+++ ช็อปปิ้งหนักอาจเป็นนิ้วล็อกง่าย +++

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย zipper, 25 เมษายน 2005.

  1. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    แพทย์จุฬาฯ เผยโรคของมือที่พบบ่อย พบตั้งแต่โรคมือชา นิ้วล็อก แนะสตรีวัยกลางคนหรือแม้แต่วัยทำงาน อย่าหิ้วของหนัก อย่าหักโหมงานบ้าน ซักผ้า บิดผ้า รวมทั้งตีกอล์ฟ คนเป็นเบา-หวาน รูมาตอยด์เสี่ยงนิ้วล็อกได้มากกว่า หากพบอาการนิ้วสะดุด นิ้วงอไม่ได้ เหยียดไม่ออก ให้รีบพบแพทย์รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ปัจจุบันนิ้วล็อกรักษาได้ด้วยการรับประทานยา กายภาพบำบัดและผ่าตัด

    รศ.น.พ.ประวิทย์ กิติดำรงค์สุข หน่วยศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กล่าวว่าโรคของมือที่พบบ่อยมีตั้งแต่มือชา นิ้วเหยียดงอผิดปกติ นิ้วล็อก โรคเหล่านี้ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่รบกวนการใช้ชีวิต เนื่องจากมีอาการปวด ก่อความรำคาญ บางคนตื่นมากลางดึกเพราะความปวดแล้วก็นอนไม่หลับ ประกอบกิจวัตรประจำวันไม่ได้ สูญเสียคุณภาพชีวิต

    รศ.น.พ.ประวิทย์กล่าวว่า โรคมือชาเกิดจากเส้นประสาทมีเดียน บริเวณอุโมงค์มือหรือที่หมอดูเรียกว่า บริเวณเส้นชีวิตถูกปลอกเส้นประสาทรัด หรือเส้นประสาทมีเดียนถูกกดดันทำให้มือชา นิ้วมือเหยียดงอไม่ได้ การรักษาทำได้ตั้งแต่เฝ้าดูอาการ รับประทานยา ทำกายภาพบำบัดหรือถึงขั้นผ่าตัด แล้วแต่ความรุนแรงของโรค ส่วนโรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมือ

    โรคนี้พบในผู้หญิงร้อยละ 80 พบในผู้ชายร้อยละ 20 โดยพบในผู้หญิงวัยกลางคนมากที่สุด ในกลุ่มอายุ 50-60 ปี ส่วนในผู้ชายพบในกลุ่มอายุ 40-70 ปี สาเหตุของโรคนี้เกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเพราะผู้หญิงใช้มือทำงานที่ซ้ำ ๆ มากกว่าผู้ชาย ขณะที่ผู้ชายใช้มือทำงานออกรุนแรงแต่ไม่ซ้ำซาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไป ถ้าต้องหิ้วถุงหนัก ๆ การบิดผ้า ซักผ้า การกวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมู สับไก่ ใช้กรรไกรตัดผ้า เกิดนิ้วมือล็อกคลายไม่ออกจนต้องมาพบแพทย์ คนที่มีอาชีพเจาะขุดถนน มีความเสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อกอย่างมาก การทำงานเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ทำให้เอ็นนิ้วมือเสียดสีกับปลอกรัดเอ็นทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็น หรือการหนาตัวขึ้นของปลอกรัดเอ็น เกิดการเสียสัดส่วนของอุโมงค์เส้นประสาท ทำให้เอ็นไม่สามารถลอดผ่านได้ ส่งผลให้เกิดการฝืด การตึง สะดุด กระเด้ง จนถึงนิ้วล็อกในทึ่สุด นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีโอกาสเสี่ยงการเป็นโรคนี้มากขึ้น
     
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    น่ากลัวค่ะ
    ต้องช็อปให้น้อยลงค่ะ
     
  3. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    เดี๋ยวนี้คนเป็นเยอะขึ้นนะนิ้วล๊อคเนี่ย
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    จริงเหรอ zipper ทำไงดี ทำกิจกรรมอะไรหลาย ๆ อย่างก็เป็นนิ้วล๊อคได้
     
  5. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    อืม ต้องลองไปหาหนังสือเกี่ยวกับนิ้วล็อคมาอ่านดู คนเขียนเป็นแพทย์อยู่ที่รพ.เลิดสิน คนนี้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้มาก เค้าว่าสาเหตุที่นิ้วล็อคเพราะว่าใช้งานนิ้วหนัก คือ ใช้หิ้วของหนัก มีแรงไปกระทำที่นิ้วแรง และก็นานพอที่จะ ทำให้เอ็นนิ้วมือเสียดสีกับปลอกรัดเอ็นทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็น หรือการหนาตัวขึ้นของปลอกรัดเอ็น
    นิ้วมันเลยล็อคด้วยประการฉะนี้

    เคยซื้อหนังสือมาอ่าน เด็กๆยังเป็นได้เลย ถ้าผู้ชายส่วนมากก็เกิดจากการเล่นกอล์ฟ แม่บ้านก็ส่วนมากก็หิ้วของหนัก สังเกต เวลาช็อปปิ้งหูของถึงพลาสติกมันจะรวบมาอยู่ที่เดียวกัน ตรงนั้นก็จะมีแรงมากดที่นิ้วมาก
    ส่วนวิธีป้องกันเค้าให้ใส่ถุงมือเพื่อลดแรงที่มากระทำ
     
  6. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    น่ากัว!!!!!!!!!!!
     

แชร์หน้านี้

Loading...