คำสอนหลวงพ่อและวิธีไล่อารมณ์พระกรรมฐาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 15 กรกฎาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    [​IMG]


    คำสอนของ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    ลูกรักทั้งหลาย ธรรมส่วนใดที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอน ที่พ่อจะปกปิดไว้ไม่มี พ่อสอนหมดทุกอย่าง เมื่อพ่อตายแล้ว ขอลูกแก้วของพ่อ จงประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยส่วนนี้ทั้งหมด ในเมื่อขันธ์
    5 มันทรงไม่ไหว พ่อก็อยู่ไม่ได้ พ่อสอนลูกอยู่เสมอว่า ขันธ์5เป็นของธรรมดา มัน เกิด แก่ เจ็บ และตายเหมือนกันหมด ลูกจะเกาะขันธ์ 5 ของพ่ออยู่อย่างนี้ตลอดกาลตลอดสมัยไม่ได้ ความดีที่จะเกิดมีขึ้นนั้นไซร้คือการปฏิบัติตนเอง ฟังแล้วก็จำ จำแล้วก็คิด คิดแล้วก็ปฏิบัติตาม ถ้าสามารถทำได้ ในที่สุดในไม่ช้าก็จะบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคล<o:p></o:p>


    แหล่งที่มา : พ่อรักลูก ๒
    <o:p></o:p>
    การตัดมานะ ความถือตัวถือตน พระอนาคามียังมีมานะ การถือตัวถือตน การที่จะเข้าไปตัดมานะ เขาตัดกันตรงไหน ความจริงกิเลสทั้งหมดตัดตัวเดี่ยวที่สักกายทิฐิ <o:p></o:p>
    เห็นว่าอัตภาพร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราเสียอย่างเดี่ยว เราก็หมดความรู้สึกที่จะถือตัวถือตน เราถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขาบ้าง เราเสมอเขาบ้าง <o:p></o:p>
    เราเลวกว่าเขาบ้าง เอาอะไรมาเป็นเครื่องวัด เอาฐานะ เอาศักดิ์ศรี เอาความดี เอาวิชาความรู้ เอาสภาวะที่คงอยู่เป็นเครื่องเหยียดหยามกันกันยังงั้นรึ มันก็ผิดทั้งนั้น <o:p></o:p>
    อะไรมันจะดี ขันธ์ 5 ของเรากับขันธ์ 5 ของเขาน่ะ ดูซิว่าอะไรมันจะดีกว่ากัน เขามีอาการ 32 เราก็มี อาการ 32 มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น เหมือนกัน มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลางเหมือนกัน ก็มีการสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน นี่เป็นจุดแรกที่เราจะพึงมองเห็นเป็นอันว่า การถือตนว่าเราเสมอเขาก็ดี เราดีกว่าเขาก็ดี เราเลวกว่าเขาก็ดี เป็นปัจจัยของความทุกข์ <o:p></o:p>

    แหล่งที่มา : คำสอนธรรมปฏิบัติ
    <o:p></o:p>
    วิธีไล่อารมณ์พระกรรมฐาน

    <o:p></o:p>

    1. ท่าน ก็จับ อานาปานุสสติ ควบกับ พุทธานุสสติกรรมฐาน<o:p></o:p>
    2. จิตเป็นสุขที่สุดถึงฌาน 4 ทิ้งฌาน 4 วิ่งไปที่ฌาน 8 ถอยหลัง มาจับ อริยสัจ 4<o:p></o:p>
    3. จิตสะอาดผ่องใส ถอยลงมาถึงอุปจารสมาธิ จับ เมตตาพรหมวิหาร4<o:p></o:p>
    4. จิตเข้าถึงที่สุดทันที ถอยลงมาถึงอุปจารสมาธิ จิตจับ อสุภกรรมฐาน <o:p></o:p>
    5. จนกระทั่งมีความรู้สึกเป็นสุข ไม่มีความติดพันในภาพพจน์ใดๆ ถอยลงมาถึงอุปจารสมาธิ เข้า มรณานุสติกรรมฐาน
    6. เมื่ออารมณ์ถึงที่สุด ถอยลงมาถึงอุปจารสมาธิ จับ บารมี 10 ประการ<o:p></o:p>
    7. แล้วถอยลงมาจับ อาหาเรปฏิกูลสัญญา<o:p></o:p>
    8. แล้วถอยลงมาตัด อัสสมิมานะ ความถือตัวถือตน<o:p></o:p>
    9. แล้วถอยลงมาจับ สักกายทิฏฐิ<o:p></o:p>
    10. จนกระทั่ง เข้าจุดถึง ขีณาสวาอนิตยา <o:p></o:p>

    แหล่งที่มา : ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า อภิญญาผลสมาบัติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...