มีคนถามว่าทำไมขยันทำบุญจัง?

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 3 กุมภาพันธ์ 2017.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    FB_IMG_1486104090435.jpg

    มีคนถามว่าทำไมขยันทำบุญจัง?

    มีคำตอบจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ท่านได้เทศน์เรื่องทำบุญไว้ว่า.....

    "ทำไมต้องทำบุญ?"

    ..เพราะ บุญ เป็นพลังงาน ที่มีพลังดึงดูด ความเจริญ มาสู่ชีวิต เป็นต้นเหตุ แห่งความสุข ความสำเร็จ ในชีวิต
    ..ถ้าบุญน้อย อุปสรรคในชีวิตก็มาก
    ..ถ้าบุญมาก อุปสรรคในชีวิตก็น้อย
    ..ถ้าบุญอ่อนกำลังลง หรือ บุญหมด..
    ..บาปที่เคยทำไว้ ก็จะได้โอกาส ส่งผล
    ..ทำให้ชีวิต มีอุปสรรค ต่างๆนานา
    ..เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีความสุข หมดอำนาจวาสนา เสียชื่อเสียงเกียรติยศ แม้คนที่รักกันก็หมดรัก แม้ทรัพย์ที่มีอยู่น้อยนิด ก็ยังรักษาไว้ไม่ได้..
    ..ฉะนั้น การจะมีทรัพย์สมบัติทุกอย่าง และ ความสมบูรณ์พร้อมในชีวิต ก็ต้องมีบุญที่มากเพียงพอ
    ..ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด ล้วนต้องอาศัยบุญทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยากอยู่แบบพอมีพอกิน หรือ คิดจะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี หรือ พระเจ้าจักรพรรดิ
    ..แม้กระทั่ง ปรารถนาที่จะหมดกิเลส บรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นพระอรหันต์ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องมีบุญถึง บารมีถึง ถึงจะดำรงอยู่ในสภาวะนั้นได้อย่างมั่นคง และมีความสุข

    ..ด้วยเหตุนี้ เราจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะสั่งสมบุญ
    ..เพราะบุญ คือ เบื้องหลังความสุข ความสำเร็จ ในชีวิตทุกระดับ อย่างแท้จริง..

    แชร์เรื่องบุญไปก็ได้บุญ เพราะบุญคือความสุข บุญคือสติปัญญา ที่คนไม่รู้จะได้รู้ เป็นการช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ด้วยปัญญาของเขาเอง เราแชร์ไปเท่ากับได้ส่งความสุข ส่งต่อสติปัญญา และเป็นการส่งความช่วยเหลือให้กับผู้อื่นได้ทางนึง

    บุญและทาน ที่บังเกิดมี ในการส่งต่อ ขอให้เป็นอภิมหาบุญ ขอให้ผู้ที่ส่ง มีความสุข มีความเจริญ รุ่งเรือง ร่ำรวย มีความสุขกายสบายใจ มีสุขภาพดี ไม่เจ็บไม่จน ปรารถนาสิ่งใด สมความปรารถนาทุกๆประการ ขอให้ผลบุญนั้น เห็นผลทันตา มีสติปัญญาดีเลิศ ประเสริฐล้ำ นำทางสู่ความพ้นทุกข์ด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ.

    เครดิต เฟสบุ้ค การเกิดเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เดินทางสู่ความว่างแห่งปัญญา
     

แชร์หน้านี้

Loading...