หลักคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 29 มิถุนายน 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    หลักคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


    ความสุขนั้นเกิดขึ้นมาจากสิ่งที่พอเพียงเท่านั้น พอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ตีความกันใหญ่ ไปบรรลุธรรมข้อหนึ่งตอนบวชนี่เอง


    หลักคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของนิตยสารครอบครัวพอเพียง และ วิชาการดอทคอม
    ที่มา www.porpeangfamily.com




    <HR>





    [​IMG]



    ความสุขนั้นเกิดขึ้นมาจากสิ่งที่พอเพียงเท่านั้น พอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ตีความกันใหญ่ ไปบรรลุธรรมข้อหนึ่งตอนบวชนี่เอง คือ วันหนึ่งอยากฉันน้ำชา ก็เอาถ้วยชามาตั้ง กาน้ำร้อน กระติกน้ำร้อน เอาชาใส่ อาจารย์สอนอยู่คำเดียวบอกว่า เวลาบวชนี่ไม่ต้องสอนอะไร ระดับด็อกเตอร์ถือสติไว้เป็นหลักทำอะไรให้มีสติ ๓วนาตลอด ทำอะไรให้ภาวนา ภาวนาคือสตินั่นเอง สติเราก็จับอยู่ถ้วยน้ำชา แล้วเราก็เอาชาใส่ เอาน้ำร้อนเทใส่ กระรอก 2 ตัว กำลังวิ่งไล่ สติละจากน้ำชาที่เติมนั้น ไปจับอยู่ที่กระรอก เพราเป็นคนชอบสัตว์ ก็ดูกระรอกวิ่งไล่กันเพลิน เหลียวกลับไปอีกทีหนึ่งน้ำล้นถ้วยชาล้นถ้วยชาเสร็จ เปื้อนโต๊ะ ไหลลงไปเปื้อนเสื่อที่ข้างล่าง วิ่งไปหยิบสบงซึ่งซักเอาไว้แล้ว มาซับแล้วเอาสบงไปใส่กระป๋องเพื่อจะซักต่ออีก กะว่าจะใส่พรุ่งนี้เช้า เป็นอันว่าชวดแล้วใส่ไม่ได้แล้ว

    เมื่อกี้นี้ถ้าสติจับอยู่ น้ำเต็มแก้วแล้วเราหยุด หมายความว่าเราพอแล้ว เศรษฐกิจพอเพียง คือเต็มศักยภาพของแก้วแล้วเราหยุดแล้ว พอแล้ว เมื่อกี้เหตุการณ์เกิดขึ้นเพราะทำอะไรเกินพอ เกินพอเสร็จน้ำชานั้น มันหกล้นลงไป สภาพน้ำชายังคงอยู่ แต่เราจะก้มลง ดูดบนพื้นไหม เสียดาย มันเป็นน้ำชาที่เสียแล้ว ยังไม่พอมันทำให้โต๊ะ ซึ่งเขาไม่เกี่ยวข้องด้วยเลย ต้องเสียไปด้วยต้องเปื้อนไปด้วย ทำให้เสื่ออยู่ข้างล่างเสียไปด้วย ทำให้สบงที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลย ต้องถูกนำมาซับ แล้วต้องซักใหม่ไปเสียด้วย เท่านี้พวกเรา คงจะพอเห็นบ้างแล้วนะครับ ทำอะไรเกินพอนั้น เป็นการเกินตัว และเกินความต้องการที่พระท่านบอก การทำอะไร ตั้งอยู่บนฐาน ความโลภมันทำลายหมดเลย ในตัวของมัน ก็ทำลาย แล้วยังทำลายสิ่งรอบข้างทั่วไปหมด นั่นคือ วิกฤตเศรษฐกิจของเราที่เกิดขึ้นเมื่อ ๖ ปีที่แล้ว พังทลายหมด มันเหมือนสร้างตึกที่พังถล่มทลายที่โคราชนี่

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งบอกว่า เรานั่งอยู่ในห้องประชุม ท่านผู้ว่าฯ นั่งอยู่ในห้อง หรือเวลาเรากลับไปบ้าน เราอยู่บนบ้านได้ มันไม่พังทลายเพราะอะไร ท่านรับสั่งถาม ไม่พังทลายเพราะอะไร เพราะเสาหรือเพดานหรือเปล่า หรือพื้น ไม่ใช่ทั้งสิ้น มันอยู่ด้วยสิ่งสิ่งหนึ่ง ซึ่งเราเคยเห็น แต่หลังจากสักพักหนึ่ง เราไม่เห็นอีกแล้ว แล้วเราไม่นึกถึงเขาเลย สิ่งนั้นเราเรียกว่าอะไร เสาเข็ม รากฐาน ตอนปลูกบ้านทุกคนเห็นหมด วางเสาเอก ตึกนี้เริ่มสร้างก็เห็น แต่ละเสา จะต้องถูกคำนวณ อย่างแน่ชัดว่า จะแบกน้ำหนักเท่าไหร่ ใช่ไหมครับ ถ้าใส่เยอะเกินไป เท่ากับปฏิบัติการไม่ฉลาดนัก เพราะเอาเงิน ไปจมอยู่ใต้ดิน เมื่อจะสร้างหอประชุมแค่นี้ ทำไมต้องฝังเยอะแยะ ก็ต้องฝังให้พอเหมาะ ฝังน้อยเกินไป ก็อย่างโรงแรมที่นี่ ที่พังครืนลงมา เห็นไหมครับ ฐานรากจะต้องพอดีกับน้ำหนัก ที่จะแบกรับไว้ นั่นคือความหมายของเศรษฐกิจ ต้องปูรากฐานของชีวิตเสียก่อน และเมื่อฐานรากของชีวิตเกิดขึ้นแล้ว เราก็คอยขยับไปเรื่อยๆ ถ้าจะต่อเติมขึ้นมา ก็ต้องเสริมรากฐาน เป็นระยะๆไป


    [​IMG]


    เมื่อเราเกิดความร่ำรวยขึ้นมาโดยไม่มีรากฐานเพราะว่าฐานเงินยืมเขามา ฐานเทคโนโลยีซื้อเขามา ฐานคนเอาคนอื่น เข้ามาบริหาร วันใดวันหนึ่งตอนฟองสบู่แตก เขาเห็นเมืองไทยไม่น่าอยู่แล้ว จุกจิก จู้จี้คอรัปชั่นกินโกงฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้การดำเนินงาน ของเขาติดขัดทั้งปวง ต้นทุนเขาสูง ดังนั้นไปประเทศเวียดนามดีกว่า ไปประเทศจีนดีกว่า แล้วเราเหลืออะไร เหลือที่เราเรียกว่าฟองสบู่ ไปเจาะข้างในปรากฏว่า มีแต่อากาศ ไม่มีอะไรสักอย่าง

    จำได้ไหมเมื่อ ๖ ปีที่แล้ว เราพูดว่าไง ดีใจเวลามีรายงานการลงทุนเข้ามาอีกแสนล้านแล้ว มีบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาตั้งโรงงาน มหึมาที่โคราช มีโรงงานนั้น โรงงานนี้ตั้งขึ้นมา ดีใจหอโตๆ ตึกใหญ่ๆ สร้างขึ้น สำนักงานใหญ่ๆ ตัวอาคารเยอะแยะ แต่พอฟองสบู่แตก วันนี้เราพูดเรื่องอะไร SME เล็กๆ ทำไมไม่พูดเหมือนตอนแรก มันโตจนกระทั่งแตกแล้ว พอแตกแล้ว ที่นี้ไม่เอาแล้ว เพิ่งรู้ตัว ว่าถนัดของเล็ก แปลกประหลาดไหม เจ็บตัวแล้วถึงฉลาด อย่างภาษาโบราณเขาว่า เห็นโลงแล้ว ยังไม่หลั่งน้ำตา จนกระทั่งโลงแตกแล้ว ไม่มีน้ำตาจะหลั่ง ตอนนี้เหือดแห้ง


    [​IMG]


    สิ่งที่ผมพูดคือสิ่งที่มันเกิดขึ้นมาให้เห็นเป็นบทเรียน พอ SME เสร็จแล้ว นึกถึกอะไร นึกถึงเกษตร ที่เททิ้งไป เริ่มกลับมาแล้ว ข้าว เราอยู่ได้เพราะข้าว ตอนนี้อยากจะเขกบาลนัก ตอนแรกไม่เคยคิดเลย กินเอากินเอา กินทิ้งกินขว้างด้วย พวกผู้ใหญ่ ในบ้าน ในเมืองจับดำนาให้หมด เกี่ยวข้าวให้หมด จะได้รู้ว่าแต่ละเม็ดที่อยู่ในจานนั้น มันเหนื่อยยากแค่ไหน ผมพูดเป็นประจำเลย โดนดำนาโดนไถนาเกี่ยวข้าวเป็นประจำอยู่แล้ว คงเห็นภาพปรากฏอยู่เรื่อยๆ ผมเป็นคนจังหวัดเพชรบุรี บ้านผมทำนาอยู่แล้ว โธ่ กว่าจะได้มาสักกำมือนี่นะ เหงื่อกาฬมันไหล เกี่ยวไม่เป็นเสียอีก เอ ทำไมคนอื่นเกี่ยวฉับๆ ชาวบ้านเขาไปยืนดูเราเกี่ยว หัวเราะกัน เราก็นึกเขาคงเชียร์เรา เกี่ยวใหญ่ เหงื่อกาฬโชกเลย พอเกี่ยวกันหมด เขาบอกอาจารย์ ทีหลังไม่ต้องเกี่ยวถึงโคนอย่างนั้นมันตัดยาก เกี่ยวแค่ครึ่งต้นก็พอ นี่เล่นโคนเลย โคนมันก็หนา นี่คือตัวอย่าง ของความเซ่อ แทนที่จะบอกเรา เสียทันที รอให้เกี่ยวเสร็จถึงบอก ถือเป็นบทเรียน รวบข้างบนง่ายกว่าตั้งเยอะ เพราะต้นมันนิ่มอยู่ นี่ทะลึ่งไปเกี่ยวตรงโคน ตอนนี้พอหันกลับมาเรื่องเกษตร แต่มันค่อนข้าง จะสายไปหรือเปล่า

    ------------------------------
    ขอบคุณที่มาของข้อมูล:
    [​IMG]
    http://www.vcharkarn.com/varticle/41034






    -----------

    <SUP>*</SUP>หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา
    <TABLE style="PADDING-RIGHT: 4px; PADDING-LEFT: 4px; FONT-SIZE: 12px; PADDING-BOTTOM: 4px; PADDING-TOP: 4px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#e4fdfd><TD width=90 height=45>
    [​IMG]
    </TD><TD class=style10 height=50>สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
    ท่านสามารถนำเนื้อหาในส่วนบทความไปใช้ แสดง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้าและห้ามดัดแปลง </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...