องคมนตรีเผยในหลวงทรงห่วงสถานการณ์น้ำท่วม

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 19 กันยายน 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    องคมนตรีเผย'ในหลวง'ทรงห่วงสถานการณ์น้ำท่วม

    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 10px">องคมนตรีเผย 'ในหลวง' ทรงห่วงสถานการณ์น้ำท่วม

    [19 ก.ย. 51 - 20:15]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    วันนี้ (19 ก.ย.) นายจริย์ ตุลยานนท์ องคมนตรี และประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ บริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามแนวพระราชดำริ เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมฉุกเฉิน บริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีกรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. เข้าร่วมประชุม

    องคมนตรี กล่าวว่า จากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงและคอยติดตามสถานการณ์ เกี่ยวกับการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการระบายน้ำ ทำให้หลายฝ่ายเร่งระดมความคิด และแผนรับมือ ซึ่งจากการประชุม กรมอุตุนิยมวิทยา ได้แจ้งว่าขณะนี้ความกดอากาศต่ำกำลังปานกลาง พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง เช่น บริเวณ จ.สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจึงต้องระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ที่อาจเกิดขึ้นซ้ำ แต่ฝนในร่องมรสุม ไม่หนักเท่ากับพายุหมุนเขตร้อน สถานการณ์ขณะนี้จึงยังไม่น่าวิตก
    สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นที่หมู่บ้านใน จ.ลพบุรี เกิดจากเป็นพื้นที่ต่ำเนื่องจากการขุด ประกอบกับป่าไม้ไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถชะลอ และอุ้มน้ำไว้ได้ ส่วนกรณีที่ประชาชนเป็นห่วงเนื่องมาจากมีปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนหลายแห่งเกินร้อยละ 80 นั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะอีกร้อยละ 20 ที่เหลือยังสามารถรับน้ำได้อีกมาก และการที่ต้องเก็บน้ำในเขื่อนให้มีปริมาณมาก ก็เพื่อใช้ในการปั่นกระแสไฟ ทั้งนี้การหาแนวทางป้องกันในระยะยาวจะมีข้อสรุปอีกครั้งในการประชุมครั้งหน้า
    องคมนตรี ยังกล่าวถึงแนวทางที่ชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วม ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ว่า ทุกภาคส่วนจะนำกลับไปพิจารณา และจะมีข้อสรุปอีกครั้ง นอกจากนี้ยังแนะแนวทางการป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด คือการคืนป่าไม้กลับสู่ธรรมชาติ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ และต้องเริ่มลงมือทำตั้งแต่วันนี้เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย และเป็นการป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นรุนแรงกว่านี้ในอนาคต



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    -------------
    ที่มา:ไทยรัฐ
    http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=104768
     

แชร์หน้านี้

Loading...