การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบพุทธ

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย MBNY, 21 สิงหาคม 2005.

  1. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,864
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,511
    การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบพุทธ



    นพ. ประเวศ วะสี




    มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงยิ่ง เนื่องจากสมองของมนุษย์เป็นโครงสร้างที่วิจิตรที่สุดในจักรวาล มนุษย์สามารถเรียนรู้ให้บรรลุอะไรก็ได้ คือเรียนรู้ให้รู้ความจริง เรียนรู้ให้รู้ความงาม เรียนรู้ให้รู้ความดีหรือความถูกต้อง เรียนรู้อย่างมีความสุข และเรียนรู้ให้บรรลุความสุขได้




    การเรียนรู้ที่ดีจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ความรู้สึกนักคิดเป็นปัจจัยกำหนดว่ามนุษย์เป็นอย่างไร และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร ทุกวันนี้มนุษย์ยังไม่สามารถจัดระบบชีวิตและสังคมให้เกิดศานติสุข ตรงข้าม มนุษย์กำลังประสบภาวะวิกฤตทุก ๆ ด้าน ทั้ง ๆ ที่ในโลกมีระบบการศึกษาค้นคว้าวิจัยอันใหญ่โตมโหฬาร แสดงว่าการศึกษาอาจจะไปผิดทาง มีประเด็นที่พอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ว่า




    ทุกวันนี้มีความรู้มากแต่มีการเรียนรู้น้อย ถ้ามีการเรียนรู้น้อย หรือมีการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง ย่อมไม่สามารถแก้ทุกข์ของมนุษย์ได้ หรือกลับสร้างความทุกข์ให้มากขึ้นเรื่องนี้นับว่าเสียดายยิ่งนัก เพราะมนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงยิ่ง แต่ยังใช้ศักยภาพอันนี้น้อยมากระเบียบวาระใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ คือแสวงหาการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนามนุษย์ให้เต็มตามศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ โดยเรียนรู้ แล้วรู้ความจริง เรียนรู้แล้วรู้ความงาม เรียนรู้แล้วรู้ความดี หรือความถูกต้อง เรียนรู้อย่างมีความสุข และเรียนรู้แล้วบรรลุความสุข ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น การเรียนรู้ก็จะเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ เพราะทำให้มนุษย์ค้นพบสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง ปลดปล่อยมนุษย์ไปสู่อิสรภาพ และสามารถสร้างระบบการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ




    ขอให้ทุกคนสนใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้ที่ดีหรือสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ ขอให้มนุษย์ทั้งโลกเป็นกัลยาณมิตรต่อกันและกัน ด้วยการแสวงหาและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีในระหว่างกันและกัน มิใช่มุ่งเอาเปรียบและแสวงหากำไรสูงสุดเยี่ยงปัจจุบัน ในการแสวงหาต้องใจกว้าง โดยมีการแสวงหาและเรียนรู้จากทุกภูมิปัญญาในโลก พุทธศาสนาเป็นภูมิปัญญาใหญ่อย่างหนึ่งของโลกสมควรจะนำมาช่วยกันพิจารณาพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบพุทธว่าควรเป็นอย่างไร ทดลองทำประเมิน ปรับการกระทำใหม่ เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป มา เราก็จะได้กระบวนการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เข้าไปสู่ความสำเร็จรูปตายตัวและตีบตัน




    ปัญหาของการเรียนรู้ในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างการศึกษาแนวพุทธกับการศึกษาที่เป็นกระแสใหญ่ในปัจจุบันจึงขอกล่าวถึงปัญหาของการศึกษาในปัจจุบันในประเด็นหลัก การศึกษาที่เป็นทางการทั่วโลกเป็นส่วนใหญ่ ศึกษาโดยเอาวิชาเป็นตัวตั้ง เราอาจจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้จนเห็นเป็นธรรมดากหรือเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อเอาวิชาหรือ "ศาสตร์" ต่าง ๆ เป็นตัวตั้ง แต่ไม่เอาความจริงของชีวิตเป็นตัวตั้ง ก็ไม่เข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ในความเป็นจริงของชีวิตประกอบด้วยตัวเราเองซึ่งมีกายกับใจ และมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อมละเอียดอ่อน มีหลายมิติ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมนุษย์เรียนรู้โดยเอาวิชาหรือศาสตร์เป็นตัวตั่ง ก็ไม่เข้าใจตัวเอง และความเป็นจริงที่ซับซ้อน เมื่อไม่เข้าใจความเป็นจริงก็ไม่สามารถจัดระบบชีวิต และการอยู่ร่วมกันให้เกิดศานติสุขได้ ตรงข้ามคนที่เรียนแต่ศาสตร์โดยไม่เข้าใจความเป็นจริงของทั้งหมด ศาสตร์ก็กลายเป็นเพียงเครื่องมือหรืออาวุธ หรือเป็น "ศาสตรา" ที่เอาไปใช้ในการแย่งชิงเท่านั้น ดังที่มักพูดเรื่องการ "แข่งขัน" ซึ่งแท้ที่จริงก็คือการแย่งชิง โลกทั้งโลกจึงเต็มไปด้วยการแย่งชิงในรูปต่าง ๆ มนุษย์ที่ถืออาวุธคนละอย่าง บางคนถือมีดบางคนถือแหลม บางคนถือหลาว โดยไม่เข้าใจตัวเองและเข้าใจทั้งหมด แล้วเข้าแย่งชิงกัน คือคนป่าเถื่อน การศึกษาปัจจุบันนำมนุษย์ไปสู่ความป่าเถื่อนหรือไม่ เป็นคำถามที่ค่อนข้างรุนแรง แต่ก็อยากจะตั้งเป็นคำถามไว้




    พุทธศาสนากับการศึกษา



    พุทธศาสนากับการศึกษามีแง่มุมที่น่าสนใจมากมายในที่นี้จะขอกลาวถึงคุณลักษณะของพุทธศาสนากับการศึกษา ๔ ประการ คือ
    (๑) พุทธศาสนาให้คุณค่าแก่การศึกษาสูงสุด ศาสนาต่าง ๆ ให้คุณค่าสูงสุดที่พระเจ้า แต่พุทธศาสนาให้คุณค่าสูงสุดที่การศึกษา พุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ (ตนของตนนั้นแหละเป็นที่พึงแห่งตน) และ นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี) แสดงคุณค่าทางพุทธศาสนาที่พุ่งไปที่ตัวมนุษย์เองว่าสามารถพึ่งตนเองได้ และถือว่าปัญญาเป็นความสว่างที่สุด พระพุทธเจ้าที่ทรงเป็นมนุษย์ แต่เมื่อทรงเรียนรู่จนบรรลุทางปัญญา ก็มีคุณสูงสุด แม้เทพต่าง ๆ ก็ยังมากราบไหว้ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีการศึกษาจนบรรลุทางปัญญา มีคุณค่าสูงสุด




    ในวิถีชีวิตที่เจริญ ที่เรียกว่า อริยมรรค นั้นเมื่อรวมกลุ่มเข้ามาเหลือ ๓ เรียกว่า ไตรสิกขา สิกขาเป็นภาษาบาลีตรงกับภาษาสันสกฤตว่าศึกษา ฉะนั้นวิถีชีวิต คือสิกขาหรือการศึกษา หรือชีวิตคือการศึกษา การศึกษาชีวิต ด้วยเหตุฉะนี้ และอื่น ๆ อีก จึงกล่าวได้ว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการศึกษา




    (๒) วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อพ้นทุกข์ วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อพ้นทุกข์วัตถุประสงค์ของการศึกษาเป็นตัวกำหนดการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ของการศึกษาสมัยใหม่เพื่อให้รู้วิชา จึงสอนวิชา เรียนวิชา ทดสอบความรู้วิชา ให้ประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตร เพื่อแสดงว่ารู้วิชานั้น ๆ แต่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพ้นทุกข์ ฉะนั้น เมื่อเรียนรู้ไปแล้วความทุกข์ก็ไม่น้อยลง หรือไปก่อความทุกข์มากขึ้น เพราะไม่ได้เรียนรู้เพื่อลดทอนความทุกข์




    ในทางพุทธศาสนา การศึกษามีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่า มุ่งไปสู่การพ้นทุกข์ ในครั้งพุทธกาล มีคนเป็นอันมากมาทูลถามปัญหานานาประการต่อพระพุทธเจ้า ไม่ทรงตอบทุกปัญหา ทรงเลือกตอบเฉพาะที่เกี่ยวกับทุกข์และการหมดไปของความทุกข์ส่วนเรื่องเพ้อเจ้อ หรือเรื่องไกลตัว ไม่มีพระประสงค์จะตอบ เลยตรัสอุปมาว่า เหมือนคนถูกลูกศรเสียบอยู่ที่อก (ทุกข์) สิ่งที่ควรทำโดยรีบด่วน คือถอนลูกศรนั้นออกจากอก (แก้ทุกข์) ไม่ใช่ไปมัวถามหาความรู้ว่าผู้ยิงชื่ออะไร เป็นลูกใคร มีนิสัยใจคออย่างไร ถ้าทำอย่างนั้นก็จะไม่ได้แก้ทุกข์ มีเรื่องที่ชาวพุทธทราบกันดีว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงกำใบไม้ขึ้นมาเต็มพระหัตถ์ และตรัสว่าความรู้ที่พระองค์มีเทียบได้กับป่าทั้งป่า แต่สิ่งที่ทรงนำมาสอนเทียบได้กับใบไม้ในกำพระหัตถ์คือเรื่องเกี่ยวกับทุกข์และการดับทุกข์




    การศึกษาทุกวันนี้ มุ่งที่หาแห่งความรู้ แต่ไม่มุ่งให้รู้ทุกข์และการดับทุกข์จึงแก้ทุกข์ไม่ได้จริงหรือ สร้างปัญหามากขึ้นจนวิกฤต




    (๓) โลกทัศน์ และวิธีคิดแบบพุทธ เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ได้รับความสนใจน้อย โลกทัศน์และวิธีคิดเป็นปัจจัยกำหนดว่า เราจะข้าถึงความเป็นจริงได้หรือไม่ นิทานเรื่องตาบอดคลำช้างเป็นตัวอย่างอย่างดี เพราะทัศนะแคบมาก ในที่นี้คือตาบอดไม่เห็นช้างเอาเสียเลย จึงไม่เห็นช้างทั้งตัว รู้จักช้างเพียงการสัมผัสเป็นส่วน ๆ ทำให้คาดเอาไปต่าง ๆ ว่าช้างเหมือนไร แล้วขัดแย้งทะเลาะกันใหญ่ ถ้าทัศนะดี คือเห็นช้างทั้งตัว ก็จะรู้ความจริง ไม่ต้องมาทะเลาะกัน การเห็นโลกหรือโลกทัศน์ที่คับแคบ เห็นเฉพาะส่วน ไม่เห็นทั้งหมด จะนำไปสู่การคิดแบบแยกส่วน สุดโต่ง ขัดแย้ง และรุนแรง วิทยาศาสตร์เป็นตัวอย่างของการมองและคิดแบบแยกส่วนเพราะวิทยาศาสตร์เน้นที่การวัดได้แม่นยำ ในความเป็นจริงมีทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่เชื่อมโยงกันอยู่ แต่นามธรรม เช่น จิตใจ คุณค่าหรือจิตวิญญาณ มีอยู่จริงแต่วัดไม่ได้แม่นยำ เมื่อวัดไม่ได้แม่นยำแต่เมื่อวิทยาศาสตร์เน้นที่ความแม่นยำก็เลยเข้าไปเกี่ยวข้องเฉพาะกับวัตถุหรือรูปธรรมทิ้งนามธรรมไปเลยประดุจว่าไม่มี โลกทัศน์ทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นโลกทัศน์ทางวัตถุ เป็นโลกทัศน์ที่เอียงหรือบกพร่อง คือขาดมิติทางนามธรรมอารยธรรมใหม่ ที่มีฐานอยู่ในวิทยาศาสตร์จึงเป็นอารยธรรมวัตถุนิยม ขาดความเข้าใจในมิติทางจิตวิญญาณไป แต่เนื่อง จากมิติทางจิตวิญญาณเป็นเรื่องที่ขาดมิได้ในความ เป็นมนุษย์ โลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ที่แยกส่วน แม้จะดลบันดาบความก้าวหน้าทางวัตถุต่าง ๆ ก็นำ ไปสู่วิกฤตการณ์ การเห็นไม่ครบ หรือทัศนะแบบแยกส่วนจะนำไปสู่การเสียสมดุลและวิกฤตเสมอ




    มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะมีทัศนะและคิดแบบแยกส่วนเสมอ จึงเข้าไปสู่ปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พุทธศาสนามีวิธีคิดย่างเป็นกลาง หรือ มัชฌิมปฏิปทา จึงเชื่อมโยงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ขอให้สังเกตตรงนี้ให้ดี ๆ น้อยคนนักจะเข้าใจประเด็นนี้ ถ้าอ่านพระไตรปิฎก จะเห็นวิธีคิดอย่างชัดเจนว่าต่างกับที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป แต่มักจะเอาแต่ "เนื้อหา" มาพูดกันแต่ไม่เอา "กระบวนการคิด" มาพูด นอกจากท่านพุทธทาสภิกขุที่นำมาเขียนไว้เป็นเล่มใหญ่ที่ชื่อว่า อิทัปปัจจยตา




    การท่อง "เนื้อหา" วิทยาศาสตร์ โดยไม่เรียน "กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์" ไม่ทำให้เกิดความเป็นวิทยาศาสตร์ ฉันใด การเรียนแบบพุทธแบบท่อง หรือจดจำ "เนื้อหา" โดยไม่เรียน "กระบวนการคิดแบบพุทธ" ก็ไม่ทำให้เกิดความเป็นพุทธ ฉันนั้น




    ส่วนใหญ่เราไม่เรียนกระบวนการคิด เราจึงไม่เก่งทั้งวิทยาศาสตร์ และไม่ใช่พุทธจริง คนที่รู้เนื้อหาพุทธเป็นอันมาก แต่วิธีคิดไม่ใช่พุทธ ก็ไม่ได้รับอานิสงส์จากความเป็นพุทธ




    น้อยคนนักที่จะเข้าใจ "การคิดอย่างเป็นกลาง" จะขออุปมาอุปมาดังนี้ โปรตอนที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก อิเล็กตรอนมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ นิวตรอนเป็นกลาง ไม่มีประจุไฟฟ้า โปรตรอนกับอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปไม่ได้ไกลก็จะติด เพราะถูกประจุไฟฟ้าตรงข้ามจับไว้ ส่วนนิวตรอนทะลุทะลวงแผ่นเหล็กหนา ๆ หรือคอนกรีตก็ได้ เพราะเป็นกลาง ไม่ถูกอะไรจับไว้ การคิดอย่างเป็นกลางไม่บวกไม่ลบ มีอำนาจทะลุทะลวงโดยไม่ติดขัด


    <HR SIZE=1>Little Li's Flying Dagger, Once Released Never Misses.
     

แชร์หน้านี้

Loading...