คนที่เข้านิพพานไปแล้วเขายังมีหน้าที่อยู่อีกหรือ ?

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 4 สิงหาคม 2005.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD>ถาม : คนที่เข้านิพพานไปแล้วเขายังมีหน้าที่อยู่อีกหรือ ?
    ตอบ : มีงานที่ต้องทำอยู่ ที่จริงแล้วมันไม่ใช่งานของท่านหรอก แต่ว่าเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่น บุคคลที่เข้านิพพานนี่ตัวบารมีทุกอย่างต้องเต็ม โดยเฉพาะเมตตาบารมีใช่มั้ย ? ถ้าเห็นคนอื่นเขาลำบากอยู่ถ้าสามารถสงเคราะห์ได้ก็สงเคราะห์เลย เท่ากับว่ามีงานที่ยังต้องทำอยู่ แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่งานของท่านนะ มันเป็นงานเพื่อคนอื่นล้วน ๆ
    ถาม : แล้วอย่างเทวดากับพรหมนี่ท่านมีอารมณ์จิตเหมือนกันมั้ยคะ ?
    ตอบ : ไม่เหมือนกันจะหยาบละเอียดปราณีตต่างกันไป แล้วอย่าไปคิดว่าพรหมดีกว่าเทวดา ถ้าเทวดาท่านเป็นพระอริยเจ้าแล้ว พรหมไม่ใช่พระอริยเจ้านี่ กำลังใจของเทวดาก็ดีกว่า
    ถาม : ในตำหน่งนี่พรหมสูงกว่าไม่ใช่เหรอคะ ?
    ตอบ : คือโดยความหมายของเราสูงกว่า เพราะพรหม คือพรหมจรรย์ ผู้ที่จะเข้าถึงความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง แต่ว่าผู้ที่เป็นเทวดาที่ท่านเข้าถึงความดีแต่ท่านไม่ได้ตั้งใจที่จะไปให้มากกว่านั้น อย่างเช่น หลวงพ่อวัดท่าซุง ท่านเคยพบภูมิเทวดานี่ถือว่าเป็นเทวดาชั้นต่ำสุด แต่ท่านเป็นพระอนาคามี ปกติพระอนาคามีต้องอยู่สุทธาวาสพรหมชั้นใดชั้นหนึ่ง คือพรหม ๕ ชั้นสูงสดุตั้งแต่ ๑๒ ขึ้นไป ๑๒ ถึง ๑๖ เป็นพรหม อนาคามี * อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และ อกนิษฐ์ *

    ถาม : อย่างท่านก็ไม่ได้เป็นพรหมหรือว่าไม่ได้ตายในฌาน
    ตอบ : ไม่ใช่ ตั้งใจจะไปแค่นั้น
    ถาม : การปฏิบัติต่อในขณะที่อยู่ในชั้นนั้นนี่ จะดีกว่าปฏิบัติตอนที่อยู่เป็นคน ?
    ตอบ : ดีกว่าแน่ ๆ เพราะศีลไม่ขาด แต่มันช้ามากที่ช้ามากเพราะว่าเปรียบกับมนุษย์นี่มันยาวนานเหลือเกิน ศีลจะให้ท่านถือกี่ข้อไม่มีขาดอยู่แล้ว ใช้สภาพความเป็นทิพย์นี่รักษาได้ครบถ้วน ต่อให้ถือศีล ๒๒๗ ของพระบวกกับอภิสมาจารย์ไปด้วย ท่านก็รักษาได้ครบถ้วน แต่ว่ามันช้าเพราะเวลาของท่านเปรียบกับเราแล้วเวลามันยาวนานเหลือเกิน
    ถาม : อย่างถ้าคนที่ตาย ถ้าตายด้วยอุบัติเหตุ กับตายด้วยโรคนี่มีกรรมอันไหนหนักกว่ากันคะ ? เพราะว่าตายด้วยโรคนี่รู้สึกจะทรมานกว่าด้วยอุบัติเหตุนะคะ ?
    ตอบ : มันจะกรรมหนักกรรมเบาอะไรก็ตาม ต้นกรรมมันใช้หนี้ในนรกไป แล้วอันนี้มันแค่เศษเท่านั้น ขนาดเศษ ๆ นี่ล่อซะเละ บางคนไม่เป็นชิ้นเป็นอันเลย (หัวเราะ) รถชนที่หลุดเป็นท่อน ๆ เป็นชิ้น ๆ ก็มี เพราะฉะนั้นถามว่าอันไหนหนักกว่า มันก็ต้องดูสภาพของเขา อันไหนทุกข์ทรมานนาน อันนั้นก็หนักหน่อย ไอ้ตูมเดียวถึงหลุดเป็นชิ้น ๆ นั่นมันตายเลย ไม่ทรมานมาก
    ถาม : งั้นเวลาที่บางคนก็เป็นโรคตาย แต่ก่อนที่จะตายอาการดีขึ้นมาหน่อยแล้วก็ตายเลย
    ตอบ : หมดสติสุดท้ายตัวจะหลุดออกไปแล้ว กำลังใจทั้งหมดมันจะทรงตัวตั้งมั่นขึ้นมานิดหนึ่งที่ลักษณะถ้าหากว่าเปรียบกับพระอริยเจ้า ซึ่งจริงๆ แล้วมันคนละแบบกัน แต่ว่ามันใกล้เคียงกันก็คือ ที่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ผู้ที่บรรลุมรรคผลสวยที่สุดในวันที่บรรลุมรรคผลวันหนึ่ง กับวันที่จะตายวันหนึ่ง ๒ วันในลักษณะเดียวกันก็คือว่า ความผ่องใสมันปรากฏขึ้นชั่วขณะหนึ่ง
    อันนั้นก็ได้สติขึ้นมาชั่วขณะหนึ่ง ถ้าตอนนั้นมีใครแนะนำในสิ่งที่ดี ๆ ให้ยึดให้เกาะมันก็สบายไปเลย โบราณเขาถึงได้สอนให้กรอกหูคนป่วยใกล้ตายว่าพระอรหัง ๆ หรือว่าพุทโธ ๆ
    ถาม : แล้วถ้าช่วยเขาในตอนวาระนั้น แต่ถ้าสมมุติเป็นไปได้มั้ยคะว่า เขาจะนึกตามได้ทุกคน ?
    ตอบ : น้อยมาก ถ้าหากว่าไปยึดกับเวทนา ความเจ็บ ความปวดบางทีที่เราพูดไป เขาไม่รู้เรื่องเลยซะด้วยซ้ำไป ลักษณะที่หลวงพ่อสำราญท่านเคยเทศน์ไง คนมันหาปลามาตลอดชีวิตก่อนตายเกิดอาการเจ็บป่วยเวทนากล้ามาก พวกก็ไปแนะนำ เฮ้ย...อรหัง ๆ แล้วก็บอกว่า ไอ้โดท่องคำว่าอรหังไม่ได้ คิดแต่ปลาชะโดพอเพื่อนบอกพุทโธ เพื่อนบอกไอ้ช่อนไปคนละเรื่องเลย คือจิตมันไปเกาะทางด้านโน้นซะแล้ว ถ้าอย่างนั้นล่ะก็ไม่พ้นอบายภูมิหรอกเสร็จแน่ ๆ เลย
    ถาม : ที่พูดมานี่ ถ้าเกิดเราคิดขึ้นมาว่า ทุกครั้งเราพยายามไม่ประมาท พอถึงจุดสุดท้ายนี่ความรู้สึกตัว ความรู้สึกนึถึงพระรัตนตรัยอยู่ อย่างยกตัวอย่างกรณีที่ผ่านมา ความรู้สึกกลัวตาย
    ตอบ : กลัวตายมันมีทุกรูปทุกนาม แต่เพียงแต่ว่ากลัวอย่างมีสติหรือกลัวอย่างขาดสติ เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างสติของเราให้มั่นคง ที่ท่านสอนให้ภาวนาก็เพื่อจุดนี้ พอสติมันมั่นคงความกลัวยังมีอยู่แต่ประเภทที่ว่ามัน ๆ พร้อมที่จะตาย ในเมื่อแก้ไขทุกวิถีทางแล้วไม่สามารถจแก้ได้ เราก็รู้อยู่แล้ว่าตายแล้วไปดีสติสมบูรณ์ไปเกาะความดีอยู่
    ถาม : ....................
    ตอบ : ถ้าจิตเกาะความดีไปดีเลย ถ้าจิตเกาะสิ่งไม่ดีก็ไปไม่ดีเลย ต่อให้ทำบุญเก่ามามากแค่ไหนแต่ถ้าก่อนตายเกาะด้านไม่ดี ก็เสร็จต้องไปรับส่วนที่ไม่ดีก่อน แล้วทำความชั่วมาหนัก ๆ อย่างมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรอย่างนี้ นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนตายหน่อยเดียวก็ไปรับผลของความดีก่อน
    แต่บางคนว่าไม่ยุติธรรมเพราะว่าทำความชั่วมาตลอด แล้วทำไมอยู่ ๆ ก็ขึ้นไปเป็นเทวดาอยู่ข้างบน ความจริงยุติธรรมมาก ท่านทำความดีนิดเดียวท่านก็ได้นิดเดียว อีกไม่กี่วันก็จะจุติอยู่แล้ว ถ้าไม่ได้อากาสจารีเทพบุตรไปเจอเข้าก็เจ๊งเลย เพราะท่านต้องลงนรกทุกขุม ยังดีนะบุญเก่าตามทัน
    ถาม : ..........(ไม่ชัด)..........ตอนก่อนตายนึกถึงความดีนิดเดียว ?
    ตอบ : คือมันไปแป๊บเดียว ทำนิดเดียวก็ไปแป๊บเดียว ถ้าไม่ต่อบุญตัวเองตรงนั้นเจ๊งเลย
    ถาม : ต้องต่อบุญไปเรื่อย ๆ ใช่มั้ย ?
    ตอบ : ใช่ หนีให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ พลาดเมื่อไหร่จองเก่ามันทวงหมด ถ้าไม่ใช่พระอริยเจ้านี่มีสิทธิ์โดนทวงคืนได้ทุกเวลา ถ้าเป็นพระอริยเจ้าแล้วเขาทวงได้แค่เศษกรรม เพราะว่าอบายภูมิ ๔ ปิดไปแล้ว


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD background=images/right.gif></TD></TR><TR><TD width=15 background=images/left.gif></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ----
    **(อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อสัญญี อกนิฏฐะ สุทธา วาสพรหม )**
    แก้ไขจาก ของเดิมจากหนังสือ กระโถนข้างธรรมมาส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กันยายน 2013
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...