ในหลวงรับสั่งการเลือกตั้งพรรคเดียว-นายกฯพระราชทานไม่ใช่ประชาธิปไตย

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 25 เมษายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]

    ในหลวงทรงแนะศาลพิจารณาเลือกตั้งโมฆะหรือไม่ รับสั่ง "อย่ามั่ว" ลงพรรคเดียวไม่ใช่ปชต.ไม่มีนายกฯพระราชทาน



    ในหลวงรับสั่ง เปิดสภาไม่ครบ 500-ขอนายกฯพระราชทานทำให้ประชาธิปไตยมั่ว การเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวไม่ใช่ประชาธิปไตย ให้ศาลปกครองไปพิจารณาเลือกตั้ง 2 เมษา โมฆะหรือไม่ทรงย้ำกษัตริย์ไม่เคยทำตามใจชอบ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่ง การเลือกตั้งเพียงพรรคเดียว คนเดียว ไม่ใช่ประชาธิปไตย ให้ศาลปกครองไปพิจารณาเลือกตั้ง 2 เมษา โมฆะหรือไม่ หากหาช่องทางให้เป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ให้ลาออก ไม่มีนายกฯ พระราชทานตามมาตรา 7 เหตุไม่ใช่ประชาธิปไตย
    เมื่อเวลา 17.42 น. วันที่ 25 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่
    โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด ความตอนหนึ่งว่า
    ในเวลาถ้าจะให้พูด ศาลเองมีสิทธิที่จะพูดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะเลือกตั้งของผู้ที่ได้คะแนน ได้แต้มไม่ถึง 20% แล้วก็เขาเลือกตั้งคนเดียว ซึ่งมีความสำคัญ คือว่าถ้าไม่ถึง 20% แล้วก็มีคนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบ ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับท่านหรือเปล่า แต่ความจริงน่าจะเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่าถ้าไม่มีจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งพอ ก็กลายเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไม่ได้ แล้วถ้าดำเนินการไม่ได้ ที่ท่านได้ปฏิญาณไว้เมื่อกี้นี้ ก็เป็นหมัน ที่บอกว่าจะต้องทำทุกอย่างเพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยต้องดำเนินการไปได้ ท่านก็เลยทำงานไม่ได้ ถ้าท่านทำงานไม่ได้ ท่านก็อาจจะต้องลาออก แต่ไม่ได้มีการแก้ไขปัญหา ฉะนั้นต้องหาทางแก้ไขได้
    เขาก็จะบอกว่า ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกว่าไม่ใช่เรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญก็บอกว่าเป็นการร่างรัฐธรรมนูญ ร่างเสร็จแล้วก็ไม่เกี่ยวข้อง ก็เลยขอร้องท่าน อย่าไปทอดทิ้งการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบที่จะทำให้บ้านเมืองดำเนินการไปได้
    แล้วก็อีกข้อหนึ่ง คือ การที่จะบอกว่าจะมีการยุบสภา และต้องเลือกตั้งภายใน 30 วัน ถูกต้องหรือไม่...ไม่พูดถึง ไม่พูดเลย ถ้าไม่ถูกก็จะต้องแก้ไข แล้วก็อาจจะให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่ ซึ่งท่านจะมีสิทธิที่จะบอกว่า อะไรที่ควรหรือไม่ควร ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดู มันเป็นไปไม่ได้ในการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งขึ้นพรรคเดียวคนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป มีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่ใช่เรื่องประชาธิปไตย
    เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็ควรคิดว่า ต้องดูว่าเกี่ยวข้องกับศาลปกครองหรือไม่ ขอฝากอย่างดีที่สุดถ้าท่านจะทำได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้ ตะกี้ที่ปฏิญาณไปดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ
    ตั้งแต่ฟังวิทยุเมื่อเช้านี้ กรณีเกิดที่กิ่ง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช อันนั้นไม่ใช่แห่งเดียว ที่อื่นมีหลายแห่งที่จะทำให้บ้านเมืองล่มจม บ้านเมืองไม่สามารถที่จะรอดพ้นจากสถานการณ์ที่ไม่ถูกหลัก ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านไปศึกษาว่า เกี่ยวข้องหรือไม่ ท่านเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ถ้าท่านไม่เกี่ยวข้อง ท่านลาออกดีกว่า ท่านเป็นผู้ที่ได้รับหน้าที่ ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ เป็นผู้ที่ต้องทำให้บ้านเมืองดำเนินได้ หรือมิฉะนั้นต้องไปปรึกษากันกับผู้พิพากษาที่จะเข้ามา คือผู้พิพากษาศาลฎีกา ท่านก็เกี่ยวข้องเหมือนกัน ก็ปรึกษากัน ก็เป็นจำนวนหลายคนที่มีความรู้ ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ที่มีหน้าที่ที่จะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป
    ฉะนั้นขอฝาก ไม่อย่างนั้นยุ่ง เพราะถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่มีทางจะปกครองแบบประชาธิปไตย ของเรามีศาลหลายชนิดมากมาย แล้วมีสภาหลายแบบ และทุกแบบจะต้องเข้ากัน ปรองดองกันและคิดทางที่จะแก้ไขได้
    ที่พูดอย่างนี้ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย ที่ขอร้องอย่างนี้ ก็เพราะไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้อง มาตรา 7 มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขอยืนยันว่า มาตรา 7 ไม่ได้หมายถึงให้มอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่
    มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินได้ ทำได้ทุกอย่าง ถ้าทำเขาก็จะว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ ซึ่งจริงๆ ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย
    ก็อ้างถึงก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ตอนนั้นไม่มีทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตอนนั้นมีสภา มีประธานสภา รองประธานสภามีอยู่ ทำหน้าที่ แล้วมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญ
    นายกฯ พระราชทานหมายความว่า ตั้งนายกฯ โดยไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย ตอนนั้นมีกฎเกณฑ์ อาจารย์สัญญา ได้รับตั้งเป็นนายกฯ เป็นนายกฯ ที่มีคนรับสนองพระบรมราชโองการ คือรองประธานสภานิติบัญญัติ ดังนั้น ไปทบทวนประวัติศาสตร์มาใหม่ ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ทราบว่ามีกฎเกณฑ์ที่รองรับ
    แล้วก็งานอื่นๆ ก็มี แม้จะที่เรียกว่าที่สภาสนามม้า เขาหัวเราะกัน สภาสนามม้า แต่ไม่ได้ผิดกฎหมาย เพราะว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง นายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับสนองพระบรมราชโองการ ก็สบายใจว่าทำอะไรแบบถูกต้องตามครรลองของรัฐธรรมนูญ
    แต่ครั้งนี้จะให้ทำอะไรผิด ใครเป็นคนบอกก็ไม่ทราบนะ แต่ว่าเขาจะให้ทำ ฉะนั้นขอให้ช่วยปฏิบัติอะไร คิดอะไร ไม่ให้ผิดกฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นสิ่งที่เป็นอุปสรรคและมีความเจริญรุ่งเรืองได้

    ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่
    โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาทความว่า ฝ่ายที่เป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกา ปัจจุบันนี้มีปัญหาตามกฎหมายที่สำคัญ คือว่าถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามที่ปฏิญาณไว้...แบบประชาธิปไตย คือเวลานี้มีการเลือกตั้งเพื่อให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยนั่นเอง แต่ถ้าไม่มีสภาที่ครบถ้วน ก็ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ฉะนั้นก็ขอไปปรึกษากัน
    เมื่อก่อนมีอย่างเดียวมีศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา เดี๋ยวนี้มีศาลหลายอย่าง เมื่อมีก็ต้องไปดำเนินการก็ขอให้ไปปรึกษากับศาลอื่นๆ ด้วย จะทำให้บ้านเมืองปกครองแบบประชาธิปไตยได้ อย่าไปคอยที่จะให้ขอนายกฯ พระราชทาน เพราะขอนายกฯ พระราชทานไม่ได้เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย
    ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทานนายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองประชาธิปไตยกลับไปอ่าน มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญเป็นการอ้างที่ผิด อ้างไม่ได้ มาตรา 7 มี 2 บรรทัดว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีตามที่เคยทำมา ไม่มี เขาอยากจะได้ นายกฯ พระราชทานเป็นต้น
    จะขอ นายกฯ พระราชทานไม่ใช่เรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ แบบมั่ว แบบไม่มีเหตุมีผล สำคัญอยู่ที่ท่านที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่แจ่มใส สามารถกลับไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติ คือ ปกครองต้องมีสภา สภาที่ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนก็ว่าไม่ได้ แต่อาจจะต้องหาวิธีที่ตั้งสภาที่ไม่ครบถ้วน แบบตำนานได้ แต่ก็มั่ว ขอโทษอีกทีนะ ใช้คำมั่วไม่ถูก ไม่ทราบใครจะทำมั่ว ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่จะคิดแบบว่าทำปัดๆ ไปให้เสร็จ ถ้าทำไม่ได้ก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอีก เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ที่จะไป ก็เลยต้องมาขอร้องฝ่ายศาลให้คิดและช่วยกันคิด
    เดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา ศาลอื่นๆ ก็ยังมองว่าศาลฎีกามีความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุมีผล มีความรู้ เพราะท่านได้เรียนรู้กฎหมายมา พิจารณาเรื่องกฎหมายที่จะต้องศึกษาดีๆ ประเทศจึงจะรอดพ้นได้ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักการปกครองที่ถูกต้อง ประเทศชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เพราะว่าไม่มีสมาชิกสภาถึง 500 คน ทำงานไม่ได้ก็ต้องพิจารณาดูว่าจะทำยังไงจะพลิกตำนานได้ จะมาขอให้พระมหากษัตริย์ตัดสิน เขาอาจจะว่ารัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์เป็นคนพระปรมาภิไธยจริง ในหลวงลงพระปรมาภิไธย ก็เดือดร้อน
    แต่ว่าในมาตรา 7 ไม่ได้บอกว่าพระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดูมาตรา 7 เขาเขียนว่าถ้าไม่มีการบัญญัติแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์สั่งการได้ แล้วก็ขอยืนยันว่าไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง อย่างที่เขาขอให้มีพระราชทาน นายกฯ พระราชทาน ไม่เคยมี มีนายกฯ แต่รับสนองพระบรมราชโองการอย่างถูกต้องทุกครั้ง มีคนที่เขาอาจจะมาบอกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทำตามใจชอบ ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบตั้งแต่เป็นมา รัฐธรรมนูญเป็นมาหลายฉบับหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ถ้าทำตามใจชอบ ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมมานานแล้ว
    แต่ตอนนี้เขาขอให้ทำตามใจชอบเวลาถ้าเขาทำตามที่เขาขอ เขาก็ต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ว่าทำตามใจชอบ ซึ่งไม่ใช่กลัวถ้าต้องทำก็ต้องทำ แต่ว่ามันไม่ต้องทำ อยู่ที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นสำคัญที่จะ ศาลอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอะไรไม่มีข้อที่จะอ้างได้มากกว่าศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะมีสิทธิที่จะพูด ที่จะตัดสินก็ขอให้ท่านได้กลับไปพิจารณา ไปปรึกษาผู้พิพากษาศาลแผนกอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าควรทำอย่างไรไม่ต้องรีบทำ ไม่งั้นบ้านเมืองล่มจม ดูทีวีเบื่อ ไอ้หมื่นตันโดนพายุจมลงไปลึกกว่า 4 พันเมตรทะเล เขายังต้องดูว่าเรือนั้นลงไปได้อย่างไร เมืองไทยจะจมลงไปลึกกว่า 4 พันเมตร กู้ไม่ได้ กู้ไม่ขึ้น
    ฉะนั้นท่านเองก็เท่ากับจมลงไป ประชาชนทั่วไปที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ก็จะจมลงไปในมหาสมุทร ตอนนี้เป็นเวลาที่วิกฤติที่สุดในโลก ฉะนั้นท่านต้องมีหน้าที่ปฏิบัติปรึกษากับคนที่มีความรู้
    พวกที่เขาเรียกว่ากู้ชาติ เอะอะอะไรก็กู้ชาติ กู้ชาติ กู้ชาติเดี๋ยวนี้ไม่ได้ล่มจม แต่ป้องกันไม่ให้จมลงไป แล้วเราจะต้องกู้ชาติ ประชาชนกู้ชาติไม่ได้ เพราะจมไปแล้ว ดังนั้นต้องไปพิจารณาดูว่าจะทำอะไร ถ้าทำได้ ปรึกษาหารือกันได้ ประชาชนทั้งประเทศ ประชาชนทั่วโลกจะอนุโมทนา อาจจะเห็นว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาในเมืองไทยยังมีน้ำยา เป็นคนที่มีความรู้ ตั้งใจที่จะกู้ชาติจริงๆ ถ้าถึงเวลา ขอขอบใจท่านที่ตั้งอกตั้งใจที่จะทำหน้าที่ดีๆ อย่างนี้ บ้านเมืองก็รอดพ้น และไม่ต้องกลัว ขอขอบใจที่ท่านพยายามปฏิบัติโดยดี แล้วประชาชนจะอนุโมทนา ขอบใจแทนประชาชนทั่วทั้งประเทศที่มีผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เข้มแข็ง ขอบใจ ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงานมาดี มีพลานามัยแข็งแรงต่อสู้เพื่อความดี ขอบใจผู้ที่ทำให้ประเทศ







    ที่มา : komchadluek.net
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2006
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    รับสั่งใช้พระราชอำนาจตาม ม.7 ไม่ได้ ทรงให้ศาลฎีกา-ศาลปกครองแก้วิกฤติ


    <TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=15 width=780 border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=15 width="85%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    วันนี้ (25 เม.ย.) เวลา 17.42 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุขวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ โอกาสนี้ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยขอร้องอย่าไปทอดทิ้งการปกครองระบอบประชาธิปไตย และอย่าไปคอยขอนายกพระราชทาน เพราะนายกพระราชทานไม่ใช่เป็นเรื่องของการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบมั่ว ไม่มีเหตุมีผล

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีกระแสพระราชดำรัสต่อว่า การปกครองประเทศต้องมีสภา สภาต้องครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนก็ถือว่าไม่ได้ การหาวิธีที่ตั้งสภาไม่ครบถ้วน มาทำงาน รู้สึกว่ามั่ว ขอโทษที่ใช้คำว่ามั่ว ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ปัดๆไปให้เสร็จ ถ้าไม่ได้ก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่า เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่จะไปมั่ว ขอร้องฝ่ายศาลให้คิด ช่วยกันคิด ประชาชนหวัง ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักศาลปกครองสูงสุดประเทศชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่อย่างนี้คือไม่มีสภา สมาชิก ส.ส. รัฐสภา ไม่มีสภา ทำงานไม่ได้ ต้องคิดทำอย่างไรให้ทำงานได้ อย่ามาขอให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตัดสิน ในมาตรา 7 ไม่ได้บอกว่าพระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ดังนั้น จึงขอให้ประธานศาลปกครองสูงสุดไปหารือกับศาลอื่นๆ เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ หากไม่สามารถทำได้ ก็ขอให้ไปลาออกเสีย เพราะไม่สามารถทำให้ระบอบประชาธิปไตยเดินหน้าไปได้<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาใหม่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โดยทรงมีพระราชดำรัสย้ำอีกครั้ง ให้ประธานศาลฎีกาไปหารือกับประธานศาลปกครองสูงสุดและศาลอื่นๆ เพื่อร่วมกันทางทางออกให้กับวิกฤติของประเทศชาติในขณะนี้

    อ่านพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่ประธานศาลปกครองสูงสุดและคณะ






    ที่มา ไทยรัฐ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...