 พ.ค. 2538 โดย หลวงพ่อพระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    ถาม.....ผู้ปฏิบัติไม่เห็น “นิมิตธรรมกาย” (นี่คิดผิดนะครับ) คือปฏิบัติสายอื่น แต่ระดับจิตถึงพระธรรมกาย นั้นมีไหม ?


    ---------------------------------


    ตอบ.......ข้อหนึ่ง
    คำว่า “นิมิตธรรมกาย” นั้นอย่าพูดเลยนะครับ ธรรมกายไม่ใช่นิมิต นะครับ... ของจริง




    นิมิตมีสองสามอย่างให้เข้าใจ ประเภทของนิมิต



    หนึ่ง.. นึกขึ้น นึกให้เห็น เช่น นึกให้เห็นดวงแก้ว เรียกว่าบริกรรมนิมิต เจริญภาวนา ไป ใจมันหยุดรวม ได้อุคคหนิมิตเห็นเป็นดวงใสขึ้นมา แต่เห็นอยู่ไม่ได้นาน ใจก็รวมหยุดแน่วแน่ เข้าไปอีกถึงปฏิภาคนิมิต (นิมิตติดตา) ระดับสมาธิมันก็ชั้นสูงจาก ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ นี่ระดับต่ำสูงขึ้นไปเป็นปฏิภาคนิมิต ก็อัปปปนาสมาธินั่นระดับปฐมฌาน ตรงนั้นชื่อว่านิมิต อย่างหนึ่ง คิดเอาแล้วจิตมันค่อยหยุดนิ่ง ถ้าที่คิดเอานั้น กลายเป็นอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต นี่ประเภทหนึ่ง







    อีกประการหนึ่ง..นอนฝัน ฝันก็เป็นนิมิตเรียกว่า สุบินนิมิต ถ้าไม่นอนฝัน..อะไร ๆ ที่เรามองเห็น นี่เรียกว่า นามรูป ก็เห็นเป็นนิมิตก็ได้ อย่างตัวท่านจะเรียกเป็นนิมิตก็ได้.. การมองเห็นข้างในก็เป็นนิมิต คือจากการมนุษย์ เห็นกายมนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด แต่นิมิตมันมีของปลอมกับของจริง

    ของปลอม คือ ไม่นึกจะเห็น แต่ก็เห็นแปลกประหลาดไป ไม่เป็นไปตามที่เป็นจริง จริงนี้หมายถึงจริงโดยสมมติบางทีนั่งแล้วเห็นเสือกระโดด โฮ้ก..เข้าใส่ แต่เปล่า เสือไม่มี นี่ก็เห็นได้เช่นกัน หรือบางคนนั่งแล้วเห็นผี.. แต่เปล่าผีไม่มี นี่เรียกว่า เห็นของไม่จริง จะเกิดแก่ ผู้ที่เอาใจออกนอกตัว หลวงพ่อวัดปากน้ำจึงให้เอาใจเข้าในตัว เพื่อชำระใจของเราให้สะอาด บริสุทธิ์ หยุดนิ่งเป็นอารมณ์เดียว ปราศจากกิเลสนิวรณ์ จิตใจก็เที่ยง เห็นตามที่เป็นจริง พอ..ใจ หรือเห็น จำ คิด รู้ ที่มันเห็นนะ มันไปวางอยู่ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งของกาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน มันก็เห็นตรงตามนั้น สิ่งที่เห็นอย่างนั้น เห็นจริงโดยสมมติ





    นิมิตจริง ก็เห็น นาย ก. นาย ข. เห็นพระ เห็นเณร แม่ชี เห็นของจริงทั้งนั้น ที่เห็น ๆ อยู่นี่ เห็นเข้าไปข้างในตามที่เป็นจริง ก็จริง แต่ว่าจริงโดยสมมติ







    นี่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความ เงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต และวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้”

    แต่ถ้ามันเลยนิมิตนี่ไปเห็นธาตุล้วนธรรมล้วน จริง ๆ เขาไม่เรียกว่านิมิต เพราะนิมิต ชื่อว่า เบญจขันธ์หรือนามรูป เกิดแต่อวิชชา แต่ธรรมกาย ไม่ใช่เบญจขันธ์ เป็นธรรมบริสุทธิ์ จึงเรียกว่า ธรรมขันธ์ เหมือนพระรุ่น ๔ ที่ว่าดัง ๆ นั่น...พระผงธรรมขันธ์ ก็ธรรมกายนั่นแหละ ไม่เกิดแต่อวิชชา เป็นกายที่พ้นภพ ๓ นี้ไป เป็นของจริงครับ เป็นปรมัตถธรรม แต่ว่าจำเพาะส่วน ที่ยังไม่บรรลุ คือจัดเป็น โคตรภู คืออยู่ระหว่างโลกิยะกับโลกุตตระ แต่กำลังจะขึ้นไป



    แต่ถ้าว่า เป็นธรรมกาย มรรค ธรรมกายผล พระนิพพาน แล้วหละก็เป็นธรรมขันธ์แท้ ๆ ชัดเจน ไม่เรียกว่า นิมิตครับ ไปเข้าใจผิดกันแล้วเอามาโจมตีกันเรื่องนี้แหละครับ เพราะเขาแยกนิมิต แยกของจริง ของปลอมไม่ค่อยชัดเจน ก็มั่วไป ก็ไปคลุมว่าเห็นอะไรเห็นได้ เรียกว่านิมิต จริง ๆ นิมิตอยู่ใน ครรลอง ในสภาวะที่จะสัมผัสได้ด้วยอายตนะของกายในภพ ๓ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่นเห็นกายมนุษย์ คือ ตาเห็นรูป หรือว่า ทิพพจักขุ เห็นกายทิพย์ พรหมจักขุเห็นกายพรหม อย่างนี้เป็นของในภพ ๓



    แต่ว่าเห็นโดยพุทธจักขุ ตรงนี้ไม่ใช่นิมิตหละ ของจริง..มันเข้าเขตปรมัตถ์ ที่โจมตีกัน มันไม่ถูกหรอกครับ เพราะมันเข้าไม่ถึง มันเลยไม่รู้เรื่อง ก็ตีกันไป ก็ไม่ว่ากระไร เป็นเรื่องของท่าน จะเข้าใจอย่างไรก็ว่ากันไปตามเรื่อง แต่ว่าจะได้ผลเป็นบุญเป็นบาปอย่างไร นั่นก็เป็นเรื่องของท่าน อีกเหมือนกัน







    สรุปว่า เขาถามว่าปฏิบัติสายอื่น แต่ระดับจิตถึงธรรมกายน่ะ มีไหม?





    มีครับ..ต้องมีครับ อันนี้ไม่ปฏิเสธนะครับ จะสายพุทโธ ยุบหนอ พองหนอ สัมมา&shy;อะระหังหรือว่าอะไร ๆ ก็ตาม ถ้าจิตถึงก็ถึงครับ ไม่มีปัญหาครับ

    ถ้ามีจะหลุดพ้นหรือไม่ ?


    หลุดสิครับ ทำไมจะไม่หลุด
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    หัวข้อสำรวจตนเอง



    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว







    เป็นเพียง หัวข้อ เบื้องต้น และ เบื้องกลาง คือ คือมหาสติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกายเท่านั้น







    ยังมีข้อมูลสำรวจอีกมาก จะแจกแก่ผู้ไปต่อวิชชากับ พระราชพรหมเถระ ( วีระ คณุตตโม )



    เป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ฯ หรือ ต่อวิชชาฯกับท่านเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ ราชบุรี



    หรือ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ(ภูเขาทอง) โดยตรง











    เบื้องต้น







    1. ปั่จจุบันนี้ ท่านเห็นธรรมกายใสและชัดเจนเพียงใด?



    ( ) ใสชัดดีมาก ( ) ใสชัดพอประมาณ



    ( ) ใสชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ( ) ไม่ชัดเลย







    2. เคยได้รับการต่อ 18 กาย เมื่อใด







    ( ) วันที่........................ ( ) ไม่เคย







    3. เคยรับการฝึกพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี แล้วหรือยัง ?







    ( ) เคยแล้วทำตามทันได้หมด ( ) เคยแล้ว แต่ทำตามไม่คล่อง







    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้







    4. เคยฝึก พิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เป็น เถา ชุด ชั้น



    ตอน ภาค พืด แล้วหรือยัง ?







    ( ) เคยแล้ว ทำตามได้หมด ( ) เคยแล้ว ทำตามได้บ้าง



    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้







    5. เคยฝึกพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา







    เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นณ ภายในและภายนอกโดยส่วนรวม โดยน้อมเข้าสู่ " อตีตังสญาณ" ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นในอดีต และ น้อมเข้าสู่ อนาคตังสญาณ ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นไปจนถึงวันตาย เพื่อให้เห็น " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "



    และเป็น มรณัสสติ เครื่องเตือนใจหรือยัง ?







    ( ) เคยแล้วเห็นตามทันหมด ( ) เคยแล้วเห็นตามทันบ้าง







    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน











    7. เคยฝึกพิจารณาเห็นธรรมในธรรมต่อไปนี้หรือไม่ ( กาตรงที่เคย)











    ( ) ขันธ์ 5 ( ) อายตนะ 12 ( ) ธาตุ 18 ( ) อินทรีย์ 22







    ( ) อริยสัจจ์ 4 ( ) ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12











    8. เคยฝึก " เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์ 4 " แล้วหรือยัง?



    ( ) เคยแล้ว ทำตามทันหมด ( ) เคยแล้วทำตามทันบ้างไม่ทันบ้าง







    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ทำไม่ได้











    9. ท่านทราบพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้เจริญภาวนา อบรมมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วหรือยัง ?







    ( ) ทราบ คือ.......................................................







    ( ) พอทราบ คือ.....................................................







    ( ) ไม่ทราบ























    ************จบการสำรวจเบื้องต้น*******
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    เพ่งอากาศว่างเป็นอารมณ์ ละเอียดจนใจออกจากฌานได้ยาก ?

    
    ลูกเณรถามมาว่า เมื่อทำความรู้สึกหรือเข้าไปเป็นธรรมกาย แล้วเพ่งอากาศว่างเป็นอารมณ์นั้น ละเอียดจนใจออกจากฌานนั้นได้ยาก ควรจะทำอย่างไร ?

    --------------------------------------------------

    ตอบ:


    ให้เข้าใจอย่างนี้เสียก่อนว่า ท่านใดที่ปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกาย ให้ฝึกเจริญสมาธิภาวนาเฉพาะรูปฌานก่อน ตอนนี้ก็ยังไม่ได้สอนไปถึงอรูป เหตุที่ยังไม่ได้สอนก็เพราะว่า ถ้าพูดสอนมากไปก็จะทำให้ผู้อื่นเสียสมาธิ ส่วนท่านใดประสงค์จะฝึกขึ้นต่อไปนั้น ถึงเวลาก็ให้ไปฝึกเจริญภาวนากับหลวงตาที่ในอุโบสถ ค่อยเรียนกันให้ละเอียดลึกซึ้งไป

    เรื่องของการเจริญภาวนาสมาธิเข้าสู่อรูปฌานนั้น ให้พึงเข้าใจว่าละเอียดมากเสียจนแทบไม่รู้สึกตัว หรือจะเรียกว่าไม่รู้สึกตัวก็ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีเคล็ดลับแล้วจะออกจากฌานลำบาก คือออกยาก แล้วทั้งจะติดสุขที่ละเอียดมากอยู่ในฌานนั้นอีกด้วย

    เคล็ดลับก็ไม่ได้ยากอะไร คือ เมื่อธรรมกายดับหยาบไปหาละเอียด หยุดในหยุด กลางของหยุด จนสุดละเอียดแล้วนั้น เช่นว่าเมื่อเพ่งที่อากาศว่างเป็นอารมณ์ไปนั้นละเอียดหนัก เพราะเหตุนั้น ก่อนจะเข้าอรูปฌานให้จำไว้เลยว่า ให้ตั้งอธิษฐานไว้ก่อนว่า เมื่อเข้าไปสุดละเอียดไปถึงเพียงไหน ถึงสุดละเอียดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “อากาสานัญจายตนฌาน” หรือละเอียดไปถึง “วิญญาณัญจายตนฌาน” หรือว่าใครทำต่อไปถึง “อากิญจัญญายตนฌาน” ถึง “เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน” ก็แล้วแต่แล้วแต่บุญบารมีของใครที่สั่งสมอบรมมาแล้วทำได้ ก็อธิษฐานจิตไว้ก่อนว่า เมื่อถึงสุดละเอียดแล้วให้ถอยหรือลดระดับสมาธิลงเป็นปฏิโลม ไม่ติดอยู่ นี้เป็นเรื่องสำคัญ

    เพราะฉะนั้น การที่จะให้ใจเราออกจากฌานนั้นได้โดยง่าย มีเคล็ดลับประการสำคัญที่ดีคือ ให้ตั้ง จิตอธิษฐานไว้ก่อนดังที่ได้กล่าวแล้ว เมื่อเจริญภาวนาได้ถึงจุดสุดละเอียด เราก็จะรู้ตัวขึ้นมาเลยว่า ถึงสุดละเอียด แล้วก็ลดระดับสมาธิลง ประเดี๋ยวเดียวก็ออกมาได้ ไม่ลำบากอะไร มีวิธีง่ายๆ อย่างนั้น

    แต่ให้เข้าใจเสียก่อนว่า การเข้าฌานสมาบัตินั้นมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพียงเพื่อ 1) กำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และ 2) ผู้ที่ปฏิบัติได้ถึงธรรมกาย ถ้าพิสดารกายไปด้วยก็จะช่วยให้กายต่างๆ ชัดขึ้น แต่ในขณะที่ชัดขึ้นนั้น ถ้าหลงติดสุข อยู่ในฌาน ก็ไม่มีประโยชน์ คือมีประโยชน์น้อย เราไม่ต้องการอย่างนั้น เราต้องการประโยชน์คือ เพียงเพื่อชำระกิเลสนิวรณ์เท่านั้นเอง แล้วก็ออกจากฌานที่เราเข้าถึงระดับสูงสุดนั่น แต่ถ้าเป็นกรณีที่เจริญภาวนาเข้าถึงอรูปแล้ว การออกจากฌานนั้นค่อนข้างลำบาก คืออรูปฌานนั้นละเอียดมาก กว่าจะกำหนดใจได้ในขณะที่นิ่งอยู่ในฌานนั้นมักจะเพลินมักจะอิ่มไปในฌานนั้น

    ให้จำไว้ว่า จุดมุ่งหมายสำคัญของการเจริญภาวนาสมาธิ เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์ เมื่อใจเราผ่องใสสะอาดบริสุทธิ์แล้ว อภิญญาก็เกิด ได้แก่ทิพยจักขุ ทิพยโสต เกิดให้เราสามารถใช้พิจารณาสภาวธรรมที่ละเอียดๆ เกินกว่าประสาทตา หู ของกายมนุษย์จะสามารถรับรู้ คือเห็น หรือได้ยินได้ ให้เห็นแจ้งและรู้แจ้งในสภาวะของสังขารธรรม หรือธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ที่กว้างขวาง และใช้เป็นกำลังสำคัญ ในการที่จะทำนิโรธดับสมุทัย ที่พูดกันเข้าใจง่ายๆ ในภาษาที่รู้กันในหมู่ผู้ปฏิบัติภาวนาวิชชาธรรมกายว่า “พิสดารกายไปสุดกายหยาบกายละเอียด” เพื่อกำจัดกิเลสในใจเราจากสุดหยาบไปสุดละเอียด

    เพราะในธาตุธรรม คือในธาตุละเอียดของเรา เป็นที่ตั้งของธรรม คือธรรมฝ่ายดีและธรรมฝ่ายชั่ว กำจัดหรือละธรรมฝ่ายชั่วอย่างหยาบหมดไป แต่อย่างละเอียดยังมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อนุสัยกิเลส” หรือ “อาสวกิเลส” นั้นแหละ เมื่อเราพิสดารไปสุดละเอียด เพื่อชำระธาตุธรรมฝ่ายบาปอกุศล ให้เป็นแต่ใจของธรรมกายล้วนๆ ที่บริสุทธิ์ผ่องใส แล้วตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพาน มุ่งจะยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับหยาบไปหาละเอียดต่อไปจนถึง “นิพพานเป็น” เมื่อทำนิโรธจนสุดละเอียดถึงนิพพานเป็นนั้น วิชชาชั้นสูงจะเกิดขึ้นมาก ซึ่งเรื่องนี้จะแนะนำในภายหลัง ในส่วนของการพิจารณาสภาวธรรมก็จะค่อยๆ แนะนำไป เมื่อแนะไปหน่อยก็เป็น เป็นแล้วจะรู้เรื่อง รู้เรื่องแล้วก็จะไม่ลำบากอะไร เหลือแต่การเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง เพื่อช่วยตนเอง ช่วยผู้อื่นด้วย เป็นผลอย่างสูงของวิชชาธรรมกาย

    สรุปความว่า การเจริญฌานสมาบัติ เพื่อชำระกิเลสนิวรณ์เป็นวัตถุประสงค์สำคัญข้อที่ 1 ส่วนข้อที่ 2 คือ เพื่อให้เป็นวสี ให้ธรรมกายชัดเจน ให้เกิดความชำนาญในการเข้า การออก การพิจารณาอารมณ์ฌาน ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม ทำให้ธรรมกายไม่สูญหาย ถ้าขยันทำบ่อยๆ ไม่ใช่ว่าเมื่อปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว เป็นธรรมกายอยู่ได้ตลอดไป ตราบใดที่ยังไม่ บรรลุมรรคผลนิพพาน ยังไม่ใช่พระอริยเจ้าแท้ๆ นั้น ธรรมกายมีโอกาสถอยหน้าถอยหลังได้ เพราะใจของเรานั้น ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามอำนาจของกิเลสแล้วละก็ ธรรมกายก็ดับ เพราะเหตุนั้น จึงให้ทำบ่อยๆ เพื่อรักษาไว้ ถ้าไม่รักษาไว้ก็หาย ที่ว่าหาย หมายความว่า เมื่อมีกิเลสมากๆ ธรรมกายก็หาย หายเพราะว่า ธรรมกายเกิดขึ้นด้วยความบริสุทธิ์ ส่วนผู้ที่เป็นพระอริยเจ้าแล้วนั้น ท่านก็เป็นปกติของท่าน คือธรรมกายที่บรรลุมรรคผลนิพพานของท่านจะใสสว่างอยู่ตลอด ข้อนี้เราไม่ต้องพูดกัน เป็นเรื่องของท่านที่มีภูมิธรรมสูงแล้ว

    เมื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์ได้แล้ว ยังมีผลอีกประการหนึ่ง นอกจากเราใช้พิจารณาสภาวธรรมแล้ว ยังเป็นพื้นฐานให้เกิดอภิญญา และเพื่อให้เกิดวิชชา ให้สามารถทำวิชชาเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูง เพื่อช่วยตนเองและช่วยผู้อื่น ข้อนี้มีสมบูรณ์อยู่ในวิชชาธรรมกาย แต่ใครจะทำได้เท่าไหร่ เป็นเรื่องของใคร ที่จะรักษาใจตนให้ได้บริสุทธิ์ผ่องใสแค่ไหน และรักษาใจของตนให้ดำรงอยู่ในภูมิธรรมระดับไหนเท่านั้นเอง โปรดเข้าใจอย่างนี้

    การทำฌานสมาบัติที่ละเอียดไปถึงอรูป ให้มีเคล็ดลับว่า ต้องหยุดในหยุดกลางของหยุด กลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียด คือให้สำเร็จด้วยใจของธรรมกาย แล้วการจะถอยกลับออกมานั้น โดยไม่ติดสุขอยู่ในอรูปฌานนั้น ก็ทำได้สะดวก หาไม่แล้วจะติดสุขอยู่ในอรูปฌานได้โดยง่าย

    อีกประการหนึ่ง ถ้าไม่กำหนดศูนย์กลาง หรือไม่เห็นศูนย์กลาง และไม่ดับหยาบไปหาละเอียดอยู่เสมอแล้ว มีโอกาสหลงทางได้มาก เช่นบางคนทำละเอียดไปแล้วหาที่ตั้งของใจไม่พบ คือว่างไปเฉยๆ จนอะไรๆ ก็เห็นว่างไปหมด ตัวเองก็ไม่มี แม้กระทั่งบางคนนั่งอยู่ในรถ เมื่อเจริญภาวนาถึงอรูป ก็เลยเห็นแม้รถก็ไม่มี นั่นอรูปฌานที่หลงอยู่ในอรูปภพ จิตหลงอยู่ในอรูปภพ แล้วไม่รู้ทางไป แต่ถ้าหยุดในหยุดกลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียดแล้ว ก็จะอยู่ในธรรมกายนั้นเอง

    เพราะฉะนั้น เมื่อตั้งจิตอธิษฐาน ถอยกลับลดระดับสมาธิลงสู่รูปฌาน แล้วก็พิสดารกายออกจากรูปฌานแล้วก็ทำนิโรธให้หลุดพ้น แม้ชั่วคราว ธรรมกายก็จะตกศูนย์ถึงพระนิพพาน ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์ และได้รู้เห็นสภาวะของวิสังขารคือพระนิพพานธาตุได้ เคล็ดลับเป็นอย่างนี้

    ที่หลงกัน เหมือนท่านอาฬารดาบส อุทกดาบส ที่พระมหาบุรุษของเราได้เคยไปเรียนฌานสมาบัติ หลงติดอยู่ กับอรูปอยู่นั่นแหละ หลงอยู่ในอรูป ท่านอาฬารดาบสหลงติดอยู่ใน “อากิญจัญญายตนฌาน” ได้ฌานสมาบัติ 7 ตายไป ไม่เสื่อมจากฌานนี้ เลยไปเกิดอยู่ในชั้นนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติเท่าไร ก็แช่อิ่มอยู่ในฌานนี้ ไม่ได้ไปไหน ส่วนท่านอุทกดาบส หลงติดอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ออกไปไหน ยิ่งนานหนักเข้าไปแช่อิ่มอยู่นั่น นี่แหละเรื่องเคยมีมาแล้ว ในอดีตมาถึงปัจจุบัน

    ได้เคยมีพระคุณเจ้ารูปหนึ่งเคยมาหาเมื่อเดือนธันวาคมที่แล้ว ได้เคยมาเรียนวิชชาธรรมกายรุ่นก่อนๆ นั้นแหละ แต่ว่าเรียนแล้วก็ฟังไม่ได้ศัพท์ คือนำส่วนสำคัญไปได้ไม่หมด ก็รู้ในระดับขั้นต้นนั้นแหละ รู้แต่ว่าดับหยาบไปหาละเอียด หยุดในหยุดกลางของหยุด แค่นั้นแหละ มาฝึกเพียงระยะหนึ่ง กลับไปก็ไม่ได้มาอีก ก็ไปสอนเพื่อนภิกษุ ความที่ไม่ได้มาอีกเคล็ดลับต่างๆ ก็คงจะลืมไป ก็ไปสอนผู้อื่น บอกให้เพื่อนพระภิกษุนั่งดูดวง พระภิกษุนั้นท่านก็ทำได้ดีเหลือหลาย ให้ดูดวงก็เห็นได้เร็ว แต่ไม่ได้กำหนดศูนย์ เมื่อไม่กำหนดศูนย์ก็ว่างไปๆ เหมือนเข้าอรูป แล้วก็เข้าอรูปฌานไปโดยไม่รู้ตัว แต่ยังปฏิบัติไม่ถึงธรรมกาย พอเห็นเป็นดวงใหญ่ไปๆ ลงท้ายก็หาย หายหมดทั้งตัวเองก็ไม่เห็นอะไรๆ ก็ไม่เห็น นั่งอยู่อย่างนั้นครึ่งคืนค่อนคืน นั่งเห็นแต่ว่างๆ อยู่อย่างนั้นตลอดทั้งพรรษา

    ทั้งพระผู้สอนและผู้เรียนก็ต้องกลับมาหา มาพบอาตมาที่ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ เหตุที่มาก็เพราะว่าท่านได้รับอาราธนาไปช่วยสอนธรรมะที่ประเทศญี่ปุ่น ท่านก็มากราบเรียนหารือกับเจ้าประคุณหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ก็คงจะไปเล่าถวายท่านฟัง เจ้าประคุณหลวงพ่อสมเด็จฯ จึงได้แนะนำให้รีบมาหาท่านเสริมชัยเสียเร็วๆ เจ้าประคุณหลวงพ่อสมเด็จฯ ท่านบอกว่าอย่างนั้น ท่านรู้แล้วว่าชักจะหลงทางเสียแล้วรายนี้ เลยได้มาคุยกัน คนที่ทำเป็นแล้วแนะนิดเดียว ท่านก็สามารถก้าวหน้าไปได้เร็ว ท่านมีบุญบารมีเก่า ขอให้ทำตามคำแนะนำเท่านั้น เป็นอันใช้ได้ แต่ก็ได้อยู่ด้วยกันเพียงน้อยนิด ยังนึกเป็นห่วงว่าต่อไป ถ้าท่านเจริญวิชชาชั้นสูงไปแล้ว เกิดมีปัญญาอาจจะไม่ได้ถามมาเห็นเงียบหายไป ไม่ได้ถามมา ซึ่งอาจจะมีอะไรๆ หลงผิดไปได้ ถึงอย่างไรถ้าได้ไปปรึกษากันหน่อยก็ยังดี

    อาตมาเองสมัยเป็นฆราวาส ยังไม่ได้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดปากน้ำ ก็ต้องเข้าหาปรึกษากับครูบาอาจารย์อยู่พอสมควร เพราะว่าเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ถ้าได้รับการแนะนำเหมือนสะกิดนิดเดียวก็รู้เรื่อง เคล็ดลับเล็กๆ น้อยก็จริง แต่มีมาก ถ้าทำได้ตรงทางก็จะดี จะดีจริงๆ ไม่ใช่ดีน้อยๆ วิชชาธรรมกายถ้าใครเข้าถึงธรรมกายทำได้สุดละเอียดแล้ว จะดีมากเลยทีเดียว มีอานุภาพมาก สามารถช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้มาก
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม แต่ทำไมทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอนทุกครั้งไป ?

    
    --------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ท่านมหาบอกว่า สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม ทำไมดิฉันทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอน ทุกครั้งไป ?

    อันนี้เป็นคำถามที่ดีครับ โปรดเข้าใจว่าจิตใจที่กำลังจะเป็นสมาธิที่แนบแน่น กับจิตใจที่กำลังจะหลับ มีอาการคล้ายกัน จิตใจที่ก่อนจะตายด้วย จิตใจที่กำลังจะเกิด จะดับ (คือตาย) จะหลับจะตื่น จะมีอาการอย่างนี้คือ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือพอดี จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาทำหน้าที่ต่อไป เช่นถ้าคนนอนหลับก็อาจจะทำหน้าที่ฝัน ถ้าคนจะตายก็ไปเกิด เพราะฉะนั้นอาการของใจคนที่จะเป็นสมาธิก็มีว่า จิตดวงเดิมที่ขุ่นมัวด้วยกิเลสนิวรณ์ก็จะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสปราศจากกิเลสนิวรณ์ก็จะลอยปรากฏขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ ในอาการเดียวกันกับคนจะหลับ จิตดวงเดิมก่อนหลับก็จะตกศูนย์ ใจที่จะทำหน้าที่หลับ แล้วไปทำหน้าที่ฝันก็จะลอยขึ้นมา อาการตรงนี้จะมีอาการเคลิ้มๆ แต่ความเคลิ้มนั่นเพราะใจมารวมหยุดนิ่งโดยอัตโนมัติโดยธรรมชาติ ถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่นั่นเป็นสัมมาสมาธิ แต่ถ้าเผลอสติมันก็หลับ เพราะฉะนั้น อาการหลับกับอาการที่สมาธิกำลังจะเกิดแนบแน่น เป็นอาการเดียวกัน ต่างกันที่สติสัมปชัญญะ ยังอยู่หรือว่าเผลอสติ ถ้าเผลอสติก็หลับ เช่น เราตั้งใจว่าเราจะหลับ เราบริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆ เราตั้งใจจะหลับ เราปล่อยใจให้เผลอสติพอจิตรวมกันหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ศูนย์กลางกายที่นี่ก็จะหลับเลย

    เพราะฉะนั้นวิธีแก้โรคคนที่ใจฟุ้งซ่านนอนไม่หลับ ให้บริกรรมภาวนาเอาใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย สัมมาอรหังๆๆ ให้ใจรวมลงหยุดที่ศูนย์กลางกาย พอรวมแล้วเรากำหนดในใจว่าเราจะหลับ สติจะเผลอแล้วก็จะหลับได้โดยง่าย

    เพราะฉะนั้น คนทำสมาธิแล้วง่วง เพราะตรงนี้เผลอสติ ถ้าไม่เผลอสติ ทำใจให้สว่างไว้ ให้รู้สึกตัวพร้อมอยู่ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์จะรู้สึกมีอาการเหมือนหวิว นิดหน่อย แล้วใจดวงใหม่ จะปรากฏใสสว่างขึ้นมาเอง แล้วใจก็หยุดนิ่งกลางดวงใสสว่างนั่น ก็จะใสสว่างไปหมดเลย ไม่ง่วง ไม่ซึม เข้าใจนะ ถ้าใครนั่งง่วงหลับงุบงับๆ แล้วก็ให้พึงเข้าใจว่า ใจไม่เป็นสมาธิแล้วนะ กำลังเผลอสติจะหลับแล้ว ต้องพยายามอย่าเผลอสติ ให้มีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลสนิวรณ์อยู่เสมอ

    แต่ถ้าประสงค์จะทำสมาธิเพื่อให้หลับสนิท ก็กำหนดใจไปว่า เราจะหลับก็หลับ เมื่อทำบ่อยๆ แล้วเราจะกำหนดได้แม้แต่ว่าจะตื่นภายใน 1 ชั่วโมง เราจะตื่นภายใน 15 นาที เราจะ ตื่นภายในเวลาเท่าไร ก็จะเป็นไปตามนั้น
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    เรื่องเล่าประสบการณ์ใน ... “วิชชาธรรมกาย”

    [​IMG]



    ลุงจอน (นามสมมติ) ซึ่งเป็นผู้เจริญภาวนาธรรมตามแนว “วิชชาธรรมกาย” ได้เล่าว่า ...

    ในตอนเย็นของวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๘

    ท่านได้รับโทรเลขจากญาติของท่านว่า “คุณแม่ป่วยหนัก ให้ไปด่วน”

    ทั้ง ๆ ที่ลุงจอน ได้ผ่านการเจริญภาวนาธรรมมานานพอสมควร

    แต่ก็อดที่จะรู้สึกใจหายวาบชั่วระยะเวลาหนึ่งไม่ได้



    เพราะตั้งแต่ลุงจอนเกิดมา ก็เพิ่งเคยได้รับโทรเลขทำนองนี้มาก่อนว่า

    “คุณพ่อป่วยหนัก ให้กลับด่วน”

    พอลุงจอนเดินทางไปถึง ก็ปรากฏว่า ... คุณพ่อของลุงจอน ได้เสียชีวิตไปแล้ว

    เพราะฉะนั้นในคราวนี้จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ลุงจอนจะสะเทือนใจเพียงใด



    เมื่อลุงจอนระงับใจ “พิจารณาสังขารธรรม” แล้ว

    ท่านก็ชวนบุตรสาวคนเล็ก (อายุ ๑๗ ปี) ให้ไป “เจริญภาวนาธรรม” ด้วยกัน

    เพื่อ อุทิศส่วนกุศล ให้คุณแม่ ... ไม่ว่าท่านจะยังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม

    และเพื่อจะ “ตรวจ” ดูว่า ... คุณแม่จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรอีกด้วย



    เมื่อสองพ่อลูก เจริญภาวนาธรรม

    ... จนจิตใจสงัดจาก นิวรณ์ธรรม ทั้งหลายแล้ว

    ก็อธิษฐานเอาสภาวะของคุณแม่ ตามที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน

    เข้ามาพิจารณาดู ณ ที่ “ศูนย์กลางกาย”

    ซึ่งก็ได้เห็นด้วย “ญาณทัสสนะ” ตรงกันว่า ...



    คุณแม่ของลุงจอน ... กำลังป่วยหนัก

    และกำลังได้รับการฉีดยา / ให้น้ำเกลือจากนายแพทย์

    โดยมีญาติอีกคนหนึ่ง กำลังพยายามป้อนอาหารเหลว ๆ ให้

    และได้เห็นอีกว่า ... คุณแม่มีเรี่ยวแรงเหลืออยู่น้อยเต็มที





    เพื่อให้แน่ใจยิ่งขึ้น ลุงจอนและบุตรสาวจึงได้ ...

    พิจารณา “อริยสัจ” ของกายมนุษย์ (ของคุณแม่) ตามแนว วิชชาธรรมกาย

    โดยใช้ “ญาณของพระธรรมกาย” ดู ทุกขสัจจะ ได้แก่

    ดวงธรรม ที่ทำให้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ปรากฏว่า ...



    ดวงตาย ซึ่งมีลักษณะสีดำสนิทประดุจนิล ... ของคุณแม่ลุงจอน

    ที่ซ้อนอยู่ใน ดวงเจ็บ ... ยังไม่มาจรดที่ กำเนิดเดิม

    ให้หัวต่อของมนุษย์ ... ขาดจากของทิพย์

    ซึ่งหมายความว่า คุณแม่ของลุงจอน ... ยังมีชีวิตอยู่



    และเมื่อลุงจอนกับบุตรสาว ได้พิจารณาดู ...

    สมุทัยสัจจะ นิโรธสัจจะ และ มรรคสัจจะ ต่อไปตามลำดับ

    เสร็จแล้วจึงได้น้อม บุญกุศล ... ที่ได้บำเพ็ญมา

    บูชาแด่ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

    ทั้งในอดีด ปัจจุบัน และในอนาคต ทุก ๆ พระองค์

    รวมทั้งพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร)



    แล้วอุทิศ บุญกุศล นี้ผ่าน “ศูนย์กลางกาย” ของตนเองไปให้ ... คุณแม่

    เพื่อให้ บุญกุศล เหล่านั้น ... ช่วยหล่อเลี้ยงท่าน

    ... ให้บรรเทาจากอาการเจ็บป่วย และมีกำลังดีขึ้น

    พร้อมด้วย แผ่เมตตา ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ... ไม่มีประมาณ





    ต่อมาในวันรุ่งขึ้น ก่อนออกเดินทางไปเยี่ยมคุณแม่ที่จังหวัดบุรีรัมย์

    ลุงจอนได้มีโอกาส สนทนากับ พระอาจารย์ (วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) ทางโทรศัพท์

    จึงเล่าเรื่องอาการป่วยของคุณแม่ ให้พระอาจารย์ท่านฟัง

    ท่านได้ตอบว่า “ไม่เป็นไรหรอก อย่าได้วิตกกังวลไปเลย”

    ทำให้ลุงจอน รู้สึกสบายใจขึ้น

    เพราะได้รับการยืนยันจาก “ญาณทัสสนะ” ของผู้ปฏิบัติธรรมถึงสามท่าน

    เมื่อเดินทางมาถึงแล้ว ก็ได้ทราบว่า

    สิ่งต่าง ๆ ที่ได้เห็นใน “ญาณทัสสนะ” นั้น ... เป็นจริงทุกประการ





    จากประสบการณ์ ในการเจริญภาวนาธรรมตามแนว “วิชชาธรรมกาย” นี้

    ช่วยให้ลุงจอนและบุตรสาว เกิด “ปัญญา”

    จากการที่ได้ ทั้งรู้และทั้งเห็น ... ความจริง

    ตามสภาพที่เป็นจริง ๒ ประการ คือ



    ๑. การ รู้เห็น ถึงอาการเจ็บป่วยของคุณแม่ และรู้ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่

    รวมทั้งเหตุการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ... ตามความเป็นจริง

    นับว่า เป็นการรู้เห็นความจริงโดยสมมติ (สมมติสัจจะ) ว่า

    สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง

    เป็นทุกข์

    และต้องแตกสลายไป หาใช่ตัวตนที่แท้จริงไม่



    ๒. การพิจารณา “อริยสัจ” เมื่อได้ทำบ่อย ๆ เนือง ๆ

    ทบไปทวนมา มาก ๆ เข้า ก็จะเกิด ปัญญารู้แจ้ง ด้วย “ญาณ ๓” คือ

    มีปัญญารู้แจ้ง ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน จึงเป็น ทุกข์

    สมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง

    นิโรธ สามารถดับทุกข์ได้จริง

    มรรค เป็นทางให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง

    เรียกว่า “สัจจญาณ”



    มีปัญญารู้แจ้ง ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็น ทุกข์จริง และเป็นสิ่งอันควรรู้

    สมุทัย เป็นสิ่งอันควรละ

    นิโรธ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง

    มรรค เป็นสิ่งที่ควรเจริญ

    เรียกว่า “กิจจญาณ”



    มีปัญญารู้แจ้ง ว่า

    ทุกข์ ได้รู้ชัดแจ้งแล้ว

    สมุทัย ละได้ขาดแล้ว

    นิโรธ ทำให้แจ้งแล้ว

    มรรค ได้ทำให้เจริญแล้ว

    เรียกว่า “กตญาณ”





    “ญาณ ๓” คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ หรือ “อริยสัจ ๑๒” นี้

    จะเห็นแจ้ง หรือกำหนดรู้ได้ ก็แต่โดยทาง เจโตสมาธิ

    (สมาธิที่ประดับด้วย อภิญญา หรือ วิชชาสาม)

    หรือใน “วิชชาธรรมกาย” นี้เท่านั้น



    ใน “พระไตรปิฎก” มีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง

    ใน ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ ๑๕ และ ๑๖ ว่า

    เป็น ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒

    ปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมดังกล่าว เป็น สัจจะขั้นสูงสุด

    เป็น ทางทำนิพพานให้แจ้ง จึงนับเป็น ปรมัตถ์สัจจะ ด้วย









    * ที่มาหนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย

    ใน โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      1,111
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กันยายน 2014
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    เวลาเอนกายลงนอน กายในกายคือกายทิพย์ มักจะแยกออกมา เป็นเพราะอะไร ?

    กระผมเคยปฏิบัติตั้งสติกำหนดลมหายใจพุทโธภาวนา เวลานอน เวลาเอนกายลง นอนกายในกายคือกายทิพย์ ตามที่กระผมเข้าใจเอง มักจะแยกออกมา อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไรครับ ? หรือกระผมทำผิดครับ ?

    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เรื่องกายทิพย์แยกหรือไม่แยก มันมีอยู่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ สำหรับผู้ที่จะนอนหลับ กำลังเคลิ้มหลับ จิตดวงเดิมตกศูนย์กลางกายฐานที่ 6 จิตดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมายังศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ถึงจะพุทโธๆ ก็ช่วยให้จิตสงบเร็วๆ มันไปสงบที่ไหน ไปสงบที่กลางพระนาภี พร้อมๆ กับเราเอนอยากจะหลับนั่นแหละ อาการของคนจะหลับกับอาการของคนมีสมาธิคล้ายกันมาก ต่างกันอย่างเดียวอาการของคนจะหลับนั้น สติสัมปชัญญะมันลดลงๆๆๆ หายไปเลย แต่คนมีสมาธิสติสัมปชัญญะ มันอยู่คู่กับใจที่ใสปลั่งอยู่เท่านั้นเอง

    ทีนี้ ในอาการ 2 อย่างไปร่วมกันอยู่นั่นแหละ ถ้ากำลังจะเผลอสติ ดวงธรรมดวงเดิมจะตกศูนย์ไป แล้วดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกาย อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั่นแหละ กายทิพย์ปรากฏขึ้นมาด้วย ถ้าเคลิ้มหลับไปก็ฝันล่ะ ไปเห็นโน่นเห็นนี่ ก็มารายงานกายเนื้อ หลับแล้วก็ฝันไป แต่ว่าเวลาเราปฏิบัติภาวนาเราตั้งใจจริงไม่เผลอสติ ถ้าว่าปฏิบัติถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็เห็นกาย ณ ภายในที่สุดละเอียด สุดละเอียด ธรรมในธรรมไปแล้ว ก็เห็นกายในกาย ก็เห็นกันอย่างมีระเบียบ กายในกายก็ตั้งซ้อนกันอยู่ตรงกลางของกลางเข้าไปจนสุดละเอียด ตั้งอยู่ เห็นอยู่ ไม่แยกออกไปไหน ไอ้ที่จะแยกออกไปนั่น ก็เพราะจิตรวมหยุดเป็นจุดเดียวกันไม่สนิท ไม่อยู่กลางของกลาง เพราะสติเผลอ หรือไม่รู้วิธีรวมใจให้หยุดในหยุดกลางของหยุด เพราะไม่ได้รับการอบรมใจของตนให้เป็นสมาธิไปตามขั้นตอนที่เหมาะสม

    อันนี้มีพระคุณเจ้าระดับวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง เป็นเจ้าสำนัก ได้ยินว่าท่านนั่งเจริญภาวนาท่านนั่งไปเอง พุทโธๆ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏขึ้นภายนอกกายหยาบ ท่านเห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่งอยู่ภายนอกกายหยาบ ท่านก็เลยเอากายละเอียดพิจารณากายหยาบ เอากายหยาบพิจารณากายละเอียดว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่เพียงเท่านั้นแหละ เลยไม่ได้ก้าวหน้าให้ถึงธรรมกาย ท่านก็พิจารณาไตรลักษณ์อยู่แค่นี้ครับ

    กระผมพยายามส่งเอกสารนิตยสารธรรมกายทั้งเทปไปถวาย ไม่ทราบว่าท่านได้ดูหรือเปล่า ถ้าว่าท่านได้ดู ท่านเดินวิธีปฏิบัติตามนิตยสารนั้น แป๊บเดียวท่านก็จะสามารถปฏิบัติถึงธรรมกายและถึงพระนิพพานอันเป็นธรรมชั้นสูงได้เร็ว เพราะท่านมีพื้นที่ดีอยู่แล้ว กายมนุษย์ละเอียดท่านเห็นอยู่แล้วเป็นประจำ นั่ง พิจารณาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เพียงเท่านั้นเป็นประจำ ไม่ได้ปฏิบัติเข้ากลางของกลาง และดับหยาบไปหาละเอียดให้ไปถึงสุดละเอียด หลายท่านก็สอนกันว่านี่เป็นนิมิตหลอกนิมิตลวง ให้ปฏิเสธเสีย เพราะว่าเขาไม่รู้วิธีเข้ากลางของกลาง และดับหยาบไปหาละเอียดไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและไปถึงพระนิพพาน ก็เลยนึกว่านี่เป็นนิมิตหลอก ตัดทิ้งซะ ไม่เอาซะเลย เมื่อไม่เอา ก็ไม่มีฐานที่ตั้งของจิตที่มั่นคง จิตไม่มีฐานที่ตั้งที่จะเป็นสมาธิได้แนบแน่นมั่นคงเพื่อปฏิบัติเข้ากลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียดไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย ไม่มีฐานอันมั่นคง เมื่อไม่มีฐานมั่นคงก็ไปไม่ถึงธรรมกาย ไม่ถึงพระนิพพาน แต่ว่าคุณธรรมของท่านบรรลุได้ ละกิเลสท่านก็ทำได้ แต่ว่าที่จะถึงธรรมกายไปถึงพระนิพพานท่านยังทำไม่ได้ เพราะท่านเห็นธรรมกายเมื่อไหร่ ก็ปฏิเสธว่าเป็นนิมิต ก็เท่ากับเลื่อยหรือตัดขาเก้าอี้ที่ตนนั่ง

    อีกท่านหนึ่งนั่นเป็นระดับลูกศิษย์ในสำนักหนึ่ง นั่งภาวนาทีไรเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป เพราะอาจารย์ท่านสอนไว้ว่านั่นเป็นนิมิต เป็นนิมิตลวง นั่งไปอีกก็เห็นอีก ไม่เอาปฏิเสธเสีย ธรรมจึงไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร ไปติดอยู่แค่นั้น

    เพราะฉะนั้น เรื่องจริงๆ ก็มีอยู่นิดเดียวเท่านั้นละครับว่า บางท่านอาจจะถือกันมาผิดๆ จากเจตนาที่พระอาจารย์ท่านสอน จากประสบการณ์ จากที่เคยได้ยินได้ฟังมา พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ท่านได้เห็นดวงกสิณของท่านดวงใหญ่ พอท่านเห็นแล้ว ตอนแรกๆ ท่านก็ตามดูกสิณนั้นไป เห็นเข้าไปเรื่อยๆ ดูตามไปก็เห็นต่างๆ นานา เห็นเหมือนกับระลึกชาติ ไปเห็นชาติเก่าบ้าง ชาติใหม่บ้าง อนาคตบ้าง อะไรบ้าง ท่านก็ดูตามไปๆ เรื่อยๆ เห็นอะไรต่อมิอะไร หนักเข้าๆ ก็เห็นจะไม่ได้เรื่อง ท่านก็เลยบอกว่า โอ! นี่ไม่มีประโยชน์ นิมิตไม่มีประโยชน์ ท่านก็ตัดทิ้ง คือ ท่านปฏิเสธ ฟังให้ดี แปลว่าท่านปฏิเสธนิมิตลวงที่เห็นปรากฏอยู่ข้างนอก ซึ่งถูกต้อง ไม่ผิด ท่านปฏิเสธนิมิตลวง เพราะนั่นยังไม่ใช่ของจริง เพราะไม่ได้เข้ากลางของกลาง ณ ภายใน ต่อเมื่อภายหลังท่านปฏิบัติไปๆ เมื่อท่านได้ทำใจให้หยุดนิ่งสนิทจนใจสงบที่ศูนย์กลางกาย ท่านก็ได้ดวงพุทโธนะ ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” ได้เคยอ่านประวัติท่าน ได้เคยอ่านประวัติ ตอนที่ท่านไปอยู่ป่าเขา ชาวเขาถามท่าน (หลวงพ่อมั่น) ว่า “ตุ๊เจ้าเดินหาอันหยัง ?” เพราะตุ๊เจ้าเดินจงกรมอยู่เรื่อยๆ ท่านตอบว่า “หาดวงพุทโธ” ความจริงท่านก็เดินจงกรม ใจท่านหยุด ท่านก็รู้ พิจารณาไปข้างใน ทีนี้พวกชาวเขาก็ถามท่านว่า แล้วก็อย่างพวกเขานี่ เขาจะหาดวงพุทโธได้ไหม ? ท่านก็บอกว่า ได้ มาซิ แล้วท่านก็แนะนำกัมมัฏฐานให้ แต่จะได้เท่าไหร่ ได้ผลเท่าไรก็ไม่ได้เล่าให้ฟัง นี้เป็นประวัติของท่าน มีอยู่ในหนังสือ ท่านเรียกดวงธรรม ณ ภายในนั้นว่า “ดวงพุทโธ”

    เพราะฉะนั้น บรรดาระดับอาจารย์ที่ท่านเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง เมื่อท่านเจริญอานาปานสติ ใจหยุดลมหยุดที่ศูนย์กลางกาย ก็เห็นเป็นดวงใสเหมือนกันหมดไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้นท่านจะสอนลูกศิษย์ลูกหาต่อไปว่า ให้เอามาพิจารณา ณ ภายใน อย่าให้อยู่ข้างนอก เหมือนกันหมด ท่านให้เอานิมิตมาพิจารณาข้างในทั้งนั้นนั่นแหละ แล้วผู้ปฏิบัติก็จะรู้ทางสายกลางไปเอง แต่สำหรับพระอริยเจ้าท่านไม่เอามาพูดมาก ก็เลยขอกราบเรียนพระคุณเจ้าไว้เพียงเท่านี้ว่า ไม่ได้แตกต่างกันหรอก เหมือนกันแหละ ทำไปเถอะ แล้วก็จะไปที่เดียวกันนั้นแหละ ไม่ไปไหนหรอก เพราะทุกคนก็มุ่งนิพพาน ซึ่งในทางปฏิบัติจักต้องผ่านทางสายเอก และทางสายกลาง ตรงกลางของกลางธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ ใจตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ของแต่ละกาย จากสุดหยาบไปจนสุดละเอียดทั้งสิ้น จะไปไหนรอด พอถึงจุดหนึ่งก็ไปทางเดียวกันนั่นแหละ แต่ทีนี้ลูกศิษย์ลูกหาบางท่านนี่แหละ ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด ตรงที่ว่า นิมิต(ลวง)ไม่ให้ถือ และยิ่งเมื่อเห็นอะไรเป็นนิมิตไปหมด ก็เลยปฏิเสธหมด เมื่อปฏิเสธหมด ก็ไม่มีฐาน ปฏิเสธนิมิต จิตก็ไม่มีฐานที่ตั้ง เหมือนยิงจรวดไม่มีฐานที่มั่นคง จะไปได้สักเท่าไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสอยู่ในฉักกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า


    เมื่อภิกษุไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จะยังสัมมาทิฏฐิ (คือความเห็นชอบ) แห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จะยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผล ให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลาย (คือหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง) ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้ เป็นได้เลย

    ทีนี้ เดี๋ยวพระคุณเจ้าหรือญาติโยมอาจจะสงสัยนิดหนึ่ง ตรงที่ว่า ตรงนี้พระพุทธองค์ ทรงแสดงว่าทำนิพพานให้แจ้งจะต้องละสังโยชน์ได้ทั้งหมด นั่นหมายถึงคุณธรรมพระอรหันต์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมบอกว่า คนนั่งภาวนาถึงธรรมกาย ถึงนิพพานเห็นนิพพานได้ ? ตรงนี้เป็นวิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลสชั่วคราว และคำว่า “รู้แจ้ง” นั้น ถ้ายังไม่เป็นพระอริยเจ้าก็แจ้งน้อยกว่าพระอริยเจ้า แต่ก็ถึงประตูรู้เส้นทางจะไปแล้ว ได้สัมผัสทั้งสังขารและ วิสังขารแล้ว ว่ามีลักษณะหรือสามัญญลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ก็เพียรปฏิบัติไป เมื่อบารมีเต็มก็หลุดพ้นโดยสิ้นเชิงได้ เรื่องก็เป็นอย่างนี้ การเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายและพระนิพพาน แม้จะยังไม่หมดกิเลสโดยสิ้นเชิงก็หลุดพ้นได้ชั่วคราวด้วย “วิกขัมภนวิมุตติ” การหลุดพ้นมีตั้งหลายระดับ ระดับด้วยการข่มกิเลสทำได้ มีได้ แต่ว่าอวิชชาจะหมดหรือไม่หมดโดยสิ้นเชิง อวิชชาก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะจิตไม่สังขาร และเมื่อปฏิบัติภาวนาดับหยาบไปหาละเอียด ถูกเครื่องรู้เห็น คือ ทิพพจักษุ ทิพพโสตของกายทิพย์ ละเอียดยิ่งขึ้นไปจนถึงญาณทัสสนะของธรรมกายซึ่งเชื่อมต่อถึงกัน พอให้รู้ พอให้เห็น พอให้ได้สัมผัส พอเข้าใจสภาวะพระนิพพาน ได้ด้วยอาการอย่างนี้ แต่คำว่ารู้แจ้งหรือ “ทำนิพพานให้แจ้ง” ได้จริงๆ นั้น หมายเอาคุณธรรมพระอรหันต์ ท่านรู้แจ้ง ไม่มีอะไรปิดบังท่านในเรื่องของพระนิพพาน เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,553
    [​IMG]


    ทำไมถึงเรียกว่า “ศูนย์” ตรงนั้น เวลาสัตว์ไปเกิดมาเกิดแล้วก็มาอยู่ในที่สิบ อยู่ในกลางดวงนั้น กายละเอียดอยู่ในกลางดวงนั้น เมื่อพ่อแม่ประกอบธาตุธรรมถูกส่วนเข้าแล้วก็ตกศูนย์ทีเดียว พอตกศูนย์ก็ลอยขึ้นมา ลอยขึ้นมาเหนือกลางตัว ๒ นิ้ว โตเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า นี่มันจะเกิดละ ตรงนั้นเรียกว่า ศูนย์

    ศูนย์นั้นเป็นสำคัญนัก จะเกิดมาในมนุษย์โลกก็ต้องเกิดด้วยศูนย์นั้น จะไปนิพพาน ก็ต้องเข้าศูนย์นั้นไปเหมือนกัน จะไปสู่มรรคผลนิพพานก็เข้าศูนย์นั้นเหมือนกัน แบบเดียวกัน

    จะตายจะเกิดเดินตรงกันข้าม ถ้าว่าจะเกิดก็ต้องเดินนอกออกไป ถ้าว่าจะไม่เกิด ก็ต้องเดินเข้าไป กลางเข้าไว้ หยุดเข้าไว้ ไม่คลาดเคลื่อน

    ข้อแนะนำ

    ทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น อันจะเป็นเครื่องสกัดกั้นมิให้เกิดความอยากมากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการปฏิบัติบังเกิดผลแล้ว ให้หมั่น ตรึกระลึก นึกถึงอยู่เสมอ จนกระทั่งดวงปฐมมรรคกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับลมหายใจ หรือนึกเมื่อใดเป็นเห็นได้ทุกที อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จและความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้า ไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย

    ข้อควรระวัง

    ๑. อย่าใช้กำลัง คือไม่ใช้กำลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่นไม่บีบ กล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว เพราะการใช้กำลังตรงส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจาก ศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น

    ๒. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติ มิให้ เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิต เมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การ บังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตก ของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้

    ๓. อย่ากังวล ถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการ ฝึกสมาธิเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย อาศัยการน้อมนึก อาโลกกสิณ คือ กสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อ เกิดนิมิตเป็นดวงสว่าง แล้วค่อยเจริญวิปัสสนาในภายหลัง จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออก แต่ประการใด

    ๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์ กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้าย ฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจ บริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้ว ใสควบ คู่กันตลอดไป

    ๕. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...