ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.

  1. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ธรรม-ชาติ
    เป็นที่รู้จักกันดี
    New
    ทอนเงิน said: ↑
    อสังขตธรรมหมายถึงอะไรครับ
    +++ หมายถึง "สภาวะธรรม ที่ ไม่มีความเคลื่อนไหว แปรปรวน ไม่มีอาการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย" รวมทั้ง "ทุกข์" ไม่สามารถมีอยู่ในสภาวะนั้นได้

    +++ อาการ "รู้เฉย ๆ" เป็นเบื้องต้นของ "การฝึก" โดยการฝึก "ระลึกเข้าสู่อาการ รู้ เฉย ๆ" ตรงนี้ (สติบริสุทธิ์)

    +++ เมื่อ "รู้จักอาการ รู้เฉย ๆ" ตรงนี้แล้ว ไม่นาน "การระลึกทั้งหมด" จะถูกรู้ไปเองตามธรรมชาติ รวมทั้ง "การกระทำทางจิตทั้งหมด" อีกด้วย

    +++ การฝึกในบริเวณที่ "การระลึก-การทำงานทางจิต ทั้งหมด ถูกรู้" ตรงนี้ จะทำให้เริ่มรู้จัก "กฏเกณท์การทำงานทางจิต - กฏแห่งมโนกรรม - กฏแห่งกรรม" ไปเรื่อย ๆ

    +++ จะเริ่ม "รู้ จนกลายเป็น เห็น โดยไม่มีอาการ ดู" (คือ จาก ญาณ มาเป็น ทัศนะ ที่ไม่ใช่ วิญญาณขันธ์) ตรงนี้คือ "การศึกษาที่จิตมันจะวิวัฒน์ไปด้วยตัวของมันเอง"

    +++ รวมทั้ง "สรรพสิ่งที่ ถูกรู้ ทั้งหมด" ก็จะเข้าใจชัดเจนได้เองว่า "ไม่มีความเป็น ตน อยู่ในนั้น" ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ ตน (อนัตตา)

    +++ รวมทั้ง "สรรพสิ่งที่ ถูกรู้ ทั้งหมด" ก็จะเข้าใจชัดเจนได้เองว่า "มันเกิดมาเอง มันดับไปเอง" ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ ตน (อนิจจัง)

    +++ รวมทั้ง "สรรพสิ่งที่ ถูกรู้ ทั้งหมด" ก็จะเข้าใจชัดเจนได้เองว่า "มันมีสภาพด้วยตัวของมันเอง" ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ ตน (ทุกขัง)

    +++ สภาวะทั้งหมดเหล่านั้น "ไม่ใช่สภาวะที่ รู้ อยู่เฉย ๆ และไม่เกี่ยวข้องกัน" สภาวะทั้งหมดเหล่านั้น เรียกว่า "สังขตะธรรม" รวมทั้ง วิญญาณขันธ์ ด้วย

    +++ ส่วน "สภาวะที่ รู้อยู่เฉย ๆ" นั้นเล่า แท้ที่จริง "มันมีอยู่มาตั้งนานแล้ว" และมันก็ "อยู่กับเรา ตลอดเวลา" รวมทั้ง "ไม่สามารถทำให้มัน เกิด/ดับ ได้เลย"

    +++ ผู้ใดที่ "ยังไม่พ้นจาก วิญญาณขันธ์" ก็จะ "วนเวียนอยู่กับสภาวะ เกิด/ดับ อยู่ตลอดเวลา" และยังไม่สามารถ "สลัด" ตัววิญญาณขันธ์ออกมาให้ "ถูกรู้" ได้

    +++ บุคคลเหล่านั้น "ย่อมอยู่ในอำนาจของ จุติจิต ตลอดเวลา" และย่อม "เกิด/ดับ ไปตาม ชาติ/ภพ ต่าง ๆ อย่างไม่รู้จบ" จนกว่าจะ "สลัด" วิญญาณขันธ์ (ผู้รู้-ตัวดู-อัตตาจิต) ออกไปได้

    +++ ตัว "ผู้รู้-ตัวดู-อัตตาจิต หรือ วิญญาณขันธ์" นั่นแหละ คือ "สังขตะธรรม" ที่ เกิด/ดับ อยู่ตลอดเวลา และตัวมันนั่นเอง คือ "ผู้ไม่รู้ และเกิดมาจาก อวิชชา"

    +++ ส่วน "สภาวะที่ รู้อยู่เฉย ๆ" นี้เรียกว่า "วิชชา" เมื่อ "อยู่กับวิชชา หรือ อยู่กับรู้ (ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล)" ไปเรื่อย ๆ ความรู้-เข้าใจ ของตัว วิญญาณขันธ์ (ผู้ไม่รู้) ก็จะเริ่ม ปริวัติ ไปเอง (จิต ที่มี สติ เป็นพี่เลี้ยง) ตรงนี้จะเป็นอาการของ "วิชชา+จรณะ+สัมปัณโณ" และจะเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ จนถึง "สุขะโต+โลกะวิฑูร" ไปจนจบ

    +++ อาการที่ "รู้จัก สภาวะรู้" นี้หลวงปู่ดูลย์ ใช้ภาษาว่า "ลืมตาตื่นกับจิตหนึ่ง"

    +++ ส่วนอาการที่ "อยู่กับ สภาวะรู้" นี้หลวงปู่ดูลย์ ใช้ภาษาว่า "อยู่กับรู้"

    +++ เมื่ออยู่กับ "สภาวะรู้" จนเข้าใจถึง สภาวะรู้ อย่างแจ่มแจ้ง จึงรู้ว่า "นี่คือ รู้ บริสุทธิ์" หลวงปู่ดูลย์ ใช้ภาษาตรงนี้ว่า "จิต คือ พุทธะ"

    +++ เมื่ออยู่กับ "สภาวะรู้" จนเข้าใจ สภาวะรู้ อย่างแจ่มแจ้ง จึงรู้ว่า "สภาวะรู้ นี้ ไม่สามารถทำให้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย รวมทั้ง ทุกข์ ไม่สามารถมีสภาพอยู่ใน สภาวะนี้ได้"

    +++ รวมถึง "มโนกรรม กฏแห่งกรรม รวมทั้ง วิบากกรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น" ล้วนเป็น "สิ่งถูกรู้ ที่ไม่สามารถเข้ามารวมตัวกับ สภาวะรู้ได้" จึงเข้าใจได้ชัดเจนเองว่า "นี่คือสภาวะที่เรียกว่า พ้นกรรม หมดกรรม หรือ กรรมเข้าไม่ถึง ก็ได้"

    +++ "อสังขตธรรมหมายถึง สภาวะรู้" ที่กล่าวมานี้ นั้นเอง แล...

    +++ หมั่นฝึกจนรู้จัก "อาการของ สติ ที่แท้"

    +++ จากนั้นจึง "ดำรงค์สติมั่น" (ปล่อยให้ รู้เฉย ๆ ไว้อย่างนั้น ไม่สั่นไหวไปกับ สิ่งที่ "ถูกรู้")(อาการอยู่กับรู้-วิชชา)

    +++ จากนั้นอาการ "รู้ธรรมเฉพาะหน้า" (วิชชา+จรณะสัมปัณโณ) จะตามมาเอง

    +++ นี่คือการ "ตามรอยบาทศาสดา" ไม่ใช่การ "วัดรอยบาทศาสดา" แบบสำนัก "ตุ๊ดวจน" นะครับ

    อ้างอิง....

    http://palungjit.org/threads/วิธีเจ...ลวงปู่ดูลย์-อตุโล.611927/page-2#post-10409085
     
  2. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ธรรม-ชาติเป็นที่รู้จักกันดี



    พลังจิต พลังของจิต

    +++ พลังจิตตามสภาวะธรรม จริง ๆ แล้ว มันคือ "พลังงานที่ทำให้ วิญญาณขันธ์ ดำรงค์อยู่" นั่นแหละ

    +++ "พลังงานที่ทำให้ วิญญาณขันธ์ ดำรงค์อยู่" นั้น คือ ธรรมารมณ์

    จิตที่มีพลังงานสูง

    +++ ตามอาการของมัน "จิตที่มีพลังงานสูง คือ จิตที่มีอาการของ ธรรมารมณ์ ควบแน่น" (ตรงนี้ เป็น ความจริง)

    จิตที่มีพลังจิตสูง คือจิตที่เบาบางจากกิเลส

    +++ อาการตามความเป็นจริง คือ "จิตที่มี สติเป็นองค์ประกอบสูง คือจิตที่เบาบางจากกิเลส"

    ที่สามารถพาตนเองไปสู่ชั้นภพภูมิที่สูงที่สุดได้(ประมาณนี้ค่ะ)
    หรือสามารถพาตนเองดีดลอยตัวไปในชั้นบรรยากาศโลกที่สูงสุดได้

    +++ "จิตที่มีสติเป็นองค์ประกอบสูง ย่อมเบาบางจากกิเลส" และอาการของ "จิตเบา" จะสามารถพาตนเองดีดลอยตัวไปในชั้นบรรยากาศโลกที่สูงสุดได้ (พลังจิตที่เป็น ธรรมารมณ์ควบแน่น ไม่สามารถที่จะ "สัมปะยุตติ์" กับตัวเนื้อของ อวกาศธาตุ ได้)

    พลังจิตจึงไม่ใช่ของการมีสมาธิอย่างเดียว

    +++ สมาธิ คือ "อาการตั้งมั่น" ไม่ว่าจะเป็นของ "จิต หรือ สติ" ก็ตาม

    พลังจิต หมายถึง จิตที่มีพลังงานสูง

    +++ พลังจิต หมายถึง จิตที่มี ธรรมารมณ์ ควบแน่นสูง (ธรรมารมณ์ ในยามควบแน่น นับว่าเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง เทียบเคียงกับลักษณะของ พายุหมุน ได้)

    จิตที่มีพลังงานสูงได้จึงหมายถึงจิตที่เบาบางจากกิเลส

    +++ ตามความเป็นจริง "จิตที่มี สติเป็นพี่เลี้ยงได้ จึงจะเป็นจิตที่เบาบางจากกิเลส"

    หรือ หมายถึง จิตที่มีกำลังในการฝ่าฟันกับกิเลสนะคะ

    +++ ตามความเป็นจริง "จิตที่มีกำลังในการฝ่าฟันกับกิเลส" คือ "จิตที่มี สติ เป็นพี่เลี้ยงอยู่ตลอดเวลาที่ ฟ่าฟันกับกิเลส" นั่นเอง


    +++ หากคุณรู้จัก "พลังจิต ตามความเป็นจริง" รวมถึง ปรากฏการณ์ในการ "ก่อตัวของพลังจิต" มาก่อน

    +++ ก็ให้คุณลอง "พิจารณาเทียบเคียง การใช้ภาษา" ระหว่าง ของคุณกับของผมว่า "ณ อาการเดียวกัน แต่ ใช้ภาษาต่างกัน" นั้น ผลลัพธ์ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อ พุทธศาสนิกชนในวงกว้าง นั้น จะเป็นอย่างไร นะครับ

    อ้างอิง.....
    http://palungjit.org/threads/หลวงพ่...ตให้กล้าแกร่งรับพลังบุญ.612449/#post-10410273
     
  3. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    กระทู้นี้จะเริ่มต้นที่ ความรู้สึกตัว....
    ทบทวนคะ...

    "อาการของ ความรู้สึกตัว" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"

    วิธี "สร้างความรู้สึกตัว" พร้อมกับ "การบริหารจัดการกับ ความรู้สึก" เบื้องต้น

    วิธีที่ง่ายที่สุดคือ

    1. หายใจเอาลมเข้าปอด ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว
    2. กลั้นลมหายใจไว้เล็กน้อย สิ่งที่จะเกิดในขณะนี้คือ "ความรู้สึกตัว ที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง"
    3. ให้อยู่กับความรู้สึกตัวนี้ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ โดยไม่ให้ความรู้สึกตัวหายไป จากนั้น

    4. หายใจเข้าช้า ๆ หากสังเกตุได้ว่า "ความรู้สึกตัว" นี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ ก็ให้สังเกตุอาการที่เรียกว่า "เพิ่ม" นี้ให้ดี
    5. ทำความ "คุ้นเคย" กับอาการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" หากมี ทั้งสองอาการ

    หากสามารถทำการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" ความรู้สึกตัว ได้ด้วย "ตนเอง" โดยไม่ต้องพึ่ง "ลมหายใจ" แล้ว จึงถือว่า ผ่านในขั้นตอนนี้

    6. ให้ทำการ "เพิ่ม" ความรู้สึกตัว ให้มากที่สุด จนถึงขั้นที่ "ไม่สามารถที่จะเพิ่มได้อีกแล้ว" ก็ให้
    7. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับสูงสุดนี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 100%

    8. ให้ฝึกตรงกันข้ามกับการ "เพิ่ม" ด้วยการ "ลด" ความรู้สึกตัวลง จนหมดไม่มีความรู้สึกตัวเหลืออยู่เลย จากนั้นให้
    9. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับที่ไม่เหลืออยู่นี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 0%

    ควรฝึก "แช่ และ อยู่" กับทั้งระดับ 100% และ 0% ให้ชำนาญ เพราะทั้ง 2 ระดับนี้ ล้วนมีความสำคัญในอนาคตทั้งคู่ โดยที่ ระดับ 100% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ฌาน" และระดับ 0% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ว่าง" หรือ "รู้" โดยตรง

    ส่วนระดับอื่น ๆ ที่อยู่ในระหว่าง 0% - 100% นั้น จะเป็นเรื่องของ การปรับระดับความรู้สึกตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับ มิติ รวมทั้งการ ศึกษาเรียนรู้ "ด้วยระบบ การจูนคลื่นความถี่ แห่งความรู้สึกตัว" ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ นะครับ
     
  4. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    avatar_m.png
    ติดต่อ
    ธรรม-ชาติเป็นที่รู้จักกันดี
    วจีจิตตะสังขาร

    เสียงตอบในใจคืออะไรผมบ้าผมคิดไปเองหรือเปล่ามีใครเหมือนผมบ้างเหมือนมันรู้ทุกอย่างที่เราอยากรู้

    +++ หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง เรียกมันว่า "วจีจิตตะสังขาร" มันคือ "ความคิดของตน ที่ออกมาในรูปของเสียง" มันคือ "ความคิด ความรำพึงรำพันในใจ ของตน"
    +++ มันสามารถ ถามเองตอบเอง ได้ตลอดเวลา เป็นตุเป็นตะ และมันสามารถ "เพ้อเจ้อ" ไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหยุด
    +++ คุณเคยเห็น "คนบ้าที่พูดกับตัวเองตลอดเวลา" บ้างหรือไม่ มันเป็นตัวเดียวกันนั่นแหละ เพียงแต่คนธรรมดา "เป็นเสียงในระดับมโนกรรม" ส่วนคนบ้าจะ "เป็นเสียงในระดับวจีกรรม"
    +++ ผมเรียกมันว่า "ตัวพูดมาก" แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า นักกรรมฐานหลายท่าน หลงว่ามันคือผู้รู้ จึงมักมีคำพูดว่า สงสัยอะไร ให้ถามผู้รู้ นั้นเป็นสิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง
    +++ นอกจากนี้แล้ว หากคุณเข้าสมาธิให้ละเอียดลงไปสักหน่อย เจ้า "ตัวพูดมาก" นี้ จะสามารถเลียนเสียงอื่น ๆ ได้อีกนานับประการ และ มันเป็น "เจ้าแห่งเสียง" ทุกชนิด หากสมาธิคุณดี เจ้าตัวนี้อาจ เนรมิต เสียงเพลงที่ไม่มีเครื่องเสียงใดในโลกเทียบเท่า มาบรรเลงให้คุณฟังก็ได้ และเสียงที่มาปรากฏนั้น มาแบบ "มีสภาพ" เป็นตัวเป็นตน ในลักษณะของ "เสียงทิพย์" กันเลยทีเดียว

    +++ ในยามปกติ จะไม่ค่อยได้ยินมันเท่าไร
    +++ ในยามสงบจิตนิดหน่อย จะได้ยินมันพูดตลอดเวลา
    +++ ในยามเป็นสมาธิ มันจะเป็น วิปัสสนูกิเลส

    +++ ครูบาอาจารย์ สายพระป่าบางท่าน (ไม่แน่ใจว่าใช่ หลวงตามหาบัว หรือไม่) เรียกมันว่า "ตัวบ้า" เพราะมันพูดพล่ามไม่มีวันหยุด ดังนั้น "อย่าหลง" มันนะครับ

    อ้างอิง
    http://palungjit.org/threads/เสียงตอบในใจ.512936/#post-8458784
     
  5. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    avatar_m.png
    ติดต่อ
    ธรรม-ชาติเป็นที่รู้จักกันดี
    อยากถามเกี่ยวกับการปฏิบัติสองข้อค่ะ

    +++ ตอบอย่างภาษาง่าย ๆ นะครับ

    1.เวลานั่งสมาธิเห็นหลายๆคนบอกว่าพอภาวนาไปเรื่อยๆคำภาวนาจะหายไป แต่นั่งทุกครั้งก็รู้สึกว่ามันไม่เคยหายเลย ก็ยังรู้พุทธโธตลอดเวลา เลยสงสัยค่ะว่ามันมีสมาธิมากเกินไปรึเปล่า

    +++ ขึ้นกับสถานการณ์ครับ เช่น ขณะที่ท่องพุทธโธนั้น มันหลุดบ่อยมั้ย ถ้าบ่อย ก็ดึงกลับมาท่องใหม่เท่ากับเริ่มต้นใหม่อยู่ร่ำไป แต่ถ้าไม่ค่อยหลุด ก็น่าจะเกิดการท่องแบบอัตโนมัติอยู่บ้าง เป็นบางครั้ง หากการท่องแบบอัตโนมัติเกิดขึ้น แสดงว่าเริ่มมีความพอเหมาะต่อการนั่งเกิดขึ้น ไม่นานคุณก็จะค่อย ๆ วางการท่องไปเอง แล้วกลับมาสู่ความรู้สึกตัวที่ดีกว่าเดิม วางการท่องพุทธโธ มาเป็นการทำพุทธโธ

    2.ถ้าเวลานั่งแล้วเกิดอาการปวดขา จากเหน็บชา ควรจะเปลี่ยนท่าหรือว่าพิจารณาต่อไปเรื่อยๆ บางคนบอกเมื่อพิจารณาไปแล้วจะหายปวด แต่ถ้ามันเกิดจากเหน็บชาซึ่งเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงขาเราไม่ได้นี่มันน่าจะเป็นจากอาการทางกาย ถ้าเกิดไม่เปลี่ยนท่ามันจะหายไปมั้ย

    +++ ไม่หายครับ ความปวดเมื่อยมีอยู่จริงตามสภาวะของมัน เพียงแต่ว่า อิทธิพลของมันที่มีต่อผู้ฝึกจะแรงขนาดไหน และความแกร่งของสติสัมปัญชัญญะของผู้ฝึกอยู่ในระดับใด พร้อมที่จะต่อกรกับมันแล้วหรือไม่

    +++ หากยามใดก็ตามที่คุณสามารถทำความรู้สึกได้หมดทั้งตัว ตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ที่เรียกว่า มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ก็ถือได้ว่าคุณพร้อมแล้วในสถานการณ์นี้

    +++ เมื่อพร้อมแล้ว ให้อยู่ในความรู้สึกแบบทั้งตัว แล้วอยู่อย่างนั้น ให้รู้ตามความเป็นจริงว่า ความรู้สึกถูกรู้ ส่วนเรารู้อยู่ จากนั้น รอให้ความปวดเมื่อยปรากฏ (พร้อมรบกับสังขารมาร)

    +++ การพิจารณาในขณะที่ความปวดเมื่อยเริ่มปรากฏ ให้สังเกตุขอบเขตของความปวดเมื่อยนั้น ๆ ว่ามันมีขอบเขตอันจำกัดอย่างไร แล้วกลับสู่ความรู้สึกทั้งตัวอีกที เพื่อเปรียบเทียบกับความรู้สึกทั้งตัว จากนั้น ให้รู้สึกทั้งตัว รวมทั้งขอบเขตของความปวดเมื่อยไปด้วย หากการกำหนดทุกอย่างทำได้ถูกต้อง ผลลัพธ์จะมีลักษณะเป็น ความรู้สึกทั้งตัวเป็นส่วนหนึ่ง ความปวดเมื่อยเป็นอีกส่วนหนึ่ง ส่วนเราซึ่งเป็นสภาวะรู้ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง แยกกันอยู่คนละมิติ ทุกอย่างมีอยู่ตามความเป็นจริง เป็นอิสระแยกออกจากกัน

    +++ คำอธิบายแถมท้ายแบบง่าย ๆ ตามีอยู่ 3 แบบ แบบแรกเป็นตามนุษย์ (มีขี้ตาได้) อยู่กับร่างมนุษย์ แบบที่สอง ตาจิต (มีกิเลสได้) อยู่ในขณะที่มีความเป็นจิตหรือเรียกว่า กายจิตก็ได้ แบบที่สาม ตาสติ (เห็นขันธ์และสัจจธรรมได้) อยู่ในขณะที่สติสัมปัญชัญญะครบถ้วน สองแบบแรก จะเห็นก่อน แล้วเข้าใจว่ารู้ แบบหลังสุด รู้ก่อน แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นเห็น

    ลองทำเล่นหนุก ๆ แต่เอาจริงก็ได้ครับ....

    อ้างอิง
    http://palungjit.org/threads/ถามเรื่องการปฏิบัติ.352573/#post-6501324
     
  6. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    กระทู้นี้จะเริ่มต้นที่ ความรู้สึกตัว....
    ทบทวนคะ...

    "อาการของ ความรู้สึกตัว" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"

    วิธี "สร้างความรู้สึกตัว" พร้อมกับ "การบริหารจัดการกับ ความรู้สึก" เบื้องต้น

    วิธีที่ง่ายที่สุดคือ

    1. หายใจเอาลมเข้าปอด ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว
    2. กลั้นลมหายใจไว้เล็กน้อย สิ่งที่จะเกิดในขณะนี้คือ "ความรู้สึกตัว ที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง"
    3. ให้อยู่กับความรู้สึกตัวนี้ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ โดยไม่ให้ความรู้สึกตัวหายไป จากนั้น

    4. หายใจเข้าช้า ๆ หากสังเกตุได้ว่า "ความรู้สึกตัว" นี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ ก็ให้สังเกตุอาการที่เรียกว่า "เพิ่ม" นี้ให้ดี
    5. ทำความ "คุ้นเคย" กับอาการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" หากมี ทั้งสองอาการ

    หากสามารถทำการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" ความรู้สึกตัว ได้ด้วย "ตนเอง" โดยไม่ต้องพึ่ง "ลมหายใจ" แล้ว จึงถือว่า ผ่านในขั้นตอนนี้

    6. ให้ทำการ "เพิ่ม" ความรู้สึกตัว ให้มากที่สุด จนถึงขั้นที่ "ไม่สามารถที่จะเพิ่มได้อีกแล้ว" ก็ให้
    7. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับสูงสุดนี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 100%

    8. ให้ฝึกตรงกันข้ามกับการ "เพิ่ม" ด้วยการ "ลด" ความรู้สึกตัวลง จนหมดไม่มีความรู้สึกตัวเหลืออยู่เลย จากนั้นให้
    9. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับที่ไม่เหลืออยู่นี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 0%

    ควรฝึก "แช่ และ อยู่" กับทั้งระดับ 100% และ 0% ให้ชำนาญ เพราะทั้ง 2 ระดับนี้ ล้วนมีความสำคัญในอนาคตทั้งคู่ โดยที่ ระดับ 100% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ฌาน" และระดับ 0% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ว่าง" หรือ "รู้" โดยตรง

    ส่วนระดับอื่น ๆ ที่อยู่ในระหว่าง 0% - 100% นั้น จะเป็นเรื่องของ การปรับระดับความรู้สึกตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับ มิติ รวมทั้งการ ศึกษาเรียนรู้ "ด้วยระบบ การจูนคลื่นความถี่ แห่งความรู้สึกตัว" ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ นะครับ
     
  7. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ธรรม-ชาติเป็นที่รู้จักกันดี
    New

    ถ้าฝึกแบบจับลมหายใจเป็นหลักแล้วบริกรรมพุธ โธ ไม่ได้นึกหรือจับภาพพระนะครับไปด้วยแบบนี้จะถือว่าเป็นการปฏิบัติแบบอาณาปานสติหรือไม่
    +++ อานาปานสติ คือ "รู้" ลมหายใจ ทำได้โดย

    1. นั่งเฉย ๆ
    2. ปล่อยให้ร่างกาย หายใจของมันไปเองตามธรรมชาติ
    3. รู้เฉย ๆ ทั้งร่างกาย "ไม่มี" การดูเป็นส่วน ๆ

    +++ ผลลัพธ์ก็จะ "รู้" ได้เองว่า ลมหายใจ สั้น/ยาว - หยาบ/ละเอียด ถูกครอบคลุมด้วย "สติ" ทั้งหมด

    +++ เมื่อยามใดที่ "รู้สึก" ว่า ลมหายใจก็ "ถูกรู้" อยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไร

    +++ อาการ "เฉย ๆ" นั้น เป็นอาการของ "ฌาน 4" ตามที่ ตั้งใจถามมา

    +++ ส่วน ลมหายใจที่ "ถูกรู้" และแยกตัวออกไปอยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไร และ "ไม่ใช่ตัวเรา" ตรงนี้เป็นอาการของ "วิปัสสนา"

    +++ และจะทำให้ เห็น ว่า ลมหายใจ "ไม่ใช่ตน" ก็จะทำให้ "การละ สักกายะทิฐิเบื้องต้น" เกิดขึ้น

    หรือว่าเป็นแบบพุทธานุสติ แล้วฝึกแบบนี้จะไปถึงฌาน 4 ได้ไหมครับ ผมฝึกแบบอื่นไม่ค่อยได้มันรู้สึกติดขัด ผู้มีประสบการณ์ช่วยมาสอนหน่อยครับ
    +++ พุทธานุสติ ด้วยการ "บริกรรม พุท/โธ" คือ "รู้" เสียงที่มัน "ท่องอยู่ในใจ" ตรงที่ "ต้นลม เข้า/ออก"

    +++ ตรงนี้เป็นการช่วย สำหรับผู้ที่ทำ "อานาปานสติ" ไม่ค่อยได้ เพราะอาการ จิตฟุ้งซ่าน มันก่อกวนอยู่เป็นระยะ

    +++ คำบริกรรม "พุท/โธ" จะช่วย "ผูกจิต" ไม่ให้มัน ฟุ้งซ่านเพ่นพ่าน ไปแบบเรื่อยเปื่อย และสามารถทำให้กล้บมา "รู้" ลมหายใจได้ดีขึ้น

    +++ เช่นเดียวกัน เมื่อยามใดที่ "รู้สึก" ว่า ลมหายใจ+คำบริกรรม "ถูกรู้" อยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไร ณ ขณะนั้น ๆ เป็น "ฌาน 4"

    +++ เมื่อ ลมหายใจ+คำบริกรรม ที่ "ถูกรู้" และแยกตัวออกไป และ "ไม่ใช่ตัวเรา" ตรงนี้เป็นอาการของ "วิปัสสนา"

    +++ และยามใดที่ "เห็นกิริยาของ คำบริกรรม" เกิด/ดับ แบบคล้าย ๆ "การกระพริบของจิต" ตรงนี้เป็น "การเห็น ขันธ์ ที่หลวงปู่สิม เรียกว่า วจีจิตตะสังขารขันธ์"

    +++ "วิปัสสนา ทุกชนิดจะต้องใช้ ฌาน 4 เป็นองค์ประกอบเสมอ" หากไม่มีฌาน 4 เป็นองค์ประกอบแล้ว "วิปัสสนา" จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย และจะเป็นการ "ฟุ้งซ่าน" ตลอดเวลา โดยที่กิเลสมันจะหลอกเอาว่า "ความฟุ้งซ่าน คือ วิปัสสนา" ตรงนี้ต้องระวังให้มาก

    +++ "วิปัสสนา" คือ อาการที่ "สติ" มีอิทธิพลเหนือ ฌาน

    +++ ส่วน "สมถะ" คือ อาการที่ "ฌาน" มีอิทธิพลเหนือ สติ

    +++ ส่วนอาการ "ซาบซ่านอยู่+เฉยอยู่" เรียกว่า ฌาน 2

    +++ อาการ "เบาสบายอยู่+เฉยอยู่" เรียกว่า ฌาน 3

    +++ อาการ "เฉยอยู่อย่างเดียว" เรียกว่า ฌาน 4

    +++ อาการ "วิปัสสนา" คือ "รู้อยู่เฉยอยู่" โดยที่ อาการ "รู้อยู่ (สติ)" จะเด่นชัดกว่าอาการ เฉยอยู่ เป็น "สติครอบงำฌาน" เป็น "วิปัสสนากรรมฐาน"

    +++ อาการ "สมถะ" คือ "เฉยอยู่แค่พอรู้เท่านั้น" อาการ "ดื่มด่ำกับความเฉย" จะเด่นชัดกว่าอาการ ที่รู้อยู่ เป็น "ฌานครอบงำสติ" เป็น "สมถะกรรมฐาน"

    +++ คำอธิบายตามอาการ ประกอบกับ "วิธีทำ" ในโพสท์นี้ ก็สมควรพอเหมาะกับคุณ ในขณะนี้แล้ว ลองทำดูนะครับ

    ที่มา.....
    http://palungjit.org/threads/การนั่งสมาธิบริกรรม-พุธ-โธ-ไปถึงฌาน-4-ได้ไหมครับ.613130/#post-10423633
     
  8. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    เคยเป็นกันไหม? นั่งลืมตาอยู่ดีๆๆ ก็รู้สึกว่าตัวเองตัวยืดขึ้นๆๆๆๆๆ สูงขึ้นๆๆๆๆๆ จนทะลุหลังคาบ้าน ทั้งๆ ที่กายเนื้อยังนั่งติดเก้าอี้อยู่ที่เดิม.....


    อยากทำได้แบบนี้ ไม่ยากเลย เดินจิตแบบทำความรู้สึกให้ทั่วตัวให้แน่นๆ ให้เกิน100 % ให้ได้คะ.....แล้วฝึกอยู่กับความรู้สึกให้ทั่วตัวนั้น แล้วมันจะยืดยาว สูง ใหญ่.... บางคนแข็งยังกะหิน, บางคนรู้สึกจมธรณีเหมือนธรณีดูด.....

    สนุกดี
     
  9. morning_glory1

    morning_glory1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +70
    อ้างอิง

    อ้างอิงที่เคยโพสต์ในกระทู้เรื่องตัวพูดมาก


    เมื่อเช้านี้พิมพ์คุยกันกับน้องในกลุ่ม ความคิดก็อยู่กับเรื่องที่กำลังสนทนากันอยู่คะ แต่ได้ยินเสียงตัวพูดมากอีกตัวกำลังร้องเพลง (จิตขณะนั้นมันรับรู้ได้ว่ามันมีความสุข) ต่างจากอาทิตย์ก่อนตัวพูดมากที่กำลังร้องเพลงอยู่นี้ มันเป็นทุกข์มันคอยพูดแต่เรื่องที่ทำงาน เลยสงสัยว่าตัวพูดมากมันมีมากกว่า 1 หรือว่า ความคิดที่อยู่กับเรื่องที่สนทนานั้นไม่ใช่ตัวพูดมากค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2017
  10. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ตัวพูดมาก สามารถแบ่งภาคได้เป็นหลายจุดหลายเสียง เช่น เป็นวงดนตรีทั้งวง ซึ่ง มีเครื่องดนตรีหลายชิ้น แต่ละชิ้นก็สามารถเป็น ตัวพูดมาก แต่ละตัวได้

    +++ ยามใดที่เข้าใจเรื่อง "ขันธ์ประธาน แตกออกเป็น ขันธ์บริวารได้" ก็พอจะเข้าใจได้เอง ซึ่งตรงนี้คืออาการหลังจากทำ มหาปัฏฐาน "อธิปะติปัจจะโย" ลงไปในสถานการณ์แล้ว สภาวะธรรมที่ถูกทำ ปัฏฐาน จะเกิดสภาวะ "อนันตะระปัจจะโย (แตกตัวออกมาจนนับไม่ได้)" และมีอาการต่าง ๆ เช่น มีเหตุปัจจัยพร้อมกัน (สะมะนันตะระปัจจะโย) เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน (สะหะชาตะปัจจะโย) บ้างเกิดต่อเนื่อง (อัญญะมัญญะปัจจะโย) บ้างเกิดก่อน (ปุเรชาตะปัจจะโย) บ้างเกิดทีหลัง (ปัจฉาชาตะปัจจะโย) บ้างตั้งอยู่ได้ด้วยปฏิกิริยาในตัวเอง (กัมมะปัจจะโย) บ้างก็ได้รับผลจากปฏิกิริยาที่ส่งผลกลับมาแล้วจึงอยู่ได้ (วิปากาปัจจะโย) ต่าง ๆ นา ๆ

    +++ ฝึกได้โดย

    1. ทำ ตัวดู ให้ถูกรู้
    2. เอา ตัวดู เข้าไปในสถานการณ์
    3. ทำ ตัวดู ให้เป็น "ตัวกูของกู"

    +++ สภาวะการณ์ จะแตกตัวออกเป็น ปรากฏการณ์ ที่เป็น "องค์ประกอบ" ปลีกย่อยทั้งหมด จากนั้น หากต้องการ "รู้" ตรงไหน ก็ เอาตัวดูลงไปในสถานการณ์ปลีกย่อยนั้น

    +++ จากนั้นให้ทำ "สภาวะรู้" ในใจกลาง ตัวดู อีกที (ทำสภาวะรู้ ให้เป็น ใส้เทียน) ก็จะเริ่ม "เห็น" ปรากฏการณ์ต่าง ๆ แบบ "มหาปัฏฐานสูตร" ได้เอง

    +++ วิธีทำ มีได้หลายวิธี แต่วิธีที่กล่าวมานี้ เหมาะในการฝึกมหาปัฏฐานที่สุด นะครับ
     
  11. raph_eng

    raph_eng Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +133
    รบกวนสอบถามหน่อยค่ะ ความรู้สึกตัว สามารถรับรู้ได้ตลอด หากมีสติ มีสมาธิค่ะ แต่ไม่สามารถเพิ่มหรือลดความรู้สึกรู้ตัวได้เลยค่ะ แบบ งงๆ กับวิธีการอยู่ค่ะ บางครั้งความรู้สึกรู้ตัว ก็มาแค่ช่วงศีรษะ หรือบนร่างกาย บางช่วงเช่น แขนขา เฉพาะจุด อยากสอบถามว่าจะทำให้มันขยายหรือลดยังไงคะ อ่านไปบางทีก็งงๆค่ะ รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณค่า
     
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ความรู้สึกตัว สามารถรับรู้ได้ตลอด เหตุเพราะ "ความรู้สึกตัวนั้น มีอยู่แล้วกับทุกคน ตามความเป็นจริง" นั่นเอง

    +++ ความรู้สึกตัว สามารถ เพิ่ม-ลด ได้ง่ายหาก "ความรู้สึกตัวนั้น มีอยู่อย่างทั่วถึง ทั่วทั้งร่าง ไม่ได้เป็นแบบส่วน ๆ"

    +++ ดังนั้น อันดับแรกที่จะต้องทำคือ "ทำความรู้สึกตัวทั่วถึง ให้เต็มร่างเสียก่อน" เป็นความรู้สึกแบบ "คร่าว ๆ ทั้งตัว"

    +++ จากนั้น "ให้ แช่ กับความรู้สึกตัวทั่วถึง อยู่อย่างนั้น" ณ ขณะที่ "แช่" อยู่ ก็จะ "รู้ได้ด้วยตนว่า" สติ+สัมปชัญญะ แจ่มใส+ชัดเจน กว่าปกติ

    +++ ให้ใช้ "ความรู้สึกตัวทั่วถึง" นี้เป็น "ฐาน" ในการปฏิบัติธรรมในระยะ "แรกเริ่ม" ตรงนี้ก่อน

    +++ เมื่อสามารถ "แช่" อยู่ในความรู้สึกตัวทั่วถึงได้แล้ว ก็จะรู้ได้ว่า บางครั้งมัน "ลดลง" หรือ "เพิ่มขึ้น" ได้

    +++ ให้ค่อย ๆ สังเกตุถึงอาการ "ลด-เพิ่ม" ของความรู้สึกทั้งตัวนี้ ไม่นานก็จะ "สามารถควบคุมได้ดั่งปรารถนา" ด้วยตนเอง

    +++ เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับ ความรู้สึกตัวทั่วถึง นี้แล้ว ก็จะ "รู้ได้ด้วยตนเอง" ว่า "ความรู้สึกตัวทั่วถึง นี่เป็น กายที่แท้จริงกว่า กายเนื้อ"

    +++ ในกระทู้นี้ มีหลายแห่งที่เรียกกายนี้ว่า "กายเวทนา" ตามหลักของ มหาสติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนากาย จิต เวทนาจิต (ธรรมารมณ์)

    +++ ให้อยู่กับกายนี้จนคุ้นเคย ก็จะเริ่มเรียนรู้ "สักกายะทิฐิ" แบบเบื้องต้นได้เอง ว่า "ยามใดที่กำหนดกาย กายย่อมเกิด ยามใดที่ไม่ได้กำหนด กายย่อมหายไป" เป็นต้น

    +++ จากนั้นก็จะเริ่ม "เห็น" ผู้กำหนดได้เอง ตรงนี้ก็จะเป็นการวิวัฒนาการเข้าสู่ "จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" ก็จะเรียนรู้ การทำงานของจิต ได้ต่อไป

    +++ เรื่องของการ "หด/ขยาย" และการ "เพิ่ม/ลด" ความรู้สึกตัวทั่วถึง ให้อ่านจากโพสท์ต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบไปด้วย นะครับ

    http://palungjit.org/threads/ฝึก-กรรม-ฐาน-ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย.512443/#post-8438824
    http://palungjit.org/threads/ฝึก-กรรม-ฐาน-ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย.512443/page-2#post-8523334
    http://palungjit.org/threads/ฝึก-กรรม-ฐาน-ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย.512443/page-2#post-8559011
    http://palungjit.org/threads/ฝึก-กรรม-ฐาน-ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย.512443/page-3#post-8588974
    http://palungjit.org/threads/ฝึก-กรรม-ฐาน-ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย.512443/page-4#post-8614093
    http://palungjit.org/threads/ฝึก-กรรม-ฐาน-ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย.512443/page-5#post-8640347
     
  13. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    สนใจเข้าเรียนไหมคะ เรามีกลุ่มสำหรับเรียนกันทาง แฮงค์เอ้าท์ทุกวันเวลา 22:20-24:00 น.. โดยประมาณ

    ฝึกทำคนเดียว อาจเข้าใจและเข้าถึงสภาวะแต่ละสภาวะได้ยากหน่อย ถ้าเรียนในห้อง มีคุณธรรม-ชาติ และสมาชิกท่านอื่นช่วยกันสอน จะเข้าถึงสภาวะ ขยาย ลด เพิ่ม เข้า ย้าย ออก ถอน ได้ง่ายขึ้นคะ......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2017
  14. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    "ธรรม-ชาติ, post

    กรรม-ฐาน เป็นเรื่องของ 2 สภาวะเท่านั้น คือ สภาวะที่อยู่ในส่วนของ "กรรม" (มีการกระทำ มีการทำงาน Dynamic เป็นสังขตะธรรม) กับสภาวะที่อยู่ในส่วนของ "ฐาน" (ไร้การกระทำ ไร้การทำงาน Static ซึ่งใน ฐานชั้นสุดท้ายจะเป็น อสังคตะธรรม)

    สภาวะที่อยู่ในส่วนของ "กรรม-สังขตะธรรม" (Dynamic)

    สภาวะของ "กรรม" นั้น หมายเอาสรรพสิ่งที่มี "การกระทำ การเคลื่อนไหว แปรปรวน เปลี่ยนสภาพ" ทั้งหมด รวมทั้ง มโนกรรม หรือ "การทำงานทางจิต" ตั้งแต่ การกำเหนิดของจิต การทำงานและกฏเกณฑ์ในการ "อยู่" ของจิต (กฏแห่งกรรม ภพ-ภูมิ) จนถึงการสิ้นสุดยุติแห่งความเป็นจิตลง วิธีที่จะเรียนรู้ในส่วนของ "กรรม" นั้น ผู้เรียนจะต้องอยู่ในส่วนของ "ฐาน" ให้ได้เสียก่อน เพราะ "ฐาน" ในชั้นสุดท้ายจะเป็น "สภาวะรู้" เป็นสภาวะเดียวเท่านั้นที่เรียนรู้สภาวะของ "กรรม" ได้ หากผู้ฝึก พลาดตกออกมาจาก "ฐาน" เมื่อไร ก็จะต้องตกไปอยู่ในส่วนของ "กรรม" เมื่อนั้น และก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า "ทะเลกรรม" นั้นกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีที่สิ้นสุด ครอบคลุมไปหมดทั้ง 3 โลก ดังนั้นผู้ที่จะออกพ้นมาจาก "ทะเลกรรม" ได้นั้น ก็คือผู้ที่อยู่กับฐาน ฝึกในการตั้งฐาน แล้วอยู่กับมันนั่นเอง

    ส่วนของ "กรรมทั้งหมด" จึงย่อมรวมถึง วงจรปฏิจจะสมุปบาท ไตรลักษณ์ แม้กระทั่ง มหาปัฏฐานสูตร (เหตุปัจจัยโย) และ การฝึกฝน มหาสติปัฏฐาน 4 เอาไว้ด้วยกัน และทั้งหมดนี้ เป็นภาคของ "การฝึก-การเรียนรู้" จนกว่าจะ "รู้แจ้งแทงตลอด" ในส่วนของ สังคตะธรรม - Dynamic ที่เรียกกันว่า "สิ้นสงสัยในธรรมทั้งปวง" นั่นเอง

    สภาวะที่อยู่ในส่วนของ "ฐาน-อสังคตะธรรม" (Static)

    สภาวะของ "ฐาน" นั้น หมายเอาสภาวะอันเป็น "ที่ตั้งมั่น" ที่เหมาะต่อการเรียนรู้สภาวะในแต่ละระดับที่เป็นส่วนของ "ทะเลกรรมทั้งหมด" และสภาวะของ "ฐานชั้นสุดท้าย" ก็คือ "ฐานที่พ้นออกมาจากทะเลกรรมทั้งหมด" ที่เรียกกันว่า "ขึ้นฝั่งอสังคตะธรรม" นั่นเอง

    ส่วนของฐาน ที่เป็น Basic ที่ง่ายที่สุด คือ "การระลึก สู่ สภาวะรู้ (อสังขตะธรรม)" ที่เรียกว่า "สติ ที่เป็นอาการชี้เฉพาะไปที่ สภาวะรู้" ไม่ใช่การ "ระลึกจำ" ดั่งทื่เข้าใจกันโดยทั่วไป

    ตรงนี้คือเบื้องต้นของ กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน จนพอเริ่มได้นิสัยและตั้งมั่นได้พอสมควรแล้ว ก็จะรู้ได้ด้วยตนเองว่า ยามใดที่ระลึก รู้ตัว และ "ตั้งอยู่" ได้ อาการ "รู้สึกทั้งตัวทั่วถึง" ก็จะตามมา และตรงนี้จะเป็นอาการของ "สัมปชัญญะ (บรรณ)" และถ้าหาก อาการของ สัมปชัญญะ สามารถทรงตัวอยู่ได้ อาการของ "ปิติในฌาน 2" ย่อมปรากฏมาเอง

    ดังนั้นการฝึกเอา "สัมปชัญญะ" เป็นกาย จึงเป็นการฝึกที่อยู่ใน "สัมมา อัปปนาสมาธิ" มาตั้งแต่ต้น และ สัมปชัญญะกาย นี้ ในกระทู้นี้มักเรียกว่า "กายเวทนา" อันเป็น กายแห่งความรู้สึกตัว นั่นเอง

    (แจงรายละเอียดเพิ่มเติม 17 มค. 2560)​
     
  15. ถวายบูชา

    ถวายบูชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +567
    ใครที่ติดตามกระทู้นี้มานานแล้วหรือปฏิบัติมาพอสมควรแต่ยังไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติและ มีอาการความรู้สึกทั้งตัวเกิดขึ้นได้บ้างแล้วมาลงชื่อเข้าเรียนได้ครับ เพราะมีสอนผ่าน โปรมแกรม Hangouts ทุกวัน ตั้งแต่ 22:00-24:00 ทุกวัน มีเข้าเรียน3-6 คนทุกวัน ถ้าสนใจ ส่งข้อความถึง อาจาร์ธรรมชาติได้เลย
     
  16. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511

    ท่านใดหยั่งทราบเรื่องนี้ด้วยตนเอง
    หรือมีครูบาอาจารย์กำชับ
    เช่นนี้ช่วยยืนยันด้วยครับ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ควรประมาท แต่ควรใส่ใจอย่างยิ่ง
    +++ พระโสดาบัน มีระบุไว้ชัดเจนว่า "พ้นสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส"

    +++ เฉพาะ "สักกายทิฏฐิ" ตรงนี้ ผู้ปฏิบัติในทาง "มหาสติปัฏฐาน 4" ที่สามารถ "ทำความรู้สึกตัวทั่วถึง" ได้แบบ ตจปริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ จนได้นิสัย ก็จะรู้ได้ชัดเจนว่า "มีเวทนากายเป็นตน" พ้นจากการยึดเอา "กายเนื้อ เป็นกายเป็นตน" จากกายเนื้อ กลายเป็น กายเวทนาแทน (ตรงนี้เป็น ดำรงค์สติมั่น รู้ ระดับของกาย ในปัจจุบันขณะ)

    +++ เมื่อได้ "กายเวทนาเป็นตน" ไม่นานก็จะ รู้ ชัดเจนถึงอาการของ "สัมปชัญญะ 4 และ ปิติ 5" ซึ่งมันคือ อาการของ กายเวทนา รวมทั้งการแปรเปลี่ยนของกายจาก ปิติ5 สู่ สุข เอกัคตารมณ์ต่าง ๆ นั่นเอง และจะรู้ชัดเจนว่า กายคือฌาน หรือ ฌานคือกาย ในภายหลัง

    +++ ไม่นาน ก็จะได้ประสพการณ์ของ กายเวทนาที่ทับซ้อนกันอยู่กับกายเนื้อ และรู้จัก "กายในกาย" ตามความเป็นจริง

    +++ สรุปย่อ ๆ ได้ว่า เรื่องของ กายในกาย การกำหนดกายต่าง ๆ จะเป็นที่ "สิ้นสงสัย" ตรงนี้คือ "พ้นวิจิกิจฉา" และรู้ "หลักปฏิบัติของเฉพาะตนเอง" ตรงนี้ "พ้นสีลัพพตปรามาส"

    +++ จากการ รู้ชัด ว่า กายคือฌาน (ในระดับโสดา-สกิทา ยังไม่สิ้นสงสัยในฌาน ในระดับ อนาคา จะรู้ชัดว่า "ตน นี่แหละคือ ฌาน") ตรงนี้ จะทำให้มี "ขีดความสามารถในการ ปรับกาย ได้ในทุกขณะจิต" ให้เป็น กายสัมปชัญญะ หรือเป็น กายของโล่งโปร่งเบา (ฌาน 3) หรือให้เป็น กายแห่งเอกัคตารมณ์ ได้เป็นปกตินิสัย

    +++ ดังนั้น ในยามที่เกิด "กายที่ครองทุกข์เมื่อไร" ผู้ที่สามารถ ปรับกายได้ดั่งปรารถนา จึงสามารถ "ปรับกาย" ให้พ้นจาก ทุกข์ ได้ในทันที ตรงนี้คือ "ปิดอบาย" นั่นเอง

    +++ ที่กล่าวมาโดยคร่าว ๆ นี้ ต้อง "ทำ" เอาเท่านั้นจึงจะ "รู้" ได้ การ "พิจารณาแบบฝรั่ง (ตรรกะ) จะเป็น อจินไตย และ วิปลาส เอาได้ง่าย ๆ" นะครับ

    ที่มา...
    http://palungjit.org/threads/คุณธรรมต้องถึงโสดาบันจึงจะพ้นนรกอบายภูมิ.614008/#post-10442316
     
  17. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    ++ กาย (มนุษย์) เวทนากาย (พลังงานของกายมนุษย์) จิต (กายทิพย์) เวทนาจิต (พลังงานของกายจิต)

    +++ จากความเป็นจริงในทางปฏิบัติ หากผู้ใด "สังเกตุกาย-เนื้อมนุษย์" ที่เรียกว่า "รู้กาย" ได้อย่าง "ครอบคลุมทั้งตัว" โดยไม่ได้ทำเป็นส่วน ๆ หรือ เน้นเฉพาะส่วนแล้ว (กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน) ไม่นานก็จะได้ "ความรู้สึกทั้งตัว" ขึ้นมาเอง ตรงนี้เป็นเรื่องที่ "หนีไม่พ้น" เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่จะต้อง มีมาเอง เป็นมาเอง เมื่อ "เหตุถูก ผลย่อมถูก" ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

    +++ ยามใดที่ยังทรงอาการ "รู้ทั่วทั้งกาย" อยู่นี้ได้ดีเพียงพอ แล้วเกิดอาการ "รู้สึก หนึบ ๆ หยุ่น ๆ อุ่น ๆ หรือ คล้ายกับ สนามพลังงานแม่เหล็ก" เกิดขึ้น "ภายใน" ร่างของกายเนื้อแล้้ว ก็จะรู้ได้เองว่า มันซ้อน ๆ กันอยู่ ตรงนี้เป็นการเริ่มต้นของ "กายในกาย" การฝึกในชั้นนี้ สามารถฝึกในการ "อยู่" กับกายใดกายหนึ่งก็ได้ และจะสามารถ "เลือกกายได้" กายนี้เกิดจาก ความรู้สึกของกายเนื้อ หากฝึกในการ "อยู่" กับกายนี้ ผมเรียกว่า "เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" หรือ "กายเวทนา" นั่นเอง

    +++ แต่ยามใดที่ทรงอาการ "รู้ทั่วทั้งกาย" แล้วเกิดอาการ "เย็น ๆ หรืออุณหภูมิ แตกต่างที่สบายกว่า" เกิดขึ้น "ภายนอก" ร่างของกายเนื้อแล้้ว ก็จะรู้ได้เองว่า มันซ้อนกันอยู่ เช่นกัน และมันก็เป็น "กายในกาย" เช่นกัน และ สามารถฝึกในการ "อยู่" ได้เช่นกัน กายนี้เกิดจาก "สติ" ครอบคลุมอยู่ "ภายนอก" ของกายเนื้อ จนทำให้ "จิต" แฝงมาอยู่นอกกายเนื้อไปด้วย หากฝึกในการ "อยู่" กับกายนี้ ผมเรียกว่า "จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" หรือ "กายจิต" นั่นเอง

    +++ "เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" ตามนัยยะนี้เป็นการ "ตั้งจิต-สติ ไว้ในกาย" ส่วน "จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" ตามนัยยะนี้เป็นการ "ตั้งกาย ไว้ในจิต-สติ" ดังนั้นคงไม่แปลกใจนะครับว่า ทำไมมันจึงไปสอดคล้องกับการฝึกในหมวด "อภิญญา" ในพระไตรปิฏกที่ว่า "ตั้งกายไว้ในจิต หรือ ตั้งจิตไว้ในกาย" แล้วก็อาจจะเป็นเรื่องแปลก ๆ ที่มีหลาย ๆ ท่านกล่าวว่า "การฝึกมหาสติปัฏฐาน เป็น สุขขะวิปัสสโก" ดังนั้น ขอให้เป็นที่ทราบกันไว้เลยว่า ผู้ที่กล่าวเช่นนั้น เป็นผู้ที่ไม่ใด้ "มหาสติ" และยังเป็นผู้ที่ไม่รู้จัก "มหาสติ" อีกด้วย

    +++ ยามใดที่ตั้ง "ตั้งจิต-สติ ไว้ในกาย" ยามที่กายถอดออกมาจะเป็น "กายเวทนา" ส่วนยามใดที่ "ตั้งกาย ไว้ในจิต-สติ" กายถอดออกมาจะเป็น "กายจิต"

    +++ ทั้ง 2 กายนี้ควรฝึกให้ถอดได้ทั้งคู่ เพราะในยามใดที่ "เดินวิปัสสนาเพื่อความหลุดพ้นแล้ว" กายเวทนา จะเป็นเวทีที่มหาสติปัฏฐาน สามารถปักหลักลงไปใน "อรูปสมาบัติ" (โลกียะ) หรือเรียกว่า "กองธรรมารมณ์" (โลกุตระ)(ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน) อันเป็นบ่อเกิดของ อวิชชา ได้โดยตรง และสามารถทำให้รู้จัก "จิตเดิมแท้เป็นประกายประภัสสร" อันเป็น "อาภัสสระพรหม" ที่มีความเก่าแก่ระดับ "ข้ามอสงไขย" เพราะมีขีดความสามารถในการฝ่า "มหันตภัยแห่งประลัยกัลป์" ได้ ดังนั้นผู้ใดมีขีดความสามารถนี้ และล่วงรู้การ "เดินจิต" ให้เข้าสู่สภาวะนี้้ได้้ ก็ให้ทราบไว้เลยว่า "มีขีดความสามารถแบบ พุทธภูมิ ตัวจริง" มาก่อน แล้วมาอธิษฐาน "ลาพุทธภูมิ" ในภายหลัง (ให้สังเกตุ พระป่าสายหลวงปู่มั่นให้ดี เพราะมีหลายองค์ได้กล่าวถึงสภาวะนี้ไว้) ส่วน "กายจิต" เหมาะในการท่องเที่ยวภพภูมิ และ เรียนรู้ "กฏแห่งกรรม" (โลกียะ) ยามที่ มหาสติ ปักหลักในฐานนี้ได้้ ก็จะเห็น "กิริยาจิต" (โลกุตระ) ตลอดจนกระบวนการทำงานของจิตได้ เมื่อเห็นแล้วก็ส่งผลให้ "เกิดความเบื่อหน่ายในจิตตน" จนต้องหาทาง "สิ้นสุดยุติความเป็นจิต" ในภายหลัง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ทั้งทางโลกและทางธรรม ควรฝึกในกายทั้ง 2 นี้ให้ดี จะได้ไม่ต้อง กลับไปกลับมา ในภายหลัง

    +++ เมื่อไปถึงที่สุดแห่ง กาย แล้วก็จะรู้ได้เองว่า "อะไรที่จิตเกาะอยู่ อาศัยอยู่" สิ่งนั้นเรียกว่า "กาย" และยังเป็น กายธาตุทั้งสิ้น (โลกียะ)(สังขตะธรรมทั้งมวล มีความเป็นธาตุทั้งสิ้น) จนกว่า "จิตจะใช้สติเป็นกาย" เท่านั้น จึงสิ้นสุดแห่ง กายธาตุ ทั้งสิ้นได้ (สติในชั้นสุดท้าย "สภาวะรู้" เท่านั้นที่ ไม่มีธาตุใด ๆ ตั้งอยู่ได้ และเป็น อสังขตะธรรม)(โลกุตระ) กายตรงนี้เป็น "วิสุทธิ" จิตที่อยู่กับสภาวะนี้เท่านั้นที่เรียกกันว่า "วิสุทธิเทพ" หรือเรียกกันในอีกนามหนึ่งว่า "ธรรมะกายา" (อย่าเอาไปปนกันกับ ลัทธิ แถว ๆ รังสิต นะ เพราะมันไม่เกี่ยวกับ สภาวะธรรม ในที่นี้)

    Cr..ธรรม-ชาติ
     
  18. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ให้ผู้ที่ฝึกฝนในกระทู้นี้ทุกคน "โดยเฉพาะกลุ่มใน Hangout" ให้ฟัง "โอวาทธรรมของหลวงปู่ผู้เฒ่า พระธุดงค์กลางป่าลึก" จากกระทู้นี้

    http://palungjit.org/threads/โอวาทธรรมของหลวงปู่ผู้เฒ่า-พระธุดงค์กลางป่าลึก.616386/

    +++ เน้นตรง 4.00 - 4.17 เรื่องของ "สภาวะรู้" ที่ถูกต้อง และ "ตัวรู้/ผู้รู้ ที่เป็นกับดัก"

    +++ และจาก 5.53 - 6.50 หรือ ฟังไปจนกระทั่งจบ

    +++ แล้วให้ "map การฝึก รวมถึง การใช้ภาษาในการฝึก" ด้วยว่า "ตรงกันหรือไม่" กับ "โอวาทธรรมของหลวงปู่ผู้เฒ่า พระธุดงค์กลางป่าลึก" จากกระทู้ที่กล่าวมานี้
     
  19. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    รุ่นที่กำลังฝึกรุ่นนี้...กำลังตีตั๋ว ออนทัวร์สนุกสนานทุกวัน....

    มีอะไรให้ฝึกให้เรียนรู้มากมาย...
     
  20. deejaimark

    deejaimark เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,844
    ค่าพลัง:
    +16,511
    กระทู้นี้จะเริ่มต้นที่ ความรู้สึกตัว....
    ทบทวนคะ...

    "อาการของ ความรู้สึกตัว" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"

    วิธี "สร้างความรู้สึกตัว" พร้อมกับ "การบริหารจัดการกับ ความรู้สึก" เบื้องต้น

    วิธีที่ง่ายที่สุดคือ

    1. หายใจเอาลมเข้าปอด ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว
    2. กลั้นลมหายใจไว้เล็กน้อย สิ่งที่จะเกิดในขณะนี้คือ "ความรู้สึกตัว ที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง"
    3. ให้อยู่กับความรู้สึกตัวนี้ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ โดยไม่ให้ความรู้สึกตัวหายไป จากนั้น

    4. หายใจเข้าช้า ๆ หากสังเกตุได้ว่า "ความรู้สึกตัว" นี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ ก็ให้สังเกตุอาการที่เรียกว่า "เพิ่ม" นี้ให้ดี
    5. ทำความ "คุ้นเคย" กับอาการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" หากมี ทั้งสองอาการ

    หากสามารถทำการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" ความรู้สึกตัว ได้ด้วย "ตนเอง" โดยไม่ต้องพึ่ง "ลมหายใจ" แล้ว จึงถือว่า ผ่านในขั้นตอนนี้

    6. ให้ทำการ "เพิ่ม" ความรู้สึกตัว ให้มากที่สุด จนถึงขั้นที่ "ไม่สามารถที่จะเพิ่มได้อีกแล้ว" ก็ให้
    7. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับสูงสุดนี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 100%

    8. ให้ฝึกตรงกันข้ามกับการ "เพิ่ม" ด้วยการ "ลด" ความรู้สึกตัวลง จนหมดไม่มีความรู้สึกตัวเหลืออยู่เลย จากนั้นให้
    9. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับที่ไม่เหลืออยู่นี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 0%

    ควรฝึก "แช่ และ อยู่" กับทั้งระดับ 100% และ 0% ให้ชำนาญ เพราะทั้ง 2 ระดับนี้ ล้วนมีความสำคัญในอนาคตทั้งคู่ โดยที่ ระดับ 100% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ฌาน" และระดับ 0% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ว่าง" หรือ "รู้" โดยตรง

    ส่วนระดับอื่น ๆ ที่อยู่ในระหว่าง 0% - 100% นั้น จะเป็นเรื่องของ การปรับระดับความรู้สึกตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับ มิติ รวมทั้งการ ศึกษาเรียนรู้ "ด้วยระบบ การจูนคลื่นความถี่ แห่งความรู้สึกตัว" ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...