หัวใจของการทำสมาธิ

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 สิงหาคม 2016.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,896
    [​IMG]


    ข้อสำคัญมีอยู่อย่างหนึ่ง อันเป็นหัวใจแก่การทำสมาธิสิ่งนั้นประเภทแรกคือศีลที่จะต้องปฏิบัติ" เมื่อรักษาศีลให้ครบไม่ด่างพร้อยแล้ว การกระทำสมาธิย่อมสำเร็จได้โดยเร็ว

    ศีลที่จะให้ปฏิบัติในขั้นแรกก็มีเพียง ๕ ประการเท่านั้น รักษาศีลทั้ง ๕ นี้ให้บริสุทธิ์คงอยู่เสมอไปแล้ว การทำสมาธิก็ไม่เป็นเรื่องยากเย็นอะไร ข้อสำคัญพึงจำไว้ว่า การที่จะรักษาศีลนั้น จะมีวิธีการทำการละเว้นไม่ปฏิบัติในทางที่ผิดศีล และประพฤติปฏิบัติที่จะรักษาศีลด้วยเหตุ ๓ ประการ

    ประการที่ ๑ เรียกว่า เจตนาวิรัช ได้แก่ตั้งเจตนาที่จะละเว้นการกระทำอันเป็นการผิดศีลของตัวเอง โดยไม่ต้องไปกล่าวให้ผู้อื่นฟัง คือหมายความว่าโดยไม่ต้องมีการสมาทานศีลนั้นให้ตั้งจิตเจตนาไว้ภายในอย่างมั่นคง ว่าจะรักษาศีลทั้ง ๕ นี้ไว้ให้บริสุทธิ์

    ประการที่ ๒ เรียกว่า สมาทานวิรัช หมายความว่าการที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ด้วยวิธีที่กล่าวคำขอศีลจากพระภิกษุ เป็นต้น การขอศีลจากพระภิกษุนั้น เมื่อได้รับศีลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระภิกษุจะอนุโมทนาศีลและให้พร จงรับทั้งศีลและพรนั้น มิใช่ตั้งใจรับแต่พรแต่ศีลนั้นปล่อยไปหาประโยชน์อันมิได้ เมื่อสมาทานศีลนั้นแล้วก็พึงประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามสิ่งที่ได้กล่าวปฏิญาณว่าจะรักษาศีลนั้นให้บริสุทธิ์

    ประการที่ ๓ เรียกว่า สมุทเฉทวิรัช คือการละเว้นโดยสิ้นเชิง มิให้มีสิ่งใดเหลืออยู่อีก เป็นการกระทำขั้นสูงสุด พยายามที่จะกระทำจิตและกาย วาจาให้บริสุทธิ์อย่างสูง คือเป็นสิ่งที่รักษากาย วาจาให้เป็นปกติอยู่ เมื่อกาย วาจาอันเป็นปกติแล้ว จิตย่อมเข้าสู่ความสงบอันเป็นปกติด้วย กิเลสพอกพูนอยู่ในดวงจิตก็ดี

    อาสวะคือเครื่องดองอันดวงจิต ได้ตกลงไปหมักอยู่ก็ดี ย่อมจะลดน้อยถอยลง และเสื่อมสูญไป ทำให้ดวงจิตผ่องใสปราศจากธุลีเศร้าหมอง เป็นจิตที่มีความรุ่งโรจน์เป็นจิตที่เจริญด้วยการอบรมเนืองๆจากศีลนั้น




    https://www.facebook.com/BuddhaSattha.Saraburi/?hc_ref=NEWSFEED&fref=nf
     

แชร์หน้านี้

Loading...