เมื่อขวัญป่วย-กายก็ป่วยด้วย

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 13 มีนาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    เมื่อ'ขวัญ'ป่วย-กายก็ป่วยด้วย

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 width=600 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>เมื่อ''ขวัญ''ป่วย กายก็ป่วยด้วย </TD></TR><TR><TD><TABLE width=590 align=center border=0><TBODY><TR><TD><CENTER>[​IMG]</CENTER>

    "คนที่มีอาการกายป่วยจากจิตก็มักไปพบแพทย์ ซึ่งมักได้รับการตรวจชันสูตรสารพัดอย่าง...แต่การตรวจก็มักไม่พบสิ่งผิดปกติ...อาการมักเป็นๆ หายแล้วแต่สภาพจิตใจ ...แม้บ่อยครั้งจะรู้ว่าความทุกข์มีสาเหตุจากความเชื่อ และความกลัวที่ไร้เหตุผล แต่การปรับใจก็เป็นเรื่องสุดยาก.."

    องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า " สุขภาพ" เป็น "สุขภาวะรวม กาย จิตและสังคม และมิได้หมายเพียงการปราศจากโรค และความพิการทางร่างกาย" การบรรลุให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าถือเป็นสิทธิมนุษย์ขั้นพื้นฐาน และเป็นเป้าหมายสำคัญทางสังคมซึ่งรัฐพึงจัดสรรให้

    สุขภาวะทางจิต (mind) จะรวมขอบข่ายทั้งอารมณ์ และปัญญา

    คำว่า "ปัญญา" ณ ที่นี้หมายถึง intellectual คือการมีเหตุผล และความสามารถในการเรียนรู้

    ส่วน "ปัญญา" ในปรัชญาพุทธที่มักเคียงคู่กับสติ (mindfulness) นั้นหมายถึง wisdom หรือการรู้แจ้งสิ่ง ถูก ผิด ดี ชั่ว ควรและไม่ควร

    ในทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศจากตะวันออกกลางซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามเห็นว่าสุขภาวะทางจิตที่ WHO กำหนดมิได้ครอบคลุมความมั่นคงทางจิตใจอันเกิดจากความศรัทธาในศาสนา จึงเสนอให้เพิ่ม spiritual wellness เป็นสุขภาวะมิติที่สี่

    ถ้าย้อนไปประวัติศาสตร์ เราจะเข้าใจเหตุที่วัฒนธรรมตะวันตกจะแยก mind กับ spiritual ออกกันอย่างชัดเจน เนื่องจากศาสนาคริสต์ และอิสลาม นับถือพระจิต (The Holy Spirits) เป็นพระเจ้าแต่องค์เดียว ในยุคกลาง ศาสนจักรคาทอลิกมีกำหนดว่าเรื่องกาย และอารมณ์นั้นคนธรรมดาอาจจัดการได้

    แต่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่ผูกพันกับพระจิต (Spiritual-เขียนนำด้วย S ตัวใหญ่) และหลักศาสนาจะต้องเป็นหน้าที่เฉพาะของพระ และบาทหลวง

    สำหรับ spiritual (เขียนนำด้วย s ตัวเล็ก) ที่ WHO กำหนด มิได้เจาะจงการนับถือศาสนาใด แต่รวมกว้างๆ ถึง "สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ" เพื่อรู้สึกชีวิตมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นความเอื้ออาทรจากคนในสังคม ความศรัทธาในอำนาจเหนือธรรมชาติ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อในพิธีกรรมหรือหลักศาสนา รวมทั้งโลกทรรศน์ และอุดมการณ์ชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งพึ่งพาทางใจโดยเฉพาะในยามคับขัน ผิดหวัง ไม่มั่นใจ หรือต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤต

    คำว่า spiritual มาจากรากศัพท์ spiritus การหายใจ คนโบราณคิดว่าลมปราณกับวิญญาณ (soul) เป็นสิ่งคู่กันเมื่อปราศจากลมปราณก็เป็นร่างกายที่ปราศจากวิญญาณ

    พจนานุกรมราชบัณฑิตให้นิยาม "วิญญาณ" ว่า "สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกาย ล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่" ส่วน "วิญญาณ" ในยุคร่วมสมัยหมายถึง "จิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน"

    ปรัชญาพุทธ จะแบ่งชีวิตเป็นสองส่วนคือ กาย และจิต ส่วนจิตนั้นจะรวมทุกสิ่งที่รู้สึกได้แต่ปราศจากกายภาพ เช่น เรื่องอารมณ์ ปัญญา ความรอบรู้ รวมทั้งความเชื่อความศรัทธา เนื่องจากความแตกต่างในแนวคิด และประวัติศาสตร์ จึงเป็นความยากลำบากที่จะหาคำสันสกฤต บาลี หรือคำในหลักศาสนาพุทธ และมีความหมายตรงกับคำว่า spiritual ที่ใช้เป็นสากล

    ทางกระทรวงสาธารณสุขเคยใช้คำว่า "สุขภาพทางจิตวิญญาณ"แต่ก็มีหลายท่านไม่เห็นด้วย เพราะเป็นคำที่ไม่สามารถสื่อความหมาย และอาจไม่เหมาะกับแนวปรัชญาพุทธ ซึ่งตราบเท่าทุกวันนี้ก็ยังไม่มีคำแปลที่เป็นทางการ

    ภาษาไทยมีคำที่ให้ความหมายใกล้เคียงกับ spiritual คือ "ขวัญ" ซึ่งพจนานุกรมไทย-อังกฤษ แปลว่า "the seat of a person"s spirit, morale, courage, self-confidence" ส่วนพจนานุกรมราชบัณฑิตได้ให้นิยาม "ขวัญ" มีความหมายหนึ่งคือ "มิ่งมงคล, สิริ, ความดี" และอีกความหมายหนึ่ง "สิ่งที่ไม่มีตัวตน นิยมกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง"

    คนที่ขวัญเป็นปกติ เรียกว่า "ขวัญดี" ซึ่งมีความหมายตรงกับ good spirits หรือ spiritual wellness ส่วนคำที่บ่งบอกขวัญป่วย หรือ spiritual illness เช่น "ขวัญอ่อน" "ขวัญแขวน" "ขวัญผวา" "เสียขวัญ" "ขวัญบิน" "ขวัญบ่า" "ขวัญหาย" "ขวัญกระเจิง" "ขวัญหนีดีฝ่อ" ซึ่งแต่ละคำอาจบ่งบอกถึงความรุนแรงของขวัญที่ป่วยชำรุดหรือขาดตกบกพร่อง

    มีบทความพูดถึง "ขวัญ" สองฉบับ "ขวัญของแต่ละคนซึ่งเป็นลักษณะปัจเจก (individual)...ขวัญคือความมั่นคงของชีวิต ขวัญให้ความรู้สึกว่าอบอุ่น มีที่พึ่งพาพึ่งพิง เหมือนมีอะไรมาคุ้มครองเรา มีสิ่งยึดเหนี่ยวในชีวิต และให้พลังในการทำงานในชีวิต" (สุมน อมรวิวัฒน์-ในบทความของ น.พ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ มติชนรายวัน 17 เม.ย. 2547)

    และอีกฉบับหนึ่ง "ขวัญ เอกสารเก่าเขียนว่า ขวัน...ทำขวัญ หรือสู่ขวัญ หรือเรียกขวัญ ในช่วงสำคัญของชีวิต ตั้งแต่เกิดจนถึงวาระสุดท้ายก่อนตาย เพื่อให้ผู้รับทำขวัญพ้นจากวิตกกังวล หวาดกลัวหรือตกใจต่อเหตุการณ์เคราะห์หามยามร้าย และต่อการเปลี่ยนแปลงสู่สภาพแวดล้อมใหม่ หรือเท่ากับสร้างความมั่นใจ และความมั่นคงอันเป็นสิริมงคลแก่ผู้รับขวัญ" (สุจิตต์ วงษ์เทศ มติชนรายวัน 21 เม.ย. 2547)

    โดยธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตต้องมีการเสี่ยงเพื่อความอยู่รอด ไม่ว่าเสี่ยงเพื่อได้มาซึ่งอาหาร และปัจจัยสำหรับการยังชีพ หรือสิ่งที่ให้ความสุขเป็นรางวัลหรือความหมายแก่ชีวิต การเสี่ยงร่างกายต้องมีสุขภาพ และขวัญดีเพื่อเผชิญกับสิ่งแวดล้อมและภยันตรายที่ไม่อาจคาดเดา การเสี่ยงก็ย่อมมีโอกาสได้หรือเสีย ความผิดหวังและความพ่ายแพ้ในชีวิตบ่อยๆ ทำให้คนขาดความมั่นใจ คนป่วยคนชราก็อาจขวัญอ่อนกังวลที่ร่างกายอ่อนแอ หรือผู้ป่วย Post-traumatic stress disorders ซึ่งมีสาเหตุจากประสบการณ์ชีวิตที่เจ็บปวด เป็นคนคิดทำอะไรก็กลัว วิตกกังวลมาก และขวัญเสียได้ง่าย หรือคนที่ทราบว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เช่น โรคมะเร็ง จะเกิดอาการซึมเศร้า และขวัญฝ่อ

    แม้คนเราจะต้องเผชิญกับปัญหาชีวิตมากมาย แต่โอกาสเกิดขวัญป่วยย่อมไม่เท่ากัน นอกจากจะขึ้นกับลักษณะความรุนแรง และความยาวนานของแรงกดดันจากภายนอก ยังขึ้นกับบุคลิกลักษณะและแนวทางจัดการปัญหาของแต่ละบุคคล ซึ่งย่อมต่างไปตามความเชื่อ และประสบการณ์ชีวิต

    คนที่มาจากครอบครัว และสังคมที่อบอุ่นย่อมมีความมั่นใจดีกว่า คนที่เคยแก้ไขปัญหาชีวิตได้เองย่อมมีความมั่นใจดีกว่าคนที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างประคบประหงมมาตลอด คนที่ศรัทธาในหลักศาสนาหรือมีอุดมการณ์ชีวิตก็ย่อมมีที่พึ่งทางใจในยามที่ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤต

    ชีวิตในสังคมปัจจุบันมีการแข่งขันสูง อีกทั้งความเอื้ออาทรระหว่างคนในสังคมมีน้อย จึงมีคนขวัญป่วยเป็นจำนวนมาก

    ในประเทศอุตสาหกรรม ประมาณว่ามากกว่าครึ่งของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์มีอาการขวัญป่วยร่วมด้วย และ WHO ประเมินว่าในปี ค.ศ.2020 อาการขวัญป่วยและโรคทางจิตใจจะเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับสองรองจากโรคหัวใจ (ซึ่งก็มีสาเหตุปัจจัยจากจิตเครียดเช่นกัน)

    ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีความทุกข์กังวลมิได้เพราะชีวิตประสบความล้มเหลว แต่เพราะมีความเชื่อที่ผิดหรือตั้งเป้าหมายชีวิตสูงเกินเอื้อม

    เช่นคนหนึ่งเชื่อว่าชีวิตจะมั่นคงจะต้องมีเงิน 1,000 ล้านบาท เมื่อมีเงิน 500 ล้านก็รู้สึกชีวิตยังไม่มั่นคงและเป็นทุกข์ หรือคนที่เคยสอบได้ที่หนึ่ง ครั้นสอบได้เป็นที่สองก็จะเป็นทุกข์เพราะคิดว่าคนอื่นจะมองเขาเป็นคนไม่เก่ง

    ปัจจุบันสื่อโฆษณาก็สามารถทำให้คนเครียดโดยสร้างกระแสขึ้นนำว่าตัวคุณมีปมด้อยเช่นนั้นเช่นนี้ และต้องบริโภคสินค้าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โฆษณาเพื่อแก้ไขปมด้อยที่มี

    คนขวัญป่วยอาจมีอาการหงุดหงิด กลัว วิตกกังวล นอนไม่หลับ รู้สึกเป็นทุกข์ ไม่มั่นใจ และจิตใจท้อแท้ ความกังวลมักจะแทรกซึมเข้ามาในความคิดเป็นพักๆ ตลอดเวลา

    บางรายความเครียดทำให้มีอาการป่วยทางกาย (somatization) ร่วมด้วย อาการมักจะเคลือบคลุมไม่เจาะจง เช่น อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ใจสั่น หายใจขัด เวียนศีรษะ ปากแห้งและเจ็บคอ ปวดศีรษะ ความจำและสมาธิเสื่อม ปวดตามกล้ามเนื้อ และไขข้อ อาการทางกระเพาะลำไส้ กลุ่มอาการมีชื่อเรียกรวมว่า Functional somatic syndromes หรือ mind-body illness

    นอกจากนั้น ความเครียดที่ยาวต่อเนื่องอาจมีผลต่อระบบฮอร์โมน และภูมิต้านทาน เช่นทำให้มีภาวะติดเชื้อง่าย และแผลหายช้า สมองเสื่อมก่อนวัย และผู้หญิงรอบเดือนไม่ปกติฯ

    ความจริงอาการเจ็บป่วยทั้งหลายอาจเป็นสัญญาณธรรมชาติที่พยายามบอกเตือนว่าควรปรับเปลี่ยนหนทางชีวิตใหม่ เพราะทางที่เลือกอยู่เดิมคงไม่ดีไม่เหมาะ

    คนขวัญป่วย การแก้ไขก็มักจะขึ้นกับวัฒนธรรม และความเชื่อเฉพาะบุคคล เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งต้องการเสถียรภาพ และความมั่นคงทางจิตใจ ความเห็นอกเห็นใจ และเอื้ออาทรของคนในสังคมและผู้ใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าอาการไม่มาก ชาวบ้านธรรมดาก็ไปทำพิธี เรียกขวัญ เชิญขวัญ ทำขวัญ หรือหากชีวิตมีอุปสรรค ก็มักเชื่อว่าเป็นผลของกรรมบางคนเชื่อว่าหากทำบุญทำทาน บูชาไหว้วอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ก็จะช่วยให้พ้นทุกข์พ้นภัยได้ทางศาสนามีมาก ชาวบ้านธรรมดาก็ไปทำพิธี เรียกขวัญ เชิญขวัญ ทำขวัญ หรือหากชีวิตมีอุปสรรค ก็มักเชื่อว่าเป็นผลของกรรม บางคนเชื่อว่าหากทำบุญทำทาน บูชาไหว้วอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ก็จะช่วยให้พ้นทุกข์พ้นภัยได้

    บางศาสนามีคำสอนว่าอุปสรรคชีวิตนั้นเป็นวัตถุประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ทางพุทธศาสนาถือว่าการมีสติปัญญา เข้าใจธรรมะอย่างถ่องแท้ ย่อมเป็นที่พึ่งทางใจ ว่าชีวิตย่อมมีการเกิดดับ เกิดมาย่อมมีทุกข์ การลดกิเลสตัณหาเป็นวิธีช่วยดับทุกข์ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพราะทุกสรรพสิ่งแม้แต่ชีวิตล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ (อนิจจัง)

    คนที่มีอาการป่วยกายจากจิตก็มักไปพบแพทย์ ซึ่งมักได้รับการตรวจชันสูตรสารพัดอย่าง เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ ถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์ ตรวจหัวใจฯ

    แต่การตรวจก็มักไม่พบสิ่งผิดปกติที่สามารถวินิจฉัยหรือยืนยันการเจ็บป่วยได้

    และบ่อยครั้งทำการตรวจแล้วตรวจอีกเพราะเกรงว่าอาจมีมะเร็งหรือโรคร้ายแรงแอบแฝงอยู่ การรักษาก็มักให้ยามากิน

    บางรายก็ถึงกับรับการผ่าตัด เสียเงินค่าตรวจรักษาไปมากมาย

    อาการมักเป็นๆ หายๆแล้วแต่สภาพจิตใจ อาจบรรเทาบ้างจากยาคลายเครียด แต่ก็คงไม่หายขาดตราบเท่าที่ไม่สามารถปรับใจกับปัญหาชีวิตอันเป็นสาเหตุทุกข์ และความเจ็บป่วย แม้บ่อยครั้งจะรู้ว่าความทุกข์มีสาเหตุจากความเชื่อ และความกลัวที่ไร้เหตุผล แต่การปรับใจก็เป็นเรื่องสุดยาก

    และพบว่า ความเอื้ออาทร และกาลเวลา สามารถเป็นโอสถบำบัดการเจ็บป่วยจากปัญหาจิตใจอย่างได้ผล


    ******************
    บทความคัดลอกจาก
    มติชน วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9695 </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ------------------------------
    Ref.
    http://www.tamdee.net/note/view.php?No=107
     

แชร์หน้านี้

Loading...