ลูกติดโควิด พ่อแม่แบบเราๆ ต้องรับมืออย่างไร?

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย monkeydluffy, 22 ธันวาคม 2022.

  1. monkeydluffy

    monkeydluffy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +1
    JhcGID.png

    การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ในประเทศไทย ยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับหลากหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งแทบจะกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำไปแล้วที่ใครๆ หลายคนต้องดูแลตัวเอง หมั่นล้างมือ ใส่แมสก์ หรือฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มคุ้มกันให้กับร่างกายเมื่อติดโควิด19 ขึ้น แล้วยิ่งแบบนี้พ่อแม่หลายๆ ท่านที่มีลูกก็อาจเกิดความกังวลเกี่ยวกับโรคระบาดนี้ไปเข้าไปใหญ่ หากลูกๆ ของเราติดโควิดจะทำอย่างไร ควรรับมืออย่างไรบ้าง ซึ่งบทความนี้จะพาทุกท่านไปคลายข้อสงสัยเมื่อเกิดสถานการณ์เหล่านี้ขึ้น อ่านไปพร้อมๆ กันได้เลย

    เด็กติดโควิด
    JhceoJ.png

    หลายท่านที่เป็นพ่อเป็นแม่คงกังวลใจเป็นอย่างมากหากลูกของตัวเองนั้นต้องติดโควิด ซึ่งโดยปกติแล้วหาก
    เด็กติดโควิดจะมีอาการไม่รุนแรง และส่วนใหญ่จะดีขึ้น และหายเองภายในไม่กี่วัน โดยสาเหตุที่เด็กติดโควิดมีสาเหตุหลักๆ มาจากการใกล้ชิดพ่อแม่ผู้ปกครองที่อาจได้รับเชื้อจากการออกไปทำงานพบผู้คนนอกบ้านมาก ซึ่งอัตราการติดเชื้อไวรัสโควิด19 ในเด็กมีอัตราการติดเชื้อได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่ เพราะด้วยระบบภูมิคุ้มกันในเด็กที่มีความแข็งแรง

    เด็กเล็กติดโควิด
    สำหรับการติดโควิดในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี จะมีความอันตรายกว่าเด็กโตเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังการพัฒนาไม่สมบูรณ์ หากติดโควิดจะมีปัญหาเรื่องระะบบหายใจมากกว่าเนื่องจากทางเดินหายใจของเด็กวัยนี้ยังมีขนาดเล็ก ซึ่งกลุ่มเด็กเล็กควรระวังเป็นพิเศษคืออายุต่ำกว่า 1 ปี มีโรคประจำตัวอย่างโรคปอด โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับภาวะภูมิคุ้มกันเป็นต้น

    อาการโควิดในเด็ก
    JhcmJb.png

    หากลูกติดโควิดเราจะทราบอย่างไรได้บ้าง อาการเด็กติดโควิดมีลักษณะเหมือนกับผู้ใหญ่เมื่อติดโควิดหรือไม่? โดยเมื่อเด็กติดโควิดพ่อแม่ผู้ปกครองจะสามารถสังเกตอาการได้ ดังต่อไปนี้
    • อุณหภูมิร่างกายสูงผิดปกติ
    • มีอาการหนาวสั่น
    • ปวดเมื่อยร่างกาย
    • ปวดหัว
    • เจ็บคอ
    • มีอาการไอแห้ง
    • สูญเสียการรับรู้รส กลิ่น
    • ท้องเสีย
    • มีอาการเหนื่อย เมื่อยล้า
    • หายใจถี่
    โดยสรุปแล้วอาการของโควิดในเด็กจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการหวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งหากเด็กๆ มีลักษณะอาการข้างต้น พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถให้เด็กตรวจหาเชื้อด้วยการใช้ ATK แบบน้ำลาย เพื่อลดความเจ็บจากการใช้วิธีตรวจ ATK แบบแหย่จมูก

    ผู้ปกครองควรทำอย่างไรเมื่อเด็กติดโควิด
    JhcI5a.png

    หากเด็กติดโควิดเราจะรับมื่ออย่างไรได้บ้าง?
    • กรณีเด็กและผู้ปกครองติดโควิด สามารถรักษาตามอาการได้ด้วยตัวเองที่บ้าน แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรงจำเป็นต้องรักษาในสถานพยาบาล จะต้องรักษาอยู่ด้วยกันทั้งเด็กและผู้ปกครอง ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจากผู้ปกครอง
    กรณีเด็กติดโควิดแต่ผู้ปกครองไม่ติดโควิด หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถแยกกักตัว และรักษาตามอาการได้ด้วยตนเองที่บ้าน แต่ถ้าหากเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีโรคประจำตัว หรือมีอาการรุนแรงให้เข้ารักษาตัวในสถานพยาบาล และมีผู้ปกครองหรือญาติที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบางคอยเฝ้าดูแล โดยเฉพาะเด็กเล็ก เนื่องจากการถูกแยกออกจากผู้ปกครองอาจทำให้เด็กรู้สึกเคว้ง ส่งผลต่อสภาพจิตใจของเด็กที่ติดโควิด

    การดูแลเมื่อเด็กติดโควิด
    เมื่อลูกติดโควิดแล้วอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาตามอาการที่บ้านได้ ผู้ปกครองควรมีวิธีการดูแลดังนี้
    • เตรียมอุปกรณ์ตรวจเช็กอาการ เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
    • เตรียมยาสามัญประจำบ้านช่วยบรรเทาอาการโควิด เช่น ยาลดไข้เด็ก ยาแก้ไอเด็ก ยาละลายเสมหะ
    • เตรียมอาหารเสริม เพื่อช่วยเสริมภูมิต้านทาน เช่น เกลือแร่ วิตามินชนิดต่างๆ
    • สังเกตและจดบันทึกอาการของเด็ก
    • หากมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 95 % ควรนำตัวส่งโรงพยาบาล
    เด็กติดโควิด กินยาอะไร รักษาอย่างไร
    JhcMVq.png

    เมื่อเด็กติดโควิดก็เกิดคำถามตามมาอีกหนึ่งคำถามว่าเด็กๆ ลูกๆ ของเราสามารถกินยาอะไรเพื่อรักษาอาการได้บ้าง ซึ่งยาที่รับประทานเพื่อรักษาจะได้แก่
    • ยาลดไข้เด็ก
    • ยาละลายเสมหะ
    • ยาแก้ไอเด็ก
    • ยาแก้อาเจียน
    • ยาลดอาการคัดจมูก
    • ยาลดน้ำมูก
    • เกลือแร่ ORS
    เด็กติดโควิด เพิ่มความเสี่ยงด้านใด
    JhgdYz.png

    เมื่อเด็กติดโควิดอาจจะมีบางเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองกังวลไม่ต่างกับอาการป่วยทั้งในขณะติดเชื้อ และหลังติดเชื้อนันคือความเสี่ยง ซึ่งโควิดในเด็กมาพร้อมกับความเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสอาจเกิดการลงปอดได้ ซึ่งอาจส่งผลให้หลังหายดีปอดมีประสิทธิภาพการทำงานไม่เหมือนตอนก่อนติด หากรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และยังมีความเสี่ยงที่รุนแรงอีกหนึ่งอย่างคือ MIS-C ที่หากพบอาจถึงขั้นเสียชีวิตเช่นเดียวกัน

    นอกจากนั้นโควิดยังทำให้เด็กบางคนอาจได้รับผลกระทบทางจิตใจ เพราะด้วยการกักตัว ไม่ได้ออกไปไหนเป็นระยะเวลานาน


    อาการลองโควิดในเด็ก (Mis-C)
    เมื่อเด็กติดโควิด และหายจากการติดเชื้อแล้ว สิ่งที่ผู้ปกครองควรรู้หลังจากนั้นคืออาการลองโควิดในเด็ก ซึ่งอาการโควิดในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้แม้ในขณะที่เด็กติดโควิดจะมีอาการมากน้อยแค่ไหนก็ตาม :ซึ่งอาจจะมีอาการลองโควิดถึง 6 เดือนขึ้นอยู่กับตัวเด็กแต่ละคน โดยอาการลองโควิดในเด็ก ได้แก่
    • ไอ
    • มีปัญหาในเรื่องการนอนหลับ
    • ปวดข้อ หรือกล้ามเนื้อ
    • ปวดศีรษะ
    • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
    • อาจเกิดปัญหาเรื่องการรับรู้กลิ่น รสชาติ
    อย่างไรก็ตามอาจเกิดภาวะหลังติดเชื้อโควิด19 ที่รุนแรงในเด็กบางรายที่เรียกว่าอาการ (MIS-C) หรือชื่อเต็มๆ ว่า Multisystem lnflammatory Syndrome in Children เป็นภาวะที่พบหลังจากการติดเชื้อโควิดซึ่งมีลักษณะรุนแรง ซึ่งสามารถแสดงอาการได้ตั้งแต่หาย ไปจนถึง 2-6 สัปดาห์ โดยเป็นอาการอักเสบที่เกิดขึ้นในระบบร่างกายของเด็กพร้อมๆ กัน ซึ่งมีลักษณะอาการคือ
    • มีไข้ 24 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
    • ปวดหัว เวียนหัว
    • ท้องเสีย
    • อาเจียน
    • ตาแดง
    • ลิ้น ปาก มือ เท้ามีอาการแดงบวม
    • มีผื่นที่ิผิวหนัง
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • หายใจถี่
    ซึ่งเป็นอาการเบื้องต้น แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงเช่น หายใจลำบาก ผิวซีด ปวดท้องรุนแรง ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนเพื่อวินิจฉัยการรักษาที่เหมาะสม

    แนวทางการป้องกันโรคโควิดในเด็ก
    Jhg0i8.png

    ในสภาวะโควิด-19 ระบาด ไม่มีผู้ปกครองคนไหนที่อยากให้ลูกติดโควิด หรือนำเชื้อไวรัสไปแพร่ให้แก่ผู้อื่น จึงควรมีแนวทางการป้องกันโรคโควิดในเด็กดังนี้

    1. การเว้นระยะห่าง
    เด็กควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนในบ้าน และเว้นระยะห่างกับผู้อื่นที่ไม่ได้อยู่ร่วมกันในบ้านอย่างน้อย 2 เมตร เลือกทำกิจกรรมกลางแจ้งมากกว่ากิจกรรมในร่ม การอยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวกจะมีโอกาสติดเชื้อน้อยลง รวมถึงหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด

    2. การป้องกันด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย
    เด็กที่อายุ 2 ปีขึ้นไปควรสวมหน้ากากทุกครั้งเวลาออกไปนอกบ้าน หรืออยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คนในบ้าน ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี หรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงเด็กที่มีปัญหาทางระบบหายใจ ไม่ควรสวมหน้ากากอนามัย เนื่องจากจะส่งผลให้ขาดออกซิเจนได้

    3. การฆ่าเชื้อและทำความสะอาดบ้าน
    ควรทำความสะอาดบ้านด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ โดยเฉพาะบริเวณที่ต้องสัมผัสบ่อยครั้ง เช่น ที่จับประตู ลูกบิดประตู เก้าอี้ โต๊ะ ห้องน้ำ เป็นต้น เนื่องจากบริเวณนี้จะเป็นที่สะสมของเชื้อโรค เมื่อเด็กมาสัมผัสแล้วอาจจะนำมือเข้าปากได้

    4. การดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
    นอกจากทำความสะอาดบ้านแล้ว ร่างกายก็ควรที่จะดูแลความสะอาดอยู่เสมอ สิ่งแรกคือการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ ที่สำคัญคือต้องล้างให้ถูกวิธี หรือจะใช้เป็นเจลแอลกอฮอล์ก็สามารถใช้ล้างมือได้เช่นกัน ควรสอนให้เด็กระมัดระวังเรื่องการเอามือจับหน้าหรือเอามือเข้าปาก นอกจากนี้หลังจากที่ออกไปข้างนอกแล้วกลับมาบ้าน ควรอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อลดวามเสี่ยงที่ทำให้เด็กติดโควิด

    5. การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก
    การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงที่ทำให้เด็กติดโควิด รวมถึงหากเด็กติดโควิดแล้วถ้าได้รับวัคซีนมาก่อนอาการก็จะไม่รุนแรงมาก ดังนั้นจึงควรนำเด็กที่อายุเข้าเกณฑ์สามารถฉีดวัคซีนได้คือ 12 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

    ข้อสรุป
    อาการโควิดในเด็กเป็นอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปีพ่อแม่ผู้ปกครองควรระวังมากกว่าเด็กโต เนื่องจากเกิดอันตรายมากกว่า นอกจากนั้นหลังติดโควิดในเด็กบางรายมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันให้ลูกห่างไกลโควิดคือเว้นระยะห่าง รักษาความสะอาด ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่เสมอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2024

แชร์หน้านี้

Loading...