หลวงพ่อสอนธรรมมะเพื่อประโยชน์ในภายหน้า

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 16 สิงหาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    [​IMG]
    ข้อปฎิบัติที่ฆราวาสจะพึงปฎิบัติเพื่อความสุขในปัจจุบัน เป็นข้อปฎิบัติที่องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาตรัสไว้พอดี ๆ กับชาวบ้านที่หวังความสุข แต่ความจริงถ้าชาวบ้านเขาปฎิบัติได้ ถ้าชาววัด ปฎิบัติไม่ได้ก็เห็นจะเลวเกินไป เพราะว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสไว้อันดับต่ำที่สุด วันนี้ก็จะขอพูดต่อจากเมื่อวาน คือไม่ใช่ต่อกัน เป็นอีกหมวดหนึ่ง เป็นหมวด 4 เหมือนกัน
    หมวดนี้ให้นามว่า สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ในภายหน้า 4 อย่าง สำหรับ เมื่อวานนี้ได้พูดถึงประโยชน์ในปัจจุบัน สำหรับวันนี้พระพุทธเจ้าทรงให้ปฎิบัติประโยชน์สำหรับภายหน้า แต่ทำให้ดีในวันนี้นะ การปฎิบัติ ปฎิบัติขณะนี้แต่ว่าความดีนี่จะให้ผลในกาลข้างหน้าต่อไป คำว่า กาล ข้างหน้านี่ อาจจะเป็นข้างหน้าคือวันพรุ่งนี้ หรือเดือนหน้า ปีหน้า แม้แต่ชาติหน้าก็ยังได้ แต่ความจริง ผมพิจารณาแล้วว่าถ้อยคำขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงแนะนำไว้ ณ ที่นี้ ทำเดี๋ยวนี้ก็ดีเดี๋ยวนี้ แล้วก็ดีต่อไปถึงข้างหน้าด้วย ก็ขอพูดถึงตามหัวข้อของท่านเลยว่า สัมปรายิกัตถประโยชน์คือ ประโยขน์ในภายหน้า 4 อย่าง นั้นก็คือ

    สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่นะครับ ความจริงเรื่องศรัทธาความเชื่อนี่ เป็นเรื่องใหญ่ ถ้าเราจะเชื่อเฉย ๆ โดยใครพูดอะไรแนะนำอะไรแล้วก็เชื่อเสีย อย่างนี้คนที่ถูกหลอก ถูกลวงนี่มีเยอะ ก็เพราะเป็นคนไม่จำ คือหนักมาในความเชื่อ เห็นใครเขาพูดดีนิดพูดดีหน่อย มีรางวัลนิดมีรางวัลหน่อย ก็เชื่อเขา เวลานี้ทางหน้าหนังสือพิมพ์ก็ดี ข่าวทางวิทยุก็ดี จะเห็นว่าคนที่หลงใหลใฝ่ฝันเรื่องความเชื่อนี้ ต้องเสียหายมากมาย คือเชื่อเพราะว่าไร้ปัญญา น้อมใจเชื่อ ตัวอย่างเช่นจะไปทำงานที่ตะวันออกไกลหรือตะวันออกกลาง จะต้องเสียเงินกันเป็นพันเป็นหมื่นก่อนจะไป ไม่มีเงินไม่มีทอง ก็กู้ยืมเขาไป ในที่สุดก็ถูกเขาหลอกเขาลวง ถึงกับตัวเกือบจะตายเพราะไม่มีกิน ไม่มีค่าเครื่องบินจะกลับ อย่างนี้ก็มีมาก สำหรับในประเทศเราเองก็มี ไปหลอกสาวเหนือมาบ้าง สาวภาคอีสานบ้าง สาวภาคกลางบ้าง หลอกว่าจะมีงานทำ แล้วก็ส่งเขาไปสู่ซ่องโสเภณี ต้องขายตัว ความจริงการขายตัวประเภทนั้น ถ้าผลรายได้มันได้กับตัวเองทั้งหมด มันก็ยังมีประโยชน์ ยังเอาไป ทำประโยชน์ได้ แต่นี่กลับต้องเป็นทาสขายตัวเพื่อเขา ไม่ใช่เพื่อเราเอง นี่การถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือความเชื่อนี้ จะต้องมีปัญญามาประกอบด้วย ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าบอกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา มีความเชื่อ เราต้องเชื่อทุกอย่าง อันนี้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ คือ ศรัทธา มี 2 อย่าง คือ อธิโมกศรัทธา น้อมใจเชื่ออย่างหนึ่ง กับ ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยปัญญา นี่อย่างหนึ่ง ก่อนที่จะเชื่อใช้ปัญญาพิจารณาก่อน สำหรับการน้อมใจเชื่อน่ะ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิว่าเป็นความเชื่อขั้นเลว เป็นปัจจัยของความทุกข์ ก่อนที่จะเชื่ออะไรใข้ปัญญาพิจาณาเสียก่อน แล้วมันจะไม่พลาดไม่พลั้ง จะเป็นความสุข ทีนี้การที่จะเชื่ออะไรก็ดี แต่ในที่นี้ท่านบอกว่าจงเชื่อว่าทำดีได้ดี ทำขั่วได้ชั่ว เป็นต้น ท่านใช้

    คำว่าเป็นต้น คำว่าทำดี เขาบอกทำดี ต้องพิจารณาด้วยว่า ไอ้ที่ทำดีน่ะ มันดีจริง ๆ หรือเปล่า ถ้าเขาบอกไปว่าไปตะวันออกกลางเงินเดือนดี อันนี้เราเชื่อ แต่การที่ก่อนจะไปเขาจะเอาเงินของเราไป ล่วงหน้านี่อย่าเพิ่งเชื่อ มันต้องมีเหตุมีผลมีหลักฐานพอจึงควรเชื่อ ขอพูดแต่โดยย่อว่า ถ้าเรามีศรัทธา เชื่อว่าถ้าทำดีมีความสุข ทำชั่วเป็นโทษให้เกิดความทุกข์ ถ้าผมจะพูดเสียตอนนี้ทีเดียว รู้สึกว่าจะไปทันทีหลัง

    อันดับแรก ก็จงคิดว่า ที่พระพุทธเจ้าสอนว่า จงถึงพร้อมด้วยความเชื่อ แต่ว่า จงเลือกเชื่อแต่สิ่งที่ดีและมีประโยชน์นี่สิ มีผล สำหรับประโยชน์ในภายหน้า

    ข้อที่สอง ท่านบอกว่า สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย ไม่มีโทษ การถึงพร้อมด้วยศีลนี่ ผมเห็นด้วย เห็นด้วยคำว่าศีลนี่แปลว่าปกติ คนทุกคนมีศีล คนทุกคนนั้นมีเสน่ห์ ไม่มีใครหรอกครับ ไม่ว่าจะเป็นพระก็ตาม เณรก็ตาม ฆราวาสก็ตาม เด็กก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ตาม ถ้าต้องการจะเป็นคนมีเสน่ห์ล่ะก็ ไม่ต้องไปหาหมอเสน่ห์ แล้วก็ไม่ต้องใช้เงินมาก ไม่ต้องซื้อความรัก ความรักจะหลั่งไหลมาเอง ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า สีเลนะ สุคติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดความสุข สีเลนะ โภคสัมปทา ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดโภคสัมบัติมาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลนี่เป็นปัจจัยให้เราเข้าถึงความสงบ คือหมดจากความทุกข์ ทุกข์จากความเดือดร้อนที่จะเข้ามาถึงจากภายนอก ศีลท่านกล่าวไว้อย่างนี้

    ทีนี้เราก็มานั่งคิดว่า สีเลนะ สุคติง ยันติ ท่านบอกว่าคนที่มีศีลนี่เป็นคนที่มีความสุข นี่ไม่ได้หมายความว่าท่านให้มีคนสองคน ท่านบอกทุกคนควรจะมีเสมอกัน เราเป็นคนมีศรัทธา แต่ต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องประกอบ พระพุทธเจ้าพูดอย่างนี้อย่าเพิ่งเชื่อ ลองเอาไปทำก่อน ถ้าไปทำแล้วไม่มี ผลจริง อย่าเชื่อ ถ้ามีผลดีจริง นำไปปฎิบัติ แล้วก็มานั่งฟังเรื่องศีลกัน ขอย่อ ๆ นะครับ

    ศีลสำหรับฆราวาสมีอะไร ปกติศีลก็ได้แก่ ศีล 5 ไม่ต้องศีล 8 ศีล 5 ก็

    ท่านบอกว่า อย่าข่มเหงกันนะ อย่าประทุษร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน อย่าทำลายชีวิต ซึ่งกันและกัน จงเป็นคนมีเมตตา ความรักในกันและกัน มีความกรุณา ความสงสารซึ่งกันและกัน ลองนั่งคิดถึงศีลข้อที่หนึ่ง ว่าคนทุกคนต่างไม่ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน ต่างไม่ประหัตประหารซึ่งกันและกัน ทุกคนต่างไม่ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน ต่างไม่ประหัตประหารซึ่งกันและกัน ทุกคนต่างรักเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทุกคนต่างคนต่างสงสารซึ่งกันและกัน เกื้อกูลซึ่งกันและกันให้มีความสุข อาการอย่างนี้จะเป็นปัจจัยของความทุกข์หรือเป็นความสุข นึกเอานะครับ

    ประการที่สอง ท่านบอกว่า อย่าลักอย่าขโมยกันนะ อย่ายื้อแย่งทรัพย์สินของเขา เพราะอะไร เราไม่ต้องการให้ใครเขาฆ่า คนอื่นเขาไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าเขา นี่ทรัพย์สินของเรา นี่ถ้าหากว่าเราไม่ลักไม่ขโมยกัน มันก็มีความสุข เพราะอะไร ถ้าเราไม่คิดประทุษร้ายซึ่งกันและกัน คนในโลกนี้มีเมตตาปรานีซึ่งกันและกัน ไอ้เรื่องเงินที่ต้องเสียค่าอาวุธ ไม่มี ที่ต้องมีอาวุธกันนี่ก็เพราะว่าคิดว่าคนนั้นเป็นศัตรูกับเรา คนนี้เป็นศัตรูกับเรา จึงต้องมีอาวุธ แล้วค่าอาวุธแต่ละคนน่ะ ซื้อเท่าไหร่ ราคาเท่าไหร่ ถ้าเงินทั้งหลายเหล่านั้น คนสี่สิบล้านคนของประเทศไทยนี่ ถ้าต้องซื้อมีดพับกันคนละหนึ่งเล่ม เล่มละหนึ่งบาท ต้องเสียค่าอาวุธไปเสีย 40 ล้านบาท ทีนี้ถ้าหากว่าทุกคนไม่ลักไม่ขโมยซึ่งกันและกัน การกลัวขโมยนี่ต้องใช้กุญแจใส่บ้าน ต้องซื้อกำปั่นใหญ่ ๆ ต้องทำห้องดี ๆ เป็นที่ลี้ลับ มีความเสียหายมาก เวลานี้ก็ต้องฝากธนาคาร เป็นอันว่า ผลเงินที่เรามีอยู่ ถ้าเราไม่ฝากธนาคาร ให้เพื่อนกู้ เราก็มีดอกเบี้ยสูงกว่าดอกเบี้ยจากธนาคาร เพราะทางธนาคารเขาต้องมีผลรายได้ ไม่อย่างนั้นเขาก็ไม่รับฝาก เป็นอันว่าถ้าเราต่างคนต่างไม่ลักไม่ขโมยซึ่งกันและกัน ทุกคนก็นอนตาหลับ บ้านก็ไม่ต้องสร้างแข็งแรง เอาเฉพาะกุญแจดอกเดียว นี่เราจะไปไหน เกรงว่าเขาจะเข้าบ้านเราได้ ใช้กุญแจดอกเดียวใส่ประตูหน้าบ้าน ลองคิดดูทีสิว่าใส่กุญแจดอกหนึ่งราคากี่บาท สมมติว่ากุญแจดอกหนึ่งราคาหนึ่งบาท คน 40 ล้านคน สมมติว่ามีบ้านแค่ 10 ล้านหลัง นี่เราต้องเสียเงินเป็น 10 ล้านบาท เฉย ๆ เปล่าประโยชน์ แต่ความจริงเรื่องการป้องกันขโมยนี่ไม่ใช่ราคาบาทเดียวแล้ว บางบ้านต้องลงทุนเป็นแสน สมมติว่าทุกบ้านต้องเสียค้าคุ้มกันขโมยนี่ มีกุญแจ มีหีบ มีห้องหับที่มั่นคง จากบ้านละ 100 บาทนี่ ถ้าบ้าน 10 ล้านหลัง แล้วเอา 100 คูณเข้าไป มันก็เป็น 1,000 ล้านบาท นี่สมมติเราต่างคนต่างไม่ขโมยซึ่งกันและกัน แล้วมันจะจนหรือมันจะรวย มีความสุข ข้อนี้ท่านบอกว่ามีประโยชน์ในเบื้องหน้านี่ ผมว่าประโยชน์ในปัจจุบันด้วย ความจริงอาจจะมีใครตั้งขึ้นมากระมังว่าประโยชน์ในเบื้องหน้า ความจริงพระพุทธเจ้าท่านสอนให้มีใครตั้งขึ้นมากระมังว่าประโยชน์ในเบื้องหน้า ความจริงพระพุทธเจ้าท่านสอนให้มีปัจจุบัน ถ้าปัจจุบันมีประโยชน์ ข้างหน้ามันก็มีประโยชน์ หมายความว่า เราต้องมีศรัทธาตลอด เราต้องมีศีลตลอด

    ศีลข้อที่สาม ถ้าเราไม่ยื้อแย่งความรักซึ่งกันและกัน ไม่ข่มเหงน้ำใจกัน ความเป็นมิตรมันก็มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเรามีคู่ครองแล้ว เราก็ซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง ในบ้านมันก็เป็นสวรรค์ ความเดือดร้อนมันก็ไม่มี มันก็มีความสุข นี่ก็เป็นความสุขในปัจจุบัน

    ศีลข้อที่สี่ การกล่าววาจาเท็จก็ดี กล่าววาจาหยาบก็ดี ยุให้เขาแตกกันก็ดี กล่าววาจาไร้ประโยชน์ก็ดี มันไม่มีประโยชน์ มันเป็นปัจจัยให้เขาเกลียด ถ้าเรากล่าวแต่วาจาที่จริงใจ ใช้วาจาอ่อนหวาน พูดแต่เฉพาะให้เกิดความสามัคคี ใช้วาจาที่เป็นประโยชน์ มันก็เป็นความรัก เป็นเสน่ห์ เป็นอันว่าเรามีใจไม่โหดร้าย เป็นคนใจดี ไม่มือไว ไม่ลัก ไม่ขโมย มีวาจาไพเราะ มีวาจาที่เป็นประโยชน์ ได้ใช้วาจาแต่ความเป็นจริง นี่ก็เป็นมหาเสน่ห์ ผมก็คิดว่าในโลกนี้ไม่มีใครเขาเกลียดนอกจากคนสติไม่ดี

    อันนี้ข้อที่ห้า ถ้าหากว่าเราไม่ดื่มสุราเมรัย ไอ้สุราพาไปในด้านของความชั่ว ดื่มสุราเสียอย่างเดียว ชั่วได้ทุกอย่าง แม้แต่พ่อกับแม่เราก็สามารถจะฆ่าได้ เพราะความเมาสุรา เงินที่เสียไปมันก็เสียไปไร้ประโยชน์ แล้วโทษก็คือทำลายสุขภาพ สามารถจะถึงถูกฆ่าตายก็ถมไป ก็นั่นเพราะสุรา และสุราเป็นเหตุให้ขาดสติสัมปชัญญะ เราสังเกตุดูเถอะ คนดื่มสุราก็คือคนบ้าเรานี่เอง ให้บ้าจริง ๆ แล้วทางกฎหมายไม่ลงโทษ ทางศีลทางวินัยไม่ลงโทษ แต่พอบ้าเพราะสุรา นี่ลงโทษ คนดื่มสุราจัดนี่เป็นคนที่ ไร้ศักดิ์ศรี ไม่มีใครเขาเคารพนับถือ และอายุสั้น บางคนอายุยาวก็สุขภาพไม่ดี ก็เป็นอันว่าถ้าเราถึงพร้อมด้วยศีลประเภทนี้ ท่านทั้งหลายจะเห็นว่ามันเป็นประโยชน์ไหม ถ้าคนทุกคนในโลกนี้มีศีลทั้งหมด จะเห็นว่าโลกเป็นสุขหรือว่าโลกเป็นทุกข์


    ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า สีเลนะ สุคติง ยันติ จะเห็นได้ทันทีว่า ทุกคนมีความเมตตาปรานีซึ่งกันและกัน เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีความรักซึ่งกันและกัน โลกมันก็เป็นสุข มันหาศัตรูไม่ได้ สีเลนะ โภคสัมปทา ถ้าทรงศีลได้อย่างนี้ ทรัพย์ทั้งหลายที่หามาได้ มันก็ใช้เฉพาะในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ฟุ่มเฟือย ทรัพย์สมบัติไม่ฟุ่มเฟือย ไม่เสียหายโดยไร้ประโยชน์ มันก็มีความเยือกเย็นในการใช้ทรัพย์สิน ทรัพย์มันก็มีตลอดกาล สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยเข้าถึงความสงบ มันก็มีความสุขสงบ ไม่มีทุกข์ นอกจากทุกข์จากขันธ์ 5 เห็นหรือยังว่า สีลสัมปทา นี่เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข ท่านบอกว่าประโยชน์เบื้องหน้านี่ ผมไม่ยักเห็นด้วย เพราะว่าประโยชน์ปัจจุบัน มีความสุขในปัจจุบัน

    ข้อที่สามท่านกล่าวว่า จาคสัมปทา ความจริงเรื่องศีลนี่ ผมพูดย่อ ๆ นะ ถ้าให้พูดเต็มที่แล้ว สามเดือนไม่จบหรอก เพราะผมรู้คุณของศีลดี สังเกตุดูก็แล้วกัน ถ้าคนไหนเขาเป็นคนมีเมตตาปรานี มีความรัก มีความอ่อนโยน อ่อนหวาน เป็นที่ไว้วางใจ ไม่ฉกชิงวิ่งราว ไม่ลักไม่ขโมย แล้วก็ ไม่ประทุษร้าย คือไม่ล่วงละเมิดลูกเขา เมียเขา ผัวเขา พูดแต่วาจาที่ไพเราะเสนาะโสต พูดแต่ความเป็นจริง สร้างความสามัคคี มีสติสัมปชัญญะดี นี่ไปที่ไหน ก็มีแต่คนรัก เพราะว่าถ้าทำได้ อยางนี้ไม่เปลืองสตางค์ ไปบ้านไหนเขาก็เต็มใจเลี้ยงข้าว ความจริงเคยเห็นเมื่อสมัยเป็นเด็ก ๆ เคยพบกันมาโดยที่เราเคยเห็นว่าเขาดี ประเภทนี้ร้านค้าน่ะ ไปกินฟรีได้เลย เขาไม่อยากเก็บสตางค์ ไม่เชื่อลองดูก็ได้ ทำให้มันครบถ้วนจริง ๆ ถ้าเขาจะเก็บเขาก็เก็บน้อย ดีไม่ดี เขาก็เก็บพอเป็นพิธี จนกระทั่งร้านค้านั้นเขาจะไม่เก็บสตางค์ กระทั่งคนกินอาย เกรงว่าเขาจะเสียหาย เขาจะขาดทุน นี่ถึงขั้นนี้นะศีล จะไปบ้านใครเขาก็ เต็มใจต้อนรับ หน้าชื่นตาบาน ไว้วางใจทุกอย่าง ให้ความสุขทุกประการ

    มาข้อที่สาม จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยความสุขให้แก่ คนอื่น และข้อนี้ถ้าจะพูดกันจริง ๆ ล่ะก็ เราไม่ได้เฉลี่ยความสุขให้คนอื่น โดยเฉพาะ เพราะตามความ รู้สึกของผมถือว่าเป็นการหาความสุขให้แก่ตัวเอง เพราะอะไร เพราะว่าการบริจาคทาน จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทานนี่ เราพูดกันแบบชาวบ้านนะ ถ้าพูดกันแบบพระละว่า ยาวะ นิพพานโต มมัง ตัวนี้ไม่ใช่ก้อย ศีลก็เหมือนกัน นี่เราพูดแบบชาวบ้าน ก็ลองคิดดูว่า ต่างคนต่างมีเมตตาปรานี ซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างรู้จักการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน บ้านใกล้เรือนเคียงเขาขาดเกลือ เราให้เกลือ เขาขาดน้ำ เราให้น้ำ เขาขาดเงิน เราให้เงิน เขาขาดแรงงาน เราให้แรงงาน เมื่อเราให้เขาได้ เขาก็ให้เราได้ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ปูชโก ลภเต ปูชัง ผู้บูชาย่อมได้การบูชาตอบ วันทโก ปฎิวันทนัง ผู้ไหว้ย่อมได้ไหว้ตอบ

    อันนี้ผมเคยพูดเล่น ๆ กับบรรดาเพื่อน ๆ กันเสมอ และบางทีก็พูดเล่น ๆ กันกับพวกเด็ก ๆ ว่า หนู ถ้าอยากจะให้ผู้ใหญ่รับไหว้ มันเป็นของไม่ยาก เธอถามว่า ทำยังไง ถ้าหนูอยากจะให้ผู้ใหญ่ไหว้ก็ เวลาผู้ใหญ่เดินมา หนูก็ยกมือไหว้ท่านสิ เมื่อเรายกมือไหว้ ท่านไหว้เรา เราก็ถือว่าท่านต้องไหว้เรา เพราะเราไหว้ท่าน ทีนี้ จาคสัมปทา ก็เหมือนกัน ถ้ารู้จักเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สงเคราะห์ซึ่งกันและกันละก็ เมื่อเขาขาด เราให้ ไม่มีใครคนไหนใจร้ายเกินไป เมื่อเราขาดแคลนอะไร เขาก็ให้เหมือนกัน ถ้า ปฎิบัติได้อย่างนี้ เราก็มีความสุข พึ่งพาอาศัยกัน เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

    นี่สำหรับข้อที่สี่ ท่านบอกว่า ปัญญาสัมปทา อันนี้สำคัญมาก จงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ปัญญานี่ไม่ใช่รู้จักบาปจักบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ พูดอย่างนี้ก็เกลาเกินไป หมายความว่าจะต้องรู้ต้องใช้ปัญญา ว่าไอ้งานที่เราจะทำอย่างนี้ ทำยังไงมันถึงจะดี แล้วการจะเข้าไปหาคนน่ะ มันถึงกาล ถึงเวลาแล้วหรือยัง เขาว่างไหม เป็นโอกาสที่เราควรจะเข้าหาได้ไหม แล้วการจะทำงานทำการก็เหมือนกัน ก่อนที่จะทำ ก่อนที่จะพูด ต้องใช้ปัญญาพิจารณาเสียก่อน ว่ามันควรหรือ ไม่ควร ถ้าจะทำมาค้าขาย ก็ต้องพิจารณาว่าไอ้การทำอย่างนี้ มันจะขาดทุนจะได้กำไรเพียงใด จงอย่าเล็งผลเลิศเฉพาะกำไร ต้องหาทางการขาดทุนเสียก่อน ถ้าหาทางการขาดทุนพบล่ะก็ เราก็หากำไรพบ ถ้ามองหาการขาดทุนไม่พบ ไม่ช้าละกำไรไม่มี ทุนก็หมด

    ในการปฎิบัติการงานก็เหมือนกัน การเป็นลูกจ้าง ต้องใช้ปัญญาทั้งหมด ไม่ใช่ว่ารับแต่คำสั่งอย่างเดียว เมื่อรับคำสั่งมาแล้ว ต้องใช้ปัญญาพิจารณาคำสั่งที่ผู้บังคับบัญชาสั่งนี่ ควรจะทำอย่างไรถึงจะดี ถึงจะไม่พลาด แม้ในการอยู่ในบ้านร่วมกัน คนในบ้านก็เหมือนกัน การคบหาสมาคม การอยู่ รวมกัน ก็ต้องใช้ปัญญา เพราะคนในบ้านของเราทุกคนมีความรู้สึกไม่เท่ากัน เวลานี้บางที เรามีสุข เขามีทุกข์ ทุกข์ทางกายและทางใจ ก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่า เวลานี้มันควรหรือไม่ควร ในการทำ การพูดอย่างนั้น ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาก่อนทำนี่ ไม่ว่าอะไรทั้หมด ไม่เป็นเหตุแห่งความทุกข์ มันมีแต่ความสุข อันนี้ก็ขอพูดง่าย ๆ แค่นี้นะ


    หัวข้อ คิหิปฎิบัติ หมวดต่อไปท่านบอก มิตตปฎิรูป คือคนเทียมมิตร ไม่ใช่มิตรแท้ คือ มิตรเลว ลักษณะของคนเทียมมิตร คือมิตตปฎิรูป ก็คือ


    คนปอกลอก หลอกกิน เอาเปรียบเพื่อน เอาง่าย ๆ อันนี้ผมเคยทดลอง สมัยเป็นฆราวาสก็ลอง สมัยเป็นพระก็ลอง แม้แต่พระนี่ ฉันด้วยกันต้องออกสตางค์ซื้ออาหาร เวลากินแล้วก็ทำแกล้งกินช้า ๆ ไม่ค่อยควักสตางค์ สองคราวสามคราว แต่ผมสังเกต ผมจะออกเสียก่อน พอถึงสองครั้ง หมอนั่นไม่อยากควัก ผมเลิกคบทันที คนเอาเปรียบคนแบบนี้ คบไปก็ไม่มีประโยชน์

    คนดีแต่พูด ไม่ทำจริง พูดเก่ง ไอ้นั่นก็ดี ไอ้นี่ก็ดี แต่เอาเข้าจริงหาความสามารถอะไร ไม่ได้ อันนี้เขาเรียกว่า คนเทียมมิตร ไม่ใช่มิตรแท้

    ลักษณะที่สาม คนหัวประจบ ชอบประจบยกย่องสรรเสริญ ท่านดีอย่างนั้น ท่านดี อย่างนี้ เราก็ต้องสังเกตตัวเอง ถ้าเขามายกย่องเรา แล้วเรามันดีจริงตามคำพูดเขาหรือเปล่า ถ้าเราดี ไม่จริง ก็จงอย่าเชื่อ จำไว้เชียวว่า เจ้านี่มาเพื่อหวังประโยชน์ส่วนตัว หวังจะใช้เราให้เป็นทาส หรือว่าหวังจะทำลายทรัพย์สิน เอาทรัพย์สินที่เราหามาได้ยาก ไปเป็นเพื่อเครื่องใช้สอยของเขาแทนเราใช้เอง คนอย่างนี้คบไม่ได้ และ

    คนชักชวนไปในทางฉิบหาย โน่น ชักชวนไปเป็นนักเลงหญิงหรืออะไร อบายมุข 4 ไปเป็นนักเลงหญิง ชักชวนไปในการดื่มสุราเมรัย ชักชวนไปในการเล่นการพนัน ชักชวนไปคบคนชั่ว สูบเฮโรอีน สูบยาฝิ่น ลักขโมย ไปทำลายต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และปวงชนชาวไทยร่วมกัน บอกว่าระบบการปกครองแบบนี้มันไม่ดี เอาใหม่เถอะ ไปเป็นขี้ข้ากันทั้งชาติดีกว่า ไอ้ประเภทที่จะมาเป็นอิสระแบบนี้น่ะ มันไม่เป็นการสมควร การทำมาหากินแบบนี้ไม่เป็นสุข แบบนี้มีขโมย พูดต่างคนต่างไปเป็นขึ้ข้าของคนกลุ่มหนึ่ง ไปเป็นลูกจ้างรับใช้เขา เขาจะให้กินเท่าไร ก็กินเท่านั้น ให้ใช้เท่าไรก็ใช้เท่านั้น งานเราจะทำได้หรือไม่ได้ เขาบอกว่าทำได้ เราก็ต้องทำให้ได้ เราเหนื่อยแล้ว เขาบอกว่ายัง ไม่เหนื่อย เราก็ต้องไม่เหนื่อย เราป่วย เขาบอกว่ายังทำงานไหว เราก็ต้องทำ ทั้ง ๆ ที่เราทำไม่ไหว เป็นอันว่า คนที่แนะนำไปในทางที่ชั่วแบบนี้ ทางฉิบหายแบบนี้ จงเข้าว่าคนประเภทนั้นไม่ใช่มิตร เป็นคนเทียมมิตร เป็นผู้ทำลายความดี ทำลายอิสรภาพ ทำลายความสุข

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดำรัสว่า คน 4 จำพวกนี้ ไม่ใช่มิตร เป็นคนเทียมมิตร ไม่ควรคบ
    เอาละบรรดาท่านทั้งหลาย สำหรับการฟังในวันนี้ ก็หมดเวลาเสียแล้ว ต้องขอลาก่อน ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่ท่านผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี ๚ะ

    ที่มา http://thaisquare.com/Dhamma/book/kihi/content.html#<!-- #EndEditable -->
     
  2. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ร่วม [​IMG] อนุโมทนาบุญด้วยครับ.^./|\.^. [​IMG]
     
  3. กองทัพเทพ

    กองทัพเทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    468
    ค่าพลัง:
    +2,629

    สาธุ
     
  4. อ้างว้าง

    อ้างว้าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +577
    [b-hi]

    อนุโมทนา

    คำว่า
    "มนุษย์" นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า "คน" ซึ่งแปลว่า "ยุ่ง" ในสมัยพระพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น "มนุษย์ธรรม"
     
  5. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ขออนุโมทนากับหลวงพ่อที่สั่งสอนทางอันประเสริฐ
    ขออนุโมทนากับกัลยาณมิตรที่แนะนำสิ่งที่ดีๆให้
    ขอบคุณครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...