"เจดีย์ปล่อง" วัดเชียงโฉม คู่บารมีพระธาตุดอยสุเทพ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 6 มีนาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    ในอดีต พระพุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองถึงขีดสุด ในดินแดนล้านนาแห่งนครเชียงใหม่ ดังจะเห็นได้จากการทำสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 8 ของโลกที่วัดเจ็ดยอด

    รวมถึงการนำพระพุทธศาสนา นิกายลังกาวงศ์ เข้ามาเผยแผ่ มีการสร้างพระเจดีย์ต่างๆ เพื่อเป็นการเชิดชูพระพุทธศาสนา ในช่วงเวลานั้น ตามวัดในเมืองเชียงใหม่ จึงเต็มไปด้วยสถูปเจดีย์มากมาย

    การสร้างเจดีย์ ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก สำหรับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก วัดจะได้ชื่อว่าเป็นวัดสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยพระเจดีย์ ศาสนา โรงธรรมและเสนาสนะที่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า กุฏิ

    การสร้างพระเจดีย์ในยุคแรก จุดมุ่งหมายสำคัญ คือ เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนเจดีย์รุ่นหลังโดยเฉพาะเจดีย์ในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ มีการเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านคตินิยมและโครงสร้าง เมื่อเกิดมีคติการสร้างพระพุทธรูป พระพุทธรูป ได้กลายมาเป็นส่วนเสริมพระเจดีย์ให้มีความสำคัญขึ้นมาอีก

    ในหลายกรณี เมื่อไม่มีพระบรมธาตุจะบรรจุไว้ในเจดีย์ หรือเมื่อสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิบุคคลสามัญ มักจะสร้างพระพุทธรูปประดับไว้ที่ซุ้มจระนำด้วย

    วัดเจดีย์ปล่อง หรือ วัดเชียงโฉม ตั้งอยู่ที่ซอยเจดีย์ปล่อง เยื้องประตูสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ทางทิศเหนือ ปรากฏชื่อของวัดเชียงโฉม

    ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และตำนานสิบห้าราชวงศ์ กล่าวว่า ในยุคของพญามังราย บริเวณนอกกำแพงเมืองมีชุมชนสำคัญที่มีคำขึ้นต้นว่า "เชียง" อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ เชียงยืน (บริเวณวัดเชียงยืนในปัจจุบัน) เชียงเรือก (บริเวณประตูท่าแพ) และเชียงโฉม (ปัจจุบัน คือ วัดเชียงโฉม)

    วัดเจดีย์ปล่อง เป็นภาษาที่ชาวบ้านเรียกกันตามลักษณะรูปทรงของเจดีย์ ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นโบราณสถานตั้งอยู่หลบมุม มีรั้วชั่วคราวกั้นรอบในระยะประชิดขอบฐานเจดีย์

    สร้างขึ้นในรัชสมัยพญาติโลกราชถึงพญาแก้ว เป็นศิลปะล้านนาระยะที่ 3 โดยมีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงกลมเหนือขึ้นไปเป็นชั้นกลมย่อ 7 ชั้น มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่โดยรอบแต่ละชั้น

    ความจริงในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงในภาคเหนือ ยังมีซากเจดีย์ปรากฏอยู่หลายแห่ง ล้วนแต่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นวัดที่มีความสำคัญมาก่อน ส่วนเจดีย์ที่มีซุ้มพระมากๆ และอยู่ในสภาพที่พอจะนำมากล่าวไว้ มีอยู่ 3 แห่ง คือ 1.วัดตะโปทาราม (ร่ำเปิง) 2.วัดพวกหงษ์ 3.วัดเจดีย์ปล่อง (วัดเชียงโฉม)

    แนวคิดเรื่องซุ้มพระจำนวนมาก คงจะได้มาจากวัดจามเทวีและวัดเจดีย์เหลี่ยม ส่วนทรงกลม เป็นอิทธิพลเจดีย์แบบสุโขทัยลังกา เจดีย์ทั้ง 3 องค์นี้ เข้าใจว่าจะสร้างในสมัยเดียวกัน เพราะมีลักษณะคล้ายกันมาก

    ในล้านนาไทย นอกจากมีเจดีย์ที่มีลักษณะทั่วไปแล้ว ยังมีเจดีย์ที่มีลักษณะพิเศษอีกแบบหนึ่งในภาคเหนือ เรียกว่า "เจดีย์ปล่อง"

    คือ เจดีย์ที่มีซุ้มพระรายรอบทั้งองค์ สันนิษฐานว่าเป็นพระเจดีย์ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 21 เท่านั้น

    การสร้างซุ้มพระที่องค์เจดีย์ มีมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษต้นๆ เมื่อมีธรรมเนียมการสร้างวิหารถ้ำ จึงนำเอาพระเจดีย์เข้าไปเป็นส่วนประกอบ

    สำหรับปัจจัยการสร้างซุ้มพระหรือพระพุทธรูป ติดกับองค์เจดีย์นั้น มีสาเหตุสำคัญอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ

    1.การรวมเอาพระพุทธรูปและเจดีย์ไว้ด้วยกัน เมื่อเกิดคติการสร้างพระพุทธรูปแล้ว โดยเฉพาะนิยมสร้างวิหารถ้ำ ด้วยการสลักพระเจดีย์ไว้เป็นปูชนียวัตถุ สำหรับพุทธศาสนิกชนจะได้สักการบูชา

    2.เนื่องจากการสร้างเจดีย์เป็นการสร้างกุศลที่สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา จึงทำให้มีผู้นิยมสร้างพระเจดีย์กันมาก แม้ว่าจะไม่มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุก็ตาม

    นับเป็นวิวัฒนาการที่พระเจดีย์แบบมีซุ้มพระ สร้างเนินทรงกลม แต่การสร้างให้มีซุ้มพระเช่นนี้ คงเนื่องมาจากหาพระบรมธาตุฯ บรรจุไม่ได้ แต่เมื่อมีศรัทธาจะสร้างวัดให้สมบูรณ์ตามองค์ประกอบของวัดแล้ว จำเป็นต้องสร้างเจดีย์ด้วย

    ปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้ทำการโบกปูนทับ เพื่อรักษารูปทรงของเจดีย์ไม่ให้ทรุดลง และมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ ได้เข้ามาบูรณะฟื้นฟูวัดเชียงโฉมให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา

    ด้วยแรงศรัทธาของชาวชุมชนเจดีย์ปล่อง
     

แชร์หน้านี้

Loading...