ธชัคคสูตร พระธรรมเทศนาหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 19 กันยายน 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    กัณฑ์ที่ ๓๕
    ธชัคคสูตร
    วันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๗
    ........................................................


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ


    ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ ฯ อถโข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ มมํ หิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา โส ปหิยฺยิสฺสตีติ ฯ

    ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยความชนะและความแพ้ สองกระแส โลกปรารถนาความชนะทุกถ้วนหน้า ไม่มีใครปรารถนาความแพ้เลย


    ความแพ้หรือความชนะนี้เป็นของคู่กัน ในศึกสงครามใดๆ ในมนุษย์โลก ต่างฝ่ายก็ชอบชนะด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากจะแพ้ หรือมุ่งมาดปรารถนาความแพ้



    ถ้าว่าคิดว่าแพ้แน่แล้ว ก็ไม่สู้
    ถ้าว่าคิดว่าสู้ก็ไม่แพ้ ตั้งใจอย่างนี้
    บัดนี้สงครามโลกกำลังปรากฏอยู่ในเกาหลียังปรากฏอยู่ ในอินโดจีนนั้นก็ยังปรากฏอยู่ ต่างฝ่ายก็มุ่งเอาชัยชนะด้วยกัน สู้กันจริงๆ จังๆ อย่างนี้



    ทางพุทธศาสนาเล่า มุ่งความชนะยิ่งกว่านั้น แต่ว่าความแพ้มันล่อแหลม มันก็ปรากฏอยู่เหมือนกัน

    เหมือนภิกษุที่สวมฟอร์มเป็นภิกษุอยู่เช่นนี้ ถ้ามุ่งความชนะจึงได้สวมฟอร์มเช่นนี้ เข้าสู้รบทีเดียว

    ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกา แสดงอากัปกิริยามุ่งความชนะอีกเหมือนกัน แต่ความชนะน่ะชนะอะไร

    ชนะที่สุดต้องชนะความชั่วทั้งหมด ความชั่วทั้งหมดมีมากน้อยเท่าใด มุ่งชนะทั้งหมด จนกระทั่งดีที่สุด ถึงพระอรหัตตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานมุ่งหลักฐานเช่นนั้น




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    โลกดุจเดียวกัน มุ่งความชนะเป็นเบื้องหน้า เพื่อจะหลีกเลี่ยงเสียจากความแพ้ เมื่อได้ชัยชนะแล้ว ก็ได้ความเป็นใหญ่ในประเทศนั้นๆ ชนะทุกประเทศเป็นเอกในชมพูทวีป เรียกว่า ชนะเลิศ การชนะนี้แหละเขาต้องการกันนัก มีแพ้ชนะ ๒ อย่างเท่านั้น

    ไม่ว่าแต่ความแพ้ชนะในมนุษย์นี่ ในดาวดึงส์เทวโลกนั่นเทวดายังรบกันเลย เรื่องนี้ปรากฏตามกำหนดวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า


    ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ
    ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้วในกาลปางก่อน เทวาสุรสงฺคาโม สงครามเทวดาและอสูร

    สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ ได้ประชิดกันเข้าแล้ว เทวดาและอสูรในดาวดึงส์ทำสงครามกันขึ้นแล้ว เมื่อสงครามเกิดขึ้นเช่นนั้น

    ในคราวใดสมัยใดพวกอสูรแพ้ท้าวสักกรินทรเทวราช ก็ลงไปตั้งพิภพอยู่ภายใต้เขาพระสุเมรุ บนยอดเขาพระสุเมรุนั้นพระอินทร์ตั้งพิภพอยู่ในที่นั้นเรียกว่าดาวดึงส์ หนทางไกลตั้ง ๘๔,๐๐๐ โยชน์จากยอดไปถึงตีนเขาโน่น จากยอดเขาไปถึงตีนเขา๘๔,๐๐๐ โยชน์ หนทางไกลขนาดนี้ แต่ว่าเขาพระสุเมรุอยู่ในน้ำมีน้ำล้อมรอบ

    เมื่อถึงเทศกาลฤดูดอกแคฝอยในพิภพของอสูรบานขึ้นเวลาใด ชาวอสูรตกใจก็ที่พิภพของเราที่เราเคยอยู่มันมีดอกปาริฉัตตชาติ นี่ดอกแคฝอยเกิดขึ้นในพิภพของเราเช่นนี้ ไม่ใช่พิภพของเราเสียแล้ว

    คิดรู้ว่าอ้อ เมื่อครั้งเราเมาสุรา ท้าวสักกรินทรเทวราชจับเราโยนลงมา พวกเราจึงมาอยู่ในเขาพระสุเมรุนี้

    ที่เกิดพิภพอสูรขึ้นเช่นนี้ ก็เพราะบุญของเรา แต่ว่าหักห้ามความแค้นใจนั้นไม่ได้ ต้องผุดขึ้นมาจากน้ำ ออกมาจากเชิงเขาพระสุเมรุจากในน้ำนั้นแหละ เหาะขึ้นไปในอากาศ ไปรบกับท้าวสักกรินทรเทวราช

    ถึงคราวสมัยทำสงครามกับอสูรเวลาใด ท้าวสักกรินทรเทวราช ก็เรียกเทวดาในชั้นดาวดึงส์ หมู่เหล่าเทวดาในชั้นดาวดึงส์มีมากน้อยเท่าใด เรียกมาสั่งว่า

    สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ มมํ หิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา โส ปหิยฺยิสฺสติ
    ว่าดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าความกลัวหรือความหวาดสะดุ้งหรือความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่ท่านทั้งหลายที่ไปอยู่ในสงครามแล้ว

    ท่านทั้งหลาย เมื่อความกลัวเกิดขึ้นเช่นนั้นให้แลดูชายธงของเรา เมื่อท่านแลดูชายธงของเรากาลใด กาลนั้นความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าอันใดที่มีอยู่ อันนั้นย่อมหายไป

    เมื่อท่านแลดูชายธงของเราแล้วความกลัวความหวาดสะดุ้งไม่หายไป ขอท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเทวราชปชาบดีเถิด

    เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชปชาบดี ความกลัวก็ดีความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดีที่มีอยู่ ย่อมหายไป

    เมื่อท่านแลดูชายธงของเทวราชปชาบดีแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งไม่หายไป ท่านพึงแลดูชายธงของวรุณเทวราชเถิด ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านก็จะหายไป

    ถ้าว่าเมื่อท่านแลดูชายธงของเทวราชวรุณแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้านั้นยังไม่หายไป ทีนั้นท่านพึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อว่าอีสานเถิด

    เมื่อท่านแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าของท่านจะหายไป

    เมื่อท่านแลดูชายธงของท่านทั้ง ๔ เหล่านี้ ความกลัวความหวาด สะดุ้งความขนพองสยองเกล้า บางทีก็หายไปบ้าง บางทีก็ไม่หายบ้าง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    มินฺโท ดูกรภิกษุทั้งหลายท้าวสักกรินทรเทวราชผู้เป็นจอมของเทวดา
    อวีตราโค มีราคะยังไม่ไปปราศแล้ว
    อวีตโทโส มีโทสะยังไม่ไปปราศแล้ว
    อวีตโมโห มีโมหะยังไม่ไปปราศแล้ว
    ภิรุ ฉมฺภี อุตฺตรสี ปลายีติ เป็นผู้ยังกลัว ยังหวาด ยังสะดุ้ง ยังหนีไปอยู่ ท่านทั้ง ๔ นั้น ยังกลัว ยังหวาดสะดุ้ง ยังหนีไปอยู่

    อหญฺจ โข ภิกฺขเว เอวํ วทามิ สเจ ตุมฺหากํ ภิกฺขเว อรญฺญคตานํ วา รุกฺขมูลคตานํ วา สุญฺญา คารคตานํ วา สุญฺญาคารคตานํ วา อุปฺปชฺเชยฺย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอย่างนี้แล เมื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ป่าแล้ว ไปอยู่ที่โคนต้นไม้แล้ว ไปอยู่เรือนว่างเปล่าแล้ว

    ถ้าแม้ว่าความกลัวความหวาด ความสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเราผู้ตถาคตเข้าเถิด

    เมื่อท่านระลึกถึงเราผู้ตถาคตแล้วกาลใด กาลนั้นความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านทั้งหลายจะหายไป

    เมื่อท่านระลึกถึงเราแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าไม่หายไป ทีนั้นท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมเข้าเถิด

    เมื่อท่านทั้งหลายระลึกถึงพระธรรมเข้าแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าจะหายไป

    เมื่อท่านระลึกถึงพระธรรมแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าของท่านไม่หายไป ทีนั้นท่านพึงระลึกถึงพระสงฆ์เข้าเถิด

    เมื่อท่านระลึกถึงพระสงฆ์เข้าแล้ว ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านก็จะหายไป

    ที่ท่านทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความกลัวความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าหายไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 8path.gif
      8path.gif
      ขนาดไฟล์:
      103.1 KB
      เปิดดู:
      132
    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      158
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ปราศแล้ว
    วีตโทโส มีโทสะไปปราศแล้ว
    วีตโมโห มีโมหะไปปราศแล้ว
    อภิรุ อจฺฉมฺภี อนุตฺตรสี อปลายี เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด เป็นผู้ไม่สะดุ้งเป็นผู้ไม่หนีไป เพราะท่านเป็นผู้หมดภัยแล้ว ท่านไม่มีภัยแล้ว เมื่อระลึกถึงท่านเข้า

    เมื่อระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เข้าภัยอันใดจักมีภัยอันใด ที่มีภัยอันนั้นย่อมหายไปอยู่ไม่ได้

    นี้เป็นเครื่องมั่นใจของพุทธศาสนิกชนยิ่ง นักหนา

    ฝ่ายท้าวสักกรินทรเทวราช ปชาบดีเทวราช วรุณเทวราช อีสานเทวราช ท่านมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ในดาวดึงส์

    เทวโลก เป็นผู้ปกครองของเทพเจ้าในดาวดึงส์เทวโลก ท้าวสักกรินทร-เทวราช ผู้เป็นจอมเทวดา เป็นเทวดาผู้ใหญ่ เป็นที่มั่นใจของเทวดาชั้นดาวดึงส์เทวโลกฉันใด

    พุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีพระรัตนตรัยเป็นหลัก คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นหลัก

    เมื่อระลึกถึงหลักอันนี้แล้วย่อมไม่หวาดเสียว ย่อมไม่กลัวย่อมไม่สะดุ้ง มั่นคงในพระพุทธศาสนา

    เมื่อมั่นคงแน่แท้เช่นนี้แล้วจะเอาชัยชนะได้ไม่ต้องสงสัยละ กระทำสิ่งใดสำเร็จสมความปรารถนาทีเดียว

    จะทำอย่างไรพุทธศาสนิกชน ที่จะทำจริงทำแท้แน่นอนเอาจริงเอาจังกันละ ของไม่มากของนิดเดียวเท่านั้น



    พุทธศาสนิกชน หญิงก็ดี ชายก็ดี คฤหัสถ์ บรรพชิตไม่ว่า ต้องทำใจให้หยุด หยุดที่ตรงไหน?

    ที่หยุดมีแห่งเดียว เคลื่อนจากที่หยุดแห่งนั้นละก็ เป็นเอาตัวรอดไม่ได้ ไม่ถูกเป้าหมายใจดำพุทธศาสนา ทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั้น พอหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นได้แล้ว นั่นแหละเป้าหมายใจดำพุทธศาสนา

    ตรงนั้นแหละเมื่อมนุษย์จะเกิดมา ต้องเอาใจหยุดตรงนั้นกลางตัวของพ่อ หญิงชายเกิดต้องเอาใจไปหยุดตรงนั้น

    ที่หยุดของใจ เวลาจะหลับก็ต้องเอาใจไปหยุดตรงนั้นจึงหลับได้
    หลับตรงไหน ตื่นตรงนั้น
    เกิดตรงไหน ตายที่นั่น
    อ้ายที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่นนั่นแหละ เอาใจไปหยุดตรงนั้น
    พอหยุดถูกส่วน เข้ากลางกายมนุษย์ คราวนี้ก็จะเดินไปแบบเดียวกันนี้แหละ ไม่มี ๒ ต่อไปละ พุทธศาสนาแท้ๆ ทีเดียวนา

    ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดานะ คำว่าหยุดนั่นแหละ เมื่อพระองค์เสด็จไปทรมานองคุลิมาล องคุลิมาลหมดพยศร้ายแล้ว แพ้จำนนพระบรมศาสดาแล้ว เปล่งวาจาว่า สมณะหยุดๆ

    พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์ สมณะหยุดแล้ว ท่านไม่หยุด
    คำว่าหยุดนี่ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดา
    องคุลิมาลพอรู้จักนัยที่พระบรมศาสดาให้เช่นนี้ ก็หมดพยศร้าย มิจฉาทิฏฐิหาย กลายเป็นสัมมาทิฏฐิ

    เพราะฉะนั้นอ้ายตัวหยุดนี่แหละหนา เลิกเป็นมิจฉาทิฏฐิ กลับเป็นสัมมาทิฏฐิทีเดียว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2015
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    หยุดนี่แหละเป็นตัวถูกละ ก็เอาใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่
    ไม่หยุดไม่ยอมกัน แก้ไขจนกระทั่งใจหยุดกึ๊ก
    เมื่อใจหยุดแล้วเข้ากลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆ ไม่มีเขยื้อนที่กลางของกลางทีเดียว
    พอถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ใสเกินใส
    ใจก็หยุดอยู่กลางดวงของธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล เท่าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้า กลางของกลางที่ใจหยุดหนักเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน
    หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่น หยุดกลางของกลาง ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาดวงเท่ากัน เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น ถูกส่วนเข้าเข้าถึง ดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุดก็เข้ากลางของกลางที่หยุดนั่น กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เข้ากลางของใจที่หยุดถูกส่วนเข้า เห็น กายมนุษย์ละเอียด ที่ฝันออกไป

    จำได้ อ้ายนี้เมื่อนอนฝันออกไป เมื่อเวลาไม่ฝันมาอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี่เอง

    พอถึงรู้นักทีเดียว กำชับให้ฝันได้ นั่นฝันได้ละคราวนี้ จะฝันสักกี่เรื่องประเดี๋ยวก็ได้เรื่อง ประเดี๋ยวก็ได้เรื่อง ฝันได้สะดวกสบาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อเป็นเช่นนี้ อ้อ..นี่ขั้นหนึ่งแล้ว เข้ามาแต่กายมนุษย์มาถึง กายมนุษย์ละเอียดแล้ว

    ใจของกายมนุษย์ละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดแบบเดียวกัน พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะแบบเดียวกันก็เข้าถึง กายทิพย์ อ้อนี่กายที่ ๓ แล้ว

    ใจของกายทิพย์ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์แบบเดียวกัน ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณ-ทัสสนะ แล้วก็ไปเห็น กายทิพย์ละเอียด อ้าวถึงกายที่ ๔ แล้ว

    ใจก็หยุดอยู่ศูนย์กลางที่ ๔ นั่น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ ๔ นั่น ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึง กายรูปพรหม กายที่ ๕

    ใจกายรูปพรหม ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด

    ใจกายรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดนั้น ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายอรูปพรหม กายที่ ๗

    ใจกายอรูปพรหม หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายอรูปพรหมละเอียด

    ใจกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายธรรม

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายธรรมละเอียด
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายพระโสดา

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายพระโสดาละเอียด

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายพระสกทาคา

    ใจพระสกทาคา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระ สกทาคา ถูกส่วนเข้า แบบเดียวกันหมด เข้าถึง กายพระสกทาคาละเอียด

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายพระอนาคา

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายพระอนาคาละเอียด

    ใจพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป

    ใจพระอรหัต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายพระอรหัตละเอียด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เสร็จกิจในพุทธศาสนาเพียงเท่านี้
    เพราะอาศัยการรบศึกแค่นี้ ชนะสงครามแล้วในพุทธศาสนา
    พุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร ชื่อว่าชนะสงครามแล้ว
    อุบาสก อุบาสิกาถึงแค่นี้ได้ชื่อว่าชนะสงครามแล้ว ชนะสงคราม ชนะความชั่ว
    ถ้าไปถึงธรรมกายขนาดนั้นละก็ ความชั่วเท่าปลายขน ปลายผมไม่ทำเสียแล้ว ขาดจากกาย วาจา ใจ ทีเดียว



    นี่พึงรู้ชัดว่า อ้อ พุทธศาสนิกชนปฏิบัติได้จริงจังอย่างนี้

    โลกชนะสงครามแล้ว เขาได้รับความเบิกบาน สำราญใจเพียงแค่ไหน

    ฝ่ายพุทธศาสนิกชน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ได้ชนะสงครามชั่ว หมดกิเลสเข้าไปเป็นชั้นๆ เช่นนี้แล้วจะเบิกบานสำราญใจสักแค่ไหน หาเปรียบไม่ได้ทีเดียว เลิศล้นพ้นประมาณ เป็นสุขวิเศษไพศาล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีเป็นหลักเป็นประธาน พอสมควรแก่กาลเวลาด้วยอำนาจสัจจะวาจา ที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า



    สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้าทั้งปวง
    สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง
    สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ทั้งปวง
    ปิฏกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง ๓ คือ สุตตันตปิฎก วินัยปิฎก ปรมัตถปิฎก
    ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอานุภาพของชินสาวก สาวกของท่านผู้ชนะมาร จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ จงอุบัติบังเกิดให้ปรากฏในขันธบรรจบแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า


    อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>มหาวรรค อานาปาณกถา</CENTER></PRE>

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



    [๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ

    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
    เบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ
    จิตหมดจดจากอันตรายแห่ง
    เบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปใน
    สมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็น
    เบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
    ลักษณะ ฯ



    [๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
    แห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๔ คือ
    จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่
    สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิต
    หมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏใน
    ความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรค
    เป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ


    [๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด
    เท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ
    ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    อรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
    อันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
    ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
    ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค
    ลักษณะ
    แห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรม
    มีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ
    มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
    เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
    อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
    รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ - ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ - ๒๑๒.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=4070&Z=5199&pagebreak=0
     
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค</BIG> <CENTER class=D>ธนิยสูตร</CENTER></CENTER>

    <CENTER>อรรถกถาธนิยสูตร </CENTER>

    ในที่สุดพระคาถา คนทั้ง ๔ คือ นายธนิยะ ๑ ภรรยาของเขา ๑ และธิดาของเขา ๒ คน ได้ฟังคาถาที่แสดงสัจ ๔ ประการนี้อย่างนี้แล้ว ก็ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.
    ลำดับนั้น นายธนิยะเห็นแล้วซึ่งธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธาซึ่งตั้งมั่นแล้ว อันเกิดขึ้นแล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลน ผู้มีหทัยอันธรรมกายตักเตือนแล้ว คิดแล้วว่า นับตั้งแต่อเวจีเป็นที่สุดจนถึงภวัครพรหม เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลังเช่นนี้ได้ พระศาสดาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า เราตัดเครื่องผูกทั้งหลายได้แล้ว และการนอนในครรภ์ของเราไม่มี.


    ในที่สุดพระคาถา คนทั้ง ๔ คือ นายธนิยะ ๑ ภรรยาของเขา ๑ และธิดาของเขา ๒ คน ได้ฟังคาถาที่แสดงสัจ ๔ ประการนี้อย่างนี้แล้ว ก็ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.
    ลำดับนั้น นายธนิยะเห็นแล้วซึ่งธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธาซึ่งตั้งมั่นแล้ว อันเกิดขึ้นแล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลน ผู้มีหทัยอันธรรมกายตักเตือนแล้ว
    คิดแล้วว่า นับตั้งแต่อเวจีเป็นที่สุดจนถึงภวัครพรหม เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลังเช่นนี้ได้ พระศาสดาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า เราตัดเครื่องผูกทั้งหลายได้แล้ว และการนอนในครรภ์ของเราไม่มี.

    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=295
     
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค</BIG> <CENTER class=D>ธนิยสูตร</CENTER></CENTER>


    <CENTER>อรรถกถาธนิยสูตร </CENTER>

    ใน ๒ คาถานั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระ<WBR>ภาค<WBR>เจ้า<WBR>ด้วยการแทงตลอดอริยมรรค เห็นรุปกายของพระองค์ด้วยโลกุตรจักษุ และกลับได้สัทธาที่<WBR>เป็น<WBR>โลกิย<WBR>สัทธา ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มี<WBR>พระ<WBR>ภาค<WBR>เจ้า.

    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=295
     
  12. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน โสณเถรวรรคที่ ๕ โสณสูตร</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>



    <CENTER>อรรถกถาโสณสูตร </CENTER>
    บทว่า เอทิโส จ เอทิโส จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้ฟังมาว่า เห็นปานนี้ๆ คือทรงประกอบด้วยนามกายสมบัติ และรูปกายสมบัติเห็นปานนี้ และประกอบด้วยธรรมกายสมบัติเห็นปานนี้


    (.....จากพระอรรกถาเดียวกัน.....)

    อาจารย์ทั้งหลายหมายเอาความเป็นปุถุชนเท่านั้น กล่าวว่าท่านโสณะได้มีความประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ภายหลัง เธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา ในเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงเชื้อเชิญ จึงทำไว้ในใจให้มีประโยชน์ถึงพระสูตร ๑๖ เป็นวรรค ๘ วรรค เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา แล้วประมวลมาไว้ในใจทั้งหมด เป็นผู้รู้แจ้งอรรถและธรรม เมื่อจะกล่าวเป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิ โดยมุขคือความปราโมทย์อันเกิดแต่ธรรม ในเวลาจบสรภัญญะ เริ่มตั้งวิปัสสนาพิจารณาสังขาร บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ ก็เพื่อประโยชน์นี้เท่านั้น
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งให้เธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระองค์.
    ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่า เรายังไม่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์แล ดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาเฉพาะการเห็นรูปกายเท่านั้น.

    จริงอยู่ ท่านพระโสณะพอบวชแล้วก็เรียนกรรมฐานในสำนักของพระเถระ เพียร<WBR>พยายาม<WBR>อยู่ ยังไม่ได้อุปสมบทเลย ได้เป็นพระโสดาบัน ครั้นอุปสมบทแล้วคิดว่า แม้อุบาสก<WBR>ทั้ง<WBR>หลาย<WBR>ก็<WBR>เป็นพระโสดาบัน ทั้งเราก็เป็นพระโสดาบัน ในข้อนี้จะคิดไปทำไมเล่า จึงเจริญวิปัสสนาเพื่อมรรคชั้นสูงได้อภิญญา ๖ ภายในพรรษานั้นเอง แล้วปวารณาด้วยวิสุทธิปวารณา ก็เพราะเห็นอริยสัจ จึงเป็นอันชื่อว่า เธอได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า


    สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า<SUP>๓-</SUP>
    ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม.
    เพราะฉะนั้น การเห็นธรรมกายจึงสำเร็จแก่เธอก่อนทีเดียว ก็แลครั้นปวารณาแล้ว เธอได้มีความประสงค์จะเห็นรูปกาย.
    ____________________________

    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=119
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2015
  13. ไอย์ทิพย์

    ไอย์ทิพย์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2017
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +36

แชร์หน้านี้

Loading...