มหาเศรษฐีทั้ง 5 แห่งแคว้นมคธ | แม้คนเดียวก็มีทรัพย์มากพอสำหรับชาวชมพูทวีป

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 22 พฤศจิกายน 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534


    มหาเศรษฐีทั้ง 5 แห่งแคว้นมคธ | แม้คนเดียวก็มีทรัพย์มากพอสำหรับชาวชมพูทวีป

    **************

    ขอบคุณที่มา https://www.youtube.com/@dhammaiyak
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    “อจลศรัทธา”

    ความศรัทธาที่ไม่หวั่นไหว


    เรื่องราวของอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่ไล่เทวดา ให้ออกจากเรือนของตน
    “อจลศรัทธา” (อะ-จะ-ละ-สัด-ทา) มาจากคำว่า “อจล” แปลว่า ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน กับคำว่า “ศรัทธา” แปลว่า ความเชื่อ ความเลื่อมใส เมื่อรวมเข้าด้วยกัน “อจลศรัทธา” จึงแปลว่า ความศรัทธาที่ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน
    อจลศรัทธา แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง ดังนี้
    ๑) ญาณสัมปยุตศรัทธา หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาเป็นฐาน เป็นความเชื่อที่อยู่บนฐานของการใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง ก่อนที่จะตัดสินใจว่าควรเชื่อหรือไม่ โดยเชื่อเพราะเข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผล เมื่อเห็นว่ามีเหตุผลสมควรจึงเชื่อ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อาการวตีศรัทธา”
    ๒) ญาณวิปยุตศรัทธา หมายถึง ความเชื่อที่ขาดปัญญา เป็นความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง เป็นการเชื่อแบบน้อมใจเชื่อหรือปลงใจเชื่อตาม ๆ กันไป ซึ่งจะกลายเป็นความงมงาย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อมูลิกาศรัทธา” (อมูล คือ ไม่มีมูล)
    “อจลศรัทธา” ถือว่าเป็น “ญาณสัมปยุตศรัทธา” ซึ่งเป็นศรัทธาขั้นสูงสุด เมื่อผู้ใดพัฒนาจิตใจให้ถึงศรัทธาขั้นนี้ได้แล้ว ก็จะเข้าถึงกระแสธรรมของความเป็นอริยบุคคลชั้นต้นได้ เมื่อเจริญภาวนาให้ก้าวหน้าต่อไปอีก ศรัทธาก็จะพัฒนาไปสู่ปัญญา จนในที่สุดก็ไม่ต้องอาศัยศรัทธาอีกต่อไป เรียกว่า “เหนือศรัทธา” ก็จะเข้าสู่กระแสธรรมของความเป็นอริยบุคคลชั้นสูงสุดได้
    ศรัทธาของปุถุชน อาจหวั่นไหวได้ด้วยเหตุต่าง ๆ บางคนอาจศรัทธาตัวบุคคลหรือสถานที่ แต่ต่อมาได้เลิกศรัทธาด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เพราะความศรัทธาของปุถุชนนั้นมิได้เกิดจากปัญญาพิจารณา จึงหวั่นไหววูบวาบไปตามกระแส แต่ศรัทธาของอริยบุคคลถือเป็นศรัทธาขั้นสูงสุด เพราะประกอบด้วยปัญญาพิจารณาตามเหตุปัจจัย เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้วจึงเกิดศรัทธา จึงไม่หวั่นไหว
    ในพระไตรปิฏก ได้มีบันทึกเกี่ยวกับอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่ไล่เทวดาตนหนึ่งให้ออกจากเรือนของตน ดังนี้
    หลังจากอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างพระเชตวันมหาวิหารน้อมถวายพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้บำเพ็ญทานตลอดมา ครั้งหนึ่งปรากฏว่าเศรษฐีได้ประสบเคราะห์กรรม ทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ที่ฝังดินไว้ใกล้แม่น้ำถูกน้ำเซาะตลิ่งพัดหายไป พวกที่กู้ทรัพย์ไป ๑๘ โกฏิ แล้วไม่นำมาคืน ทำให้ถึงการหมดสิ้นแห่งทรัพย์ แต่เศรษฐีก็ยังบำเพ็ญทานตามปกติ
    เทวดาตนหนึ่งที่สถิตอยู่ที่ซุ้มประตูของเรือนเศรษฐี เห็นว่าเศรษฐีบำเพ็ญทานมากไป จึงปรากฏกายแล้วเตือนว่า “ท่านจ่ายทรัพย์เป็นอันมากในศาสนาของพระสมณโคดม บัดนี้ ท่านเป็นผู้ยากจนแล้ว แต่ก็ยังไม่ละการจ่ายทรัพย์อีก ถ้าท่านประพฤติอย่างนี้ จักไม่ได้แม้วัตถุ สักว่าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม ท่านต้องการอะไรจากพระสมณโคดมด้วย จงเลิกบริจาคเกินกำลังเสียเถิด”
    เมื่ออนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ยินดังนั้น จึงกล่าวว่า “ไปเถิดท่าน อันบุคคลเช่นท่าน แม้ตั้งร้อย ตั้งพัน ตั้งแสนคน ก็ไม่อาจทำให้ข้าพเจ้าหวั่นไหวได้ ท่านกล่าวคำไม่สมควร จะต้องการอะไรด้วยท่านผู้อยู่ในเรือนของข้าพเจ้า จงออกไปจากเรือนของข้าพเจ้าเร็ว ๆ”
    เมื่อถูกขับไล่ออกจากเรือน เทวดาตนนั้นก็ไม่มีทางเลือก ต้องจำใจออกจากเศรษฐีพร้อมบริวารทั้งหลาย กลายเป็นเทวดาเร่ร่อน ไม่มีที่สถิตเป็นหลักแหล่ง
    นี้คือ “อจลศรัทธา” ที่มีต่อพระรัตนตรัย เป็นศรัทธาที่ไม่หวั่นไหวของอนาถบิณฑิกเศรษฐี แม้จะหมดสิ้นแห่งทรัพย์ก็ตาม แต่ก็ยังบำเพ็ญทานตามปกติ เนื่องจากว่าท่านบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว นั่นเอง



    คัดลอก เรียบเรียง และสรุปจากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙ (หน้าต่างที่ ๔) จาก Tipitaka และจาก dhamtara, payutto ถ่ายทอดต่อโดย มนต์ชัย เทียนทอง


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...