ฉบับที่ ๑๗ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘

ในห้อง 'กระโถนข้างธรรมาสน์' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 16 สิงหาคม 2005.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกันยายน ๒๕๔๔
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

    ถาม : การบังคับนี่ก็แสดงว่าไม่ได้เข้าไปแทรก ?
    ตอบ : ไม่ได้เข้าไปแทรก บังคับอยู่ภายนอก โดยส่งพลังจิตที่สูงกว่าบังคับเข้าไป
    ถาม : เหมือนการสะกดจิต ?
    ตอบ : ลักษณะเหมือนอย่างกับว่าตัวเราเป็นหุ่นยนต์ แล้วเขาใช้คลื่นวิทยุบังคับเรา
    ถาม : ใกล้เคียงกับการสะกดจิต ?
    ตอบ : ก็คล้าย ๆ กันเลย
    ถาม : แต่ทีนี้ถ้าพูดถึงเรื่องของการแทรกนี่คือเบียดออกไปเลย ?
    ตอบ : พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่มาร้าย ถ้าหากว่ามาร้ายนี่ส่วนใหญ่จะใช้ลักษณะนี้ บางทีมันจะยึดร่างกายของเราเป็นของมันเลย ยึดรถเราเป็นของมันเลย คราวนี้พวกที่ยึดรถของเราเป็นพวกมันนี่ ส่วนใหญ่แล้วในปัจจุบันนี้ถ้าเรารู้ก็อย่างเช่นพวก
     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=15 background=images/left.gif></TD><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD> ถาม : ผู้ที่มีบารมีมาก ๆ ที่ไม่ตกนรก เพราะว่าเขาสามารถบังคับจิตใจให้อยู่ในกองกุศลได้ตลอดใช่มั้ย ?
    ตอบ : เรียกว่าตลอดก็ไม่ใช่นะ แต่ตอนวาระสำคัญนี้สามารถทำได้ ระวังไว้ก็แล้วกันติดหนี้เขาเยอะ ถึงเวลาถ้ามันทวงทีเดียวอาจจะหมดตัว
    ถาม : ค่อนข้างจะไม่เห็นด้วยที่บอกว่าเราสามารถบังคับตัวเองได้ให้อยู่ในศีลตลอด การบังคับตัวเอง นั่นก็ดี....(ไม่ชัด)....ใช่ว่ามีตัณหาอย่างเดียว เพราะฉะนั้นศีล....(ไม่ชัด).....?
    ตอบ : ก็ไม่ได้หมายความตัวของเขาเองทำชั่วแล้วจะพ้นจากความชั่วนั้นโดยที่ไม่มีความดีมาช่วย อย่าลืมว่า เขาใช้คำว่าเขาทำบุญทำกุศลและจิตใจเขายึดโยงในส่วนที่เป็นกุศลอยู่ สิ่งที่เขาทำเป็นกรรมชั่วมันมีกำลังน้อยกว่า มันยังตามไม่ทัน แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะเล็ก มันยังตามอยู่ตลอดเวลา ถึงวาระถึงเวลาเมื่อไหร่มันจะสนองทันที เมื่อครู่ถึงบอกเขาว่าระวัง มันทวงทีเดียวหมดตัวเลยแหละ
    ถาม : ฉะนั้นจะใช้คำว่าบังคับแล้วไม่ตรง ไม่น่าจะใช้ได้
    ตอบ : จริง ๆ แล้วมันใช้ได้ แล้วตรงไปตรงมาที่สุดด้วย คือว่าถ้าหากว่ากำลังใจของเขาในตอนช่วงนั้น มันไม่เศร้าหมอง จิตของเขามีที่ยึดที่เกาะแปลว่าเขาต้องผ่านการฝึกฝนมาอย่างหนัก อย่างหนักชนิดที่เรียกว่าของเราเองทำไมถึงแต่ของเขาทำถึง ในเมื่อเขาสามารถทำถึงตรงจุดนั้น ตัวนั้นก็จะเป็นกุศลส่งผลให้เขาพ้นไปก่อนชั่วคราว แต่ไม่ได้พ้นตลอดหรอก เดี๋ยวก็เสร็จ
    ถาม : แต่มีเงื่อนไขว่าก็แค่ชั่วคราว ใช่มั้ยคะ ?
    ตอบ : ใช่ ถึงเวลาที่กุศลมันขาดช่วงเมื่อไหร่ก็เรียบร้อยแหละ เขาทวงที่นี้ก็ยาวเลย
    ถาม : แต่ถ้าเขาทำมาจนชินแล้วก็เกิดใหม่ เขาสามารถจะทำอย่างนั้นต่อไป ?
    ตอบ : ได้จ้ะ พระที่เข้านิพพานทุกองค์ไม่มีใครใช้หนี้หมด เพียงแต่ว่าสภาพจิตของตัวเองพอถึงเวลาบริสุทธิ์แล้วก็เป็นอันว่าจัดเป็นอโหสิกรรมต่อกันไป มันเหมือนกับว่าน้ำกับน้ำมันที่แยกตัวจากกันโดยเด็ดขาด ไม่สามารถจะปะปนกันได้แล้ว ไม่เหมือนน้ำกับนมจะเทลงไปเมื่อไหร่ก็ละลายรวมกันเลย
    ถาม : อย่างเวลาพวกพุทธภูมิตายจากสภาพความเป็นมนุษย์ ถ้าไม่ลงนรก ขึ้นไปบนสวรรค์เขาว่าจะเป็นพรหมเทวดา แล้วเขาจะมีเวลา.....หมายความว่าช่วงระยะเวลาหรือจะมีคนมาเตือนว่าให้ลงมาเกิดอีกหรือเปล่าครับ ?
    ตอบ : ก็ต้องดูด้วยนะ ว่าของเราเองมีเพื่อนฝูงที่รักกันขนาดนั้นหรือเปล่า ? ถ้าหากว่าไม่มีเขาก็ไม่มาเรียกเตือนคุณหรอก คุณอยากสร้างบารมีคุณก็ตะเกียกตะกายของคุณเองก็แล้วกัน
    ถาม : แล้วลงมาจุติได้ตลอดเวลาหรือเปล่าครับ ?
    ตอบ : ถ้าหากว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านจะขยันเกิด ในเมื่อท่านจะขยันเกิดนี่ส่วนใหญ่ท่านจะไม่อยู่นานหรอก มันเสียเวลาสร้างบารมีของท่าน
    ถาม : สามารถลงมาเกิดได้เลย ?
    ตอบ : กำลังของคุณสูง ต้นทุนของคุณมี คุณจะซื้อตั๋วใส่กระเป๋าไปเพื่อจะเดินทางเมื่อไหร่ก็ได้คนมีตังค์น่ะ
    ถาม : ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือเปล่า อย่างคนที่ตายแล้วจิตเศร้าหมองหรือว่ามีกรรมหนักมาก นี่ก็คือจิตมันตกอยู่ในตรงนั้น มันก็เลยลงนรกแน่นอน แต่ถ้าเกิดคนที่แบบทำกรรมความชั่วด้วยนี่ถึงจะหักล้าง อย่างพระยายมราชท่านมีเมตตา ท่านก็เลยส่งคนมาดักแล้วเอาไป แล้วพยายามให้นึกถึงความดีที่ก่อมา ?
    ตอบ : อันนี้เป็นไปตามที่เราเข้าใจ ที่เราว่ามาน่ะใช่เลย พระยายมไม่ได้มีหน้าที่เอาใครลงนรกแต่พระยายมกันคนไม่ให้ลงนรก เพราะฉะนั้นบรรดาคนที่ตายนะ พอถึงเวลารู้ตัวว่าตาย ต่อให้ไม่มีคนมารับก็พยายามจะตะกายไปหาท่าน
    ถาม : เคยเห็นวิญญาณ เป็นแพตัวดำ ๆ สูง ๆ ใหญ่ ๆ แล้วก็ถือดาบใ่ส่ผ้าสีแดง ๆ ๒ คน จับคู่กันไม่ทราบว่าเป็นอะไร (แล้วเขามารับเราหรือเปล่าคะ) เปล่าแต่เขามาให้เห็น ?
    ตอบ : ไม่แน่พวกนั้นอาจจะเป็นพวกที่เขามาดูแลรักษาเราก็ได้ อาจจะเป็นเพื่อนเป็นฝูงหรือเคยเป็นบริวารเก่ามาก็ได้ ถามแสงชัยซิ อาตมากับน้องชาย ๒ คนนอนอยู่ด้วยกัน กลางคืนตื่นขึ้นมาตัวเท่าตึกนุ่งหยักรั้งสีแดงมานอนเบียด เขามาช่วยรักษาเรา แต่เราเป็นเด็กอยู่ ๆ ตัวใหญ่มานอนเบียดด้วย ก็ตกใจร้องไห้กลางคืนบ่อย ๆ พ่อแม่รำคาญฟาดเอาเจ็บตัวไป แล้วเขาก็ตามอยู่เรื่อย ลักษณะเขาตามดูแล แต่ตอนนั้นเราไม่รู้จริง ๆ ว่า เขามาดูแลเรา พอถึงเวลาอย่างเช่นว่าจะไปเก็บฝรั่งกัน ก็ไปนั่งห้อยขาบนต้นฝรั่งตัวเท่าตึก แล้วยังมีหน้ามาหัวเราะใส่เราอีก เด็ก ๆ เห็นกันทุกคนวิ่งกันตีนพลิกเลย สาปส่งฝรั่งต้นตั้นไปไม่มีใครกล้าขึ้นอีกเลย....กลัวผี
    ถาม : แล้วทำไมเขาไม่มาแบบสวย ๆ (หัวเราะ) ?
    ตอบ : นั่นเขามาในชุดทำงานของเขาแล้ว หน้าที่ของเขานี่ ทำงานไม่แต่งเครื่องแบบเดี๋ยวโดนเจ้านายปรับ จริง ๆ เขาไม่ได้มาน่าเกลียดน่ากลัวอะไรหรอกเพียงแต่ว่าตัวเขาใหญ่ ของเราเองพอเห็นคนตัวใหญ่ ๆ แปลกหน้าด้วย ก็ตกใจวิ่งเท่านั้นเอง
    ถาม : ส่วนใหญ่คิดว่าผี ?
    ตอบ : ใช่ ส่วนใหญ่คิดว่าผีไว้ก่อน
    ถาม : อย่างตานึกไปอย่างนี้ ยังเล็ก ๆ อยู่เลย มีคนมาฉุดมือขึ้นไปน่ะ
    ตอบ : โบราณเขาเรียกว่า
     
  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=15 background=images/left.gif></TD><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD> ถาม : วิธีทำกรรมฐาน กายคตาหรือว่าอสุภะ ทำยังไงให้ถูกต้อง อย่างเช่น นั่งสมาธิก่อนแล้วถึงระดับไหน อะไรอย่างไงคิดอย่างไงคะ ?
    ตอบ : จริง ๆ ต้องมีสมาธิก่อน เหมือนอย่างกับว่าลับมีดให้คมแล้ว เสร็จแล้วค่อยไปตัด คือ พิจารณา พอเราลับมีดให้คมแล้วพิจารณามันก็จะชัดเจนแจ่มใส เพราะกำลังของสมาธิมันสูงพอ
    ถาม : อย่างกับนั่งสมาธิ ชั้นฌานสูงสุดที่เราทำได้ แล้วคลายสมาธิ จากนั้นก็พิจารณาไปใช่เปล่าคะ ?
    ตอบ : จ้ะ พอเราทำเต็มที่แล้วถอยกำลังลงมา แล้วมาพิจารณาพอพิจารณาจนกระทั่ง
     
  4. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=15 background=images/left.gif></TD><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD> ถาม : มีเพื่อนที่ได้ทำการปฏิบัติธรรมแล้วเขามีความรู้สึกว่า การปฏิบัติธรรมของเขาไม่ก้าวหน้าไปไหนเลย พอปฏิบัติธรรมแล้วก็เหมือนกับอยู่กับที่ เขาได้พยายามทำสมาธิเองอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ก้าวหน้าขึ้น พอจะมีข้อแนะนำในการปฏิบัติธรรมให้เขามีความก้าวหน้าบ้างมั้ยคะ ?
    ตอบ : ลักษณะการปฏิบัติแล้วไม่ก้าวหน้ามันประกอบด้วยสาเหตุอยู่ ๓ ลักษณะด้วยกัน อย่างแรก ทำเกิน อย่างที่ ๒ ทำขาด ถ้าทำพอดีก้าวหน้าทุกคน ทำเกินก็คือเคร่งเครียดจนเกินไป สภาพร่างกายมันไปไม่ไหว ทำขาดก็คือ ขี้เกียจจนเกินไป มันก็เลยไม่ก้าวหน้าด้วย
    เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องทำให้พอดีถึงจะก้าวหน้า ตัวพอดีพระพุทธเจ้าตรัสว่า มัชฌิมาปฏิปทา คราวนี้คำว่ามัชฌิมา พอดีตรงกลางนี่ไม่มีอัตราตายตัวว่า ๕๐% เป๊ะ มันจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและจิตใจของเราที่ได้รับการฝึกมา
    ดังนั้นว่าของคนผู้หนึ่งมัชฌิมาปฏิปทาของเขาอาจจะนั่งตลอด ๓ วัน ๓ คืนเลย แต่ว่าของเราเอง ๓๐ นาทีก็แย่แล้ว ดังนั้นการปฏิบัติแรกเริ่มถ้าหากว่าเราภาวนาแล้วรู้สึกว่ามันไม่ไหวแล้วอย่าเพิ่งเชื่อมัน ให้ลองฝืนดูนิิดหน่อย ถ้าฝืนแล้วไปต่อได้ก็โอเค นี่โกหกแน่เมื่อกี้นี้แสดงว่าเป็นตัวถีนมิทธะนิวรณ์ มาหลอกให้เราขี้เกียจ
    ถ้าหากว่าฝืนแล้วไปต่อได้ก็ควรจะตั้งเวลาไว้สักครึ่งชั่วโมงหรือว่าไม่เกิน ๑ ชั่วโมงแล้วพัก ถ้ามากเกินไปกว่านั้นบางทีมันเป็นการทรมานตัวเองมากเกินไป ยกเว้นบางท่านที่ต้องการดูเวทนา ต้องการจะแยกจิตแยกกายดูว่าอาการของมันเป็นอย่างไร อย่างนั้นเขานั่งกันข้ามวันข้ามคืน นั่งกันจนก้นแตกกันไปข้างหนึ่ง
    อีกอย่างหนึ่งที่ปฏิบัติไปแล้วไม่ก้าวหน้าก็คือ บางทีจะเน้นแต่สมาธิอย่างเดียว ตัวสมาธิกับตัวปัญญามันเหมือนกับคนที่ผูกขา ๒ ข้างด้วยโซ่เส้นหนึ่ง ถ้าหากว่าสมาธิไปแล้วปัญญาไม่ตามมันก็เหมือนกับเดินไปสุดแล้วโซ่มันกระตุกกลับ ดังนั้นเมื่อภาวนาจนอารมณ์เต็มแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเต็มที่ ก็มันถึงจุดสุดแล้วไม่สามารถไปต่อแล้วอารมณ์มันจะคลายออกมา
    ตอนอารมณ์มันคลายออกมาสำคัญที่สุดถ้าหากว่าเราไม่บังคับให้มันคิดในสิ่งที่ดี ๆ มันก็จะคิดไปในทางรักโลภ โกรธ หลง พาเราฟุ้งซ่านไปเลย เพราะฉะนั้นเมื่อมันถอยออกมาเราก็ให้คิดในวิปัสสนาญาณ คือให้คิดพิจารณาให้เห็นในความเป็นจริง ว่าสภาพร่างกายก็ดี โลกเราก็ดี มันประกอบไปด้วยไตรลักษณ์ คือความเป็นจริง ๓ อย่าง ว่า ๑. มันไม่เที่ยง ๒. มันเป็นทุกข์ ๓. มันไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนเขาเราได้ หรือไม่ก็พิจารณาตามแนวอริยสัจ อริยสัจนี่จับแค่ทุกข์กับเหตุของการเกิดทุกข์เท่านั้น ถ้าเรารู้ว่าทุกข์เกิดจากอะไรแล้วไม่สร้างเหตุนั้นทุกข์ก็ดับ ถ้าทุกข์ดับให้เรียกว่า นิโรธ ระหว่างที่เราปฏิบัติเขาเรียกว่า มรรค คือหนทางเข้าถึงการดับทุกข์
    เพราะฉะนั้นว่าเราจับแค่ทุกข์กับสมุทัย ๒ ตัวเท่านั้น หรือไม่ก็พิจารณาตามแบบของวิปัสสนาญาณ ๙ คือ พิจารณาให้เห็นอย่างเช่น อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นการเกิดแล้วดับ ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นว่าทุกอย่างดับหมด ภยตูปัฏฐานญาณพิจารณาให้เห็นว่าร่างกายนี้มันเป็นโทษเป็นภัยเป็นของน่ากลัว จนกระทั่งไปถึงสังขารุเบกขาญาณ คือการปล่อยวางในสังขารทั้งปวง และสัจจานุโลมิกญาณ คือพิจารณาย้อนต้นทวนปลาย ทวนปลายย้อนต้นกลับไปกลับมาให้พิจารณาอยู่ในลักษณะนี้
    </B>การพิจารณามีประโยชน์มากตรงที่ว่า เมื่อจิตมีงานทำไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญาจับเฉพาะหน้า สติดำนินตามไป จิตมันจะดิ่งกลับไปเป็นสมาธิอีกระดับหนึ่งพอมันเป็สมาธิถึงระดับนั้นปุ๊บ เราภาวนาต่อเลย มันก็จะทรงตัว ก้าวล่วงลึกเข้าไปอีกระดับ แต่ว่าพอก้าวไปถึงจุดตันมันจะถอยมาอีกทีหนึ่ง ก็ตอนนี้ปัญญาเดินหน้า พอถึงจุดตันโซ่มันติดแล้วมันจะกระตุกขากลับ เราก็ก้าวไปอีกต่อ คือภาวนาคือสมาธิ เมื่อภาวนาไปถึงเต็มที่คราวนี้มันจะกระตุกกลับอีกแล้ว เราก็พิจารณาต่อไป ถ้าทำดังนี้ได้จะก้าวหน้า</B>
    ถ้าหากว่าเว้นไปจากเรื่องทั้งหลายเหล่านี้แล้ว บางทีทำเท่าไหร่ก็พอ มันไปตันก็โดนกระตุกกลับ ไปตันก็โดนกระตุกกลับ มันก็เลยไม่ก้าวหน้า ให้เขาพิจารณาด้วย ว่าตัวเองทำแล้วเหตุที่ไม่ก้าวหน้าเกิดจากเหตุอะไร แล้วแก้ไข
    ถาม : แล้วอย่างที่ตัวของตัวเองเวลาถึงจุดสมาธิเข้าช่วงที่จะกระตุกกลับ ของตัวเองนี่ในลักษณะเดินสมาธิพิจารณาสังขารนี่ทุกข์ อันนี้ไม่ทราบว่าจะพอใช้ไ้ด้มั้ยคะ ?
    ตอบ : ก็ถ้าหากว่าสภาพจิตมันยอมรับว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเราจริงก็ใช้ได้ แต่ว่าการปฏิบัติในลักษณะของการภาวนา หรือว่าพิจารณาก็ตามต้องย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่หัวข้อเดียว ห้ามเบื่อเด็ดขาดจนกว่ามันจะตัดกันไปข้างหนึ่งหรือยอมรับกันไปข้างหนึ่งเลย ถ้าหากว่าเราเบื่อเสียก่อนที่มันจะยอมรับนี่เราแพ้เขา ตรงจุดนั้นจะไม่ก้าวหน้าถึงที่สุด ซ้ำแล้วซ้ำอีก ย้ำแล้วย้ำอีกห้ามเบื่อเด็ดขาดจนกว่าจะชนะกันไปข้างหนึ่ง
    ถาม : ทีนี้ขั้นตอนแล้วก็ลำดับในการทำสมาธิที่บอกว่า เริ่มจากที่จิตไม่สงบฟุ้งซ่านแล้วเข้าสู่การทำสมาธิในแต่ละขั้นตอนเขามีชื่อบอกในแต่ละขั้นอย่างไรบ้างคะ ?
    ตอบ : จะเริ่มจากตัวขณิกสมาธิ คือเริ่มจากสมาธิเล็กน้อย ต่อไปอุปจารสมาธิ ใกล้จะเป็นสมาธิแล้วใกล้ฌาน แล้วก็อัปนาสมาธิแปลว่า สมาธิแนบแน่น ก็เริ่มจากปฐมฌาน คือความเคยชินขั้นที่ ๑ ทุติยฌานคือความเคยชินขั้นที่ ๒ ตติยฌาน คือความเคยชินขั้นที่ ๓ จตุตถฌาน ความเคยชินขั้นที่ ๔
    แล้วหลังจากนั้นถ้าเราทำอรูปฌานต่อ ก็จะเป็นอากาสานัญจายตนฌาน คือการละรูปไปพิจารณาอากาศ วิญญานัญจายตนฌาน คือการละจากรูปไปพิจารณาวิญญาณ อากิญจัญญายตนฌาน คือการละจากรูปไปพิจารณาความไม่มีอะไรเหลือเลย แล้วก็เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือการละจากรูปไปไม่จับทั้งการมีสัญญาหรือไม่มีสัญญา รวมแล้วจะเป็นเรียกว่า สมาบัติ ๘ คือการเข้าถึง ๘ ขั้นตอน
    คราวนี้มันจะมีพิเศษว่า ถ้ากำลังของเราสูงกว่านั้นสามารถเข้าถึงระดับอนาคามีและทรงสมาบัติ ๘ เป็นปฏิสัมภิทาญาณ เราจะได้อีก ๒ สมาบัิติ เรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า นิโรธสมาบัติ
    ถาม : แล้วเป็นยังไงคะ ?
    ตอบ : อธิบายยาก นิโรธสมาบัติจะเป็นลักษณะของการที่จิตของเราจับนิ่งอยู่เฉพาะที่ อาจจะเป็นที่พระนิพพานอยู่ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือว่าเคลื่อนอยู่ตามภพภูมิต่าง ๆ ก็ได้แล้วแต่เราต้องการ แต่ว่าทั้ง ๒ สภาพนั้นตามที่ว่านั้นจิตจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกายแม้แต่นิดเดียว สัญญาเวทยิตนิโรธ แปลว่าการดับเสียซึ่งสัญญาและเวทนาทั้งปวง เหมือนกับคนตายดี ๆ นี่เอง เขาว่ากันทีหนึ่ง ๗ วัน ๑๕ วัน ความจริงจะมากเกินกว่านั้นก็ได้ เพราะกำลังมันพอ พระพุทธเจ้าไม่แนะนำให้ทำเนื่องจากว่าร่างกายที่อดอาหารนาน ๆ มันจะฟื้นคืนได้ยาก ยิ่งอายุมาก ๆ อาจจะป๊อกไปเลย
    ถาม : ทีนี้ถ้าเราใช้สมาธิช่วยในการเจ็บบรรเทาปวดหรือการรักษาเกี่ยวกับร่างกายของเรา การเดินสมาธิแบบนี้จะต้องทำอย่างไรบ้างคะ ?
    ตอบ : ทำให้สูงสุดเท่าที่เราทำได้ โดยเน้นตรงอานาปานสติ คือลมหายใจเข้า-ออกของเรา ถ้าหากว่าเรามีความชำนาญคือเข้าฌานไปเลย ทันทีทีี่ถึงปฐมฌานความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับทางกายก็จะเป็นส่วนของกาย จิตของเราจะเป็นส่วนของจิต คือจิตกับกายมันแยกจากกัน ในเมื่อจิตกับกายเริ่มแยกจากกัน ยิ่งเข้าสู่สมาธิสูงมากเท่าไรก็ยิ่งแยกห่างขึ้นเท่านั้น อาการรับรู้ที่เกิดขึ้นกับร่างกายที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็จะขาดลงเหมือนกับไม่ป่วย
    ถาม : จะรักษาตัวได้ก็เฉพาะตอนที่เราทำสมาธิหรือคะ ?
    ตอบ : ถ้าหากว่าสมาธิทรงตัวอยู่ก็จะสามารถระงับอาการของร่างกายได้ตลอดเวลา แต่ว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้จำเป็นต้องซักซ้อมหาความชำนาญให้มากไว้ ไม่อย่างนั้นเวลาเกิดเวทนาแรงกล้าขึ้นมาบางทีก็จะสู้มันไม่ไหว
    เนื่องจากว่าสมาธิของเรามันเป็นเครื่องอาศัยที่มันก็มีเกิดมีเสื่อม ถ้าสภาพร่างกายมีร้อนเกินไป หนาวเำิกินไป หิวเกินไป เหนื่อยเกินไป หรือว่าเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยบางทีมันไม่เอากับเราเลย
    ถาม : อย่างที่เขาใช้สมาธิรักษามะเร็งได้นี่จริงมั้ยคะ ?
    ตอบ : จริงจ้ะ แต่อันนั้นต้องหมายถึงว่ากรรมของเราไม่หนัก เพราะว่า ถ้าโรคบางอย่างรักษาหรือไม่รักษาก็หาย โรคบางอย่างต้องรักษาจะหายถ้าไม่รักษาถึงตาย โรคบางอย่างรักษาหรือไม่รักษาก็ตาย
    ถาม : ทีนี้อย่างคนที่เจ็บป่วยนี่ แล้วเขามีการใช้พลังจักรวาลช่วยรักษา อย่างนี้จะเป็นการฝืนกฎของกรรมหรือไม่คะ ?
    ตอบ : จะเรียกว่าไปฝืนก็ไม่ได้ เพราะถ้าเขาทำได้ก็แปลว่ากำลังบุญของเขายังมีอยู่ ในเมื่อกำลังบุญของเขามีอยู่เพียงพอที่ทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการฝืนกฎของกรรม
    ถาม : คือบางทีนี่มีการส่งพลังไปจากตัวเราไปให้กับอีกคน กับการที่ให้เขาทำเองโดยที่เขาฝึกของเขาเองนี่ อันไหนจะดีกว่ากันคะ ?
    ตอบ : ส่วนใหญ่ไปถามที่คนป่วย มันก็จะให้เขาทำให้จะดีกว่า แต่ถ้าให้เขาฝึกได้เองต่อไปเขาไม่ต้องพึ่งใคร ดังนั้นการฝึกได้เองสมควรว่าดีกว่าแน่นอนกว่า แล้วเราเองก็เหนื่อยน้อยกว่าคนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่เท่าที่ผ่านมาจะให้ช่วยท่าเดียว

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD background=images/right.gif> </TD></TR><TR><TD width=15 background=images/left.gif> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD> ถาม : วันก่อนที่ถามเรื่องการทำกสิณ จดไม่ทันค่ะ กลับไปที่บ้านแล้วอ่านก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง รบกวนด้วย ?
    ตอบ : กสิณ แปลว่า การเพียรเพ่งอยู่เฉพาะหน้า กสิณมีทั้งหมด ๑๐ กองด้วยกันแบ่งเป็นธาตุกสิณ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นวรรณะกสิณ ๔ ก็คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง สีเขียว แล้วก็มีอีก ๒ อย่างเป็น อากาศกสิณกับอาโลกกสิณ คือ กสิณของความว่างกับกสิณแสงสว่าง เราจับอันใดอันหนึ่งขึ้นมาก่อน โดยตั้งวัตถุนั้นอยู่ตรงหน้าเรียกว่า ดวงกสิณ
    อย่างเช่นถ้าหากว่าจะทำปฐวีกสิณ ก็ต้องกำหนดต้องทำดวงกสิณขึ้นมาก่อนเพื่อที่เราจะได้มองได้ เพ่งได้ กำหนดใจได้ การทำดวงกสิณในสมัยโบราณท่านใช้ผ้าสะดึง ก็คือว่าขึงผ้าให้ตึง เสร็จแล้วดวงกสิณของท่านก็จะเอาดินซึ่งสมัยก่อนเขาใช้ดินขุยปู ซึ่งเขาเรียกดินสีอรุณ คือค่อนข้างจะออกไปทางสีส้มอ่อน เอามาละเลงเป็นวงกว้างประมาณ ๒ คืบ ๔ นิ้วเบ้อเร่อเลย แต่ว่าของเราเองไม่จำเป็นต้องทำให้ลำบากขนาดนั้น ถ้าเราหากดินสีอรุณได้ เอามาปั้นเป็นก้อนกลมขนาดพอเหมาะพอใจของเราก็ได้ ตั้งดวงกสิณนั้นเอาไว้ในภาชนะหรือว่าสถานที่ ๆ เรานั่งตัวตรงแล้วมองได้สบาย ๆ อยู่ในระยะไม่ใกล้ไม่ไกลจนเกินไป ตั้งใจลืมตามองภาพกสิณนั้นแล้วกลับตาลงนึกถึงภาพ ไม่ใช่ไปนั่งจ้องภาพกสิณนั้นตลอด มองแล้วก็หลับตาลง มันจะจำได้อยู่ครู่หนึ่งพร้อมกับคำภาวนา
    ถ้าหากว่าเป็นปฐวีกสิณ ก็ปฐวีกสิณัง ปฐวีกสิณัง ปฐวีกสิณัง ควบกับลมหายใจเข้าออก ว่าอย่างนี้ไปเรื่อย พอภาพมันเลือนหายไปก็ลืมตามองใหม่ กำหนดจำพร้อมกับคำภาวนา หายไปก็ลืมตามองใหม่ ทำอย่างนี้เป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง ภาพนั้นก็เริ่มที่เราจะจำได้ยาวนานขึ้น ลืมตาก็นึกออก หลับตาก็นึกได้
    ถึงขั้นตอนนี้แล้วจะสำคัญมากอยู่ที่ว่าเราเองต้องประคับประคองเอาไว้ เผลอสติเมื่อไหร่ภาพนั้นจะหายไป ถ้าเราสามารถประคับประคองได้ตลอดเวลาไม่ว่าไปทำอะไรแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งนึกไว้ตลอด ความรู้สึกส่วนนี้อาจจะเป็น ๒๐ หรือว่า ๓๐% ส่วนอีก ๗๐-๘๐% นั้นบังคับร่างกายเราให้ทำหน้าที่เป็นปกติของเราไป
    เมื่อนึกถึงอย่างนี้อยู่ตลอดเวลาภาพนั้นก็จะเปลี่ยนจากสีปกติก็จะค่อย ๆ จางลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นสีเหลืองอ่อน จนกระทั่งกลายเป็สีขาว กลายเป็นสีแก้วกลายเป็นแก้วใส จนกระทั่งกลายเป็นแก้วใสสว่างจ้า ถ้าหากว่าถึงจนเป็นแก้วใสสว่างเจิดจ้าแล้วเราลองอธิษฐานดูว่าให้ภาพนั้นขยายใหญ่ได้มั้ย ? ให้เล็กลงได้มั้ย ? ให้หายไปได้มั้ย ? ให้กลับคืนมาใหม่ได้มั้ย ? ถ้าสามารถทำตรงนี้ได้คล่องตัวก็แปลว่า เราเริ่มอธิษฐานใช้ผลของกสิณได้แล้ว ก็ซ้อมการใช้ผลของกสิณให้ชิน เป็นต้นว่าถ้าใช้ผลของปฐวีกสิณก็ใช้ผลทำให้ของอ่อนให้แข็ง เช่น น้ำให้ตั้งใจอธิษฐานเช่นว่า เอาน้ำมาแก้วหนึ่งให้อธิษฐานว่า น้ำแก้วนี้ให้แข็งเหมือนกับดิน เสร็จแล้วก็ให้ตั้งใจเข้าฌาน ๔ พอคลายออกจากฌาน ๔ ออกมาอธิษฐานอีกครั้งหนึ่งว่า ให้น้ำแก้วนี้แข็งเหมือนกับดิน เข้าฌานแล้วพอคลายออกมาคราวนี้มันจะแข็งไปเลย
    เมื่อทดสอบอย่างนี้แล้วก็ให้ทดสอบกับของที่ใหญ่ขึ้นเพื่อความคล่องตัว พอทำจนกระทั่งคล่องตัวแล้วสามารถที่จะใช้ผลของกสิณเมื่อไหร่ก็ได้ อย่างเ่ช่นเราจะเดินขึ้นบนอากาศเหมือนยังกับมีบันไดก็ได้ อธิษฐานว่าให้อากาศทุกจุดที่เท้าของเราเหยียบนี้จงมีความแน่นหนาเหมือนกับพื้นดินแล้วเราก็ก้าวเดินไป หรือว่าเดินข้ามน้ำก็อธิษฐานว่าขอให้น้ำที่เท้าเราเหยียบมีความแข็งเหมือนดินแล้วก็ก้าวเดินไป พอมันชำนาญแล้วเราค่อยย้ายไปกองอื่น กองแรกจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุด โดยเฉพาะตอนรักษาอารมณ์ของมันเอาไว้ประคับประคองไม่ให้ภาพมันหาย อยากจะเปรียบว่าเหมือนกับเลี้ยงลูกแก้วไว้บนปลายเข็ม พลาดเมื่อไหร่ตกแตกเมื่อนั้นก็ต้องเริ่มต้นนับ ๑ กันใหม่
    คราวนี้พอได้กองแรกแล้วกองอื่นสบายมาก เพราะว่าอารมณ์ใจคล้าย ๆ กันหมด ใช้กำลังเท่ากันหมด แล้วทุกอย่างก็ต้องกำหนดภาพกสิณขึ้นมาเหมือนกัน สมัยที่ซ้อมทำอยู่ถ้าเป็นกสิณสีจะเอาสีมาพ่นใส่กระดาษ อย่างสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว พอพ่นเสร็จก็เอาจานคว่ำ มีดโกนกรีดเข้ากลมป๋องเลย แล้วก็แปะข้างฝา แปะหลังคามุ้ง ข้าง ๆ มุ้ง พูดง่าย ๆ ว่า หันไปข้างไหนก็ต้องเห็น จนกระทั่งพี่ ๆ น้อง ๆ เขาว่าเป็นบ้าไปแล้ว ก็ทำดวงกสิณของเราไว้ จะฝึกอันไหนก็ทำอันนั้น มันยากอันแรกแล้วหลังจากนั้นก็ง่าย ถ้ากสิณ ๑๐ คล่องตัวนี่จะทำอะไรพิลึกพิลั่นพิสดารได้เยอะต่อเยอะด้วยกัน
    ถาม : ขอถามเรื่องการทำสมาธิของตัวเองค่ะ คือเวลาทำไปแล้วนี่กายของตัวเองอยากจะเข้าไปหา..........พอเปลี่ยนกายตัวเองนี่สภาพกายที่เปลี่ยนนี่มีการขยายขนาด ลักษณะกายขยายขนาดเปลี่ยนจากคนกลายเป็นองค์พระเป็น..........(ไม่ชัด)........แล้วก็มีการแยกออก..........(ไม่ชัด).......ได้ก็เลยสงสัยว่าเป็นอะไรคะ ?
    ตอบ : ถ้าหากว่าลักษณะนั้นก็แสดงว่าเราเคยฝึกกสิณมาเหมือนกัน ลักษณะเดียวกันอาทิสมานกาย คือกายในของเรา มันจะเต็มบุญเต็มบารมี เต็มกำลังใจหรือกำลังความดีที่เราทำได้ตอนช่วงนั้น ส่วนใหญ่ถ้าเราสามารถรู้เห็นอาทิสมานกายตัวเองได้ก็คือเราต้องเป็นผู้ทรงฌาน กายในจะเหมือนกับกายพรหม ถ้าเราทรงความดีมากขึ้นเท่าไหร่กายในก็จะสว่างมากขึ้นเท่านั้น
    ดังนั้นที่ว่าเวลากายในของเราเปลี่ยนเหมือนกับองค์พระแต่งองค์ทรงเครื่องอาจจะเหมือนกับพระแก้วทรงเครื่องก็ได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย แล้วตรงจุดนี้นี่แหละจะเป็นจุดที่วัดได้ง่ายที่สุดเลยว่าตอนนั้นความดีของเราั้นั้นก้าวหน้าขึ้นหรือว่าเลวลง ถ้าก้าวหน้าขึ้นกายในก็จะสว่างสดใสขึ้น เครื่องประดับก็จะแพรวพราวมากขึ้น แต่ถ้าหากว่าถอยหลังบางทีมันก็มืดก็มัวก็ดำหรือไม่ก็เปลี่ยนสภาพไปเลย
    ถาม : อย่างนี้เราก็สามารถดูได้ซิคะ ?
    ตอบ : สามารถดูได้ สภาพของมันจะเป็นไปตามบุญตามบารมีที่เราทำได้ในช่วงนั้นเนื่องจากว่า เรายังเป็นโลกียบุคคลอยู่ มันก็มีขึ้นมีลง
    ถาม : ก็เลยงงว่ามันเกิดอะไรขึ้น ?
    ตอบ : ไม่ได้เกิดอะไรขึ้นหรอกจ้า เป็นไปตามเฉพาะหน้าเหมือนกับเครื่องวัดอุณหภูมิ ขึ้น ๆ ลง ๆ ตามอากาศ
    ถาม : ทำไมบุญบารมีของพระพุทธองค์ เวลาที่จะขึ้นไปสู่ทางสวรรค์รู้สึกว่าติดต่อแล้วไปได้รวดเร็วมาก แต่พอเวลามีคนที่เขามีญาติที่ตกนรกอยู่ภาพภูมิข้างล่างแต่ว่าการที่จะติดต่อกับนรกภูมิข้างล่างนี่ยากมาก อยากรู็ว่าตรงนี้เป็นเพราะอะไร ?
    ตอบ : อันดับแรก จิตของเราอาจจะเคยชินกับการกลัวนรก มันลงบ่อยหวาดเสียว ไม่ค่อยอยากจะไป อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เราผิดมารยาทการไปนรก จุดที่ทำถูกต้องที่สุดก็คือไปกราบพระยายมราชก่อน แล้วกราบเรียนท่านว่าเราต้องการทำอย่างไร แล้วท่านก็จะจัดเจ้าหน้าที่ไปให้มันจะสะดวกคล่องตัวมาก ถ้าเราขืนลงไปเอง โดยเฉพาะตัวเราถ้าลงไปในลักษณะนั้นเราเองเป็นผู้ทรงฌานทรงความดีอยู่ ถ้าลงในขุมเขาปั๊บไฟเขาจะดับหมดเลย แล้วพวกสัุตว์นรกที่โดนทรมานอยู่ก็จะหลุดพ้นจากเครื่องทรมานทั้งปวง เขาจะเห็นเราเป็นผู้มีบุญที่จะโปรดสงเคราะห์เขาได้ ทั้งหมดมันจะฮือเข้ามาพร้อมกัน ถ้าตั้งสติไม่ดีอาจจะถึงเป็นบ้าด้วยความตกใจ เพราะรูปร่างของมันพิกลพิการน่ากลัวมาก
    เพราะฉะนั้นติดต่อท่านพระยายมราชก่อน ไปกราบท่านก่อนแล้วขออนุญาตจะทำเรื่องอะไรบอกท่าน จะให้เทวทูตหรือเจ้าหน้าที่พาไป ถ้าอย่างนั้นจะสะดวกคล่องตัวมาก
    ถาม : ทีนี้มีเพื่อนบางคน รู้สึกว่าเขาเข้าออกนรกได้ง่ายมากแต่เขาขึ้นไปข้างบนไม่ค่อยจะได้ค่ะ ?
    ตอบ : อันนี้อยากจะเชื่อว่าเป็นความคล่องตัวเพราะเคยชิน มันลงบ่อยมันก็เคยชิน พอจะขึ้นไปข้างบนไม่ค่อยได้ขึ้นจำทางไม่ค่อยจะได้ .....อันนี้พูดเล่นจ้ะ
    ถาม : อันนี้เขาเคยเกิดเป็นเจ้าหน้าที่ ๆ นั่นค่ะ
    ตอบ : เพราะฉะนั้นยืนยันได้ตรงกันเลย ต่อไปอย่าไปฟันธงอย่างนี้นะ อันนี้ตอบเฉพาะคน คือว่าบางคนกำลังใจเขายังหยาบอยู่ไปในที่หยาบมันจะง่าย พอขึ้นไปที่ละเอียดมันจะยาก แล้วถ้าขึ้นไปพรหมซึ่งละเอียดกว่าเทวดาจะยาก แล้วถ้านิพพานยิ่งละเอียดกว่าพรหมก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก แต่อันนี้ที่กล้าฟันธงลงไปเลยเพราะมั่นใจ
    ถาม : จะถามเรื่องการทำบุญ ที่ไปหล่อพระพุทธรูปหรือการสร้างพระพุทธรูป บูรณะซ่อมแซมพระพุทธรูป บุญกุศลเหล่านี้จะได้บุญยังไงคะ ?
    ตอบ : พุทธบูชา มหาเตชวันโต การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดช มีอำนาจมากถ้าหากว่าเกิดเป็นเทวดา พรหมก็จะมีรัศมีกายสว่างมาก ถ้าหากว่าเกิดเป็นคนส่วนใหญ่ต้องเป็นผู้นำหมู่ชนเขา และการซ่อมพระพุทธรูป ถ้าหากว่าเกิดใหม่รูปร่างหน้าตาจะสวยงามเป็นพิเศษ ถ้าเป็นสุภาพสตรีจะได้เบญจกัลยาณี หรือไม่ก็อาจจะถึงขนาดอิตถีลักษณะ ๖๔ ประการ ที่เป็นพุทธมารดา อันนั้นหายากสุด ๕ อย่างก็ยากเต็มทีแล้วอันนั้นอีก ๖๔ หัวข้อ
    ถาม : แล้วถ้าไม่ได้ซ่อมพระพุทธรูปแต่เป็นฐานพระพุทธรูปล่ะคะ ?
    ตอบ : ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งด้วย
    ถาม : แล้วถ้าเป็นผู้ชายล่ะครับ จะได้เบญจกัลยาณีหรือเปล่าครับ ?
    ตอบ : มันหวังสูงนะ (หัวเราะ) ตั้งความปรารถนาไว้แล้วกันดีไม่ดีได้เกินนั้น เขาหวังว่าเขาเป็นผู้ชาย เขากลัวว่าจะได้เบญจกัลยาณีมั้ย ? (หัวเราะ) เมื่อกี้ฟังไม่ชัดต้องบอกใหม่
    ถาม : ทีนี้ในทางตรงกันข้ามล่ะเจ้าคะ ถ้าทำลาย ?
    ตอบ : ไม่ต้องห่วงหรอกจ้ะ ลงนรกมหาอเวจีเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นก็เคยทำอะไรไว้ มันช่วยซ้ำครบทุกขุมเลย
    ถาม : มีเพื่อนที่รู้จักเจ้าค่ะ คือเขานำพระพุทธรูปมาองค์หนึ่้ง แล้วเขาไม่ทราบว่า เขาคิดว่าพระพุทธรูปองค์นั้นเป็นปูน เขาก็ด้วยความว่าเขาคิดว่าองค์ท่านควรจะมีน้ำล้อมรอบเขาก็เอาไปแช่น้ำเจ้าค่ะ พอแช่ทิ้งเอาไว้ท่านก็บวมขึ้นเรื่อย ๆ เลยมาทราบทีหลังว่าเป็นขี้เลื่อยอัดกาวค่ะ แล้วอย่างนี้ไม่ทราบว่า ..........?
    ตอบ : จริง ๆ เขาทำโดยเจตนาบริสุทธิ์ ตั้งใจจะถวายเป็นพุทธบูชาด้วยเรื่องเป็นโทษคงจะไม่มี แต่เพียงแต่ว่าพระชำรุด
    ถาม : ชำรุดมากเลยค่ะ หลุดเป็นชิ้น ๆ เลยค่ะ
    ตอบ : หาองค์ใหม่เขาเอาที่แช่ได้มันทน ๆ
    ถาม : เนื่องจากว่าเขารักองค์นี้มากเลยค่ะ เขาก็เลยให้ช่างไปซ่อม ทีนี้ช่างบอกซ่อมไม่ไหวแล้ว ต้องทุบท่านทีนี้ไม่ทราบว่า .....?
    ตอบ : ถ้าลักษณะอย่างนั้นถือว่าทำลายพระพุทธรูป โทษอเวจีเหมือนกัน ลักษณะนั้นควรจะบรรจุไว้ในองค์ที่ใหญ่กว่าแล้วบูชาต่อไป จำไว้เลยนะ พระที่สร้างขึ้นมาแล้วไม่ว่าองค์ใหญ่องค์เล็กก็ตาม จะชำรุดหรือไม่ชำรุดก็ตาม ถ้าเราเอาไปป่นทำลาย โดยเฉพาะสมัยนี้นิยมกันนักสร้างเป็นองค์พระขึ้นมาใหม่ มีส่วนผสมของพระเก่า คุยซะดิบดีเลยอันนั้นโทษทำลายพระพุทธรูป อเวจีมหานรกอยู่ รีบ ๆ กราบขอขมาพระรัตนตรัยเสียดี ๆ
    ถาม : แล้วจะหายมั้ยคะ ?
    ตอบ : มันไม่หายหรอก ขอไปเรื่อย ๆ จนกว่าท่านจะยอม คือจิตของเรามันจะคลายออกจากจุดนั้นเอง ใช้คำว่าท่านจะยอม ท่านยอมตั้งแต่แรกแล้วล่ะ เพราะมันทุบไปเรียบร้อยแล้ว

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD background=images/right.gif> </TD></TR><TR><TD width=15 background=images/left.gif> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD> ถาม : ถ้าเกิดมีรูปจิ๊กซอเป็นรูปพระค่ะ โรยกากเพชรเอาไว้ แล้วฝุ่นมันจับแล้วทำความสะอาดเอาไปล้างน้ำ มันหักน่ะค่ะ จะเอาไปใส่กรอบแล้วกาวมันหลุดน่ะค่ะ ?
    ตอบ : อันเดียวกัน อันนั้นเจตนาดีก็ไปซื้อกาวมาซะขวดละ ๒๐ บาท
    ถาม : ติดเสร็จแล้วใส่กรอบแล้วล่ะค่ะ ?
    ตอบ : ไม่เป็นไรจ้ะ อันนั้นเจตนาดีเหมือนกัน จะทำความสะอาดพระ แต่ไม่รู้ว่ากาวมันจะละลาย
    ถาม : แล้วไปเจียรฐานพระเป็นอะไรมั้ยคะ ?
    ตอบ : ฐานพระ ไม่เป็นไรหรอกจ้ะ ตกแต่งในลักษณะที่เราจะให้สวยงามใช่มั้ย อันนั้นได้บุญด้วย ต่อไปถ้าเกิดมาจะสเลนเดอร์กว่านี้จ้า (ห้วเราะ)........
    ถาม : เอาพระไปไว้ในตู้เสื้อผ้าบาปหรือเปล่าคะ ?
    ตอบ : แล้วทำไมต้องไปไว้ในตู้เสื้อผ้า่ล่ะ หาที่ ๆ เหมาะสมกว่านั้นสิ
    ถาม : เขาบอกว่ากลัวพระหาย
    ตอบ : ถ้าหากว่าในลักษณะนั้นถือว่าพอให้อภัยได้ แต่อย่าเอาไปไว้ใต้เสื้อผ้า ยังไง ๆ ก็เอาไว้ในที่ ๆ สูงหน่อย
    ถาม : ผ่านไปในหลาย ๆ ที่ค่ะ เห็นมีต้นไทรใหญ่ ๆ แล้วเขาก็เอาพระพุทธรูปที่หักเสียหาย ศาลที่เก่าที่เสียหาย ตุ๊กตาเสียกบาลเหล่านี้ค่ะ ไปวางกองกันไว้เต็มไปหมดเลยค่ะ ไม่ทราบว่าเขาทำผิดมั้ยในลักษณะอย่างนี้ค่ะ ?
    ตอบ : โบราณเขาเรียกว่า
     
  7. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=15 background=images/left.gif></TD><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD> ถาม : เวลาเราไปวัดนี่ เราไปเข้าห้องน้ำหรือเข้าไปใช้ของในวัด ทีนี้ถ้าเกิดเราไม่ได้ชำระหนี้สงฆ์มันจะมีผลติดมามั้ยคะ ?
    ตอบ : ถ้าหากเขาเปิดเป็นสาธารณะก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าติดใจก้ชำระหนี้สงฆ์ไปซะหน่อย ตั้งใจหยอดไป ๕ บาท ๑๐ บาทก็ได้ โบราณนี่จิตของเขาจะละเอียดมากถึงขนาดว่าเราเดินเข้าไปในวัดนี่เป็นเศษเป็นผงติดรองเท้ามา โบราณเขาจึงมีการชำระหนี้สงฆ์โดยขนทรายเข้าวัด สมัยนี้ไม่ค่อยมีแล้ว สมัยก่อนเขาไปงมทรายจากแม่น้ำกันเลย เล่นกันสนุกสนานช่วงสงกรานต์นี่
    ถาม : สงสัยที่พูดว่าผู้ที่อยู่ในนรกภูมิ พอดีนึกขึ้นมาได้ว่าถ้าเราเลี้ยงสุนัขหลายตัว สุนัขพวกนี้มีถือว่า มันมีบุญมั้ยคะ ?
    ตอบ : จำเอาไว้เลยว่า สัตว์เดรัจฉานที่อยู่ใกล้คน กรรมของการเป็นเดรัจฉานของเขาจวนหมดแล้ว ดังนั้นจะเรียกว่ามีบุญก็เรียกได้ ถ้าจิตของเขาเกาะคน เขาจะไปเกิดเป็นคน ถ้าจิตของเขาเกาะพระเขาจะเกิดเป็นเทวดา หรือว่าจิตของเขาเกาะความดีส่วนหนึ่งส่วนใดที่เขาทำเอาไว้ซึ่งเป็นบุญ เขาก็จะเกิดเป็นเทวดาก็ได้
    ดังนั้นสัตว์เดรัจฉานได้เปรียบเราก็ตรงที่ว่า สัตว์เดรัจฉานลงอบายภูมิที่ต่ำกว่าเดรัจฉานนั้นมีน้อยกับน้อย แต่ว่าสัตว์เดรัจฉานที่ไปอย่างแย่สุด ส่วนใหญ่ไปเกิดเป็นเหมือนเดิมหรือไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาไปเลย บางรายก็เกิดเป็นพรหมไปเลย
    ถาม : เคยมีความรู้สึอย่างหนึ่งค่ะ เคยไปมองหมาตัวหนึ่งคือเป็นหมาที่คนเลี้ยงไว้ แล้วมันก็นอนเฉย ๆ ใจเราก็คิดว่าวันทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปีทั้งชาติมันเกิดที่มันไม่มีโอกาสทำบุญทำอะไรเลย เวลาของเขาสูญเปล่าอย่างนั้นเป็นการคิดที่ถูกหรือเปล่าคะ ?
    ตอบ : ถ้าหากว่าคิดในสภาพของหมาตัวนั้นก็ใช่ แต่ถ้าหากว่าเป็นที่อื่น ๆ เขาอาจจะได้ทำบุญอยู่ อย่างเช่นในวัดอย่างนี้ ในวัดท่าซุงหรือวัดที่อาตมาอยู่จะมีการเปิดเสียงตามของหลวงพ่อ เขาได้ยินอยู่ตลอดโดยเฉพาะที่ ๆ อาตมาอยู่นี่เวลาที่เปิดเสียงตามสายคือเวลาที่เขาจะได้กินขนม จิตมันจะเกาะมาก รอเวลานี้ด้วยความกระวนกระวายเลย เขาก็จะเกาะความดีของเขาอยู่ตลอด
    แล้วอีกอย่างหนึ่งคือว่ามีความชำนาญในการทรงฌานขนาดตั้งเวลาได้ เราเป็นคนต้องอายเขา่เลยนะ ตัวอย่างมีชัด ๆ แล้วที่วัดท่าซุงสมัยก่อนโน้นไม่ทราบว่าช่วงนี้จะมีบ้างหรือเปล่า ? เพราะฉะนั้นจะว่าเขาไม่มีโอกาสทำบุญนั้นไม่ใช่ โอกาสทำบุญของเขามีเยอะ
    ถาม : ก็เป็นเฉพาะหมาบางตัวเท่านั้น ?
    ตอบ : บางตัวที่เขาอยู่ในสถานที่ ๆ เหมาะสม อย่างเช่นว่า อยู่วัด เฝ้าวัดก็เท่ากับว่าดูแลของสงฆ์
    ถาม : ที่บ้านบูชาหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่าไว้ อยากจะทราบประวัติของท่านค่ะ ?
    ตอบ : หลวงปู่ศุขก็ถือว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่อยู่คาบเกี่ยวในสมัยรัชกาลที่ ๕,๖,๗ เหล่านี้ ท่านเองเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและมาในสายของพระโพธิสัตว์ หลวงปู่ศุขก็ต้องไปเกิดใหม่อีก ตอนนี้ท่านเป็นพรหมอยู่ ท่านจะต้องเกิดใหม่อีก ในช่วงนั้นท่านเองท่านก็เป็นผู้มีฤทธิ์อภิญญา สามารถแสดงสิ่งแปลก ๆ ให้คนเห็นโดยทั่วไป อย่างเสกหัวปลีเป็นกระต่ายเอามาเล่นกันสนุกน่ะ
    ถาม : หมายความว่าท่านมีชื่อในจังหวัดชัยนาทนี้เป็นเรื่องของ.....?
    ตอบ : ในเรื่องเกียรติคุณของท่าน ทั้งความสามารถในอภิญญา แล้วก็การปฏิบัติของใจ ความเมตตาสงเคราะห์คนอะไรเหล่านี้ คนเคารพมากก็คือท่านเป็นอาจารย์ของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสด็จในกรมองค์นี้ท่านสนใจในเรื่องของฤทธิ์ของอภิญญา ของเครื่องลางของขลังมาก ท่านสามารถปฏิบัติได้ถึงขนาดอย่างเช่นว่า ย่อตัวให้เล็กลงไปอาบน้ำในขวดโหล หรือว่าเสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตนอะไรได้ ทั้ง ๆ ที่ท่านเป็นฆราวาส
    อาจารย์แต่ละองค์ที่ท่านจะกราบเป็นครูบาอาจารย์นี่ต้องเป็นผู้ที่มีความลำบากจริง ๆ เพราะท่านไปลองเขาเลย ถ้าอาจารย์ไม่เก่งจริงโดนท่านลองก็เสร็จเหมือนกัน แล้วท่านจะเคารพนับถือ หลวงปู่ศุขอย่างชนิดที่ว่าสุดจิตสุดใจ เพราะว่าสิ่งใดที่ท่านข้องใจหลวงปู่ศุขท่านสามารถสอนได้ทั้งนั้น ทดสอบกันซึ่ง ๆ หน้าโดยเอามหาดเล็กของท่าน ท่านบอกว่าหลวงพ่อสามารถสาปคนให้เป็นสัตว์ได้มั้ย ? หลวงพ่อบอกว่า สาปไม่ได้ แต่เสกได้ ท่านก็ถามว่าทำอย่างไร ? ท่านก็บอกว่าให้ทหารที่ตามมาเอาเชือกผูกเอวมันไว้หน่อย พอผูกเชือกเอาไว้ถามว่าว่ายน้ำเป็นมั้ย ? บอกเป็น เออ....เอ็งกระโดลงบ่อไป มันก็กระโดดลงบ่อไปว่ายอยู่ข้างใน หลวงปู่ศุขบอกว่าให้มันเปลี่ยน มันก็เปลี่ยนกลายเป็นจระเข้ แต่มีเชือกผูกเอวอยู่ แล้วท่านก็เอาน้ำมนต์ราดกลายเป็นคนตามเดิม คนจำนวนมากเห็นอยู่ด้วยกันนะ
    ถาม : ไม่ใช่ภาพลวงตาใช่มั้ยคะ ?
    ตอบ : ไม่ใช่ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะเหมือนกับปรับโมเลกุลใหม่นะ จากโมเลกุลของการเป็นคน ก็กลายเป็นสัตว์ไป
    ถาม : แล้วลักษณะจิตของมหาดเล็กล่ะครับ เขาจะรู้สึกอย่างไร ?
    ตอบ : เขาก็รู้สึกเป็นคนอยู่ แต่เปลือกนอกมันเปลี่ยนไปแล้ว พวกสัตว์ทั้งหมดความรู้สึกเขาก็คือ คนดี ๆ นี่เอง
    ถาม : การรับรู้ของสัตว์กับคนนี่มันไม่เท่ากันใช่มั้ยครับ ?
    ตอบ : มันไม่เท่ากันก็เพราะว่าเขาจะมีฤทธิ์ โดยวิบากกรรมทำให้ประสาทสัมผัสของเขาเลิศกว่าคนมาก
    ถาม : ก็สมมติเขาเสกเป็นจระเข้ไปเลยแล้ว ?
    ตอบ : ความที่ไม่เคยชินของเขา ทำให้เขาใส่ความรู้สึกของความเป็นคนอยู่
    ถาม : อย่างนี้ ถ้าเคยชินเมื่อไหร่ ?
    ตอบ : ถ้าเคยชินเมื่อไหร่ดีไม่ดีมันก็ไปเลย เพราะว่าที่ท่านต้องเอาเชือกลากเอวไว้ก็เพราะกลัวมันจะไปเลย
    ถาม : ผมนึกว่าลากให้เป็นว่ายังไงก็เป็นคนเิดิม ?
    ตอบ : ไม่ใช่ กลัวมันจะไปเลย สมัยก่อนพวกที่อยู่ทางด้านเหนือ เวลาเขาฝึกวิชาแปลงตัวเป็นตะเข้เป็นอะไรนี่ ถ้าหลุดออกไปเมื่อไหร่นี่ อาจารย์เขาจะไปดักตรงเขื่อนชัยนาท ไปรอเอาน้ำมนต์รดกันตรงนั้น เพราะว่ายังไง ๆ มันก็ไปติดที่หน้าเขื่อน ก็มีคนข้องใจว่าอาจารย์รู้ได้ยังไงว่า อันนั้นเป็นลูกศิษย์ตัวเอง ก็บอกว่าตะเข้วิชานั่นหางมันสั้น มันไม่เหมือนตะเข้จริง ๆ ที่หางมันยาว ตะเข้วิชาเขาบอกว่าหางมันจะป้อม ๆ สั้น ๆ เหมือยังกับหัวปลี
    ถาม : ถ้าก่อนหน้านั้นโดนสอยล่ะครับ ?
    ตอบ : ถ้าหากว่าโดนสอยก่อนก็ช่วยไม่ได้ หรือว่าถ้าไปกินคนก็ไม่สามารถกลับเป็นคนได้อีก
    ถาม : .............เราทำดีขึ้น แต่มันแย่ลงทันที ?
    ตอบ : มันเป็นเรื่องปกติ มันมีอยู่สองประการด้วยกัน ประการแรกการปฏิบัติที่เรารู้สึกว่าตัวเราเองแย่ลงไปทุกทีนั้น เกิดจากว่าเราทำดีขึ้น พอทำดีขึ้น กำลังใจละเอียดขึ้น พอเห็นสิ่งที่ไม่ดีมากขึ้นก็เลยคิดว่าตัวเองแย่ลง
    ส่วนประการที่สองเป็นเรื่องของกิเลสมารดลใจ เขาพยายามดึงเราให้ห่างจากจุดความดีตรงนั้น ก็เลยใช้สารพัดวิธีที่จะมาหลอกล่อ เพื่อที่จะให้เราหลงผิดแล้วตามเขาไปให้ได้ คือบางคนจริตนิสัยค่อนข้างที่จะใจร้อนหน่อย ในเมื่อทำดีไม่ได้อย่างใจซักที ประชดชั่วมันไปเลยก็มี อย่างนั้นก็สมใจเขา เพราะเขาต้องการให้เราเป็นอย่างนัั้นอยู่แล้ว
    ถาม : ยิ่งนับถือสิ่งใดมาก ๆ นับถือครูบาอาจารย์องค์ไหนมาก ๆ ใจบางทีมันจะแวบ อคติบ้างอะไรบ้าง
    ตอบ : นี่ตัวนี้ชัดเลย ให้ขอขมาพระรัตนตรัยประจำ ๆ พอกำลังใจของเราถึงตรงจุดนี้มา เขารู้ว่าเราจะพ้นมือเขาแล้ว เขาจะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้เราล่วงเกินหรือปรามาสพระรัตนตรัย ด้วยกายด้วยวาจา หรือด้วยใจ ไม่ว่าวิธีใดวิธีหนึ่ง บางคนภาวนาไม่ได้เลย หลับตาลงเมื่อไร นึกถึงภาพที่ตัวเองลบหลู่ครูบาอาจารย์หรือทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ไม่คิดจะทำอย่างนั้น มาสร้างภาพให้ปรากฎขึ้นมาชัด ๆ เลยก็มี
    เราเองให้คิดเสียว่าอันนี้เป็นการชักนำจากสิ่งภายนอก ด้วยอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรมเขาชักนำให้เป็นไป ไม่ใช่ความผิดของเรา แต่ถึงไม่ใช่ความผิดของเราก็เถอะ ในเมื่อเราเป็นคนคิด เป็นคนพูด เป็นคนทำ เราก็ตั้งใจที่จะขอขมา ให้ตั้งใจอย่างนี้อยู่บ่อย ๆ เจ้าพวกนี้มันทนคนหน้าด้านไม่ได้ พอถึงเวลา เราตั้งใจขอขมาบ่อย ๆ ตั้งใจทำบ่อย ๆ เขารู้ว่าเขาทำอย่างนี้อยู่ เราไม่กระเทือน เขาก็เลิก
    ถาม : พอจะเริ่มเย็นลงจะมีตัวสอบจิตอยู่คนหนึ่งที่ทำงาน พอเริ่มจะพูดด้วยหรืออะไรด้วยนี่ มาแบบเดิม อันเดิม เดิม ๆ เลย ก็รู้อยู่แล้วว่ามันซ้ำ ๆ ก็คิดว่าช่างมัน มาบ่อย ๆ จะได้ชิน มันไม่ชินนะ แต่ก็ไม่ว่าอะไรมันก็นิ่ง ๆ อยู่ซักพัก
    ตอบ : </B>สังเกตใจตัวเองว่า อารมณ์กระทบที่มันเกิดขึ้นนั้นมันช้าลงหรือเปล่า ? ถ้าหากว่าเราสังเกตเราเห็นว่าช้าลง ถือว่าเป็นที่น่าพอใจแล้วนะ ถ้าช้าลงนี่เราชนะนะ เพราะว่ามันกำเริบได้ช้า บางทีเราผ่านพ้นจากตรงนั้นไปแล้ว ไปคิดทบทวนใหม่ ตัวนี้มันเป็นจิตสังขารของเราไปปรุงแต่งเอง อันนี้ถือว่าเราไปเสียท่าเขา</B>
    ถ้าหากว่าแล้ว ๆ กันไป ลับหลังจากตรงนั้น กองมันทิ้งมันเอาไว้เลย เราก็ไม่แพ้เขา แต่ถ้าหากว่าเราเอาคิดทบทวนใหม่ ตัวนี้จะเป็นจิตสังขารที่เอามาปรุงแต่งเข้ามา พาให้ฟุ้งซ่าน พาให้รัก โลภ โกรธ หลง เอง เพราะฉะนั้นตรงจุดนี้ต้องรักษาใจเราให้ดี ให้มันอยู่กับการภาวนา อยู่กับสติเฉพาะหน้าแล้วมันจะไม่เป็น
    ถาม : ช่วงปฏิบัติมาก ๆ อัตตามันโตขึ้น แล้วหนูก็เห็น รู้ด้วยนะว่าเป็นอย่างนี้นะตัวเรา
    ตอบ : ตีหัวมันซิ (หัวเราะ)
    ถาม : ตียังไงล่ะ ?
    ตอบ : เห็นชัดก็ทุบมันให้ตายเลย มันเป็นอยู่ แต่ให้เรามีสติรู้อยู่เสมอว่า ไม่ว่าตัวเราหรือตัวเขา มันก็ประกอบไปด้วยอาการไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเราเช่นกัน ไม่ว่าเราจะยึดถือมั่นหมาย หรือแบ่งแยกขนาดไหนก็ตาม สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เราก็ยึดถือเป็นปกติ เราจะคิดเบียดเบียนเขาด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจหรือไม่ ? เขาก็ทุกข์อย่างนั้นของเขาอยู่แล้ว เราเองจะยกตัวของเราให้สูงขึ้นกว่าเขาหรือไม่? จะดูถูกเหยียดหยามเขาหรือไม่ ? จะเห็นว่าเขาเสมอเราหรือไม่? จะเห็นว่าเขาดีกว่าเราหรือไม่ ? เขาก็เกิดแก่เจ็บตายตามปกติของเขาอยู่แล้ว ในเมื่อปกติธรรมของสัตว์โลกทั้งหลาย เป็นเช่นนั้นเราก็อย่าเป็นทุกข์โทษเวรภัยกับผู้อื่นด้วยกาย ด้วยวาจา ของเรา แล้วคิดตรงจุดนี้เสร็จก็แผ่เมตตาต่อให้อภัยเขาไป ให้อภัยเขาไม่พอ ต้องให้อภัยเราด้วยตัวเรามันคิดเอง มันยกตัวเองขึ้นเรื่อย ต้องคอยระวัง ๆ ไว้
    ถาม : วิธีแก้ที่สะดวก ตัวเองคืออาจยังมองไม่เห็น แต่เห็นชัด ๆ เลยนี่ โทสะ กับราคะ เป็นเยอะ
    ตอบ : เป็นเยอะนี่มันเกิดจากการรับสิ่งต่าง ๆ เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยขาดสติ การป้องกันตัวเอง ตาเห็น ไม่พอใจ ฟังให้ดีนะ หูได้ยิน ไม่พอใจ จมูกได้กลิ่น ไม่พอใจ ลิ้นได้รส ไม่พอใจ กายสัมผัส ไม่พอใจ สังเกตไหมว่า มันไม่พอใจทั้งนั้นเลย มันไม่พอใจนี่ โบราณเขาใช้คำว่า ไม่ถูกใจ ความจริงถูกเข้าไปปังเบ้อเร้อแล้วมันถึงใจไปเลยล่ะ
    </B>เมื่อมันเข้าถึงใจมันก็เป็นอันตรายกับเราได้ ถ้าเราเห็นสักแต่ว่าเห็น อย่าไปรับรู้มันเข้ามา อย่าเอาไปนึกคิดปรุงแต่งต่อ อย่าไปทำความพอใจ ไม่พอใจกับมัน วางกำลังให้เป็นกลาง ๆ หูได้ยิน จมูกได้ิกลิ่น หรือลิ้นได้รส กายสัมผัส ก็ลักษณะเดียวกันถ้าเราหยุดมันอยู่แค่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้โดยระวังไม่ให้มันเข้ามาในใจได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะทำอันตรายเราไม่ได้</B>
    ถาม : แล้ววางใจเป็นกลาง ๆ เป็นยังไง ?
    ตอบ : อยู่กับการภาวนาดีที่สุด คือเราเองถ้าหากว่ายังปล่อยวางไม่ได้ ต้องมีเครื่องป้องกันตัวเอง คือใส่เกราะไว้วิธีใส่เกราะของเราก็คืออยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับการภาวนา อยู่กับสติเฉพาะหน้า ถ้าหากว่าตราบใดที่เรารู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ รัก โลภ โกรธ หลง เหล่านี้กินเราไม่ได้ เพราะฉะนั้นเผลอเมื่อไหร่ หลุดจากลมหายใจเมื่อไร เขาก็ทำอันตรายได้เมื่อนั้น ใส่เกราะไว้ ไม่นั้นเดี๋ยวมันฟันเละ
    ถาม : แล้วก็.........อันนี้อาจคิดผิดก็ได้ ช่วยแก้ให้ที ทำบุญบางครั้ง เราทำเหมือนกับไปเอง ลุยเอง เจ็บตัวมาก็หลายครั้ง กับการที่คนอื่นเขาเห็นไปวัดบ่อย ๆ เห็นทำบุญบ่อย ๆ เขาก็โมทนาบุญ หน้าตาเขาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส ดูเขามีความสุข ผิดกับตัวเราที่ไปลุยเองเสียอีก
    ตอบ : ทำเองได้ปลอดภัย ได้เองแน่ ๆ ถ้าคอยโมทนาคนอื่นเขาผลต้องเกิดกับเขาก่อนแล้วถึงจะเกิดกับเราทีหลัง
    ถาม : แล้วถ้าเราทำเอง แต่มันผิด มันจะ........?
    ตอบ : ทุกอย่างที่เราทำเราไ้ด้ทั้งนั้น จำไว้ให้แม่นเลย ไม่ว่ามันจะผิดพลาด เราจะล้มเหลวอย่างไรก็ตาม นั่นมันเป็นสิ่งที่เราคิด แต่ความเป็นจริงที่เราได้ จุดที่เราได้คือเราได้บทเรียน รู้้เลยว่าตรงนั้นถ้าทำก็เป็นอย่างนั้นอีก ก็ไม่ทำตรงนั้น
    เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่เราทำไม่ใช่ว่าเราล้มเหลว ไม่ใช่ว่าเราผิดพลาด แต่เราได้ความรู้เพิ่มขึ้นว่าสิ่งที่ทำไปนั้น ต่อไปอย่าได้ทำซ้ำ บทเรียนพอแล้ว เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ทำเราได้อยู่ตลอดเรียกว่าทำถูกได้กำไร ทำผิดได้ประสบการณ์ ไม่มีเสียเลย

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD background=images/right.gif> </TD></TR><TR><TD width=15 background=images/left.gif> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD> ถาม : เผอิญคุยกับเพื่อนที่เป็นต่างชาติเขาบอกว่าเขาไม่ทานเนื้อสัตว์ เขาไม่กินเนื้อ เขาก็บอกว่าเขาไม่เข้าใจว่าคนนับถือพุทธ ทำไมมีศีลข้อห้ามไม่ใช่เหรอ ว่าไม่ให้ทำร้านสัตว์ แล้วทำไมยังกิน ?
    ตอบ : บอกว่าเรื่องนี้พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า ถ้าหากว่าเป็นอุทิสสะมังสะ คือเขาเจาะจงฆ่าให้เรากินโดยตรงอันนี้กินไม่ได้ เพราะว่าสัตว์นั้นตายเนื่องด้วยเรา แต่ถ้าปะวัตตะมังสะ ที่เขาทำขายเป็นปกติ คุณลุงคิดดูว่าคุณไม่กินเนื้อสัตว์แล้วมันยังฆ่า เป็นปกติอยู่หรือเปล่า ? มันก็ยังฆ่าเป็นปกติ ทีโบนสเต็กของคุณ คุณไม่กินคนอื่นมันก็กิน สิ่งทั้งหลายที่เขาฆ่าเป็นปกติเขาไม่ได้เจาะจงเฉพาะเรา อันนั้นมันไม่ได้ตายเนื่องเพราะเรา
    ถ้าหากว่าเราเองไม่ได้ยินว่าเขาฆ่าเพื่อเรา ไม่ได้เห็นว่าเขาฆ่าเพื่อเรา ไม่รังเกียจว่าเขาฆ่าเพื่อเรากิน อันนี้ไม่ถือว่าผิดเพราะว่าเราไม่ได้ทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจของเราเอง พระพุทธเจ้าตรัสว่า เรากินเพื่ออาศัยร่างกายนี้อยู่เพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น ในเมื่อเราอาศัยร่างกายนี้อยู่เพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น สิ่งต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องมีให้มันเพื่ออย่างน้อย ๆ มันได้มีแรง มีกำลังใจในการทำความดี ถ้ามันไม่ใช่เสาะแสวงหามาเพื่อความอยากของตน คือตามใจปากตามใจลิ้นจนเกินไป สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น กินไปเถอะ เวลากินก็ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้เขาไปด้วยก็แล้วกัน
    พวกเวเก็ทเทอเรียน ต่อให้มีไปครึ่งโลก ที่เหลือก็ฆ่าต่อไป บอกว่าเขาทำเป็นปกติของเขาอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าท่านไม่ต้องการให้เราลำบากด้วยเสาะหามาก ไม่ให้เราตามใจปากตามใจลิ้นมาก เพราะฉะนั้นมีอะไรก็กินอย่างนั้น ใครต้องการจะกินผักก็กินผักไป ใครต้องการกินเนื้อก็กินเนื้อไป
    ถาม : อันนี้เพื่อนค่ะ คุยกับเขาแล้วคิดไม่ตกว่ามันคืออะไร ถ้าโกรธมันคือความเลว ถ้าสมมติเราไปโกรธเขานี่ เราเลวกว่าเขา เขาบอกว่าผิดคือพยายามคิด คิดยังไงก็คิดไม่ออกว่าเราเลวกว่า มันเลวกว่ายังไง เราทำไม่ถูกหรือว่าเรายังไง ?
    ตอบ : จริง ๆ แล้ว ทุกอย่างมันเป็นสมมติ คนดีหรือว่าคนเลวก็คือสมมติทั้งคู่ มันคือคู่ที่กำลังเป็นไปตามกระแสกรรม สมมติว่ากรรมเป็นกระแสสองสาย สายสีขาววิ่งขึ้นกับสายสีดำวิ่งลงมันจะสวนกันอยู่อย่างนี้ตลอด เราติดอยู่ในกระแสไหนเราก็ไปตามกระแสนั้น เพราะฉะนั้นโลกนี้ไม่มีใครดีไม่มีใครเลว หากแต่ว่ามีแต่คนหรือสัตว์ที่เป็นไปตามกรรมเท่านั้น
    เพราะฉะนั้น ที่บอกว่าเราเลวกว่าหรือว่าอะไรนั่นจริง ๆ แล้วมันใช้ไม่ได้ มันเป็นความคิดที่ผิด จริง ๆ ก็คือว่าสัตว์โลกกำลังเป็นไปตามกรรม ในเมื่อสัตว์โลกกำลังเป็นไปตามกรรม กระแสสีขาวมันพาเราสูงขึ้น พาเราไปสู่ภพภูมิที่สุขขึ้น ในที่สุดก็พาเราพ้นไปได้ กับกระแสสีดำที่พาเราตกต่ำลง พาเราไปสู่ภูมิแห่งความทุกข์ แล้วในที่สุดก็จ่อมจมอยู่กับมันไม่รู้จักหลุดจักพ้นเสียทีหนึ่งสองกระแสนี้เราควรจะเลือกกระแสไหน
    ในเมื่อเราจับจุดนี้ได้เราก็เลือกในจุดที่คิดว่าดีแล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำมันไป มาถึงตรงจุดนี้แล้วสิ่งต่าง ๆ มันเป็นสมมติทั้งหมดแหละ ถ้าหากว่าเรายังไปยึดสมมติอยู่ มันก็หลุดพ้นไม่ได้ เรียกว่าวิมุติไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราปล่อยสมมติเมื่อไรมันจะหยุดตรงกลาง มันก็วิมุติ กระแสสองอย่างทำอะไรไม่ได้แล้ว มันหลุดพ้นขึ้นมา
    ถาม : แล้วจะทราบได้ยังไงคะ ว่าเป็นอริยบุคคลหรืออะไรอย่างนี้ มีวิธีดูไหมคะ ?
    ตอบ : ก็มีทิพจักขุญาณ (หัวเราะ) ได้ทิพจักขุญาณแล้วถามพระท่านโดยตรง มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้พยากรณ์มรรคผลของผู้อื่น ตัวเราถึงเรารู้ก็อย่าเพิ่งเชื่อความรู้อันนั้น เพราะว่าความรู้นั้นอาจมีการทดสอบแล้วผิดได้ แต่ว่ามีข้อสังเกตว่าบุคคลใดก็ตามที่ทำดีด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เป็นระยะเวลาที่ยาวนานยั่งยืนต่อเนื่องกันไป ให้คิดไว้ก่อนว่าเขาผู้นั้นอาจเป็นพระอริยเจ้า แต่ขณะเดียวกันว่าก็ให้คิดอยู่เสมอว่าคนและสัตว์ทุกรูปทุกนาม ท้ายสุดของเขาก็ต้องหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพานเหมือนกัน
    เพราะฉะนั้นถึงเขากระทบกระทั่งกับเรา เราก็คิดไปถึงอนาคตเลยว่า นั่นอนาคตพระอรหันต์ ไปโกรธพระอรหันต์บาปนะ เสร็จแล้วเราให้อภัยเขา ง้างเทาจะเตะหมาขึ้นมา เฮ้ย !?นี่อนาคตพระอรหันต์นะ ทำร้ายเขาไม่ได้ บาปนะ มันก็จบแล้ว (หัวเราะ)
    ถาม : เอางั้นเลยเหรอคะ ?
    ตอบ : เออ นั่นแหละ
    ถาม : เวลาปฏิบัติจะมีอยู่ช่วงหนึ่ง นั่งแล้วตัวโยก แต่พอระยะหลังนี่บางทีอยู่ว่าง ๆ นั่ง ๆ อยู่ก็โยก ?
    ตอบ : ไม่ต้องว่าง ๆ หรอก บางทีคิดถึงมันก็ดยกเลย อารมณ์ตัวนี้เป็นตัวปีติ หนึ่งในห้าอย่างเรียกว่า โอกกันติกาปีติ ตัวมันจะโยกไปโยกมา อารมณ์ใจพอถึงตรงนั้นมันจะโยก อย่าไปอายใครปล่อยให้มันโยกให้เต็มที่ ถ้ามันพ้นจากจุดนั้นแล้วมันจะไม่เป็นอีก ไม่อย่างนั้นถ้าเรารู้สึกว่าอาย แล้วเราไปบังคับให้มันหยุด มันหยุดเหมือนกัน เพราะว่าอารมณ์ใจเราคลายจากจุดนั้นออกมา พอหยุดถึงเวลาเข้าไปถึงจุดนั้นก็โยกอีก
    เพราะฉะนั้นปล่อยมันเต็มที่เสียทีเดียวแล้วมันจะเลิกเอง จุดนั้นกำลังใกล้ความดีมากเลย เพราะก้าวข้ามจากจุดนั้นมันจะเป็นอาการของผู้ทรงฌาน คราวนี้อารมณ์จิตมันจะรู้อัตโนมัติ ติดนิดเดียว
    ถาม : บังคับหยุดทุกครั้ง ?
    ตอบ : อย่าไปบังคับหยุด ปล่อยมันเต็มที่เลย บางทีมันไม่ได้โยกเฉย ๆ มันดิ้นตึงตัง ๆ หกคะเมนตีลังกา.....ปล่อยมันให้สังเกตว่าตอนที่มันโยกมันเป็นอยู่จริง ๆ แล้วใจเรานิ่งมากเลย ไม่สนใจอย่างอื่นหรอก เราแค่ดูมันเฉย ๆ คราวนี้ว่าเราไปปรุงแต่งเพิ่มเติมว่า เอ....อาการมันพิลึกพิลั่นไม่เหมือนชาวบ้าน เพราะเราอายเขาแล้วเราไปบังคับมันหยุด ต้องปล่อย อย่าไปหยุด
    ถาม : เวลาปฏิบัติค่ะ เป็นวิปัสสนา กำหนดปวด ก็ปวดตลอดเหมือนกัน ?
    ตอบ : แล้วมันปวดไปถึงไหน ?
    ถาม : แล้วเวลาเราออกจากกรรมฐานแล้วจะให้อารมณ์ใจมันทรงอารมณ์ไหน ปวดหรือว่าอะไร ?
    ตอบ : คือให้รู้อยู่ว่าอาการต่าง ๆ นั้นเป็นสมบัติของร่างกาย เวทนา ความสุข ความทุกข์ทั้งหมดเป็นเรื่องของร่างกาย เราคือจิตใจซึ่งไม่ยุ่งเกี่ยวกับตรงส่วนนั้นเลย เพราะฉะนั้นสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นเรื่องร่างกายไม่ได้เกี่ยวกับเรา ต้องการรู้รับรู้ไว้อย่างมีสติ ถ้าไม่ต้องการรับรู้ก็ตัดมันไปเลย มันก็แค่นั้นเอง
    ถาม : แล้วเวลาที่เราภาวนาอยู่ พุทโธหรือว่าอะไรก็แล้วแต่ มันมีคิดผสมด้วย ?
    ตอบ : มี ถ้าอารมณ์ใจมันไม่ตั้งมั่นจริง ๆ ในอดีตเราเคยทำมา สภาพจิตเราเคยแยกจิตแยกกาย ทำอะไรได้หลายอย่างพร้อม ๆ กัน เพราะฉะนั้นเราภาวนาอยู่มันก็ฟุ้งซ่านได้ ถ้าไม่ต้องการอยู่ตรงจุดนั้น ให้รวบรวมสติทั้งหมดให้อยู่กับลมหายใจเฉพาะหน้า รู้ว่ามันคิดเมื่อไรดึงมันกลับมา พอมันอยู่ลมหายใจอย่างแน่นแฟ้นแล้วมันก็จะเลิกเอง
    ถาม : แล้วอย่างสมมติว่าเราปวดมาก ๆ ที่บอกว่าให้ดูจิตดูใจอย่างนี้ จิตใจตอนนั้นมันเป็นอย่างไร มันทนอะไรไม่ได้ ?
    ตอบ : เราอย่าไปเสวยความทุกข์มันซิ บอกแล้วว่าจิตกับกายมันคนละเรื่องกัน พยายามแยกให้บอกว่าเวทนานั้นเป็นเราหรือว่าเวทนานั้นเป็นของร่างกาย
    ตอบ : เป็นของร่างกายก็ดูให้มันเป็นของร่างกาย ใจเราก็อย่าไปปรุงแต่งตามมัน ถ้าใจเราไปปรุงแต่งตามมันเราต้องทุกข์ต้องทนนี่สาหัสเลยตอนนั้น ดีไม่ดีกระดูกกระเดี้ยวมันจะแตกเป็นชิ้น ๆ ด้วยซ้ำไป แสดงว่าเราวางกำลังใจผิด ให้ดึงกำลังใจของเราให้มันออกมาเลย ให้กำหนดรู้อย่างเดียวว่าตอนนี้เวทนามันเกิดขึ้น ถามว่าเวทนาเป็นของกายหรือเป็นของเรา เราคือจิต จริง ๆ แล้วเวทนา สุข ทุกข์ ทั้งหลายมันเป็นของกายทั้งนั้น ใจเราไม่ไปแตะไปต้องมันเสียก็หมดเรื่องไป
    ถาม : บางครั้งมันเหมือนสองอย่าง ตรงนี้มันนิ่ง ๆ แต่ตรงนี้มันปวด
    ตอบ : นั่นแหละ รับรู้ไปเฉย ๆ ตามรู้ไปเฉย ๆ รู้ว่าตอนนี้มันปวด อาการธรรมดาของร่างกายของมัน ถ้ามันนั่งนาน ๆ อย่างนี้มันต้องปวดเป็นธรรมดา ขึ้นชื่อว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือว่าทุกข์ยากเจ็บปวดธรรมดาของมันอย่างนี้ เราเกิดเมื่อไรเราก็เจอมันอีก สภาพร่างกายอย่างนี้ อาการอย่างนี้เราต้องการจะเจอมันไปนาน ๆ ไหมล่ะ ? หรือว่าควรที่จะพอกันเสียที แล้วถามตัวเอง พอถามตัวเองได้คำตอบว่าที่ไหนที่คิดว่าดี เกาะที่นั่นแทน ก็เกาะนิพพานแทน จริง ๆ แล้วรู้นะ แต่ว่าของเราเองมันมักเผลอให้มันตีเสียอยู่เรื่อย
    ถาม : (หัวเราะ) รู้ค่ะ
    ตอบ : เดี๋ยวคราวหน้าไม่ช่วยนะ ให้มันตีตายไปเลย ไม่เป็นไรจ้ะ เอาไว้งวดหน้าลำบากแล้วมาใหม่
    ถาม : เวลาภาวนาแล้วนับลูกประคำไปด้วย คือนับจำนวนเม็ดของลูกประคำอย่างนั้นเหรอคะ ?
    ตอบ : คือถ้าสติมันสมบูรณ์เราภาวนาอะไรเรารู้อยู่ เรานับลูกประคำ อาการเคลื่อนไหวของมือเรารู้อยู่ ตอนนี้นับไปกี่จบแล้ว รู้อยู่หรือว่าคาถาไปกี่จบแล้รู้อยู่ มันจะรู้หลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ถ้าหากว่าเราต้องกำหนดจิตรู้หลายอย่าง งานมันเยอะ โอกาสที่มันจะแวบไปที่อื่นมันก็น้อยลง
    ถาม : ถ้าเปรียบว่าเราภาวนาที่ใจแล้วเราชอบไปคิดถึงเรื่องอื่นแล้วก็กลับมาภาวนาได้ มันคล้าย ๆ อย่างนี้หรือเปล่า ?
    ตอบ : คล้ายอย่างนั้น แต่ว่าอย่างนี้ของเราเราเอาคุณภาพล้วน ๆ เพราะว่าอันโน้นมันเผลอแวบไปเรื่องไม่เป็นเรื่องก็ได้ เพราะฉะนั้นเราจะเอาคุณภาพก็ต้องบังคับมันหน่อยหนึ่ง รู้อิริยาบถขณะนับไปด้วย คาถากี่จบว่าไปด้วย นับลูกประคำอยู่กำหนดไปด้วย (หัวเราะ) ค่อย ๆ ทำไปแต่ว่าทำอย่างนี้พอถึงท้าย ๆ แล้วมันจะมีผลอยู่อย่างหนึ่งคือว่าเวลาปกติเราทำมันก็ฟุ้งซ่านได้ เพราะฉะนั้นต้องระวังพอถึงเวลาอย่างนั้นแล้วต้องดึงมาอยู่กับลมหายใจเข้าออกจริง ๆ ถ้าไม่ดึงมันกลับมา ไม่พยายามปล้ำให้มันอยู่กับที่ไว้มันก็ฟุ้งซ่าน
    ถาม : เมื่ออาทิตย์ก่อนหนูฝันถึงหลวงพ่อค่ะ แต่หลวงพ่อไม่เหมือนกับปัจจุบัน คล้ำ ๆ ค่ะ แต่ในฝันรับรู้ว่าเป็นหลวงพ่อ หนูก็ภาวนาอยู่แล้วซักพักหนูเข้าไป หลวงพ่อก็ต่อคำภาวนาหนู แล้วหนูก็ถามหลวงพ่อในฝันว่าถ้าเวลาภาวนาจริง ๆ นี่ ถ้าใจเราแว้บออกข้างนอกนี่ถือว่าได้ผลมั้ย ? ดีมั้ย ?
    ตอบ : ได้ แต่ว่าผลมันน้อยไปหน่อย
    ถาม : แต่แปลกใจว่าไม่เหมือนหลวงพ่อซักนิดเลย แบบคนผิวคล้ำ ๆ ?
    ตอบ : เดี๋ยวมันอาจคล้ำมากกว่านี้อีก ตอนนี้ทำงานเยอะจ้ะ เบาลงไปหน่อยหนึ่งก็คือว่าตอนนี้วัดถ้ำทะลุเขาเสร็จแล้ว ของเราเองหลังที่ทำเพื่อตัวเองก็เหลืออยู่หน่อยหนึ่ง หลังที่จะทำให้คนอื่นตอนนี้ก็เหลือแต่มุงหลังคา พระเขาฉาบเสร็จเรียบร้อยแล้วก็รอตีฝ้ากับปูพื้น
    ส่วนหลังขอวัดห้วยสมจิตรนั้นเป็นศาลาใหญ่ ลำบากหน่อย ตอนนี้ว่าไปสองแสนแล้ว เพิ่งได้หน่อยเดียว เดี๋ยวยังไงมันก็เบาลง มีเวลาพัก เดี๋ยวมันก็ขาวขึ้นเองแหละ คราวนี้ให้มันคล้ำไปก่อน เขาทำอะไรเราไปทำด้วย แล้วลูกน้องก็มีกำลังใจ พระเณรก็มีกำลังใจ เทปูนกันกลางฝนยังสนุกเฮ ๆ ยังกับเมายาม้า (หัวเราะ) ก็เราไปเปียกกับเขานะ ผสมปูนก็เปียกกับเขา เทปูนก็เปียกกับเขา ผูกเหล็กก็เปียกกับเขา เป็นผู้บังคับบัญชาจริง ๆ แล้ว มันต้องลงไปคลุกกับงาน บอกเขาแล้วให้ผมเรียกใช้พวกคุณผมทำไม่เป็นหรอก ผมอยากทำผมก็ทำของผมเอง ถ้าหากว่าคุณคิดจะช่วยก็มาช่วยก็แล้วกัน แหม! มันเล่นมากันเสียเกือบหมดวัด

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD background=images/right.gif> </TD></TR><TR><TD width=15 background=images/left.gif> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" background=images/glass.gif bgColor=#fefefe><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width=680 align=center border=0><TBODY><TR><TD>

    ถาม : มีพระท่านหนึ่งใช้คนไปซื้อของไปตั้งศาลในวัดโดยที่ไม่ได้ให้เงินไปด้วย เสร็จแล้วก็ให้คนไปซื้อของมาถวายพระ ถ้าท่านเป็นพระอริยเจ้าจะใช้แบบนี้ได้มั้ยครับ ?
    ตอบ : มันต้องดูด้วยเพราะของพระเขามีอยู่ว่าเป็นญาติ เป็นปวารณานี่ขอได้ ถ้าไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณานี่ไม่มีสิทธิขอ โดนอาบัติ
    ถาม : ปวารณาคืออะไรครับ ?
    ตอบ : ปวราณา เขายอมตัวให้ว่าให้ทำอย่างนั้นได้ อย่างเช่นว่า หลวงปู่มหาอำพัน เวลาลูกศิษย์จะสึกนี่ เมื่อสึกเป็นทิดแล้วท่านจะให้มาปวารณากับท่านว่า กระผมขอปวารณาต่อพระคุณเจ้าด้วยปัจจัยสี่และการใช้สอยทั้งปวง ถ้าพระคุณเจ้าประสงค์ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็โปรดแจ้งให้กระผมทราบด้วยขอรับ คราวนี้ก็ใช้ไปเหอะ แต่ถ้าเป็นพระอริยเจ้านี่จิตท่านละเอียด ท่านจะไม่ละเมิดศีล ถ้าละเมิดศีลนี่เรื่องอย่างนั้นท่านคงไม่ทำ
    ถาม : ถึงแม้ว่าจะปวารณา ?
    ตอบ : ถ้าปวารณานี่ได้ แต่ถ้าพูดถึงประเภทที่ว่าใช้ส่งเดชไปเฉย ๆ
    ถาม : ก็มีพระทำพิธีจะปลุกเสกพระอยู่ แล้วมีแสง ถ่ายรูปออกมาแล้วมีแสง อันนี้เป็นอำนาจบุญบารมีของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า หรือว่าเป็น......?
    ตอบ : เป็นไปได้ทั้งสองอย่าง คือว่าพระท่านอาจแสดงให้อย่าง หรือไม่ก็พรหม เทวดา ท่านแสดงให้อย่างหนึ่ง ตอนนั้นต้องดูว่าใคร
    ถาม : แล้วถ้าพระไปนั่งในกระทะน้ำมันเดือด ๆ แล้วก็มีคนดูเยอะ ๆ ?
    ตอบ : อันนั้นไม่สมควร ถ้านับแล้วเป็นอุปกิเลสอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นการปฏิบัติในทางที่ถูกเป็นสัมมาทิฏฐิถือเป็นอุปกิเลสอย่างหนึ่ง อุปกิเลสแแปลว่าใกล้กิเลสแล้ว ถ้าทำตามหลักวิชาของครูบาอาจารย์จำเป็นต้องทำอย่างนั้น ไม่ได้แสดงเพื่ออวดใคร ไม่ได้แสดงเพื่อชื่อเสียง ไม่ได้เพื่อลาภผล ไม่ได้แสดงเพราะต้องการให้คนเลื่อมใส อันนั้นไม่เป็นไร แต่ว่าถ้าหากทำเพราะเจตนาอื่นมันก็ไม่ใช่อุปกิเลสคือว่าใกล้กิเลส แต่มันจะเป็นกิเลสเต็ม ๆ เลย ถ้าหากว่าลักษณะอย่างนั้นถือว่ากำลังใจของท่านยังอยู่ในด้านที่เรียกว่าอาจเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือเริ่มก้าวผิดทางแล้ว
    ถาม : พระอริยเจ้านี่พูดคุยเรื่องยศ เรื่องตำแหน่งได้ไหม ?
    ตอบ : ต้องดูว่าคนที่ปรารภนั้นมีอะไรเนื่องกับท่านหรือเปล่า ถ้าหากว่าคนที่ปรารภนั้นมีอะไรเนื่องกับท่านมาก็ดี มีอะไรก็ดี ไม่ว่าเป็นเรื่องตำแหน่งของท่านเอง หรือว่าตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกศิษย์ ถ้าอย่างนั้นท่านก็พูดด้วย คุยด้วยแต่ถ้าหากว่าปรารภเพื่อที่ว่าตัวเองจะได้ดิ้นรนเพื่อนตัวเองจะได้ อย่างนั้นไม่ใช่แน่ เพราะ</B>พระอริยเจ้ามีแต่จะปล่อยวาง ไม่ไปยึดถือสิ่งใดเพิ่มขึ้น</B>
    ถาม : คนที่ตายที่อเมริกาครับ อันนั้นเป็นการตายก่อนเวลาหรือว่าเป็นผลของปาณาติบาต ?
    ตอบ : ตายก่อนเวลาหรือหลังเวลาเป็นผลของปาณาติบาตทั้งนั้นแหละ ถ้าตายลักษณะนั้น เพราะว่าปาณาติบาตนี่ ถ้ามันเข้ามาสนอง มันก็เป็นช่วงหนึ่งของอุปฆาตกรรม ถ้าหากว่ามันหมดอายุขัยแล้วตายในลักษณะนั้นก็คือกรรมของปาณาติบาตมันมาเหมือนกัน มันไม่ได้ตายแบบปกติทั่ว ๆ ไป ตายอย่างชนิดที่หาซากไม่เจอเสียด้วยซ้ำไป บางศพจนป่านนี้ยังหาไม่ได้เลย
    ถาม : ถ้าหากว่าเราอุทิศส่วนกุศลให้นี่ ได้รับไหมครับ ?
    ตอบ : ถ้าหากว่าตายก่อนอายุขัยนะ เขามายินดีโมทนานี่เขาได้เลย ถ้าไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่าบุญเป็นอย่างไรก็แย่หน่อย
    ถาม : ถ้าเขาไม่รู้จักว่าบุญเป็นอย่างไร ?
    ตอบ : บอกใ้ห้เขาโมทนา เขาไม่รู้ว่าโมทนาหน้าตาเป็นอย่างไรก็ยุ่งแล้ว (หัวเราะ)
    ถาม : ถ้าเราเก็บเงินตามถนนได้แล้วเอามาทำบุญ คนที่ทำเงินตกนี่ได้บุญด้วยหรือเปล่าครับ ?
    ตอบ : เขามีส่วนด้วยมันเป็นกตัตตากรรม คือกรรมที่เขาไม่ได้เจตนาทำ ทรัพย์นั้นเป็นของเขา เมื่อเราทำเขาก็มีด้วย แต่ตัวเราเองนะได้เยอะ
    อันดับแรกเราได้ตัวเวยยาวัจจมัย คือช่วยให้งานบุญของเขาสำเร็จลง อันดับที่สองเราได้ตัวปัตตานุโมทนามัย ก็คือว่าเราต้องพลอยยินดีด้วยในผลบุญนั้นเราทำได้ทำลงไป อันดับต่อไป จาคานุสติ และทานบารมี เป็นของเราแน่ ๆ เลยเพราะว่าถึงเก็บได้มา ถือเป็นลาภลอยอยู่ก็จริง แต่เราเองแทนที่จะเอาไปกินไปใช้เองกลับคิดที่จะเอามาทำสิ่งที่ดี ๆ กับเอามาสละออก เพราะฉะนั้นตรงนี้เราได้เยอะ ของเขาเองมันเป็นกตัตตากรรมมันได้น้อยไปหน่อย
    ถาม : หลวงพ่อท่านบอกว่าปัตตานุโมทนามัยร่วมด้วยมีผลเหมือนกัน คราวนี้อยากจะเรียนถามว่ามีผลนี่หมายถึงมีผลในสวรรค์ ?
    ตอบ : เจ้าของบุญได้เท่าไหร่เราได้เท่านั้น ไม่ใช่แต่ในสวรรค์ต่อให้พรหมหรือนิพพานก็ได้ ดูตัวอย่างพระนางพิมพาราชเทวี พระพุทธเจ้าทำอะไรท่านพลอยยินดีด้วยทั้งหมด พอได้ยินว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกถือบวช นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์โกนศีรษะ ท่านก็นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์โกนศีรษะ คือยินดีทำตามทุกอย่างจนวาระสุดท้าย พระพุทธเจ้าบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตัวปัตตานุโมทนามัยนั้น ตัวปัตตานุโมทนามัยจะเกิดทีหลังเขาอยู่หน่อยหนึ่ง ต้องให้เขาของบุญนั้นสำเร็จผลในผลบุญเขาก่อนตัวเองถึงจะได้
    ตัวอย่างพระนางพิมพาพอพระพุทธเจ้าบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณท่านก็เป็นพระอรหันต์ไปด้วย ได้ทีหลังเจ้าของเขาหน่อย ไม่ใช่แต่เฉพาะความดีนะ ความชั่วก็มีผลเเหมือนกัน เห็นเขาทำชั่วแล้วพลอยยินดี ดีไม่ดีลงนรกพร้อมกับเขา
    ถาม : แล้วถ้าเกิดอย่างเราโมทนาเวลาเขาทำทาน บริจาคทานอย่างนี้ผลในทางมนุษย์โลกนี่คือแบบไหน เหมือนกันใช่ไหม ?
    ตอบ : เหมือนกัน คือว่าเขาได้เท่าไรเราได้ด้วย แต่เราได้ช้ากว่าเขาหน่อยหนึ่ง
    ถาม : ถ้าอย่างนี้เราไปโมทนาคนทั้งหมดเลย แล้วรอให้เขา....?
    ตอบ : ได้ ถ้ากำลังใจของเราพอจะโมทนาใครก็ว่าไปเลย พลอยยินดีกับเขาทั้งหมด เพียงแต่ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นจะต้องเกิดกับเขาก่อน เดี๋ยวของเรา เราก็รับเป็นระยะ ๆ ไป ใครเำกิดปุ๊บเราก็ได้มั่ง (หัวเราะ)
    ถาม : ความปรารถนาไม่สมหวังนี่ มีกรรมอะไรเป็นเหตุ ?
    ตอบ : จริง ๆ แล้วมันคือทำไม่พอ ถ้าเราทำไว้เพียงพอสิ่งที่เราต้องการมันจะสำเร็จ อันนี้เรียกว่าบุญฤทธิ์ เพราะฉะนั้นถ้าปรารถนาไม่สมหวังจริง ๆ ก็คือบุญไม่พอ ถ้ามีอะไรเป็นเหตุก็กรรมดีมันน้อยไป (หัวเราะ)
    ถาม : ไม่ใชว่าเราไปขัดขวางการทำดีของคนอื่น ?
    ตอบ : มันมีอยู่ แต่ว่าถ้าถามอย่างนี้มันต้องสรุปรวบยอดเลย คือมันยังไม่พอ ถ้าทำพอมันได้
    ถาม : แล้วส่วนหนึ่งที่มันเป็นกรรมเก่าที่เราทำไม่ดีไว้ด้วยใช่มั้ยครับ ?
    ตอบ : คือบุญไม่พอ ในขณะเดียวกันชั่วก็เยอะ (หัวเราะ) สองอย่างรวมกันเลยเจ๊งเลย
    ถาม : คำพูดที่ว่าชีวิตอยู่ด้วยความหวังกับอย่าไปหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง อันไหนจะถูกต้องกว่ากัน ?
    ตอบ : มันผิดทั้งคู่เลย ถ้ายังหวังนี่แปลว่าใจมันเกาะอนาคตอยู่ ใจถ้ามันเกาะอนาคตนี่มันผิดแล้ว และขณะเดียวกันก็อย่าไปหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง อันนี้ความจริงแล้วมันดี แต่ขณะเดียวกันว่าบางสิ่งบางอย่างเราทำถ้าจะให้ถูกจริง ๆ คือ ตั้งต้นว่าเราทำอะไร ? เพื่ออะไร ? แล้วเราก็ตั้งหน้าตั้งตาทำของเราไป ไม่ต้องไปสนใจว่าผลจะเกิดเมื่อไร ? และจะเกิดอย่างไร ? ถ้าทำอย่างนี้แล้วโอเค คือว่าเราต้องมีความหวังหรือว่าตัวฉันทะ มันขึ้นมาก่อน พอมีฉันทะขึ้นมามันถึงอยากจะทำในสิ่งนั้น ตั้งใจทำในสิ่งนั้นให้สำเร็จ
    แต่เพียงแต่ว่าในช่วงขณะที่ทำไม่ต้องไปคิด แล้วตั้งหน้าตั้งตาทำให้มันไปถึงจุดหมายเท่านั้นแทนที่จะคิดภารกิจให้มันฟุ้งซ่าน มันก็เหลือว่าจะบุกให้ภารกิจนั้นมันจบลง ถ้าอย่างนั้นมันจะได้เร็วกว่าได้ง่ายกว่า
    ถาม : แสดงว่าเป็นคำพูดที่ให้กำลังใจเท่านั้นเอง รัชกาลที่หกท่านได้แต่งกลอนที่ว่า
     
  10. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,021
    ประกาศ
    เรื่องเปลี่ยนแปลงวันรับสังฆทาน

    จากกำหนดการเดิม ที่พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺปญฺโญ มารับสังฆทานทุกเดือน ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ ตามวันที่ประกาศแจ้งให้ทราบแล้วนั้น
    ขอเปลี่ยนแปลงวันรับ จากเดิมวันเสาร์-อาทิตย์-จันทร์ ของแต่ละเดือนที่กำหนดไว้ เป็นวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ แทน เนื่องจากมีภารกิจไม่สามารถมารับสังฆทานวันจันทร์ได้ ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
    จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
    หมายเหตุ
    กำหนดการรับสังฆทาน ที่บ้านอนุสาวรีย์ฯ มีดังนี้
    เดือน กค. ๔๘ : วันที่ ๑-๒-๓
    เดือน สค. ๔๘ : วันที่ ๕-๖-๗
    เดือน กย. ๔๘ : วันที่ ๒-๓-๔
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...