จิตที่ติดสุข

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Ne_ko, 8 เมษายน 2011.

  1. Ne_ko

    Ne_ko Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +47
    [​IMG]

    เหตุแห่งการเกิดของมนุษย์เรานั้นประกอบไปด้วยกรรมดีที่เรียกว่า “ บุญ” และกรรมชั่วที่เรียกว่า “บาป” กรรมทั้งสองประเภทนี้ล้วนส่งผลที่ได้รับแตกต่างกัน โดยกรรมดีหรือบุญจะส่งผลในด้านบวกต่อจิตใจ คือ ความสุข ความสบาย ความร่ำรวย ความพึงพอใจ ส่วนกรรมชั่ว หรือบาปย่อมส่งผลในทางกลับกัน คือ ความทุกข์ ความไม่สบายใจ ความยากจน ความลำบากขัดสน แต่สุดท้ายแล้วกรรมทั้งสองประเภทนี้ก็สามารถเป็นเหตุปัจจัยในการเกิดได้เท่าๆกัน :eek:<O:p</O:p

    มีผู้ปฏิบัติเคยตังคำถามกับผมว่า “ หากมั่นใจในชาตินี้เขาไม่ได้กระทำกรรมชั่วเพิ่มเติมและหมั่นทำบุญสร้างกุศลไม่ได้ขาด เพื่อที่ชาติหน้าเขาจะได้เกิดมาเสวยสุข ความเข้าใจเช่นนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือไม่”
    <O:p</O:p
    ความเข้าใจข้อนี้ถูกต้องในแง่ที่ว่าการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ผลบุญจากการกระทำนั้นๆ โดยในเบื้องต้นจะเห็นได้จากความรู้สึกสบายใจที่บังเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อเราได้ทำบุญ ทำความดี หรือ ประกอบกรรมดีใดๆ แต่ถึงกระนั้นทั้งกรรมดีและกรรมชั่วต่างก็สลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาส่งผลต่อชีวิตของเราอยู่ดี ทำให้เราได้รับทั้งความสุขและทุกข์สลับกันไป เพราะสุขกับทุกข์นั้นเป็นของคู่กัน เหมือนกับเหรียญที่มีสองด้าน มีขาว – มีดำ มีกลางวันก็ต้องมีกลางคืน เราจึงไม่สามารถที่จะเลือกเอาแต่เฉพาะสื่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ดั่งที่ใจต้องการ

    [​IMG]

    <O:p</O:p
    คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธความจริงที่ว่า ไม่ว่าเราจะเกิดมาร่ำรวย มีความสุข มีความสบายกว่าคนทั่วๆ ไปอย่างไร สุดท้ายก็ไม่มีใครสามารถหลีกหนีจากความทุกข์ไปได้ บ้างก็ต้องทุกข์ใจเพราะลูก เพราะทรัพย์สมบัติ เพราะสังขาร (โรคภัย) หรือไม่ก็เรื่องความรัก เรื่องคู่ครอง เป็นต้น
    <O:p</O:p
    ดังนั้นถึงแม้ว่าผู้ปฏิบัติที่เพียรสร้างกรรมดีจะมีความมั่นใจว่าตนไม่มีกรรมชั่วหลงเหลืออยู่อย่างแน่นอน แต่หากยังมีความยึดติดในความสุขบังเกิดขึ้นภายในจิต กรรมดีอันเป็นเหตุแห่งการเกิดนั้นก็ยังสามารถทำให้พบกับความทุกข์ได้เช่นกัน นั่นคือทุกข์ที่เกิดกับสังขาร ด้วยเพราะเมื่อเริ่มต้นจากการเกิดแล้วก็ต้องมีการแก่ ตามมาด้วยการเจ็บ และจบลงที่การตาย อันเป็นความทุกข์ตามธรรมชาติซึ่งผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ทุกคนจะต้องได้รับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    <O:p</O:p
    นอกจากนั้นก็ยังมีทุกข์ทางใจอันได้แก่การพลัดพรากจากสิ่งของหรือบุคคลที่ตนรัก และการที่ต้องจากสมมติโลกที่ตนคิดว่าเป็นเจ้าข้าวเจ้าของไป สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความทุกข์อันสืบเนื่องมาจากการเกิดทั้งสิ้น
    <O:p</O:p
    ถึงตรงนี้ผู้ปฏิบัติคงพอเข้าใจกันมากขึ้นแล้วว่าหากยังคงต้องเกิดไม่ว่าอย่างไรเราก็ต้องได้พบกับความทุกข์เป็นแน่ เพราะการเกิดนั้นมันเป็นทุกข์ ทุกข์จากสิ่งที่ไม่จีรัง มีความเปลี่ยนแปลง และไม่อาจคงทนต่อการเปลี่ยนแปลง

    [​IMG]




    <O:p</O:p
    แต่ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับว่าโดยพื้นฐานตามธรรมชาติของนิสัยมนุษย์ หากจะเปรียบเทียบระหว่างความตั้งใจที่จะละเว้นจากการสร้างกรรมเลวกับการทำบุญหรือการทำความดีแล้วไม่ยึดติดในผลบุญที่ได้กระทำลงไปประการหลังคงจะเป็นเรื่องที่ทำใจได้ยากกว่ามากมายนัก
    <O:p</O:p
    คนปกติทั่วไปเมื่อทำบุญก็ย่อมต้องมุ่งหวังในอานิสงส์ผลบุญนั้นเป็นธรรมดา เพราะเราทุกคนต่างก็ถูกปลูกฝังความเชื่อนี้สืบทอดต่อๆกันมา ตั้งแต่เราเริ่มจำความได้ และเราก็มีพัฒนาการกันอย่างรวดเร็วในการเรียนรู้ที่จะอธิษฐานขอสิ่งต่างๆ ตามที่ใจเราปราถนา เริ่มจากเรื่องการเรียน การงาน ความรัก ความร่ำรวย โชคลาภ สุขภาพ และอีกมากมาย ซึ่งเมื่อความเชื่อดังกล่าวนี้ได้ถูกหล่อหลอมเข้าไปในจิตใต้สำนึกของเรา จึงส่งผลทำให้จิตของเรารู้สึกพึงพอใจในความสุขที่บังเกิดจากการที่บังเกิดจากการทำบุญ กลายเป็นจิตติดสุข และในที่สุดก็กลายเป็นเรื่องยากที่จะปล่อยวางไม่ให้จิตไปยึดติดในบุญที่เราได้กระทำ
    <O:p</O:p
    ผู้ปฏิบัติจึงต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาให้เกิดภูมิความรู้แจ้งว่าแท้ที่จริงแล้วการเกิดนั้นสำคัญกว่ากรรมที่เราจะได้รับจากการเกิดมากมายนัก ในการเกิดแต่ละครั้งมีความเสี่ยงสูงมากที่จิตจะต้องมาแปดเปื้อน เพราะกิเลสเสี่ยงต่อการหลง อยู่กับมายาความคิดและความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งจะเป็นเหตุที่นำพาให้ดวงจิตที่หลงนั้นห่างไกลออกไปจากพระนิพพานมากขึ้นทุกทีๆ
    <O:p</O:p
    การเกิดจึงเป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง ถ้าหยุดการเกิดได้เมื่อไรความทุกข์ทั้งปวงก็จะหมดลงตามไปด้วย รู้เช่นนี้แล้วผู้ปฏิบัติจึงต้องรีบเร่งทำความเพียรและอย่ายึดติดในความสุข จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปอีกชาติหนึ่ง จิตที่สามารถปล่อยวางได้จากกิเลสมายาทั้งปวงบนโลกสมมติใบนี้จึงเป็นจิตที่สามารถเข้าถึงพระนิพพานได้อย่างแท้จริง

    ที่มา : หนังสือ "นิพพานใกล้แค่เอื้อม" หน้า 14 -17<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...