ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผ่าตัดเสริมเต้า..ฟรี!

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย paang, 21 กันยายน 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    วิวัฒนาทางการแพทย์ไม่เคยหยุดนิ่ง การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมขึ้นใหม่ด้วยแผ่นผิวหนังและไขมันบริเวณหน้าท้อง (TRAM Flap) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่การแพทย์สมัยใหม่คิดค้นขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ถูกตัดเต้านมทิ้งไป มีสุขภาพดีขึ้น โดยเฉพาะสุขภาพทางจิตใจ

    การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้านของแพทย์ ซึ่งปัจจุบันศูนย์เต้านมกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ดำเนินการอยู่ นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลในภาครัฐที่ให้การรักษารูปแบบเดียวกันอีก ได้แก่ ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นต้น

    แต่ครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย เมื่อคณะแพทยศาสตร์จากศูนย์เต้านมกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดโครงการ "ผ่าตัดคืนเต้าแก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม" เพื่อฉลองครบรอบ 34 ปีของการให้บริการ และไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยที่สูญเสียเต้านมจากการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม และไม่มีโอกาสได้รับการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ

    ที่สำคัญวิธีนี้ยังช่วยลดไขมันหน้าท้องไปในตัวได้อีกด้วย

    รศ.น.พ.กริช โพธิสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์เต้านมกรุงเทพ ประธานโครงการผ่าตัดคืนเต้าแก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เปิดเผยว่า จำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศไทย สูงเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก ซึ่งผู้ป่วยบางรายสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการฉายรังสี หรือผ่าตัดเฉพาะบริเวณและสามารถเก็บเต้านมไว้ได้ แต่บางรายจำเป็นต้องตัดเต้านมทิ้งทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยด้วย <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    วีธีการใช้แผ่นผิวหนังและไขมันหน้าท้องขึ้นมาสร้างเต้านมให้เหมือนจริง จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดไขมันหน้าท้องให้กับผู้หญิงได้ จึงมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ผ่าตัดไขมันหน้าท้อง แล้วนำไปเพิ่มขนาดเต้านม ทดแทนการผ่าตัดเสริมเต้านมด้วยซิลิโคน เพราะมีผิวสีและความยืดหยุ่นของเนื้อใกล้เคียงกับเต้านม ทำให้ดูเหมือนจริงมากกว่า

    ขณะที่ รศ.น.พ.ศุภกร โรจนนินทร์ หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ- คอและเต้านม ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ อธิบายว่า ในอดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ถูกตัดเต้านมออก จะเข้ารับการรักษาในภายหลัง ทำให้เกิดการผ่าตัด 2 ครั้งเกิดขึ้น แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้น ทำให้การผ่าตัดใช้ทีมแพทย์ผ่าตัด 2 ทีมดำเนินการ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอน ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บปวดซ้ำ 2 ครั้ง และสามารถมีเต้านมเหมือนปกติ แม้จะตัดเนื้อร้ายจากมะเร็งเต้านมทิ้งไปแล้ว

    การผ่าตัดจะใช้วิธีเปิดผิวหนังบริเวณหน้าท้อง จากนั้นเคลื่อนย้ายไขมันและแผ่นผิวหนัง รวมถึงเส้นเลือดฝอยขึ้นไปปรับแต่งให้เป็นรูปทรงของเต้านม ส่วนบริเวณหน้าท้องจะถูกเย็บเป็นแผล ขนาดไม่ใหญ่ ลักษณะเดียวกับผู้ที่ผ่าตัดคลอดบุตร อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถขอใช้ผิวหนังหรือไขมันบริเวณหน้าท้องจากบุคคลอื่นได้ เพราะไม่ใช่เนื้อเดียวกัน ร่างกายอาจเกิดการต่อต้าน

    ส่วนหัวนม ทำได้ 2 กรณี คือปลูกหัวนมใหม่ด้วยการใช้เนื้อที่เคลื่อนย้ายขึ้นมาทำเต้านม หมุนเป็นเกลียวให้สูงชันขึ้นมาเป็นหัวนม พร้อมทำฐานหัวนมไปพร้อมกัน จากนั้นจะใช้วิธีสักสีน้ำตาลลงบนฐานและหัวนม เพื่อให้มีลักษณะเหมือนจริง ส่วนอีกกรณีคือ หากหัวนมอีกข้างของผู้ป่วยมีขนาดใหญ่เพียงพอ จะใช้วิธีตัดแบ่งมาใส่ให้กับเต้านมที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]



    (ภาพล่าง)สัญญลักษณ์ให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็งเต้านม




    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ความรู้สึกของเต้านมและหัวนมที่สร้างขึ้นใหม่จะเกิดขึ้นได้ แต่อาจไม่ 100 % เหมือนเดิม เนื่องจากหัวนมที่สร้างขึ้นเป็นไขมัน จึงไม่สามารถผลิตฮอร์โมนในการสร้างน้ำนมได้ แต่มีความรู้สึกเกิดขึ้นได้ เพราะเส้นเลือดฝอยและเส้นประสาทที่ถูกผ่าตัดขึ้นมาพร้อมกับไขมันและแผ่นผิวหนังบริเวณหน้าท้อง จะเชื่อมต่อกับเส้นเลือดและเส้นประสาทบริเวณเต้านมเดิม โดยใช้เวลา 1-2 เดือนเท่านั้น

    สำหรับการผ่าตัดโดยใช้ทีมแพทย์ 2 ทีม ทีมหนึ่งเป็นแพทย์ที่ตัดมะเร็งเต้านมออก ส่วนอีกทีมเป็นทีมแพทย์ที่เลาะไขมันและเปิดผิวหนังบริเวณหน้าท้องออก ซึ่งเมื่อมะเร็งบริเวณเต้านมถูกตัดทิ้งแล้ว ไขมันและแผ่นผิวหนังบริเวณหน้าท้องที่เตรียมไว้จะสามารถนำขึ้นไปเสริมสร้างเป็นเต้านมใหม่ได้พอดี จึงใช้เวลาผ่าตัดเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น และหลังผ่าตัด ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นไม่นานก็สามารถทำทุกอย่างได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป เช่น ออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่ง ไม่สวมเสื้อชั้นในขณะทำกิจกรรมต่างๆ

    ที่ผ่านมา มีเพียง 5-10 % เท่านั้นที่ผ่าตัดเสริมเต้าด้วยวิธีนี้ไม่สำเร็จ เนื่องจากเส้นเลือดไปเลี้ยงไขมันน้อยกว่าที่คาดไว้ ทำให้ไขมันส่วนที่นำขึ้นมาเสริมสร้างเต้านมเกิดการแข็งตัว ใช้การไม่ได้ จำเป็นต้องตัดทิ้ง แต่จะไม่ส่งผลกระทบมาก เพียงแต่ทำให้เต้านมเล็กกว่าอีกข้างเท่านั้น

    การรักษาผ่าตัดเสริมเต้านี้ จะเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 170,000 บาทในโรงพยาบาลเอกชน ขณะที่โรงพยาบาลรัฐจะเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าในอัตรา 50,000 บาท อย่างไรก็ตาม โครงการที่โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดขึ้นครั้งนี้ เปิดให้เฉพาะผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย ไม่มีโอกาสได้รับการรักษา ได้เข้ารับการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จำนวน 10 ราย โดยทั้ง 10 ราย จะต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการของโครงการ

    คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการคือ เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ถูกตัดเต้านมทิ้งจากการรักษา มีอายุไม่เกิน 50 ปี มีสุขภาพแข็งแรง และต้องการเสริมสร้างเต้านมใหม่ เป็นผู้มีรายได้น้อย (มีหนังสือรับรองรายได้จากสังคมสงเคราะห์จังหวัด และตามดุลพินิจของคณะกรรมการด้านสังคมสงเคราะห์ของโครงการ) ไม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการผ่าตัด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเอดส์ เป็นต้น ไม่มีข้อห้ามในการผ่าตัด ไม่มีแผลผ่าตัดที่หน้าท้องส่วนล่างที่ขัดขวางต่อการผ่าตัดเสริมเต้านมใหม่ เป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉายแสงบริเวณเต้านมข้างที่จะทำการผ่าตัดเสริมเต้านมด้วยวิธีนี้ เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามะเร็งเต้านมครบทุกขั้นตอนแล้ว เช่น ได้รับยาเคมีบำบัด เป็นต้น

    ผู้สนใจสามารถขอรับใบสมัครได้ที่ศูนย์เต้านมกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ เลขที่ 2 ซ.ศูนย์วิจัย 7 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10310 หรือโทร. 0-2310-3016 และที่พยาบาลประสานงาน ศูนย์เต้านมกรุงเทพ โทร. 0-9827-2262 ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2005

แชร์หน้านี้

Loading...