พาราเซตามอล ไม่ใช่เรื่องขี้ประติ๋ว

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย paang, 18 สิงหาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>พาราเซตามอล ไม่ใช่เรื่องขี้ประติ๋ว

    พาราเซตมอล ที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า พาราบ้าง พาราเซตบ้าง
    เป็นยาประจำบ้านสำหรับลดไข้แก้ปวดที่รู้จักกันดี หยิบฉวยใช้กันอย่างแพร่หลาย

    ก่อนยุคพาราเซตมอล ยาประจำบ้านที่ใช้แก้ไข้แก้ปวด ได้แก่ แอสไพริน เป็นยาที่ซื้อง่ายขายคล่อง มีทั้งชนิดเม็ด ชนิดน้ำเชื่อมและชนิดผงบรรจุซอง แม้แต่ที่เป็นยาตำราหลวงก็มี สมัยก่อนนี้ใครเป็นไข้ปวดหัวตัวร้อน ปวดฟันก็หาแอสไพรินมากินไว้ก่อน

    ต่อมามี ยาเม็ดสีชมพู ออกจำหน่าย เรียกว่า เอ.พี.ซี ว่ากันว่าฤทธิ์แรงกว่าแอสไพรินอย่างเดียว เพราะใส่ตัวยาเพิ่มอีก 2 ตัว เฟนาซีติน และคาเฟอีน ชาวบ้านร้านตลาดใช้เอ.พี.ซี. อยู่นับสิบปี กว่าจะมีรายงานออกมาว่า เฟนาซีตินกดไขกระดูก และคาเฟอีนก็เป็นสารอันตรายที่อาจมีผลร้าย ต่อหัวใจและอาจเสพติดได้ สูตรเอ.พี.ซี.จึงถูกยกเลิกไป แม้ตัวยาแอสไพรินเองก็มีผลระคายเคือง ต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร และมีผลข้างเคียงอื่น เช่น ทำให้เลือดออกง่าย ความนิยมในการใช้ แอสไพรินลดไข้แก้ปวดจึงเสื่อมลงไป

    ยาตัวใหม่ที่มาแทนที่แอสไพรินสำหรับลดไข้แก้ปวดได้แก่ พาราเซตมอล (มีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า อะเซตามิโนเฟน) จากการศึกษาวิจัยพบว่า เป็นยาที่มีผลเสียน้อยกว่า ปลอดภัยในการใช้ จนได้รับการยินยอมให้ซื้อใช้ได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ แต่ ยาตัวนี้ก็ดีเพียงลดไข้แก้ปวดเท่านั้น ไม่มีคุณสมบัติด้านอื่นเหมือนแอสไพริน

    พาราเซตมอลได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางรวดเร็ว หลายต่อหลายคนเข้าใจว่า พาราเซตมอลบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยได้สารพัดอย่าง ไม่สบายเป็นอะไรก็หาพาราเซตมอล มากินไว้ก่อน

    คนเราส่วนใหญ่ที่ไม่สบายก็มักเป็นแค่ปวดหัวตัวร้อนหรือไข้หวัดธรรมดา ๆ เมื่อได้พาราเซตมอลก็ทุเลาขึ้น พาราเซตมอลก็เลยกลายเป็นยาประจำบ้านที่ขายดิบขายดีกันเป็นว่าเล่น ปวดหัว ไข้หวัด ก็กินพาราเซตมอล ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ก็กินพาราเซตมอล แล้วเลยเถิดไปถึงขั้นปวดท้อง เวียนศีรษะ ก็กินพาราเซตมอล ซึ่งคงช่วยแก้อะไรไม่ได้ แต่ก็ทำให้สบายใจว่าได้กินยาแล้ว บางคนมัวแต่ผัดวันประกันพรุ่งกว่าจะไปหาหมอรักษา อย่างเป็นกิจลักษณะ โรคก็ลุกลามต้องรักษากันอยู่นานเสียเงินเสียทองโดยใช่เหตุ

    จึงอยากบอกกล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่า พาราเซตมอลไม่ใช่ยาเทวดา ที่รักษาได้สารพัดโรค นอกจากนั้นถ้ากินมากเกินขนาดยังอาจเป็นผลร้ายต่อร่างกายได้

    ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการควบคุมการใช้ยาอย่างรัดกุม ได้ศึกษาวิจัย ถึงผลเสียของยาต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนพบว่าพาราเซตามอล ยาที่คิดกันว่าไม่เป็นพิษเป็นภัย หากไม่กินจนเกินขนาดและยาวนานติดต่อกันนั้น ตามความเป็นจริงยังมีอันตราย ที่ต้องพึงระวังอีกหลายอย่าง

    อันตรายที่พบได้บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ คือ พิษต่อตับ จากการสำรวจพบว่า พาราเซตามอลเป็นตัวการทำให้ตับวายได้บ่อยกว่ายาแก้โรคเบาหวานตัวใหม่ชื่อ เรซูลิน ที่ถูกห้ามใช้ไปแล้วด้วยซ้ำไป

    ดร.วิลเลียม ลี แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสเซาท์เวสเทิร์น ติดตามศึกษาผู้ป่วย ด้วยโรคตับวายเฉียบพลันจำนวนกว่า 300 ราย ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล 22 แห่ง พบว่ามีสาเหตุเกี่ยวข้องกับพาราเซตามอลถึง 38% เปรียบเทียบกับที่เกิดจากยาอื่นที่มีเพียง 18% นอกจากนั้นในการสำรวจกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่อีก 307 ราย ที่มีอาการตับอย่างร้ายแรงในโรงพยาบาล อีก 6 แห่ง ก็พบว่ามีพาราเซตามอลเป็นตัวการร่วม 35% ดร.ลี กล่าวว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะล้วนแต่เป็นกรณีที่อาจป้องกันได้

    ดร.ลี มิได้หยุดแค่นั้น เขาได้สอบถามไปทางประเทศอังกฤษ ถึงอันตรายจากพาราเซตามอล ที่ตรวจพบ ก็ได้ทราบว่าที่นั่นผู้คนที่พยายามฆ่าตัวตายโดยใช้พาราเซตามอลมีมากจนน่าตกใจ จนทางการสาธารณสุขต้องจำกัดการซื้อยาตัวนี้ แต่ละครั้งมิให้มากเกินจำนวนที่กำหนด

    การใช้พาราเซตามอลเกินขนาดจนถึงขีดอันตราย ส่วนมากเกิดโดยไม่ตั้งใจ เมื่อแรกออกสู่ตลาด พาราเซตามอลชนิดเม็ดมี 2 ขนาด คือ 325 มก. ก็ไม่เท่าไหร่ ถ้าเป็นขนาด 500 มก. กินเป็นครั้งคราววันละไม่เกิน 8 เม็ด เพียงวันสองวันก็ยังพอไหว แต่ถ้ากินเป็นเวลายาวนานก็จะเกิดอันตรายโดยเฉพาะต่อตับ

    สาเหตุที่ทำให้ได้ยาเกินขนาดอีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากพาราเซตามอล มีอยู่ในยาผสมหลายอย่าง เช่น ยาแก้หวัดและยาคลายกล้ามเนื้อ บางคนกินยาแก้หวัดแล้ว อาการหายไม่ทันใจ หรือยังปวดเมื่อยมาก เลยซื้อพาราเซตามอลมากินเพิ่ม จึงได้รับยาเกินขนาด โดยไม่รู้ตัว ครั้งสองครั้งพอทำเนา บ่อยนักก็ไม่ไหว

    การเอาพาราเซตามอลต่างชนิดผสมกันก็อาจเกิดอันตรายได้ พาราเซตามอลมีหลายรูปแบบ มีความเข้มข้นของยาต่างกัน เช่น ชนิดไซรัปหรือน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก ขนาดกินเป็นขนาดช้อนชา และชนิดหยดสำหรับทารก กินกันแค่หยด ๆ บางคนเอาทั้งแบบน้ำเชื่อมและชนิดผสมกันแล้ว ตวงให้เด็กกินเป็นช้อนชา ถ้าเป็นทารกก็จะได้ยาเกินขนาด

    เรื่องที่ ควรระวัง อีกเรื่องหนึ่ง คือ กินพาราเซตามอลควบกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์หรือเหล้าผสม เพราะสุราเมื่อรวมกับพาราเซตามอลจะเป็นอันตรายต่อตับรุนแรงขึ้น

    กองควบคุมอาหารและยาของสหรัฐออกกฎบังคับให้ติดคำเตือนไว้ที่ฉลากยาพาราเซตามอล ห้ามกินร่วมกับเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เพราะมีคดีความที่ชาวเวอร์จิเนียผู้หนึ่งฟ้องร้องต่อศาลว่า หลังจากกินพาราเซตามอลยี่ห้อหนึ่งไม่เกินขนาดที่กำหนดพร้อมกับดื่มเหล้าไวน์อย่างที่เคยดื่ม เป็นอาจิณหลังอาหารแล้ว เลยเกิดอาการทางตับอย่างรุนแรง ถึงขนาดต้องเข้าโรงพยาบาลปลูกเปลี่ยนตับ ศาลพิพากษาให้ทางบริษัทผู้ผลิตยาแพ้คดี ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ถึง 8 ล้านดอลล่าร์ (ร่วม 400 ล้านบาท)

    ผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหลายรายต้องการให้ติดป้ายเตือนถึง เรื่องพิษของพาราเซตามอลต่อตับให้เห็นได้ชัดเจน พวกเขามีความเห็นว่าผู้บริโภคส่วนมาก ไม่ค่อยคำนึงว่า การกินยาตัวนี้เกินขนาดเป็นไปได้โดยง่ายจากความพลั้งเผลอ บางคนกินติดต่อกันนานวันเกินไป บ้างก็กินยาขณะท้องว่าง หรือซื้อมาเพิ่มเสริมฤทธิ์ยาอื่น ที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างหนึ่งคือ บางคนมีความไวต่อยาสูง กินเพียงไม่มากก็มีผลร้ายต่อตับได้

    พาราเซตามอล เป็นยาที่ติดอันดับขายดีและซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ในสหรัฐอเมริกาเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ไทลินอล ซึ่งเป็นชื่อการค้าของพาราเซตามอลผลิตโดย บริษัทยาในสหรัฐติดตลาดมากจนมีคนจิตทรามเอายาพิษ (ดูเหมือนจะเป็นสตรี๊กนิน) ผสมเม็ดยาใส่ปนลงไป

    ผู้คนกินไทลินอลหลายคนเกิดอาการเป็นพิษ บางคนถึงแก่ชีวิต บริษัทผู้ผลิตต้องเก็บยาออกจากตลาดจนหมด แล้วทำภาชนะบรรจุแบบใหม่ที่ปลอดภัย และแน่ใจว่าไม่มีผู้ใดแตะต้องเม็ดยาได้จนกว่าจะถึงมือผู้บริโภค แต่ผู้บริโภคหลายราย ก็กลัวยาตัวนี้ไปแล้ว ทำความเสียหายแก่บริษัทผู้ผลิตอย่างมหาศาล

    ยาทุกชนิดเปรียบเสมือนมีดสองคม มีคุณอนันต์ แต่ก็อาจมีโทษมหันต์ ถ้าใช้ผิดวิธีหรือไม่ระวังรอบคอบในการใช้
    [font=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]
    ข้อมูลจาก www.elib-online.com
    [/font]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...