แอ่วเหนือคุย"ประวิทย์ บุญมี" โชว์ของดีคู่กาย

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย pongio, 24 พฤษภาคม 2015.

  1. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,852
    ประวิทย์ บุญมี ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย หนุ่มใหญ่วัย ๕๐ ต้น ๆ ผู้นี้ เขาคือผู้รอบรู้เกี่ยวกับการจัดสวนและตกแต่งสถานที่ จนได้รับสมญา “นักจัดสวนมือทอง” เจ้าของผลงานรางวัลระดับโลกและรางวัลสุดยอดอื่น ๆ มากมาย

    เมื่อปี ๒๕๓๘ เขาได้รับมอบหมายให้ออกแบบการประดับตกแต่งภูมิทัศน์ทางสถา ปัตยกรรมบริเวณรอบพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

    และในปี ๒๕๕๑ ชื่อของ ประวิทย์ บุญมี เป็นที่รู้จักของสาธารณชน ในฐานะผู้รับผิดชอบงานประดับตกแต่งภูมิทัศน์ทางสถาปัตย กรรมบริเวณโดยรอบพระเมรุ ในพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

    กว่าจะเป็นประวิทย์ ในวันนี้เขาต้องผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย ในฐานะลูกชาวนาต้องฝ่าฟันความยากลำบากมาตั้งแต่วัยเยาว์ ฐานะทางบ้านไม่ดีนัก แต่ด้วยความอุตสาหะอดทนและใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนจากสาขาพืชสวนประดับ มหาวิทยาลัยเกษตรแม่โจ้ รุ่น ๔๖ เต็มที่ ทำให้สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างภูมิใจ
    อุปนิสัยส่วนตัว ประวิทย์ ค่อนข้างเงียบขรึม พูดน้อย ชอบใช้ความคิดมากกว่าชอบคุยและทุกอย่างต้องชัดเจน นับเป็นโอกาสดีที่เขายอมเปิดใจให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องราวต่าง ๆ รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่กาย

    “ผมคล้องพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ เป็นมรดกที่คุณพ่อได้รับจากคุณปู่และผมรับต่อจากคุณพ่ออีกทอดหนึ่ง ส่วนตัวผมดูไม่เป็นว่าพระอะไร เพราะสึกหมด คนยุคเก่ามีความเชื่อว่า หากเลี่ยมกรอบปิดหมด พระจะออกมาช่วยไม่ได้ จึงนิยมเลี่ยมเปิดหน้าเอาไว้ ทำให้เนื้อหาหน้าตาสึกเกือบหมด พอได้มาสมัยเรียนหนังสือที่แม่โจ้อยากรู้ว่าพระอะไร เอาไปให้เซียนพระที่เชียงใหม่ดู ไม่มีใครตอบได้สักคน แต่เรารู้สึกว่าเป็นของดี เป็นพระมรดกตกทอดจากปู่สู่คุณพ่อจนมาถึงผม จึงคล้องติดตัวมาตั้งแต่อายุ ๒๐ กว่า ๆ จนทุกวันนี้”

    เคยเจอเหตุการณ์ครั้งแรก อายุประมาณ ๒๐ กว่า ๆ ขี่มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ไปเที่ยวแม่ สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ถึงทางโค้งเกิดหน้ามืด รถเสียหลักล้มไถลไปชนกับเสาหลักทางโค้ง ข้างล่างเป็นเหวลึก โชคดีไม่เป็นอะไรมาก แค่ผิวถลอกบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เลยเชื่อว่า เป็นสิ่งมหัศจรรย์และสิ่งปาฏิหาริย์จากการแขวนพระสมเด็จ ท่านคงช่วยไว้ ซึ่งปาฏิหาริย์ทำนองนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง ตอนนั้นขับรถขึ้นลง-กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ๒-๓ เที่ยว ในเวลา ๒ วัน ไม่พักผ่อน ระหว่างรถวิ่งบนถนนสายอำเภอแม่พริก จ.ลำปาง เกิดหลับใน เกือบชนกับรถพ่วงที่ขนปูนซีเมนต์มาเต็มคัน เหมือนมีคนมากระตุกพวงมาลัยให้รถหักหลบพ้นเหตุร้ายไปอย่างเหลือเชื่อ

    “ครั้งที่สามขับรถตกร่องน้ำช่วงทางโค้งปราบเซียนที่อำเภอแม่จัน จ.เชียงราย เพราะผมหลับในและขับรถเร็ว รถพังเละ เลย เพื่อนที่นั่งไปด้วยกันบาดแผลเย็บแผลที่หน้าถึง ๕๓ เข็ม”


    อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสามครั้ง แต่รอดได้ราวกับปาฏิหาริย์ ทำให้คิดว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง และครั้งที่สามตอนนั้นคล้องหลวงปู่ทวดพิมพ์พิเศษจัมโบ้ ซึ่งมีคนที่ไปจัดสวนให้ที่บ้าน มอบให้ตอบแทนน้ำใจ เป็นรุ่นสร้างที่วัดห้วยมงคล ที่อยากได้มานานคือ เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน (บางเหี้ย) จ.สมุทรปราการ แต่หาไม่ได้ จู่ ๆ มีพรรคพวกมาหาและยกให้ฟรี ๆ บอกว่า เอาไปแขวนกับปลัดขิกหลวงพ่ออี๋แล้วไม่ค่อยสบาย ให้คุณดีกว่า หลังจากนั้นอีก ๓ วัน ก็มีคนรู้จักให้ปลายเขี้ยวเสือหลวงพ่อปานมาอีก เลยมีเสือตัวเล็กกับตัวใหญ่คู่กัน

    นอกเหนือจากพระและเครื่องรางแล้ว ประวิทย์ บอกว่ายังมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจอีกอย่างคือ รูปหล่อโลหะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขนาดนิ้วกว่า ๆ สร้างที่เมืองงาย จ.เชียงใหม่ อยาก ได้เลยเช่ามาพกติดตัว ภายหลังก็ได้รูปหล่อชุดทองคำและเงินมาเพิ่มอีกครบทั้ง ๓ แบบ

    “ผมไม่ไช่คนเล่นพระ แต่ชอบสะสม ในแง่ศิลปะ มันเป็นความสุขใจอย่างหนึ่ง ยามว่างนั่งพิจารณาดูและลองคิดเล่น ๆ ว่า ทำไมถึงต้องสร้างพระรูปแบบนั้น แบบนี้ มวลสารแบบนี้เป็นอย่างไร ความเก่า ความเด่น ความน่าศึกษา ทุกชิ้นล้วนมีประวัติน่าสนใจ ช่วยให้เรามีความสุขุมรอบคอบมากขึ้น และยังมองสิ่งอื่น ๆ ได้ลึกซึ้งกว่าเดิม ทุกวันนี้ผมพกติดตัวตลอดนะ เวลาที่เราทำงาน เวลาเดินทางไปไหนมาไหน ช่วยให้มั่นใจ มีกำลังใจ อย่างรูปหล่อสมเด็จพระนเรศวร ทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม เพื่อแผ่นดิน แม้จะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยอะไรก็ตาม ถ้าทำได้ จะไม่รีรอ เพราะถือเป็นการตอบแทนบุญคุณของแผ่นดินนี้”.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...