การบรรยายพิเศษทางวิชาการเรื่อง สมองกับสุขภาพจิต

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย NUI, 28 พฤศจิกายน 2004.

  1. NUI

    NUI เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    389
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +983
    การบรรยายพิเศษทางวิชาการเรื่อง สมองกับสุขภาพจิต
    โดย นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
    วันที่ 27 มีนาคม 2546 เวลา 13.30-14.30 น.
    ณ ห้องทับทิม โรงแรมรัตนโกสินทร์

    ผมยินดีเป็นอย่างมากที่ได้มาเป็นผู้ที่ร่วมในการอภิปรายในวันนี้ ตอนที่ติดต่อกัน ก็ถามว่าทำไมถึงเสนอเรื่องสุขภาพจิตกับการป้องกันการฆ่าตัวตาย ตอนนั้นมีเรื่องฆ่าตัวตายมาก ปรากฏว่ากาลเวลาผ่านมาตอนนี้ข่าวหน้าหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องการฆ่าตัวตายแต่เป็นเรื่องของยาเสพติด ผมคิดว่าวันนี้น่าจะเป็นโอกาสที่ดี่ที่จะพูดในเรื่องวิชาการสุขภาพจิต เรื่องสมองกับสุขภาพจิต กับเรื่องที่เรากำลังทำอยู่ คือ สุขภาพจิต และจะพยายามยึดโยงเรื่องนี้เข้ากับหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของยาเสพติด เรื่องของการฆ่าตัวตาย แล้วก็เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    เรารู้ว่าสมองมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มานาน แต่ว่าปั_หาที่เราให้ความสนใจก็คือว่า ระยะหลังมีความเติบโตทางด้านองค์ความรู้ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่สมัยก่อนเราเรียกว่า จิต ว่าจะต้องมีกลไก หรือโครงสร้างการทำงาน ฉะนั้น จิตที่ปกติ และจิตที่แปรปรวน โครงสร้างในการทำงาน มีการศึกษาวิจัยในเรื่องของสมองเยอะมาก วันนี้จะนำองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในเรื่องของสมองว่าจะมีผลต่อการทำงานในด้านสุขภาพจิตอย่างไรบ้าง และจะยกกรณีศึกษา 2 เรื่อง คือเรื่องยาเสพติด ภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย มาเป็นส่วนที่ทำให้เห็นภาพของอิทธิพลตัวนี้ชัดเจนขึ้น

    สมองของมนุษย์ จะมีลักษณะพิเศษต่างจากสมองส่วนอื่น ๆ สมองมี 2 ซีก ๆ ขวา และซ้าย และตรงกลาง ถ้าเราเปิดสมองออกมา จะเห็น Lymbic System เป็นสมองส่วนโบราณของสิ่งมีชีวิต ก็คือว่านับแต่สิ่งมีชีวิตได้พัฒนามาจากสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ขึ้นมาเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังขั้นแรกคือปลา สมองส่วนนี้จะเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ และมีอยู่ในทุกชนิด มันจะโตมากในสัตว์เลื้อยคลาน ฉะนั้นบางทีถ้าท่านไปดูในตำราเขาจะเขียนว่า Repterien หรือ Repti brain เป็นสมองสัตว์เลื้อยคลาน สมองส่วนนี้ทำหน้าที่ในสัตว์ชั้นต่ำกว่ามนุษย์ มันจะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราเรียกว่า อารมณ์ สั_ชาติ_าณ ความอยาก อะไรทั้งหลายทั้งหมดจะอยู่ใน function ของสมองส่วนนี้ ในจรเข้ หรือ ตะเฆ่ สมองส่วนนี้จะเป็นสมองส่วนหลัก ก็จะมีสมองให_่โป๊ะขึ้นมาจำนวนหนึ่งไม่มากนัก ในมนุษย์จะเป็นสัตว์ประเภทเดียว แม้กระทั่งในระหว่างสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยด้วยกัน ที่สัดส่วนของสมองให_่คือที่คลุมอยู่ทั้งหมดเป็นสมองที่มีสัดส่วนเมื่อเทียบกับสมองส่วนที่เราเรียกว่าเป็น Lymbic System หรือ เป็น Reptarien brain มีสัดส่วนมากที่สุด ฉะนั้นเวลาพูดถึงความอยาก ความก้าวร้าว ความสามารถในการควบคุมตัวเอง สมองของเขาทำงานแบบที่เราเรียกว่า Reptarien brain หรือสมองส่วนเลื้อยคลานมาก ธรรมชาติของสมองส่วนคิด กับส่วนเลื้อยคลาน นั้นมีวิธีการทำงานที่ต่างกัน สมองส่วนที่เป็น Lymbic System หรือสมองเลื้อยคลาน นั้นจะทำงานโดยอาศัยสิ่งที่ เราเรียกทฤษฏีจิตวิทยาว่า classical conditioning ก็คือการทำงานโดยอาศัยตัวกระตุ้น ขอให้นึกถึงสุนัขทดลองของพาฟรอฟ ที่ว่าพอได้กลิ่นของเนื้อ หมาก็น้ำลายไหล ต่อมาเขาก็สั่นกระดิ่ง พร้อมกับการที่ได้ชิ้นเนื้อในที่สุดเขาสั่นกระดิ่งอย่างเดียว หมาก็น้ำลายไหล ฉะนั้น Reptarein brain มันก็จะทำงาน หรือว่าสมองส่วนนี้ที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า สมองส่วนอยาก และเรียกสมองส่วนให_่ที่เป็นตัวใช้เหตุผลว่า สมองส่วนคิด เวลาสัตว์หรือจะใช้สมองส่วนอยากเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม หิวก็จะแย่งชิงอาหาร ล่าเหยื่อ ถ้าเหยื่อนั้นถูกขัดขวาง เขาก็จะต่อสู้ พฤติกรรมทั้งหมดนี้ถูกผลักดัน โดยสั_ชาติ_าณ ก็คือตัว Reptarien brain (สมองส่วนอยาก) เวลาถึงฤดูผสมพันธ์ มันจะมีฮอร์โมนเพศขึ้นไปย้อมสมองส่วนอยากแล้วก็กระตุ้นให้มีความต้องการทางเพศ สัตว์ก็จะมีเพศสัมพันธ์กัน โดยที่ไม่สนใจต่อสัตว์อื่น ๆ

    แต่ทำไมคนจึงไม่เป็นเช่นนั้น คนเมื่อหิวข้าวจะทำมาหากินเลี้ยงชีพโดยชอบ เข้าแถวซื้ออาหารทานอย่างไม่ตระกระตระกราม ทำไมเวลาคนมีความต้องการทางเพศ จึงพัฒนาเป็นความรัก มีการหมั้นหมาย แต่งงาน การมีเพศสัมพันธ์ก็จะเกิดขึ้นในกรอบของขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น ที่พูดมาทั้งหมดเพื่อจะชี้ให้เห็นว่าวิธีทำงานของคนกับสัตว์ไม่เหมือนกัน

    วิธีทำงานของคน เป็นลักษณะการใช้สมองส่วนคิด คือตัว cerebral cortex ควบคุมสมองส่วนอยาก คือ Lymbic System ในสัตว์ก็จะตรงกันข้ามก็คือสมองส่วนอยากควบคุมสมองส่วนคิด ฉะนั้น สัตว์ก็จะผลักดันไปโดยสั_ชาติ_าณเป็นสำคั_ เรื่องของสมองส่วนอยาก สมองส่วนคิด ในฐานะเป็นวิวัฒนาการสำคั_ของกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ถ้าถามว่าหัวใจคนต่างจากหัวใจหมูหรือไม่ ตอบได้ว่าไม่ต่าง มีอยู่ยุคหนึ่งที่เอาหัวใจหมูมาใส่หัวใจคน ในยุคทียังไม่มีหัวใจเทียม หัวใจควายกับเราก็ไม่ค่อยต่างกัน กล้ามเนื้อก็ไม่ต่างกัน อวัยวะต่าง ๆ โดยหลักพื้นฐานก็ไม่ต่างกัน ฉะนั้น ความเป็นมนุษย์ ส่วนที่ต่างที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วก็คือ สมอง นั่นเอง ถึงตอนนี้เราคงได้เห็นภาพชัดเจน

    ความสัมพันธ์ระหว่างสมองส่วนคิดกับสมองส่วนอยาก มันมีส่วนต่อสุขภาพจิตหลายมิติ ผมจะให้ดู ใน 3 มิติ

    มิติที่ 1 ดูเรื่องยาเสพติด
    มิติที่ 2 ดูเรื่อง การซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
    มิติที่ 3 ดูเรื่องความก้าวร้าว รุนแรง


    พฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสมอง 3 ส่วนนี้อย่างไรบ้าง
    มิติที่ 1 เรื่องของยาเสพติด ถามว่า ทำไมเด็กถึงติดยา ท่านลองให้เหตุผลในกระดาษสัก 3 ข้อ ผมให้เวลา 1 นาที ท่านเชื่อไหมว่า ผมมีเจโตปริ__าณ คือรู้ใจท่าน สิ่งที่ท่านเขียนจะมีข้อความต่อไปนี้

    อยากรู้อยากลอง
    เพื่อนชวน
    ครอบครัวมีปั_หา
    เรียนหนังสือไม่เก่ง
    ประชด


    ผมเดาใจท่านถูก แต่ท่านตอบผิด ในการศึกษาวิจัยทั่วโลกได้ข้อสรุปแล้วว่า ปัจจัยเหล่านี้ไม่ใช่ส่วนสำคั_ของการติดยาแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการใช้ยาครั้งแรก ถ้าจะบอกว่าปัจจัยใดที่ทำให้เด็กไปลองยา สัมผัสยา ที่ท่านตอบมาถูก แต่ถ้าบอกว่าปัจจัยใดที่ทำให้เด็กติดยา ที่ท่านตอบผิดหรืออย่างน้อยก็ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ เราพบว่าปัจจัยที่กล่าวถึงทำให้เด็กสัมผัสยาหนแรก แต่ว่าตั้งแต่ยานี้เข้าไปอยู่ในร่างกายมันจะออกฤทธิ์ที่สมอง และเมื่อมีการใช้ครั้งที่ 2 3 4 5 ไปเรื่อย ๆ มันก็จะเกิดกระบวนการอย่างหนึ่งที่ทางวิชาการเรียกว่า กระบวนการสมองติดยา ๆ เป็นอย่างไร ? ยา เช่นยาบ้า เมื่อเราสูดควันเข้าไป มันก็จะผ่านกระแสเลือดเข้าสู่สมอง ก็จะไปออกฤทธิ์อันดับที่ 1 คือออกฤทธิต่อ Lymbic System หรือสมองส่วนอยาก การสูดควันจะทำให้ฤทธิ์ยาถึงสมองรวดเร็วและปริมาณความเข้มข้นสูง ยาที่มีความเข้มข้นสูงก็จะกระตุ้น ทำให้เกิดฤทธิ์ของยาเสพติดตามประเภทของมัน ทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข และอาการกระตุ้นสมองจากปฏิกิริยาของยา การออกฤทธิ์หลักก็คือการกระตุ้นสารเคมีในสมองส่วน Lymbic System ตัวหนึ่งที่เราเรียกว่า โดพามีน การกระตุ้นของสารตัวนี้ ก็จะเริ่มทำให้คนเราเกิดกระบวนการที่สมองส่วนอยากเริ่มมีอิทธิพลเหนือสมองส่วนคิด ก็คือสมองเริ่มตอบสนองตัวกระตุ้นมากกว่าเหตุผล คือสมองทำงานด้วยตัวกระตุ้น คือ Lymbic System มากว่า Cerebral Cortex หรือสมองส่วนเหตุผล ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นและขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเด็กใช้ยาต่อเนื่องกันหลาย ๆ ครั้ง ก็เหมือนที่ยกตัวอย่างกระบวนการของพาฟรอฟ คือตอนแรกเขาเสพยาเขาได้ฤทธ์ที่ดี ต่อมาสมองส่วนอยากมันเชื่อมโยงความสุขหรือความพอใจที่ได้จากยาเสพติด กับตัวกระตุ้นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน เช่น เห็นเม็ดยา เห็นเพื่อนที่เสพยาอยู่ในห้องที่ใช้ยา อารมณ์ที่เคยกำลังใช้ยา เช่นอารมณ์สนุก อารมณ์เหงา ทุกอย่างนี้จะทำหน้าที่เหมือนเสียงระฆัง คือทำให้เกิดอาการอยากยา ฉะนั้น เริ่มต้นจากการใช้ยา และฤทธิยานั้นเองทำให้เกิดอาการพอใจ แต่เมื่อมันกระตุ้นสมองส่วนอยาก จนกระทั่งสมองส่วนอยากเริ่มกลายเป็นสมองส่วนที่ติดยาแล้ว สมองส่วนอยากก็จะเริ่มเกิดอาการอยากยา โดยเชื่อมโยงกับตัวกระตุ้นต่าง ๆ และนี้คือสาเหตุที่ทำให้คนไข้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ก็จะเกิดการอยากยา และขโมยเงินพ่อแม่ ถ้าถามว่าเด็กคนนี้ก่อนนี้เคยขโมยเงินพ่อแม่ไหม ส่วนให_่ไม่เคยขโมย เขาไม่ใช่ขโมยโดยสันดาน เขาจะเริ่มต้นขายยาให้เพื่อน เพื่อให้ได้เงินมาเสพยา ถามว่าเด็กคนนี้ค้ายา เขาเป็นอาช_ากรโดยสายเลือดไหม ตอบได้ว่าไม่ได้เป็นแต่ว่าด้วยความอยากยา เขาต้องได้ยามาเสพ สมองส่วนอยากจะมีอิทธิพลมากกว่าสมองส่วนคิด เหตุผลที่เด็กมีจะถูกครอบงำด้วยความอยาก เด็กบางคนยอม ขายตัว บางคนยอมที่จะเข้าไปอยู่ในแก๊งอาช_ากร บางคนเริ่มหนีโรงเรียน เสพยามากขึ้น ถ้าจะถามว่าเด็กทุกคนรู้ไหมว่ายาเสพติดไม่ดี รู้แต่ความรู้นั้นไม่มีประโยชน์ เพราะมันถูกควบคุมด้วยสมองส่วนอยาก ดังนั้นฤทธิ์ประการที่ 1 คือ ทำให้สมองส่วนอยากเริ่มควบคุมสมองส่วนคิด ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า สมองติดยา ๆ ทำให้คนไข้ไม่สามารถหยุดยาได้ด้วยตัวเอง เป็นภาวะป่วยที่แท้จริงเราสามารถจะพิสูจน์ได้ทางด้านของสรีรจิตวิทยา เช่น การ Scan สมอง ดูว่าสมองของคนที่ติดยาต่างจากสมองของคนทั่วไป สิ่งนี้เป็นข้อค้นพบที่แน่นอน ความล้มเหลวในการรักษายาเสพติดในอดีต ก็คือ เราเข้าใจว่าการหยุดยาได้คือการหายจากการติดยา ในการวิจัยระยะหลังพบว่า ไม่จริง สมองเมื่อติดยาแล้วมันก็จะติดอยู่อย่างนั้น และการจะหายได้ก็ด้วยการหยุดใช้ยาต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 ปี สมองจึงจะเริ่มฟื้นสภาพจากการติดยา นั่นแปลว่าการรักษาใด ๆ ที่ไม่ได้ดูแลเด็กของเราจนครบ 1 ปี ให้เขาปลอดจากการใช้ยา การรักษานั้นจะประสบความล้มเหลว

    กระบวนการของการติดยาจะแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ เริ่ม จากจากการใช้ยาก่อน เด็กใช้ยาเพื่อความสนุก อยากรู้อยากลอง ตอนนั้นสมองยังไม่ติดยาเป็นการใช้ครั้งแรก ๆ ต่อมาเพื่อเสพหลายๆ ครั้ง จนสมองติดยา ก็จะเข้าสู่ ขั้นตอนที่สอง คือระยะเสพ คือการเสพเมื่อหวังผลโดยตรง แต่ยังไม่ใช้ยาประจำ เมื่อก้าวเข้าสู่ ระยะที่สาม คือระยะติดยา คือต้องเสพเป็นประจำทุกวัน และสมองติดยาจนถึงขั้นรุนแรงจนไม่สามารถทำงาน หรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ และลงเอยด้วย ระยะสุดท้าย คือระยะวิกฤติ คือระยะที่เริ่มมีอาการหวาดระแวง ทำร้ายพ่อแม่ จับเด็กเป็นตัวประกัน ปีนขึ้นเสาไฟ เพราะความหวาดกลัว สุขภาพร่างกายเสื่อมขนาดหนัก ส่วนให_่เด็กของเรายังอยู่ในวัยเรียน โดยมากก็จะอยู่ในช่วงสมองติดยาระยะต้น คือเป็นระยะเสพ ถ้ารุนแรงมากขึ้นก็เข้าสู่ระยะติด แต่ระยะวิกฤตไม่ค่อยมี เพราะการอยู่ในระบบโรงเรียน ก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะดึงเด็กไว้ไม่ให้มีการเสพรุนแรงมากไป โดยมากภาวะวิกฤตจะเป็นกรณีที่อยู่ในชุมชน เมื่อเขาจะหายจากการติดยา สมองจะหายเป็น 3 ระยะ

    ระยะแรก เรียกระยะอาการหยุดยา ใช้เวลา 1 เดือน เด็กจะเริ่มต้นจากการมีอาการหยุดยา ฤทธิ์ยาอะไรก็จะออกฤทธิ์แบบตรงกันข้าม เช่น จะซึม เซ็ง เบื่อ นอน จากฤทธิ์กระตุ้นมาเป็นฤทธิ์กด

    ระยะที่ 2 เรียกระยะยืดเยื้อ ใช้เวลา 4 เดือน

    ระยะสุดท้าย เรียกระยะปรับตัว ระยะ 4-12 เดือน

    ถ้าเด็กสามารถผ่าน 3 ระยะนี้ได้โดยไม่มีการใช้ยาอีก สมองก็จะคืนสภาพจากการติดยา กลับมา คล้าย กับสมองปกติ แต่ถ้าในระหว่าง 1 ปี เด็กกลับเสพยาซ้ำ สมองจะจดจำยาที่ได้รับซ้ำกลับมาเป็นการติดยาเหมือนเดิม สมมุติว่าเด็กคนหนึ่งติดยา แพทย์ดูแลอยู่ 4 เดือน พอเดือนที่ 5 แกไปเสพยา เท่ากับกลับมาติดใหม่ เราเรียกว่าการติดยาซ้ำ สมมุติว่าเด็กติดยาและพาไปเข้าค่าย 9 วัน พอวันที่ 11 อยู่บ้านถูกแม่ด่า 1 ครั้ง กลับไปเสพยาซ้ำ เขาไม่เรียกว่าติดยาซ้ำ แต่เรียกว่า ใช้ยาต่อเนื่อง

    ในศาสตร์ด้านสมอง การใช้ยาเสพติดภายใน 1 เดือน เรียกว่าการใช้ยาต่อเนื่อง สมองจะไม่ได้พักเลย ฉะนั้นการ เข้าค่าย 9 วัน คือไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าเว้นการใช้ยานานกว่า 1 เดือน แล้วกลับมาใช้ยา สมองจะตอบสนองในลักษณะที่ว่าการใช้ยาซ้ำ คือสมองส่วนอยากควบคุมสมองส่วนคิดเหมือนเดิม

    ถ้าถามว่ากระบวนการรักษายาเสพติดปัจจุบันคืออะไร หัวใจของกระบวนการรักษาปัจจุบันก็คือ ทำให้สมองส่วนอยากกลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนคิดใหม่ การจะทำอย่างนี้ได้ มีเพียง 2 ทางคือ

    สมองส่วนอยากจะต้องไม่ได้รับยาอีก
    จะต้องพัฒนาสมองส่วนติดขึ้นมา ควบคู่กันกับไม่ให้สมองส่วนอยากได้รับอาการ (ยาเสพติด) ของมันอีก
    ถามว่าวิธีการอย่างไร หลายท่านในที่นี้เป็นอาจารย์แนะแนว ตอนนี้ก็คงรู้จักโปรแกรมหนึ่งเรียกว่า จิตสังคมบำบัดในโรงเรียน เป็นโปรแกรมที่กรมสุขภาพจิตทำร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโปรแกรมที่ทำหลักนี้มาใช้ในโรงเรียน เพื่อให้เด็กสามารถได้รับการบำบัดอยู่ในโรงเรียน ไม่ไปโรงพยาบาลซึ่งเป็นโปรแกรมการรักษาที่ดีที่สุด คือการอยู่ภายในบริบททางสังคมของตนเอง ในกระบวนการนี้เขาจะเน้นวิธีการบำบัดที่ให้สมองส่วนคิดกลับมาควบคุมสมองส่วนอยากที่สำคั_ 2 ประการ

    ทำให้สมองส่วนคิดควบคุมตัวกระตุ้น หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น ไม่ให้พบตัวกระตุ้น เราจะมีกระบวนการกลุ่ม ให้เด็กวิเคราะห์ตัวเองว่า อะไรคือตัวกระตุ้นให้ตัวเองอยากยาอย่างรุนแรง เช่น ถ้าเจอนาย ก. ก็จะ อยากยา อยู่ในห้องแบบนี้แล้วอยากยาวันไหนที่เซ็ง อยากยา ตัวกระตุ้นมีทั้ง ภายใน ภายนอก เขาจะให้วิเคราะห์ตัวกระตุ้น แล้วลำดับความสำคั_ แล้วเอาตัวกระตุ้นที่รุนแรงเหล่านี้ ให้เด็กวางแผนชีวิต เด็กจะต้องวางแผนชีวิตว่าวันหนึ่ง ๆ ตนจะต้องไม่พบหน้านาย ก. เพราะถ้าพบ จะเสี้ยนยา
    การหยุดยา หยุดความคิดถึงยาได้ ไม่อยากยา เด็กก็จะสามารถหยุดยาได้ แต่เมื่อไรปล่อยไปถึงขั้นอยากยา เสี้ยนยา เด็กจะไม่สามารถหยุดตัวเองได้ เทคนิคอีกอย่างคือ ถ้าหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นไม่ได้ เกิดความคิดถึงยา ก็ต้องมีเทคนิค การหยุดคิดถึงยา ก็จะทำให้ไม่อยากยาไม่ต้องใช้ยา เทคนิคการหยดคิด (Thought Stopping Technique) มีหลายวิธี ๆ หนึ่งที่ชาวพุทธรุ้จักดีคือ สมาธิ เวลาที่เรามีใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ความคิดต้องหยุด สมาธิเป็นวิธีที่ดี แต่อนิจจาสมองของผู้ติดยาบางทีฝึกสมาธิไม่ได้ ต้องมีกลยุทธอย่างอื่น เราจึงต้องสอนหลาย ๆ กลยุทธให้กับเด็ก เช่น
    - วิธีจินตนาการ ให้เด็กหลับ เมื่อเด็กคิดถึงยาเมื่อไรให้คิดถึง cut out ซึ่งอยู่ตรงสั__าณเปิด กด cut out คือปิด ช่วงจินตนาการจากเปิดเป็นปิดสวิท ก็จะช่วยให้หยุดการคิดถึงยาได้ เด็กก็จะหลุดออกจากวงจร

    - อีกวิธีหนึ่งโหดหน่อยคือเอาหนังสติ๊กเส้นหนา ๆ ใส่ไว้ที่ข้อมือ ถ้าบังเอิ_หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นไม่ได้ เจอตัวกระตุ้นเกิดความคิดถึงยา ก็ง้าง ๆ แล้วปล่อย จังหวะที่เจ็บจี๊ดขึ้นมา ความคิดก็จะกระโดดหายไป หรือไม่ก็พยายามโทรศัพท์ไปหาใครสักคนที่มีความสำคั_มาก ๆ พอได้คุยได้พูด ความคิดอยากยาก็จะหายไป

    กลยุทธ ที่เขาใช้เพื่อจะให้หยุดการคิดถึงยา สูตรคือ ตัวกระตุ้น หยุดคิดถึงยา อยากยา ใช้ยา 2 ตอนหลังแก้ไม่ได้เคิฟมันตก ต้องแก้ตรงตัวกระตุ้นฝึกให้สมองส่วนคิดเริ่มวางแผนชีวิต การเรียนรู้ตัวกระตุ้นและการวางแผนชีวิต กลยุทธที่ 2 คือหยุดความคิดถึงยาให้ได้ ถ้าหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นไม่ได้ สุดวิสัยที่จะหลีกเลี่ยง และเกิดความคิดถึงยาขึ้นมา ก็ให้มี Thought Stopping คือการหยุดคิดถึงยา นี่ก็เป็นตัวอย่างของการเข้าใจกระบวนการของสมองและการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์

    ปัจจุบันในกระบวนการการรักษาเรื่องยาเสพติดได้ผลดีขึ้นมากเรื่อย ๆ ในทั่วโลกด้วยความเข้าใจตัวนี้ ทำให้การรักษาผู้ติดยาได้มากขึ้น นี่เป็นส่วนที่สำคั_ แต่อย่าลืมว่ากระบวนการรักษาเหล่านี้จะต้องครอบคลุมการรักษาถึง 1 ปี และระยะ 1 ปี ระยะที่สำคั_ที่เราพบคือเด็กส่วนให_่จะหันกลับไปใช้ยาซ้ำใน 4 เดือนแรก ฉะนั้นการรักษามีเข้มข้นที่แท้จริง คือ 4 เดือนแรก สำหรับเด็กที่ติดยา สำหรับเด็กที่เสพยา และระยะที่สำคั_ที่สุดคือระยะ 2 เดือนแรก ดังนั้น จิตสังคมบำบัดในโรงเรียนจะใช้เวลา 2 เดือนแรก เน้นกับเด็กที่เสพ เด็กที่ติดก็ทดลอง programe นี้ได้ เพราะโรงเรียนมีระบบชีวิตสังคมที่ทำให้เด็กสามารถจัดตาราง และหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นได้ง่าย เขาจึงควรจะบำบัดรักษาในโรงเรียน ถ้า 4 เดือนแรกเขาสามารถที่จะหยุดยาได้ โอกาสที่จะหยุดยาได้มีถึง 70 - 80 % นี่เป็นตัวอย่างที่ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับสมองกับพฤติกรรมของมนุษย์ มาเป็นส่วนที่ทำให้นำไปสู่กระบวนการที่นำไปสู่การบำบัดรักษาที่ดีได้

    มิติที่ 2

    ภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย เราพบว่าการฆ่าตัวตายของเด็กวัยรุ่นส่วนให_่จะมาจากภาวะ 2 ประการคือ เป็นภาวะซึมเศร้า ทำให้เราเกิดความคิดทางลบ และความคิดทางลบมีรุนแรงจะทำให้กลายเป็นความคิดว่าชีวิตไม่มีค่า และนำไปสู่ ความคิด ฆ่าตัวตาย ๆ นำไปสู่ การกระทำ การฆ่าตัวตาย นี่เป็นสาเหตุประการที่หนึ่ง

    สาเหตุประการที่ 2 เป็นอารมณ์ชั่ววูบ ๆ เนื่องจากความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ควบคุมตัวเองยังไม่ได้พัฒนามากนัก ร่วมกับภาวะของช่วงวัยรุ่นที่แปรปรวนทางด้านอารมณ์ง่ายก็จะทำให้เด็กในภาวะที่ยังไม่มีวุฒิภาวะของเขา หรือยังควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เกิดอาการหุนหันพลันแล่น เช่น กินยาฆ่าตัวตาย หรือกระโดดตึก เทียบกันระหว่าง 2 สาเหตุ ว่าสาเหตุไหนเป็นหลักระหว่างซึมเศร้าและหุนหัน หากผมเดาว่าท่านต้องตอบว่าหุนหัน ท่านตอบผิดอีกแล้ว การศึกษาวิจัยทั่วโลกพบว่าเด็กที่ฆ่าตัวตายส่วนให_่จะเป็นภาวะซึมเศร้า ๆ เป็นภาวะที่คนสนใจมาก ประมาณ 20 ปีก่อน มีทฤษฎี 2 ทฤษฎี ทฤษฎีหนึ่งบอกว่าภาวะซึมเศร้าเป็นกรรมพันธ์ มีงานวิจัยที่ Support ได้จริง ๆ ว่าเด็กที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน เด็กที่เป็นพี่น้องกัน มีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้ามากกว่า ไม่ว่าจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกันหรือต่างกัน ประเทศทางแสกนดิเนเวีย และยุโรป ทางเหนือนั้น มาหลายสิบปีแล้วว่าภาวะซึมเศร้าเป็นโรคทางกรรมพันธ์ ถ้ามีพ่อ แม่ ซึมเศร้า พ่อแม่ฆ่าตัวตาย ถือว่าคนนั้นจะรู้ตัวเองมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

    แต่ก็มีอีกทฤษฎีหนึ่งที่บอกว่า ภาวะซึมเศร้าน่าจะมาจากการเรียนรู้ มาจากภาวะความเครียดเรื้อรัง ทำให้ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง และในที่สุดทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า

    ภาวะซึมเศร้าต่างจากอารมณ์เศร้าอย่างไร สมมุติว่า หมาที่เรารักตาย เรารู้สึกเศร้า คนที่มีความหมายสำหรับชีวิตเราตาย เรารู้สึกเศร้า ความรู้สึกเศร้าจะเป็นอารมณ์ชั่วคราว เช่น เศร้าตอนได้รับข่าว พอไปทำอย่างอื่นก็หายเศร้า คนไทยก็จะมีบรรยากาศจัดงานศพ จัดงาน 7 วัน ระหว่างจัดงานศพจะช่วยให้คลายจากความเศร้าเป็นพัก ๆ เพราะการที่เราพบแขกต้องจัดงานให้กับคนที่เรารัก จะช่วยให้ตัดอารมณ์เศร้าได้จะไม่เศร้าตลอดเวลา ภาวะเศร้าที่เป็นโรคซึมเศร้าที่เป็นสาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย จะต้องเศร้าต่อเนื่องกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ท่านเคยไหม ? หลายคนสั่นหน้าว่า ยังไม่เคย ที่ให้ตอบเช่นนี้ก็เผื่อว่าจะได้ไม่ประมาท เพราะชั่วชีวิตของคนเรามีโอกาสมากที่จะเป็นโรคซึมเศร้า คือเศร้าต่อเนื่องกัน 2 สัปดาห์ ระยะหลังการศึกษาพบว่าอารมณ์เศร้าเกิดได้ทั้ง 2 แบบ คือเป็นผลจากกรรมพันธ์ก็ได้ มีรากฐานของยีน ที่ทำให้คน ๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดอารมณ์เศร้าได้ อีกแบบเป็นผลจากความท้อแท้ ผิดหวัง ความเครียดที่เรื้อรังก็ได้ หรือเป็นแบบที่สามคือลูกผสมคือมีทั้งกรรมพันธ์ และปัจจัยของชีวิตเข้ามาด้วย

    อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะออกมาในลักษณะใด ก็จะมีผลต่อสมองคล้าย ๆ กัน ก็คือสมองส่วนที่ดูด้านอารมณ์คือส่วน Lymbic System ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง ๆ เหล่านั้นก็จะทำให้คนเราคล้าย ๆ กัน ไม่ว่าจะมาจากอารมณ์ซึมเศร้าที่ต่างกัน เช่น คนที่ซึมเศร้าก็จะกินน้อย การควบคุมการกินอยู่ในระบบจำกัด เคลื่อนไหวเชื่องช้า หน้าตาเฉยเมย ไม่มีความต้องการทางเพศ หรือไม่มีความสุขต่อการตอบสนองทางเพศ พวกนี้ภาษาทางจิตแพทย์เรียกว่า Vegetative Symptoms คือหน้าที่ของ Lymbic System คือหน้าที่ในการควบคุมสิ่งที่เป็นไปตามสั_ชาติ_าณ การกิน การนอน การสืบพันธ์ ฉะนั้น คนที่ซึมเศร้าจะมีผลออกมาชัดเจน คือกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ฯลฯ ดังกล่าว ข้างต้น นี่เป็นอาการปกติของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากภายในหรือภายนอก แล้วเริ่มจะมีผลต่อสมองส่วนอยาก เริ่มควบคุมสมองส่วนคิด เริ่มเกิดความคิดทางลบ เริ่มมองโลกในแง่ร้าย ตัวเองเป็นคนไม่มีความสามารถ เดิมเป็นคนมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ต่อมาความเชื่อมั่นในตนเองหายไป ใครอารมณ์เศร้าใน 2 สัปดาห์ แสดงว่ามีอาการของโรคซึมเศร้า อาการซึมเศร้าจะแสดงออก 3 อย่าง

    Function of Lymbic System เสีย อาการออกมาเป็นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ อารมณ์ทางเพศเสีย
    เริ่มครอบงำความคิด : มองโลกในแง่ร้าย ก็จะนำไปสู่การคิดถึงการฆ่าตัวตาย และนำไปสู่การฆ่าตัวตาย
    อารมณ์เศร้า
    ปัจจุบันปั_หาการตายของวัยรุ่น มี 2 ประการเท่านั้นคือ

    อุบัติเหตุ
    การฆ่าตัวตาย
    วัยรุ่นเป็นวัยที่ไม่ควรจะตาย การจะแก้ปั_หาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นก็จะแก้ปั_หา 2 ประการนี้แต่วัยพวกเราคือวัยที่ใกล้จะตาย วัยของพวกเราตายได้ 4 ทาง

    โรคหัวใจ หัวใจวาย
    หลอดเลือดในสมองแตก
    มะเร็ง
    อัลไซเมอร์
    ถ้าถามว่าเรื่องของสารเสพติพกับการฆ่าตัวตายมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ : ขณะนี้ประเทศไทยมีปั_หาความสัมพันธ์ระหว่างยาเสพติดกับการฆ่าตัวตาย นี้เป็นงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ต้องรายงานให้โลกรู้ เพราะทั่วโลกมีความสัมพันธ์ระหว่างสารเสพติดกับการฆ่าตัวตาย แต่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีกอย่างคือความสัมพันธ์ระหว่างยาเสพติดกับการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 3 เดือนนี้ แต่โดยทั่วโลกเราพบว่า คนที่ติดยามีแนวโน้มที่จะมีอาการซึมเศร้าและมีอาการซึมเศร้าสูงกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า สูงกว่าประชากรวัยเดียวกันถึง 20 เท่า

    ผมเคยมี case หนึ่ง พ่อพาลูกมารักษาระยะหนึ่งก็ห่างกันไป เพราะผมไปต่างประเทศหลายปี พอกลับมาผมก็โทรถามพ่อว่า case เป็นอย่างไร พ่อตอบว่าเพิ่งจัดงานศพเพราะติดเฮโรอีน พ่อพยายามรักษาหลายแห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ลูกก็กลับไปเสพซ้ำ พ่อก็พยายามรักษาจนหมดหวัง อิดหนาระอาใจกับลูกคนนี้ วันหนึ่งลูกก็บอกพ่อว่า ต่อไปผมจะไม่ทำให้พ่อลำบากอีกแล้ว พ่อก็ดีใจคิดว่าลูกตั้งใจจะหยุดยาจริง ๆ ปรากฏว่าคำนั้นคือคำลาตายของเขา เขาขึ้นไปบนห้องของเขาฉีดยาเข็มสุดท้ายในขณะที่ over dose โดยตั้งใจให้ตัวเองตาย นี่เป็น case ตัวอย่าง case หนึ่งที่พบ หรือผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง (alcoholism) ติดสุราแล้วฆ่าตัวตายก็เห็นอยู่บ่อย ๆ จะเห็นได้ว่ายาเสพติดก็จะสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายด้วยเพราะคนที่เสพยาเสพติด ลึก ๆ แล้วจะรู้สึกว่าตัวเองหมดหวังเป็นคนที่เข้าใจตัวเองว่าเขาไม่มีทางที่จะเลิกเสพยาได้ เป็นปั_หากับพ่อแม่ เป็นภาระกับสังคม พวกนี้ลึก ๆ ก็เป็นผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

    มิติที่ 3 สมองกับพฤติกรรม ได้พูดเรื่องของการเสพติดและภาวะซึมเศร้า ผมจะยกตัวอย่างที่ extreme น้อยลงว่าในชีวิตของคนเราสมองมีผลต่อพฤติกรรมและพฤติกรรมมีผลต่อสมองอย่างมาก ที่ยกตัวอย่างแล้วว่าการเสพยามีผลต่อสมอง สมองก็เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม เราเจอความเครียด เรื้อรังในที่สุดก็มีผลต่อสมอง และทำให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้นมาได้ เราจะเห็นว่าจะเป็น reciprocal เป็นปฏิสัมพันธ์กลับไปกลับมาระหว่างพฤติกรรมกระทบต่อสมอง ๆ ก็เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมใหม่ นี่คือธรรมชาติ

    ท่านเคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนจึงติดการพนันงอมแงม พอเปิดด่านปุ๊ม ต้องไปมุงเตรียมเข้า ฝั่งเขมรมาฝั่งไทยพอเข้าใจง่าย เขาต้องมาซื้อของ แต่ฝั่งไทยจะเข้าไปเล่นการพนัน ไปเล่นทำไม อดไม่ได้เลยหรือ หรือท่านเคยคิดถึงพฤติกรรมพวกกามวิตถารไหม ? ที่ชอบแอบดูตามหอพัก หรือเสียดสีอวัยวะเพศในรถ โชว์อวัยวะเพศ คนพวกนี้สมองเขาเป็นอย่างไร ทำไมเขาจึงควบคุมพฤติกรรมตัวเองไม่ได้ หรือพวกที่กระโดดบันจี้จั้ม มันเป็นความสุขอย่างไร กระโดดลงมาถึงจุดเสียวจนสุดใกล้ตาย แล้วก็มีความสุข ท่านเคยสงสัยไหมว่า เอ๊ะ มนุษย์ทำอะไรกัน เรื่องนี้เป็นเรื่องของการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมที่มีผลต่อสมองที่น่าสนใจที่สุด มนุษย์มีวิธีการหาความสุข 2 แบบ

    ทำให้การเต้นของหัวใจพุ่งปู๊ดขึ้นไป จากการเต้นของหัวใจภาวะปกติที่ 80 จะสูงถึง 140 แล้วตกลงมา 80 แล้วเสพความสุขจากช่วงต่างของการเต้นของหัวใจ พวกที่เล่นเกมเสี่ยง ๆ พวกเล่นไพ่ ขณะลุ้นไพ่หัวใจเต้น 130 พอลุ้นรู้ดำรู้แดง หัวใจกลับมาเต้นที่ 80 เขาก็จะเสพความสุขของการเต้นของหัวใจ ที่ลดจากความสูง 130 มาอยู่ที่ 80 พวกกามวิตถารก็เช่นกัน ขณะที่โชว์อวัยวะเพศหัวใจจะเต้นแรง พอโชว์เสร็จ ผู้ห_ิงกรี๊ด หัวใจเขาจะกลับมาอยู่ที่ 80 มีความสุขสบาย ท่านเคยมีความรู้สึกเช่นนี้หรือไม่ ท่านตอบว่าไม่เคย ท่านตอบผิด ท่านต้องตอบว่า ไม่เคยถึงขั้นนั้น ท่านเองก็เคยเสพสุขเช่นนี้เหมือนกันเช่น ท่านไป ดิสโกเทค เสียงดังโครม ๆ ๆ หัวใจชู้ดไป 120 แล้วกลับมา 80 ก็จะสบาย ฉะนั้นเวลาผมถามว่าท่านเคยไหม ไม่ควรตอบว่าไม่เคย ต้องตอบว่า ไม่เคยถึงขั้นนั้น ถ้าเคยถึงขั้นนั้น มันจะเกิด กระบวนการเสพติดเกิดขึ้น คือสมองส่วนอยากจะตอบสนองการเรียนรู้เรื่องนี้อย่างรวดเร็ว แล้วต่อไปก็จะเสี้ยน กระสัน อยาก อภิตัณหา ที่จะกลับไปมีพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก และก็กลายเป็นพฤติกรรมเสพติด
    พวกที่ได้ความสุขจากการที่หัวใจปกติที่ 80 เขาทำให้ตัวเองสงบลงมาอยู่ที่ 70 60 แล้วสัมผัสกับความสงบตรงนั้น ความสุขแบบนี้เป็นการสร้างความสุขของทางตะวันออก เช่น การทำสมาธิ ขณะที่ใจสงบ การเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ 60-70 ครั้งต่อนาที เป็นช่วงที่สงบ ผ่อนคลาย แล้วก็จะดื่มด่ำความสงบสุขจากการที่ผ่อนคลายตัวนั้น
    ถ้าจะถามว่า การเสพสุขจากระดับการเต้นของหัวใจจาก 80 ไป 140 และกลับมาที่ 80 กับระดับการเต้น 80 ลดลงมาที่ 60, 70 แล้วกลับไปที่ 80 ท่านจะเลือกเสพสุขแบบใด ท่านต้องเลือกเอง แต่การเสพสุขจากการเต้น 140 มา 80 ท่านจะต้องสร้างเงื่อนไขให้สมองส่วนอยาก แต่ถ้าจะดื่มด่ำความสุขจากการมีสมาธิ การมีสติ จาก 80 มาที 70 ท่านต้องมีพัฒนาสมองส่วนคิด ปกติจะใช้เกี่ยวกับสติปั__าทางโลก เช่น เรียนหนังสือ คิดคำนวน วางแผน แต่ถ้าจะดื่มด่ำความสุข สงบ ต้องพัฒนาการสมองส่วนคิดให้มีสติปั__าทางธรรม คือ สมาธิและสติ คือการที่จิตเราสงบอยู่กับ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นจิตที่วางจากความคิด อารมณ์ ภาวะจิตที่สงบ ถ้าสามารถพัฒนาไปได้อีกขั้นหนึ่ง และนี่คือความต่าง เช่น นวัตกรรมของพระพุทธเจ้า ๆ คืออะไร ไม่ใช่เรื่องสมาธิ เพราะสมาธิมีมาก่อนพระพุทธเจ้า ตอนที่พระพุทธเจ้าเรียนกับอาฬาดาบส พระองค์ท่านเรียนเรื่องสมาธิ จนได้ความสงบที่นิ่งมาก ภาษาทางเทคนิดเรียกว่า ฌาน 8 เป็นระดับของสมาธิอย่างหนึ่ง แล้วพระองค์ท่านก็ยังพบอีก อย่าง คือ เมื่อออกจากสมาธิก็ยังไม่เป็นอิสระ ยังมีอีก โลภ โกรธ หลง อยู่ดี พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบเรื่อง สติ ก็คือรู้ว่าถ้าเราสามารถอยู่กับสิ่งต่าง ๆ คือรู้กับมัน เดินก็รู้ว่าเดิน โกรธก็รู้ว่าโกรธ กังวลก็รู้ว่ากังวล ความมีสติตัวนั้นจะทำให้เกิดปั__าทางธรรม ก็คือ เข้าใจในความเป็นอนิจจัง ความโกรธเมื่อเกิดก็ดับไป ความกังวลเกิดขึ้นก็ดับไป ความหลงตนเองเกิดขึ้นก็ดับไป เราจะเข้าใจในชีวิตของตัวเรา และนำไปสู่ความเข้าใจในบริบทอื่น ๆ จะพ้นสิ่งที่สมองจะดื่มด่ำความสุขจาก 80 หรือ 70 จะต่างกับเมื่อเทียบ 140 มา 80 แต่ความสุขแบบ 140 มา 80 ต้องแลกด้วยการติดพฤติกรรม เพราะเหยื่ออย่างดีของสมองส่วนอยาก แต่ให้เสพสุขจาก 80 ไป 70 ช่องว่าง เพียง 10 ครั้ง ของการเต้นของหัวใจ แต่มันหมายถึงการพัฒนาสมองส่วนคิดของเราไม่ใช่มีสติปั__าทางโลกเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาทางธรรมขึ้นในสมองส่วนคิดด้วย ทั้งหมดนี้ท่านเป็นผู้เลือก และเมื่อเลือกแล้วสิ่งเหล่านั้นก็จะเป็นไปตามกฏแห่งกรรมก็คือผลของการเลือกก็จะตกอยู่แก่ท่านเอง



    สมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อาคารสมาคมสุขภาพจิตฯ เลขที่ 356/10 ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ 10400
     

แชร์หน้านี้

Loading...