แนวทางการพิจารณากรรมฐาน-พระอาจารย์มั่น สอน หลวงปู่แหวน

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 24 เมษายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    บันทึกพระกรรมฐาน ตามแนวทางพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับที่ ๖


    เรื่องแนวทางการพิจารณากรรมฐาน
    พระอาจารย์มั่น สอน หลวงปู่แหวน
    ------------------



    ในพรรษาปีนั้นได้จำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่นและตาผ้าขาวอีกคนหนึ่ง การปรารภความเพียรใน
    พรรษานั้นเป็นไปอย่างเต็มที่ เพราะมีหลวงปู่มั่นคอยควบคุมแนะนำ อุบายจิตภาวนา การแนะนำ
    ให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้นหลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอว่า

    จะใช้บทพุทโธเป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบลงเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรม
    เสีย แล้วพิจารณาร่างกายครั้งแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งที่เราสามารถที่จะเพ่งพิจารณาได้
    อย่างสะดวกในอาการ ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจนกลับไปกลับมาหรือที่เรียกว่าอนุโลมปฏิโลม
    แล้ว เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป อย่าพิจารณาเป็นวงกว้าง
    ทั้งร่างกาย เพราะปัญญายังไม่แก่กล้า ถ้าพิจารณาพร้อมกันทีเดียวทั้งร่างกายความชัดเจนจะไม่ปรากฏ
    ต้องค่อยเป็นค่อยไป เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว ถ้าเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัด
    เจนจากจุดอื่น ๆ ก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน
    เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้วให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความ
    สงบ เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก ให้เจริญอยู่อย่าง
    นี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติเมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้วคำบริกรรมพุทโธก็ไม่จำเป็น เพียง
    กำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิได้ทันที
    ผู้ปฏิบัติจิตภาวนาถ้าส่งจิตออกไปภายนอกจากร่างกายแล้วเป็นอันผิดทางมรรคภาวนา เพราะบรรดาพระธรรม
    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ทรงสั่งสอนประกาศพระศาสนาอยู่ตลอดพระชนม์ชีพของ
    พระองค์นั้น แนวการปฏิบัติไม่พ้นไปจากกาย กายจึงเป็นสนามรบ กายจึงเป็นยุทธภูมิ ที่ปัญญาจะต้อง
    ค้นเพื่อทำลายกิเลสและกองทุกข์ซึ่งจิตของเราทำเป็นธนาคารเก็บสะสมไว้ภายใน หอบไว้ หาบไว้ หาม
    ไว้ หวังไว้จนนับภพนับญาติไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายไม่ว่าชนิดใดในสังสารวัฏนี้ ล้วนแต่ติดอยู่กับกายนี้
    ทั้งสิ้น ทำบุญทำบาปก็เพราะกายอันนี้ มีความรักมีความชัง มีความหวง มีความแหนก็เพราะกายอัน
    นี้ เราสร้างทรัพย์สมบัติขึ้นมาก็เพราะกายอันนี้ เราประพฤติศีลประพฤติธรรมก็เพราะกายอันนี้ เรา
    ประพฤติผิดศีลเราประพฤติผิดธรรมก็เพราะกายอันนี้
    ในพระพุทธศาสนาพระอุปัชฌาย์ก่อนที่จะให้
    ผ้ากาสายะแก่กุลบุตรผู้เข้ามาขอบรรพชาอุปสมบทก็สอนให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ซึ่งเป็นส่วน
    หนึ่งของร่างกาย เป็นส่วนที่เห็นได้โดยง่าย เพราะเหตุนั้น กายนี้จึงเป็นทั้งเหตุและเป็นทั้งผล มรรคผล
    จะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดขึ้นจากกายนี้แหละ กายนี้เป็นเหตุ กายนี้เป็นผล เอากายนี้แหละเป็นมรรคเครื่อง
    ดำเนินของจิต เหมือนกับแพทย์ทั้งหลายจะรักษาเยียวยาคนป่วยได้ ต้องเรียนร่างกายนี้ให้เข้าใจถึง
    กลไกทุกส่วน จึงจะสามารถรักษาคนไข้ได้ ไม่ว่าทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน วงการแพทย์จะทิ้งร่าง
    กายไปไม่ได้ ถ้าวิชาแพทย์ทั้งการศึกษาระบบกลไกของร่างกายเสียแล้ว ก็เป็นอันศึกษาผิดวิชาการแพทย์
    ทางสรีรวิทยา นักปฏิบัติธรรมถ้าละทิ้งการพิจารณาร่างกายเสียแล้วจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องดำเนิน
    มรรคปัญญา ร่างกายที่ประกอบขึ้นด้วยส่วนที่เป็นรูปและส่วนที่เป็นนาม ถ้าผู้ปฏิบัติไม่พิจารณาให้
    เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันชอบแล้ว คำว่านิพพิทา วิราคะนั้น จะไปเบื่อหน่ายคลายกำหนัดอะไร นิโรธซึ่ง
    เป็นตัวปัญญาจะไปดับทุกข์ที่ไหน เพราะเราไม่เห็นทุกข์ที่เกิดของทุกข์ ที่ดับของทุกข์ไม่รู้ ไม่เห็น พระพุทธเจ้า
    จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ พระองค์ต้องพิจารณากายนี้เป็นเครื่องดำเนินมรรคปัญญา เพราะในอุทาน
    ธรรมบทว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้นนั้น พระองค์ได้ประจักษ์อย่างแน่นอนว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์
    อยู่ร่ำไป พระองค์หักกงกรรมคืออวิชชาเสีย ความเกิดของพระองค์จึงไม่มีต่อไป กงกรรมคืออวิชชา
    มันอยู่ที่ไหน ถ้ามันไม่อยู่ในจิตของเรา จิตของเรามันอยู่ที่ไหน จิตมันก็คือหนึ่งในห้าของปัญจขันธ์อัน
    เป็นส่วนหนึ่งของนามนั่นเอง ผู้ปฏิบัติต้องใคร่ครวญพิจารณาอย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินตามมรรคภาวนา
    ไม่มีอารมณ์อย่างอื่นนอกจากกายนี้ที่จะดำเนินมรรคภาวนาให้เกิดปัญญาขึ้นได้

    หลวงปู่มั่นนั้นเวลาแนะนำสั่งสอนศิษย์ท่านไม่ค่อยอธิบายธรรมะให้พิสดารมากนัก โดยท่านให้
    เหตุผลว่า ถ้าอธิบายไปมากผู้ปฏิบัติมักไปติดคำพูดกลายเป็นสัญญา ต้องปฏิบัติให้รู้ให้เกิดแก่จิตแก่ใจ
    ของตนเอง จึงจะรู้ได้ว่า คำว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไรคำว่าสุขนั้นเป็นอย่างไร คำว่าพุทธะ ธรรมะ สังฆะนั้นมีความหมายเป็นอย่างไร สมาธิอย่างหยาบเป็นอย่างไร สมาธิอย่างละเอียดเป็นอย่างไร ปัญญาที่
    เกิดจากปัญญาเป็นอย่างไร ปัญญาเกิดจากภาวนาเป็นอย่างไร เหล่านี้ผู้ปฏิบัติต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น
    ในตนของตนจึงจะรู้ ถ้ามัวถือเอาแต่คำอธิบายของครูอาจารย์แล้วจิตก็จะติดอยู่ในสัญญาไม่ก้าวหน้า
    ในการภาวนา เพราะเหตุนั้นจึงไม่อธิบายให้พิศดารมากมาย แนะนำให้รู้ทางแล้วต้องทำเอง เมื่อเกิดความ
    ขัดข้องจึงมารับคำแนะนำอีกครั้งหนึ่ง การปฏิบัติเช่นนี้เป็นผลดีแก่ศิษย์ผู้มุ่งปฏิวัติเพื่ออรรถเพื่อธรรม
    อย่าง แท้จริง

    ดังนั้นการบำเพ็ญสมาธิภาวนาในพรรษานั้นจึงได้เร่งความเพียรอย่างสม่ำเสมอทำให้ได้รับความเยือก
    เย็นทางด้านจิตใจมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะความเพียรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลวงปู่มั่นเป็นตัวอย่างใน
    การทำความเพียร โดยปกติองค์ท่านจะทำความเพียรประจำอิริยาบถ ไม่ว่าท่านจะอยู่ในอิริยาบถ
    ใด ๆ ต้องอยู่ด้วยภาวนาทั้งสิ้น เรื่องนี้ท่านย้ำเตือนเสมอไม่ให้ศิษย์ประมาทละความเพียร เราอยู่ร่วม
    กับท่านต้องเอาองค์ท่านเป็นตัวอย่าง ถึงแม้จะทำไม่ได้อย่างท่านแต่ก็เป็นศิษย์ที่มีครู มีแบบแผน มีแบบ
    อย่าง มีตัวอย่างเป็นทางดำเนิน
    ---------------------------------

    ที่มา :


    http://loungpu.th.gs/web-l/oungpu/webpage/6.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2007
  2. เติ้ล 072

    เติ้ล 072 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    โอปนะยิโก

    พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานfishh_fishh_
     

แชร์หน้านี้

Loading...