บันไดสู่การเป็นนักอ่าน

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย MBNY, 21 สิงหาคม 2005.

  1. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,864
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,511
    บันไดสู่การเป็นนักอ่าน [​IMG]




    การอ่านเป็นทักษะซึ่งเพิ่มการเรียนรู้สามารถปลูกฝังได้ตั้งแต่ระยะขวบปีแรก ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานของท่านเป็นนักอ่าน
    เริ่มอ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่อายุ 6 เดือน การได้ยินเสียงจากการอ่านจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมอง
    พยามยามทำให้การอ่านหรือการเล่านิทานเป็นบรรยากาศอันแสนสุขภายในบ้านของท่าน

    วัยเด็กเล็ก (ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี)

    ถึงแม้เด็กยังไม่สามารถเข้าใจเสียงของพ่อแม่ แต่จะเริ่มซึมซับภาษา และเรียนรู้ที่จะรักการอ่าน
    เป็นเรื่องปกติถ้าเด็กวัยนี้จะทำสิ่งต่อไปนี้
    กัดหนังสือ และถือแบบไม่ปราณีปราศัย เพราะเด็กเล็กจะปฏิบัติกับหนังสือเหมือนของเล่นชนิดหนึ่ง
    ขณะที่คุณอ่านนิทานให้ลูกฟัง เด็กจะสนใจเพียงชั่วครู่ แล้วหันไปเล่นอย่างอื่นพยายามเปิดผ่านไปหน้าที่ลูกชอบ
    มักจะเรียกร้องเรื่องเดิมหลายๆ รอบ เด็กจะเรียนรู้ได้โดยการฟังซ้ำๆ
    ไม่ค่อยสนใจเมื่อเราอ่านหนังสือให้ฟัง อย่ากังวลลองใหม่ได้ในครั้งหน้า
    คุณสามารถส่งเสริมการอ่านของลูกโดย
    อ่านออกเสียงให้ลูกฟัง เริ่มจากช่วงสั้นๆ และนานขึ้นเมื่อเด็กเริ่มสนใจ
    ชี้รูปภาพ และเรียกชื่อสิ่งของในภาพให้เด็กฟัง
    จัดตารางการอ่านหนังสือ ให้คุ้นเคยเป็นกิจวัตรประจำวัน
    เวลาอ่านนิทานเรื่องราวต่างๆ อย่าลืมอ่านโคลงกลอน หรือเพลง การใช้ท่วงทำนองมีส่วนช่วยพัฒนาการทางภาษาอย่างยิ่ง
    จัดหาหนังสือที่มีสาระเหมาะสม ได้แก่
    มีปกที่ทนทาน เช่น ปกผ้า กระดาษแข็ง
    หนังสือรูปภาพสิ่งของที่เด็กคุ้นเคย
    หนังสือนิทานสั้นๆ ง่ายๆ มีเรื่องราวกิจกรรมต่างๆที่เด็กเคยทำ
    หนังสือเพลงกล่อมเด็ก




    วัยเตรียมตัวเป็นนักอ่าน ( วัยอนุบาล )
    เด็กวัยนี้สนใจตัวหนังสือทุกชนิดรอบตัว บางครั้งแกล้งทำเป็นอ่านหนังสือ ทั้งๆที่ยังคงอ่านไม่ได้ ความสนใจเหล่านี้ช่วยให้เด็กเป็นนักอ่านที่แท้จริงในอนาคตได้
    เป็นเรื่องปกติถ้าเด็กจะทำสิ่งต่อไปนี้
    ถามคำถามตลอดเวลาที่ฟังคุณเล่านิทาน เพราะเด็กจะเรียนรู้เมื่อได้พูดคุยเรื่องราวในหนังสือ
    สนใจฟังเพียงชั่วครู่ เด็กบางคนฟังได้นานขึ้นถ้าได้วาดรูปหรือเล่นของเล่นไปพร้อมกัน
    เขียนอักษรกลับหน้าหลัง " " เนื่องจากเด็กวัยนี้เพิ่งเริ่มพัฒนาทิศทางของสิ่งต่างๆ

    คุณสามารถส่งเสริมการอ่านของลูกโดย
    กระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมขณะอ่าน หยุดเป็นช่วงๆ เพื่อให้เด็กเติมคำ เช่น ก.เอ๋ย ก.."ไก่" ข. ไข่อยู่ใน.."เล้า"
    ถามคำถามให้เด็กตอบขณะเล่านิทาน เช่น"หนูคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปจ๊ะ"
    อ่านไปชี้ไป เพื่อจะได้เชื่อมโยงคำอ่านกับตัวหนังสือ
    เริ่มสอนตัวหนังสือให้รู้จัก โดยเริ่มจากพยัญชนะชื่อของเด็กก่อน
    จัดหาหนังสือและอุปกรณ์ที่เหมาะสม
    - หนังสือนับเลข กขค ABC - นิทานที่เข้าใจง่ายมีเนื้อหาที่คาดเดาได้
    - หนังสือบอกเรื่องราวโดยมีภาพประกอบ




    วัยนักอ่านเบื้องต้น (อนุบาลถึงประถม 2)
    เด็กเริ่มพยายามอ่านออกเสียง เดาความหมายของคำที่ไม่รู้จัก การพัฒนาจะเกิดขึ้นเมื่อได้อ่านซ้ำๆ เด็กจะเรียนรู้คำมากขึ้น และอ่านได้ราบรื่นขึ้น
    เป็นเรื่องปกติถ้าเด็กจะทำสิ่งต่อไปนี้
    อ่านผิดๆ ถูกๆ
    สะกดผิด โดยมักสะกดตามเสียงที่ได้ยิน
    คุณสามารถส่งเสริมการอ่านของลูกโดย
    ให้เด็กมีส่วนร่วมในการอ่าน
    ถ้าอ่านบางคำไม่ได้ให้ผ่านไปก่อน และดูความหมายโดยรวม
    เขียนหนังสือสื่อสารกับเด็กเพื่อให้เด็กหัดอ่าน เช่น ปิดข้อความไว้บนตู้เย็น
    พาเข้าห้องสมุด ยืมหนังสือในนามของเด็กเอง
    อ่านนิทานที่มีเนื้อหาซับซ้อนขึ้น
    จัดหาหนังสืออ่านง่ายๆ เพื่อให้ฝึกอ่าน

    วัยนักอ่านที่กำลังพัฒนา (ประถม 2-3)
    เด็กอ่านหนังสือได้มากขึ้น สามารถหาศัพท์เหมือนกันแทนกันได้ หาคำผิดได้ ฝึกการอ่านในใจ และเขียนมากขึ้น
    เป็นเรื่องปกติถ้าเด็กจะทำสิ่งต่อไปนี้
    - ยังอ่านผิดๆ ถูกๆ การอ่านบ่อยๆ จะช่วยให้ดีขึ้น
    - ยังสะกดผิดๆ ถูกๆ
    - อ่านหนังสือที่ดูเหมือนจะง่ายกว่า ซึ่งเป็นการอ่านเพื่อฝึกความมั่นใจ

    คุณสามารถส่งเสริมการอ่านของลูกโดย
    เวลาเด็กอ่านออกเสียงผิด ลองตั้งคำถามชี้นำให้เด็กแก้ไขส่วนที่ผิดเอง
    พูดถึงหนังสือที่ได้อ่านร่วมกัน
    ไม่ต้องห้ามเมื่อเด็กอ่านออกเสียง
    แนะให้พี่อ่านให้น้องฟังเพื่อเป็นการฝึกหัดและเด็กจะได้ภูมิใจ รวมถึงเป็นการกระตุ้นให้น้องรักการอ่านด้วย

    นักอ่านตัวยง (ตั้งแต่ประถม 3 เป็นต้นไป)
    เด็กเริ่มอ่านได้เองโดยไม่ต้องมีผู้ช่วย สามารถฝึกฝนและเรียนรู้จากการอ่านได้เอง รวมทั้งได้ฝึกฝนทักษะการแปลความหมาย และวิจารณ์สิ่งที่อ่านด้วย
    เป็นเรื่องปกติถ้าเด็กจะทำสิ่งต่อไปนี้
    ชอบการอ่านในใจ
    ยังคงอ่านหนังสือรูปภาพ อย่าลืมว่าหนังสือรูปภาพบางเรื่องเนื้อหาซับซ้อนพอสมควร
    ยังสะกดคำผิด ควรช่วยรวบรวมคำที่สะกดยากและเด็กชอบสะกดผิด
    คุณสามารถส่งเสริมการอ่านของลูกโดย
    อ่านออกเสียงให้เด็กฟังโดยที่เนื้อหายากขึ้น เป็นการฝึกทักษะการฟังและคิดตาม
    จัดหาหนังสือให้อย่างสม่ำเสมอ และถามถึงเนื้อหาหนังสือเหล่านั้น
    ส่งเสริมการเขียน เช่นหัดเขียนบันทึกรายการซื้อของ, เขียนข้อความสื่อสารถึงกัน, เขียนเรื่องสั้น หรือ ทำการ์ดอวยพร

    From [​IMG]

    <HR SIZE=1>Little Li's Flying Dagger, Once Released Never Misses.
     

แชร์หน้านี้

Loading...