เรื่องเด่น "อภัยทานและโทษของการไม่ให้อภัย" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย วิริยะ13, 15 ธันวาคม 2019.

  1. วิริยะ13

    วิริยะ13 สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    3,051
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +12,693
    สมเด็จพระสังฆราช-horz.jpg
    .
    "อภัยทานและโทษของการไม่ให้อภัย"

    " .. ความดีที่ควรทำมีอยู่เป็นอันมาก รวมเป็นข้อใหญ่ได้ ๓ อย่าง คือทาน ศีล ภาวนา "ทานคือการให้" ไม่ใช่มีความหมายแคบ ๆ เพียงให้เงินทองข้าวของแก่ภิกษุสามเณรหรือคนยากไร้ขาดแคลนเท่านั้น "ทานที่สำคัญที่สุด คืออภัยทาน ทานคือการให้อภัย"

    การให้ทานไม่ว่าจะเป็นเงินทองข้าวของ ความมุ่งหมายที่แลเห็นชัด ๆ คือเพี่อช่วยเหลือผู้อื่น "แต่จุดสำคัญที่ควรเข้าใจ ก็คือเพื่อชำระกิเลสจากใจ" กิเลสตัวนั้น คือโลภะ ผู้ที่ให้ทานโดย มุ่งชำระกิเลสนั่นแหละถูก

    "ให้ทานโดยมุ่งผลตอบแทนเป็นลาภ ยศ สรรเสริญไม่ถูก" ขอให้อย่าลืมความสำคัญประการนี้ มีสติระลึกรู้ไว้ให้เสมอว่า "การให้ทานแค่ละครั้งไม่ใช่ว่าเพี่อช่วยทุกข์ผู้อื่นอย่างเดียว แต่ต้องมุ่งเพี่อละกิเลสกองโลภะด้วย"

    อย่าคิดจะช่วยทุกข์ผู้อื่นไปพร้อมกับที่คิดว่า จะได้รับผลตอบแทนเป็นความมีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จากการให้นั้นด้วย แล้วดีใจว่า "การให้ทานของตนเป็นการยิงนกที่เดียวได้สองตัว" ได้ทั้งผู้อื่นและจะได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขของตนด้วย

    ถ้าจะดีใจว่ายิงนกที่เดียวได้สองตัว "ก็ให้เป็นสองตัวคนละอย่าง คือตัวหนึ่งเป็นการช่วยบำบัดทุกข์ของผู้อื่น อีกตัวหนึ่งเป็นการละกิเลสในใจตนไปพร้อมกัน" ให้ดีใจเช่นนี้นับว่าใช้ได้ เป็นการไม่ผิด

    "การให้อภัยทานสำคัญกว่าให้ทานด้วยทรัพย์สิ่งของ" อภัยทานนี้เป็นเครื่องละกิเลสกองโทสะโดยตรง "เมื่อมีผู้ทำให้ไม่ถูกใจ แทนที่จะโกรธเกลียดก็ให้อภัยเสีย นี้คืออภัยทาน"

    เมื่อมีเหตุมาทำให้โกรธแล้ว กลับไม่โกรธ อภัยให้เช่นนี้ "ไม่ใช่ผู้ใดจะได้รับผลดีของอภัยทานก่อนเจ่าตัวผู้ให้เอง" โกรธเกลียดอะไรเหล่านี้ทำให้จิดใจเร่ารัอนไม่แจ่มใสเป็นสุข "เลิกโกรธเกลียดเสียได้เป็นอภัยทาน" เป็นเหตุให้ไม่เร่าร้อน ให้แจ่มใสเป็นสุข

    "ถ้าผู้ใดไม่เคยได้รับรสแห่งความสุขที่เกิดจากอภัยทาน" ก็ลองดูได้ เพื่อให้ได้รับรสนั้นได้ "ลองทำได้ในทันที่นี้แหละ" เพราะคงจะมีที่นึกขัดเคืองหรือโกรธเกลียดใครอยู่บ้างในขณะนี้ พิจารณาดูใจตนว่า เมื่อรู้สึกเช่นนั้นใจเป็นสุขแจ่มใสหรือ พิจารณาให้เห้นจริงก็จะเห็นว่า ใจขุ่นมัวมากหรือน้อยเท่าน้น น้อยก็เพียง ขุ่น ๆ มากก็จะถึงรัอน

    เมื่อพิจารณาเห็นสภาพเช่นนั้นของใจ ที่มีความไม่ชอบใจ หรือความโกรธความเกลียดแล้ว "เพื่อลองรับรสของความสุขจากอภัยทาน" ก็ให้คิดให้อภัยผู้ที่กำลังถูกโกรธ ถูกเกลียดอยู่ในขณะนั้น "ด้องคิดให้ใหอภัยจริง ๆ เลิกโกรธและอภัยให้จริง ๆ และถ้าอภัยได้จริง เลิกโกรธเกลียดได้จริง" แล้วให้ย้อนพิจารณาดูใจตนเอง จะรู้สึกถึงความเบาสบายแจ่มใส ผิดกับเมึ่อครู่ก่อนอย่างแน่นอน "อภัยทานนจึงมีคุณยิ่งนักแก่จิตใจ"

    อย่าคิดว่า "คนนั้นคนนี้ทำผิดมากต้องโกรธ ต้องไม่ให้อภัย" เรื่องอะไรจะไปให้อภัยในเมี่อร้ายกับเราถึงเพียงนั้นเพียงนี้ คิดเช่นนี้แล้วก็ไม่ยอมอภัยให้ มิหนำซํ้ากลับหาเหตุมาทำให้โกรธมากขึ้นกว่าเดิม "การคิดเช่นนี้อย่าเข้าใจว่าเป็นการลงโทษผู้ที่ว่ามาร้ายกับตนมากจนไม่ต้องการให่อภัย ความจริงเป็นการทำโทษตัวเองต่างหาก"

    เมึ่อใจตัวเองต้องร้อนเร่าเพราะความไม่อภัย "จะเรียกว่าเป็นการทำโทษผู้อื่นจะถูกได้อย่างไร ต้องเรียกว่าเป็นการทำโทษตัวเองนั้นแหละถูก" ผู้มีปัญญาพึงใช้ปัญญาเพียงพอ "ให้เห็นประจักษ์แก่ใจถึงคุณของอภัยทานและโทษของการไม่ยอมอภัย" .. "

    "ธรรมะประดับใจ"
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
    (สมเด็จพระญาณสังวร)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...