สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    131 ปี หลวงพ่อวัดปากน้ำ


    10 ตุลาคม 2558
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ตุลาคม 2015
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]



    ร้อนด้วย ราคะ โทสะ โมหะ นั้นสำคัญนัก อันนี้จะแก้ไขวันนี้ ว่าเกิดมาจากไหน ราคะ โทสะ โมหะ เกิดมาจากจักขุบ้าง รูป บ้าง ความรู้ทางจักขุบ้าง ความสัมผัสทางจักขุบ้าง มันเกิดมาทางนี้ ต้องแก้ไขทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทาง ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะทั้ง ๖ นั้น

    ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้น ดับหมด พอหยุดได้เสียอันเดียวเท่านั้นก็ดับหมด พอหยุดได้เสียก็เบื่อหน่าย เบื่อหน่ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เบื่อหน่ายในทางความรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายในทางสัมผัส

    ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายหมด ต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ฯ

    อะไรเป็นมรรค อะไรเป็นผล อะไรเป็นนิพพาน มรรคผลนิพพานกายธรรมอย่างหยาบ กายธรรม โคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตต์ อย่างหยาบนั่นแหละ เป็นตัวมรรค กายธรรมอย่างละเอียด นั่นแหละ แล้วนิพพานล่ะ ธรรมที่ทำให้เป็นกายโคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตต์ พอถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ก็ถึงนิพพานกัน นิพพานอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่มี

    ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ ก็ไปนิพพานไม่ได้ ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม ตัวนิพพานเป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม เขาก็ดึงดูดกันรั้งกันไปเอง เหมือนมนุษย์ในโลกนี้ คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน คนอยากจนก็

    เหนี่ยวรั้งคนอยากจนไปรวมกัน นักเลงสุรามันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงสุราไปรวมกัน นักเลงฝิ่นมันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงฝิ่นไปรวมกัน

    ภิกษุก็เหนี่ยวพวกภิกษุไปรวมกัน สามเณรก็เหนี่ยวพวกสามเณรไปรวมกัน อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวมกัน อุบาสิกาก็

    เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวมกัน มีคล้าย ๆ กันอย่างนี้ แต่ที่จริงที่แท้เป็นอายาตนะสำคัญ อายตนะดึงดูดเช่น โลกายาตนะ

    อายตนะของโลกในกามภพ อายตนะของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกาม คือ กามภพ รูปภพ อายตนะรูปพรหมดึงดูด

    เพราะอยู่ในปรกครองของรูปฌาณ อายตนะดึงดูดให้รวมกัน อรูปภพ อายตนะของอรูปพรหม อรูปฌาน ดึงดูดเข้ารวมกัน

    อตถิ ภิกขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง เมื่อหมดกิเลสแล้ว นิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้นให้รู้จักหลักจริงอันนี้ก็เอาตัวรอดได้ ฯ
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]

    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ทำๆไป มันหายไป หรือบางทีไม่มั่นคงเห็นๆหายๆ
    ข้อนี้ก็เพราะว่า ในชีวิตประจำวันของเรา เราปล่อยใจให้ เผลอสติให้
    ไปยึดมั่นถือมั่น ในสรรพสิ่งทางโลก ด้วย ตัณหา และทิฐิมากไป เผลอสติมากไป
    ด้วยความกิเลสประเภทโลภะ โทสะโมหะ ของเรา เมื่อมันเข้าไปยึดมั่น
    โดยที่เราไม่เข้าไปรวมใจไปหยุดบ่อยๆเนื่องๆแล้วนั้นแหละ
    ไอ้คุณธรรมหรือธาตุธรรมของเรา มันก็ถูกปิดบังโดยฝ่ายบาปอกุศล
    ซึ่งเขาสอดละเอียดมา เป็นดึงดูด ออกจากศูนย์ ย่อยแยกธาตุธรรมให้กระจายออก รวมกันไม่ติด

    อาตมาจะพูดเฉพาะนิดเดียว ในวิชชา แต่ว่า นั้น เป็นอวิชชาของภาคดำ
    วิชชาของภาคขาว นั้น จะต้องนำเข้ามาสู่ศูนย์กลาง แล้ว ก็รวมธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ เข้าไปถึงสุดละเอียด
    เพื่อเข้าถึงธรรมขาว และมีสภาวะที่เป็นการกำจัดธรรมดำ นี้มันจะต้องเป็นอย่างนั้น
    เพราะฉะนั้นท่านจึง ต้องพึงพิสดารกายอยู่บ่อยๆเสมอ ไปสู่สุดละเอียด และจรดใจอยู่ที่สุดละเอียด
    ยิ่งทำสูงขึ้นไปถึงอายาตนะนิพานเพียงใด หยุดไปที่สุดละเอียดของพระนิพพาน
    หรือธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดที่เราเข้าถึงได้ นั้นแหละ เรียกว่า มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ตกกระแสพระนิพพาน อาการเป็นอย่างนั้น แต่ต้องทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ เมื่อทำบ่อยเพียงใด
    เราก็ตกกระแสมากเพียงนั้น ใจเราก็บริสุทธิ์มาก
    มันต้องทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ เดินยืนนั่งนอน เราต้องทำเสมอ ที่นี้อาการที่ทำนั้น
    มีเคล็ดลับต่อไปว่า เราต้องไม่ลืมพิจารณาสติปัฏฐานสี่ นะ กิเลสของเรา ทุกเมื่อ
    ไม่ว่าใจเราออกนอกกายไปทำงานทำการ พบเพื่อนฝูง พบอารมณ์ที่ไม่งาม ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง
    นี่ เราต้องรีบหลบ เข้าไปในที่ปลอดภัย คือกลางของกลางที่สุดละเอียดอยู่เสมอ
    นี่เราต้องทำ เมื่อมันทำอย่างนี้แล้วก็ ธาตุธรรมเราก็แก่กล้า
    ด้วยความที่มันจะเผลอสติไปบ่อยๆ ก็ลดลง ลดลง มันเป็นอย่างนี้ แล้วที่นี้
    ในขณะที่เราพิสดารอยู่เสมอ เดินยืนนั่งนอน จำไว้ทุ่มไปสุดใจ
    อันนี้ก็เป็นเคล็ดลับเหมือนกัน ธรรมะจะเป็น จำไว้นะ
    เห็นดวงให้หมุดเข้าไปเห็น ณ ภายใน อย่างมองเห็นอย่างนี้ อย่างดูอย่างนี้ หรืออย่างดูจากนี่ไปนี่
    แต่เบื้องต้น มันทำไม่เป็น มันจะต้องดูอย่างนี้
    บางคนก็สอนเห็นองค์พระ เห็นเศียรก่อน มันไม่ใช่ มันเป็นเบื้องต้น นึกให้เห็นอย่างนั้น มันเป็นเบื้องต้น
    แต่คนเป็นแล้วนึกให้เห็นหมดทั้งดวง นึกให้เห็นหมดทั้งองค์พระ นี่เบื้องต้นนะ
    แต่เบื้องกลาง เบื้องปลาย ถ้ามันเห็น ใสขึ้นมา นึกเข้าเป็นเห็นศูนย์กลางจำไว้
    มุดเข้าไปเห็นศูนย์กลาง ใจก็หยุดเข้าไปข้างใน หยุดในหยุดกลางของหยุดในหยุด
    เห็นดวงใหม่ มุดเข้าไปในศูนย์กลางใหม่เข้าไปอีก มันก็ละเอียดเข้าไป
    ใจก็หยุดแน่น เมื่อเห็นกายในกาย ที่พิสดารกายไม่ขึ้น จรดนิ่งๆ
    อย่าใจร้อน จรดนิ่งๆ อย่าใจร้อน ประเดี๋ยวเดียว พอเขาขึ้นมา ดับหยาบไปหาละเอียด
    ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธาตุธรรมที่ละเอียดๆ เป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อไป ที่สุดละเอียด ใจจรดอยู่นั้นนิ่งไม่เลิกไม่รา

    เดินอยู่ ก็ครึ่งหนึ่งของใจ ถ้าเราทำงานก็ลดเหลือ1 ใน 4
    ถ้าเผลอสติไปมีสติรู้เมื่อไร ว่างเมื่อไรทำใหม่ อยู่อย่างนั้น ใจก็สะอาด
    มันก็พิสดารขึ้นเรื่อย แต่ต้องทุ่ม ใจต้องจรด นะ หยุดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่ตลอดเวลา ขึ้นมา ตลอดเวลาจึงจะได้
    จึงจะชนะธาตุธรรมภาคดำ แล้วก็ชนะแบบว่า ขาดลอยอีกด้วย

    แต่ว่าบางทีถ้าเราเผลอเมื่อไหร่เราก็โดนป๊อกลงไปเมื่อนั้น
    มานั่งธรรมทั้งหมดต้องเข้าใจอย่างนี้
    แล้ว เมื่อเราเข้าไปสุดละเอียดธาตุธรรมที่สุดละเอียดเมื่อไหร่
    ภาคผู้เลี้ยง ผู้สอด ผู้ส่ง ผู้สั่ง ผู้บังคับ ผู้ประครองถึงต้นธาตุต้นธรรมของเราก็จะเชื่อมถึงกันหมด
    บุญศักดิ์สิทธิ์บารมีรัศมีกำลังฤทธิ์ อำนาจสิทธิเฉียบขาด
    ซึ่งเป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ของต้นธาตุต้นธรรมก็ส่งถึงเรามากเท่านั้น
    เมื่อส่งถึงเรามากเราก็มีโอกาสบำเพ็ญบารมีมากทำความดีได้มาก
    เมื่อทำความดีได้มาก ภาคผู้เลี้ยงเค้าก็จะเก็บเหตุฝ่ายบุญฝ่ายกุศลทับทวีกลับไปยังต้นธาตุต้นธรรมให้มีกำลังสูงขึ้น
    เมื่อมีกำลังทับทวีสูงขึ้นเพียงไรเราก็มีสิทธิอำนาจในการบำเพ็ญบารมีช่วยตนเองช่วยผู้อื่นได้มากเพียงนั้น
    เข้าใจละยังที่นี้ต้องทำอย่างนี้ เมื่อเข้าไปสุดละเอียดแล้วเราจึงจะรู้ว่าหน้าที่สำคัญของเรา
    มันหน้าที่ช่วยตัวเองด้วยและช่วยสัตว์โลกอื่นด้วย ไม่ใช่หน้าที่เอาตัวรอด
    หน้าที่เอาตัวรอดนั้นถูกมารเค้าหลอก หลอกเอาไปเข้านิพานเฉยๆ
    สบายอยู่ในนั้นเลยไม่ต้องทำอะไร ไม่เกิดไม่แก่ ไม่เจ็บไม่ตายอยู่นั้น ช่วยใครก็ไม่ได้แล้ว
    ช่วยได้ระหว่างที่ตนมีชีวิตอยู่ เข้านิพานก็เลยจุ่มปุ๊กอยู่นั้น
    แต่ก็สบายก็ยังดีแต่นั้นมารเค้าปัดไปนิดนึงถูกหลอก
    แต่จริงๆแล้วหน้าที่แต่ละคนหรือแต่ละสัตว์โลกช่วยตัวเองด้วยและช่วยผู้อื่นด้วยให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
    แต่ถ้าบำเพ็ญบารมีให้สูงขึ้นไปสูงขึ้นไปมันรู้จิตรู้หน้าที่ของเรามากยิ่งกว่านั้น
    นั้นก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวใครเข้าไปรู้แค่ไหนเข้าใจนะ

    วันนี้ก็เลยเล่าให้ฟังเรื่องทั้งหมดเพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจความเป็นมา
    และความที่เราจะต้องเป็นไปเพื่อจะได้ทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ
    ด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยสติปะฐานทั้งสี่ กายเวทนา จิตธรรม
    เพื่อละธรรมดำยังธรรมขาวให้เจริญ เมื่อยังธรรมขาวให้เจริญแล้วสัมมาวายาโมก็เจริญ
    ความเพียรชอบในสี่สถาน เมื่อมันเจริญขึ้นนั้นแหละ สัมมาวายาโมเจริญขึ้น
    สติปัฏฐานสี่ก็ชัดเจนขึ้นเจริญขึ้น อิทธิบาทสี่ อินทรีห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ดมันก็เจริญตาม
    ไปตามอย่างนั้นและนี่แหละองค์ธรรมเครื่องตรัสรู้และมรรคแปดก็เกิดแล้วเจริญขึ้นตามส่วนของแต่ละคน
    มันเจริญขึ้นมาจากธาตุธรรมนะจะบอกให้ จากธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้นะ
    ถึงได้ว่าเป็นบุญเป็นบารมีและเป็นอุปบารมี ปรมัตถบารมี
    เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายต้องบำเพ็ญทั้งทานทั้งศีลภาวนาอย่าให้ขาดเกิดมาจะได้ไม่เสียชาติเกิด
    แล้วก็ไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาได้ยินได้ฟังได้เรียนรู้ได้ปฏิบัติ
    เฉพาะฉะนั้นท่านทั้งหลายได้เข้าใจวิธีปฏิบัติแล้ว เอาละเราเตรียมนั่งกัน


    พระเทพญาณมงคล
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]



    ในโลกนี้เขาเรียกว่าละครโรงใหญ่
    เล่นฝุ่น เล่นทราย เล่นแปลก ๆ ไปตามหน้าที่
    เอาจริง ๆ แท้ ๆ ไม่ได้สักคนหนึ่งขึ้นไป แล้วก็ตายกันหมด
    เอาจริงเอาแท้เหลือสักคนหนึ่งก็ไม่มี เพราะเหตุอะไรเล่า
    เพราะเหตุว่าเลินเล่อเผลอตัวไป
    มนุษย์โลกนี้ เราผ่านไปผ่านมาเข้าใจว่าเป็นบ้านของเราเมืองของเราเสียใหญ่โตมโหฬารทีเดียวเข้าใจเสียอย่างนั้นก็เข้าใจผิดไป


    -พระมงคลเทพมุนี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    ‪#‎เมื่อนั่งสมาธิกำหนดเห็นแสงสีขาวและสีต่างๆเมื่อเพ่งแล้วลอยหายไปควรทำเช่นไร‬

    ตอบ :: กำลังจะได้ที่ อย่าอธิบายว่าอะไรเป็นอะไรเลย จะบอกคำแนะนำวิธีปฏิบัติเลย

    ถ้าใครเห็นแสงเฉยๆอยู่ภายนอก หรือเห็นดวงเฉยๆอยู่ภายนอก แล้วหายไป จะเป็นสีอะไร ปล่อย จงปล่อยเลย อย่าสนใจ ให้เหลือกตากลับนิดๆ กำหนดเป็นจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางกายไว้ ค่อยๆนึกให้เห็นดวงใส ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น ใจเย็นๆ หยุดในหยุดกลางของหยุด แต่อย่าเพ่งแรง ถ้าเพ่งแรงแล้วหาย

    นึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงในน้ำ ถ้ากดแรงเกินไป ก็จะกลิ้งหลุดมือ แต่ถ้ากดค่อยเกินไป ก็ไม่จมลง ต้องกดเบาๆ ตรงศูนย์กลางพอดีๆ

    เหมือนเมื่อครั้งพระอานนทเถรเจ้า ปฏิบัติธรรมเกือบตาย เพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า จะบรรลุธรรมก่อนการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๑ หนึ่งวัน พอถึงวันทำสังคายนา พระมหาเถระที่จะประชุมทำสังคายนา ได้ให้จัดอาสนะเตรียมพร้อมไว้ให้พระอานนท์ ท่านปฏิบัติเต็มที่ แต่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน สังขารของท่านเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า จากการจัดงานถวายพระเพลิง สังขารไม่สบาย จิตใจจึงไม่สงบ ท่านจึงฉันยาระบาย สันนิษฐานว่า เป็นสมอดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฉันแล้วระบายท้อง ระบายท้องแล้วสบายตัว ดึกแล้ว เอนกายในท่าพอเหมาะพอสบาย ก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานทันที ตื่นเช้าขึ้นมา แสดงตนในที่ประชุมสงฆ์ทำสังคายนา ด้วยวิธีปรากฏตัวขึ้นโดยไม่ต้องเดินมาให้เห็น เพื่อแสดงความเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทา เพราะการทำปฐมสังคายนานั้น อาราธนาแต่เฉพาะพระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทาทั้งสิ้น เพราะทรงจำข้อธรรมต่างๆ ได้ด้วยระลึกเหตุการณ์ และเห็นแจ้งในพระธรรมได้ด้วยพระญาณ

    พระอรหันต์ประดับด้วยอภิญญาปฏิสัมภิทาญาณนั้น ก็คือ

    ‪#‎อัตถปฏิสัมภิทาญาณ‬

    ‪#‎ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ‬

    ‪#‎นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ‬

    ‪#‎ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ‬

    คือ ญาณหยั่งรู้ในเหตุ ไปถึงต้นๆเหตุและผล และรู้ภาษาหลายภาษา แม้กระทั่งภาษาสัตว์ และรู้การโต้ตอบปัญหาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น ตรงไหนควรย่อ ตรงไหนควรขยาย พระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทาญาณ มีอภิญญาด้วย มีญาณหยั่งรู้ เมื่อมี ๔ อย่างนี้ คุณธรรมมีเพียบเลย ไม่ใช่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ หรือ สุกขวิปัสสโก เช่นพระเดชพระคุณพระเทพวิสุทธิโสภณท่านได้ยกตัวอย่าง ท่านพระจักขุปาล เทวดาเดินมา ท่านก็ยังไม่ทราบว่าเป็นเทวดา ต่อเมื่อท่านกำหนดจิตดู สังเกตุได้ว่านี่ไม่ใช่คนธรรมดา แต่เป็นพระอินทร์ เป็นท้าวสักกเทวราช แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์จตุปฏิสัมภิทาญาณ โผล่มาก็รู้ก็เห็นได้เลย หรือไม่มาก็รู้ได้เลย

    คำตอบที่ว่า เมื่อเพ่งไปที่จุดเล็กแล้วหายไป คงจะเข้าใจดีว่าต้องมีความพอดี อย่าเพ่งแรง อย่าอยากเห็นเกินไป นั่นเป็นอุปกิเลสของสมาธิ ระวังจิตใจอย่าให่ฟุ้งซ่านเผลอออกไป ก็จะจืดจางจากความเป็นสมาธิ ปล่อยใจให้ดิ่งลงที่กลางของกลางจุดเล็กใส ณ ศูนย์กลางกายเลย ปักดิ่งไม่ถอน ให้ปักดิ่งแต่ต้องเบาๆ สบายๆ ไม่เคร่งครัดเกินไป ดังที่หลวงพ่อท่านว่า "ต้องให้ถูกศูนย์ ถูกส่วน" แล้วจะได้ที่

    เพราะฉะนั้น เรื่องอื่นไม่อธิบายละเอียด นึกกำหนดศูนย์กลางทุกอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน เดี๋ยวติดเห็นใสสว่างเลย อย่างนี้ไม่ช้า

    ..........................
    ..........................
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    พุทธวิธีแก้จน


    ความฝืดเคืองในภพชาติต่อไปจะหมดสิ้นไป
    ด้วยมหาทานบารมีที่เราสั่งสมกันอย่างสม่ำเสมอ
    แต่ถ้าหากใครทำไม่สม่ำเสมอ
    สมบัติก็จะมาเป็นช่วง ๆ เป็นตอน ๆ
    เราประกอบเหตุอย่างไร ผลก็เป็นอย่างนั้น
    เพราะในชีวิตของสังสารวัฏมีแต่เรื่องเหตุกับผล
    ประกอบเหตุอย่างนี้ ผลก็ต้องเป็นอย่างนั้น
    ที่มีผลอย่างนี้เพราะประกอบเหตุจากสิ่งโน้น
    มีแต่เรื่องเหตุเรื่องผลทั้งนั้น
    ไม่ใช่เรื่องงมงายเลย




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]


    [​IMG]





    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG][​IMG]
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    เจริญภาวนาและพิจารณาสภาวะธรรม


    https://youtu.be/vdjI0QViqeM


    โดย พระเทพญาณมงคล เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]

    “..... ให้ตั้งใจไว้ตรงกลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม
    อันนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) กำหนดฐานที่ตั้งใจไว้...สำคัญนัก
    เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งของ ธรรมในธรรม ฝ่ายบุญฝ่ายกุศล
    และก็ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต
    คือ ทั้งธรรม และกาย และใจ...ตั้งอยู่ตรงนั้น
    ณ ภายในมีเท่าไร สุดละเอียดเพียงไหน...อยู่ตรงนั้น ถึงนิพพานทีเดียว

    เพราะฉะนั้น ท่านให้เอาใจไปจรดไว้ตรงนั้น
    ที่นี้ ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อยู่เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ
    ถ้าท่านหายใจเข้าออก ท่านจะพบว่า...ลมหายใจเข้าไปจนสุดนั้น
    สุดตรง ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ พอดี
    และก็ตั้งต้นหายใจออกตรงนั้น เป็น “ต้นทางลม” และก็เป็น “ปลายทางลม” หายใจเข้าออก
    ตรง ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ พอดี
    ใจหยุดก็ต้องไปหยุดตรงนั้น เขาเรียกว่า “กลางพระนาภี”



    พระพุทธเจ้าทรงสอน “อานาปานสติ”
    เมื่อลมหยุด ก็ไปหยุด... “กลางพระนาภี”
    ถึงให้กำหนดใจกี่ฐานๆ ก็แล้วแต่
    สำหรับผู้ทำอานาปานสติ กำหนดที่ตั้งสติลมหายใจผ่านเข้าออก
    ทาง ปากช่องจมูก หรือ ปลายจมูก
    ที่ ลำคอ
    และที่ กลางพระนาภี
    นี่อย่างน้อย ๓ ฐาน … เขามักจะกำหนดกัน

    กำหนดอานาปานสติ ๓ ฐาน เป็นอย่างน้อย
    กำหนดอะไร กำหนดสติ รู้ลมหายใจเข้าออก...กระทบอย่างน้อย ๓ ฐาน นี้สำหรับผู้ปฏิบัติทั่วไป
    แต่เมื่อลมละเอียดเข้าไป ๆ ๆ แล้ว โดยธรรมชาติลมหายใจมันจะสั้นเข้า ๆ ๆ ละเอียดเข้า
    ทรงสอนว่า ลมหายใจเข้าออก ... พึงมีสติรู้
    ลมหยาบ ลมละเอียด ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น ... พึงรู้ มีสติรู้




    จนถึงลมหยุด ... หยุดที่ไหน ?
    หยุดที่ “กลางพระนาภี”


    หยุดกลางพระนาภี ก็คือ ศูนย์กลางกายนั่นแหละ
    ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก หรือ ที่ตั้งต้น

    หรือจะเรียกว่า “ต้นทางลม” หรือ “ปลายทางลม” ... ก็แล้วแต่จะเรียก



    จริงๆ แล้ว อยู่ตรงกลางกาย...ตรงระดับสะดือพอดี
    ที่หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖





    แต่ว่า ... ถ้าว่าเอาใจไปจรดตรงนั้นนะ
    จะไม่เห็น ธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้ชัด


    เพราะเหมือนอะไร ?
    เหมือนเอาตาแนบกระจก ไม่เห็นเงาหรือภาพข้างใน ... ฉันใด


    หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) ก็เลยให้ขยับ “เห็น จำ คิด รู้” คือ “ใจ”
    ที่ตั้ง “เห็น จำ คิด รู้” ให้สูงขึ้นมา ... เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ

    เหมือนเราขยับสายตาเรา...ห่างจากกระจก เราจะเห็นเงาได้ชัดเจน






    ประกอบกับดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายและใจ
    มีธรรมชาติ หรือ อาการเกิดดับ...ตามระดับจิต หรือ ภูมิของจิต
    คือ เมื่อจิตสะอาดยิ่งขึ้นจากกิเลส จิตดวงเดิมก็ตกศูนย์
    จาก “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ลงไปสู่ “ศูนย์กลางฐานที่ ๖”
    ธรรมในธรรม ที่ใสบริสุทธิ์ ซึ่งมีจิต หรือ จิตในจิตซ้อนกันอยู่...ที่ใสบริสุทธิ์กว่า
    ก็ลอยเด่นขึ้นมา “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ... แล้วก็ทำหน้าที่ของตนไป


    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...
    เมื่อสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น
    จิตดวงเดิม ... จะตกศูนย์
    จิตดวงใหม่ ... ลอยเด่นขึ้นมาตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ... เพื่อทำหน้าที่ต่อไป



    ตรงนี้นักปริยัติบางท่านก็เข้าใจว่า…จิตเกิดดับ
    แต่เกิดดับอย่างไร...ไม่รู้ เพราะไม่เคยเห็น
    และยังมีบางท่าน...ที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีก
    บอกว่า จิตเดิมแท้ๆ ไม่ได้เกิดดับนะ
    ที่เกิดดับนั้น มันเฉพาะ...อาการของจิต ที่มีกิเลสของจรมาผสม
    หรือว่า มีบุญเข้ามาชำระกิเลสนั้น จิตก็เปลี่ยนวาระ เป็นอาการของจิต คือถูกทั้งนั้น


    แต่ว่า อาการของจิตที่เกิดดับตรงนั้น มันมาปรากฏตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”
    หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) ก็เลยกำหนดที่เหมาะๆ
    สำหรับที่ควรเอาใจ ... ไปหยุด ไปจรด ไปนิ่ง ตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”
    อันเป็น “ที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม”
    เป็นที่ตั้งของ กายในกาย จิตในจิต และ ธรรมในธรรม



    อาตมาพูด “จิตในจิต” ให้พึงเข้าใจว่า
    รวมทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ...เข้าด้วยกัน

    ที่ หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) กำหนดไว้ เพื่อให้เข้าพิจารณาเห็น
    กาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ... ไปสุดละเอียด
    เป็นตัว “สติปัฏฐาน ๔” ไปจนถึง ... “นิพพาน”
    และเป็นตัวชำระกิเลส ณ ที่ตรงนั้น ด้วยหยุดในหยุด กลางของหยุด
    เพราะ ถูกกลางของกลางธรรมในธรรม
    ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป เป็นการละ หรือ ปหานอกุศลจิตเรื่อยไป
    จึงมีสภาวะที่เป็น “นิโรธ” ดับสมุทัย






    * ที่มา
    นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๑๘
    ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๓
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]




    พระพุทธเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นใหญ่ในสมบัติทั้งหลา
    <WBR style="TEXT-ALIGN: left; WIDOWS: 1; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 15px/18px helvetica, arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(20,24,35); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px">ยทั้งปวง ในวิชชาธรรมกาย พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปทร
    <WBR style="TEXT-ALIGN: left; WIDOWS: 1; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 15px/18px helvetica, arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(20,24,35); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px">งเครื่องเยี่ยงกษัตริย์ พระจักรพรรดิจะซ้อนอยู่ในกล
    <WBR style="TEXT-ALIGN: left; WIDOWS: 1; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 15px/18px helvetica, arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(20,24,35); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px">างพระพุทธเจ้าที่เป็นพระนิพ
    <WBR style="TEXT-ALIGN: left; WIDOWS: 1; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 15px/18px helvetica, arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(20,24,35); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px">พานธาตุ เมื่อวิชชาละเอียดลุ่มลึกไป
    <WBR style="TEXT-ALIGN: left; WIDOWS: 1; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 15px/18px helvetica, arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(20,24,35); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px">ถึงระดับพระนิพพานธาตุแล้ว เดินวิชชาต่อไปจะพบพระจักรพ
    <WBR style="TEXT-ALIGN: left; WIDOWS: 1; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 15px/18px helvetica, arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(20,24,35); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px">รรดิซ้อนสลับกับพระธรรมกายนิพพานธาตุ สลับกันอย่างนี้
    และพระจักรพรรดินี้เป็นผู้เลี้ยงผู้รักษาหล่อเลี้ยงกาย
    <WBR style="TEXT-ALIGN: left; WIDOWS: 1; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; FONT: 15px/18px helvetica, arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; COLOR: rgb(20,24,35); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px">นั้น ๆ คู่กันไปกับกายทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด
    มีบริวารคือ กายสิทธิ์และรัตนะเจ็ด อันทรงมหิทธานุภาพ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 พฤศจิกายน 2015
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    [​IMG]



    คุณและ/หรืออานุภาพของการศึกษาและปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า นี้กล่าวโดยย่อ จากข้อมูลผู้ปฏิบัติได้ผลดี มีดังนี้

    ๑. เป็นวิธีการเจริญจิตตภาวนา ที่ให้สามารถเจริญอภิญญา คือ ความสามารถพิเศษ ได้แก่ ทิพพจักขุ ทิพโสต ได้ดี อันนำไปสู่การเจริญวิชชา ๓ วิชชา ๘ คุณเครื่องช่วยให้เจริญปัญญา (วิปัสสนาปัญญาและโลกุตรปัญญา) ด้วยการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น เป็นปัจจักขสิทธิญาณ ปัญญาเครื่องรู้เห็นความสำเร็จโดยประจักษ์แจ้ง (ด้วยตน) ตามรอยบาทของพระพุทธองค์ ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    ๒. "ธรรมกาย" คือ ประชุมแห่งคุณธรรมของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ และ/หรือของพระอริยสงฆ์อริยเจ้าทั้งหลาย อันให้สามารถเจริญวิชชาและอภิญญาตามรอยพระพุทธองค์ได้ จึงเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ปฏิบัติได้เข้าถึง ได้รู้-ได้เห็น และได้เป็นธรรมกาย (ตั้งแต่ได้โคตรภูญาณขึ้นไป) ได้ชื่อรวมว่า "วิชชาธรรมกาย" ซึ่งหมายถึง คุณธรรมของพระพุทธเจ้า/พระอริยเจ้า ที่สามารถเจริญวิชชา ๓ วิชชา ๘ อันประกอบด้วยอภิญญาได้ ตามระดับภูมิธรรมที่แต่ละท่านปฏิบัติได้

    เพราะฉะนั้นจึงอาจมีผู้เคยได้ยินว่า ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกาย ผู้มีญาณแก่กล้าเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง ช่วยชาติบ้านเมืองที่มีปัญหาวิกฤตต่าง ๆ ให้ผ่อนหนักเป็นเบาบางลง เป็นการปิดทองใต้ฐานพระ อยู่เงียบ ๆ รู้กันอยู่เฉพาะผู้เจริญวิชชาด้วยกันเท่านั้น

    พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖). วิเคราะห์วิธีปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกายที่หลวงพ่อวัดปากน้ำปฏิบัติและสอน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. ราชบุรี: ม.ป.ท, ๒๕๔๘.

    ....
    เพจวิชชาธรรมกาย
    เพื่อการเผยแผ่วิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสั่งสอนและถ่ายทอดไว้
    www.facebook.com/pagedhammakaya
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    #การบำเพ็ญคุณความดีเพื่อให้ถึงดวงปฐมมรรคเร็วขึ้น

    ผู้รู้ที่ประสงค์ที่จะประพฤติปฏิบัติภาวนาธรรม ให้ถึง ให้เห็น ให้ถึงดวงปฐมมรรคเร็ว ก็ต้องบำเพ็ญคุณความดี อันได้แก่ ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ให้เพิ่มมากขึ้น

    ทานกุศลนั้น บำเพ็ญเพื่อชำระความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ความยึดมั่นถือมั่น ความโลภ ตลอดทั้งตัณหา ราคะ ให้หมดไปจากจิตใจ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

    ในส่วนของทานกุศลนี้ เป็นเครื่องชำระกิเลส ประเภทความเก็นแก่ตัว ประเภทความโลภ ประเภทตัณหา ราคะ ประเภทความยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาและทิฏฐิให้เบาบางลง แปลว่า ให้รู้จักละ รู้จักวาง เมื่อละวางได้มากเท่าใด ใจก็ว่างได้มากเท่านั้น นี้ในส่วนของทานกุศลแต่อย่างเดียว เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทนงบำเพ็ญบารมี คือ ทานกุศล เป็นทานบารมี อุปบารมี และ ปรมัตถบารมี เป็นเบื้องต้น และเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง

    ส่วนศีลกุศลนั้น เป็นเครื่องป่องกัน หรือเครื่องกลั่นกรอง ความประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน

    เพราะฉะนั้น ผู้ใดรักษาศีลบริสุทธิ์อยู่เสมอ กาย วาจา ใจ ก็สะอาดบริสุทธิ์ จิตใจก็อ่อนโยน ที่จะอบรมให้หยุด ให้นิ่ง ได้โดยง่าย เพราะไม่ต้องเดือดร้อนด้วยเวรภัย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากความประพฤติผิดศีล อปลว่า ผู้รักษาศีล จิตใจก็สงบ กายวาจาก็สงบ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ใจได้รับการอบรมให้สงบระงับ ได้โดยง่าย

    ส่วน ภาวนากุศล ต้องทำบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ละเว้นเสียกลางคัน ด้วยใจรัก ด้วยความเพียร ด้วยความต่อเนื่อง ด้วยมีสติพิจจารณาในเหตุ สังเกตุในผล ปรับจิตใจของตนให้หยุดให้นิ่ง ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้สามรถทำทุกอิริยาบท คือ เดิน ยืน นั่ง และนอน ยามเมื่อว่างจากภาระกิจการงาน ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางของกลางตรงจุดเล็กใส บริกรรมภาวนาว่า " สัมมาอะระหังๆๆๆ " ไว้มากๆ ต่อเนื่องไปมากๆ ศีลกุศลก็จะเจริญขึ้นด้วย ใจก็จะได้รับการฝึกอบรม ให้หยุด ให้นิ่ง ได้โดยง่าย หรือที่เรียกว่าจิตจะเป็นเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิาง แม้ก่อนนอน ถ้าก่อนนอนท่านก็ยังบริกรรมนิมิต บรกรรมภาวนาคู่กันไปจนหลับ ก่อนจะหลับจิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใสสว่าง ท่านสามารถจะเห็นได้โดยง่าย และอาศัยอารมณ์เช่นนั้น ก่อนจะหลับก่อนจะตื่นเหมือนกัน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย และใจนั้น จะลอยเด่นขึ้นมาที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ท่านสามารถจะเห็นได้โดยง่าย เมื่อเห็นได้ง่ายแล้ว ท่านก็อาศัยอารมณ์นั้น มาใช้บริกรรมต่อไป ไม่ช้าท่านก็ถึงดวงปฐมมรรคได้

    .........................
    .........................
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม




    [​IMG]
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    โอวาทหลวงปู่วัดปากน้ำ ตอนที่ 69

    หัวหน้าเวรในโรงงานทำวิชชา ก็จะมี 1 ยายปุก 2 พี่ละมัย 3 พี่ญาณี 4 พี่หลวย(ฉลวย สมบัติสุข) 5 พี่ตรีธา 6 ยายหนอม (มาจากในวัง)
    หลวงพ่อจะถามบุคคลเหล่านี้บ่อย
    ส่วนน้าสุก (ทองสุข) เป็นฝ่ายเผยแผ่สอนธรรมะที่ข้างนอก แล้วพอคนได้ธรรมะเชี่ยวๆ ก็จะส่งเข้ามาให้หลวงพ่อในโรงงาน
    น้าเธียร พี่ฉลวยก็เป็นลูกศิษย์ของคุณยายทองสุขทั้งนั้น เจ๊จันทร์หรือแม่ชีจันทร์ก็เป็นลูกศิษย์ของพี่สุกเหมือนกัน
    เตียงขาดรู้สำหรับ คนที่นั่งธรรมะขาดรู้
    ขาดรู้ หมายความว่า เราได้ธรรมะขั้นละเอียด จะละเอียดชัดใส ใสในใส จนแจ่มแจ้งชัดเจนหมด แล้วก็ปล่อยวาง ธาตุธรรมสะอาด เข้ากลางของกลาง เข้าหาต้นของต้น จนไปสับซ้อนอยู่ในนิพพาน เห็นนิพพานชัดเจน รู้เรื่องนิพพานหมด แต่เราไม่สนใจกายมนุษย์ กายมนุษย์จะอยู่ในสภาพไหน เราไม่สนใจปล่อยเลย ไปรู้แต่ภายในจึงเรียกว่าขาดรู้ คือขาดรู้จากมนุษย์ ที่ได้สมัยนั้นก็หลายคน ที่จำได้ก็คือเจ๊จันทร์ (แม่ชีจันทร์) แต่ส่วนใหญ่ที่ได้ขาดรู้ จะเป็นเด็กๆ เวลาบอกวิชชาในโรงงาน หลวงพ่อจะเป็นคนสั่งวิชชา พูดผ่านฝากระดานที่กั้นไว้ ชีอยู่แถบหนึ่ง พระอยู่อีกแถบหนึ่ง มีที่กั้นแยกส่วนกันชัดเจน หลวงพ่อสอนทุกๆคนเหมือนกัน ไม่มีใครพิเศษกว่าใคร มีครั้งหนึ่งตอนท่านป่วยหนัก เป็นปีที่ 13 ที่ฉันมาอยู่กับหลวงพ่อ วันนั้นท่านให้คนมาเรียก ท่านถามว่า "เอ้าสั่นหายหรือยัง"
    สั่นก็คือไม่สบาย ฉันก็ตอบว่าค่อยยังชั่วแล้วท่านบอกว่า "ทำวิชชาไว้นะ ทำได้เป็นของเรา ถ้าเราไม่ทำ เราจะไม่ได้" สั่งคำนี้ ท่านสั่งไว้
    ชีวิตจิตใจของหลวงพ่อ ไม่มีอะไรมากไปกว่าวิชชา
    24 ชั่วโมง หลวงพ่อไม่เคยห่าง ทำวิชชาตลอด หลวงพ่อจะทดลองวิชชาอยู่เรื่อย มีครั้งหนึ่งมีญาติโยมมานั่งกันเต็ม ช่วงกลางคืน คืนนั้นดาวเต็มท้องฟ้า ท่านก็ให้เณรที่อยู่ใกล้ๆท่าน (หลวงพ่อเล็ก) ดับดาวบนท้องฟ้า จะเห็นดาวดับเป็นแถบๆเลย เพื่อให้รู้ว่าวิชชาธรรมกายสามารถทำได้ ไม่ใช่เพื่อเหตุผลอย่างอื่น

    (เรื่องเล่าโดย แม่ชีรัมภา โพธิ์คำฉาย บุคคลยุคต้นวิชชาเล่ม1)
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,858
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +70,543
    สติปัฏฐานสูตร
     
     

    [​IMG]

    3 ตุลาคม 2497


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)


    อิธ   ภิกฺขุ   กาเย   กายานุปสฺสี   วิหรติ   อาตาปี   สมฺปชาโน   สติมา   วิเนยฺย   โลเก   อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.   เวทนาสุ   เวทนานุปสฺสี   วิหรติ   อาตาปี   สมฺปชาโน   สติมา   วิเนยฺย   โลเก   อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.   จิตฺเต   จิตฺตานุปสฺสี   วิหรติ   อาตาปี   สมฺปชาโน   สติมา   วิเนยฺย   โลเก   อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.   ธมฺเมสุ   ธมฺมานุปสฺสี   วิหรติ   อาตาปี   สมฺปชาโน   สติมา   วิเนยฺย   โลเก   อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.  

     

    ณ บัดนี้   อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา   แก้ด้วยเรื่องธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย   เป็นธรรมที่แน่แท้ในพระพุทธศาสนา   จะแสดงตามคลองธรรมของสติปัฏฐานสูตร   ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้เป็นหลักเป็นประธาน   มหาสติปัฏฐานสูตรนั้นเป็นโพธิปักขิยธรรม   เป็นไปในเรื่องฝ่ายเครื่องตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เหมือนกันหมด   ปรากฏดังนี้   เหตุนั้นตามวาระพระบาลีแห่งมหาสติปัฏฐานสูตรที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า   อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ   กาเย กายานุปสฺสี  วิหรติ   อาตาปี  สมฺปชาโน  สติมา  วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.   ว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ผู้ศึกษาพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้  กาเย  กายานุปสฺสี  วิหรติ  เห็นกายในกายเนืองๆ   อยู่   อาตาปี มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน   สมฺปชาโน รู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ   สติมา มีสติไม่เผลอ   วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงกำจัดความดีใจเสียใจในโลกเสียให้พินาศ   เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ   อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ  เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่   มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน   มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ   มีสติไม่เผลอ   พึงกำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ   จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ   อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่   มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน   มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่ เสมอ   มีสติไม่เผลอ   พึงกำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ   ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่   มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน   มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ   มีสติไม่เผลอ   พึงกำจัดความเพ่งอยากได้  ความเสียใจในโลกเสีย   นี้เป็นเนื้อความของวาระพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตร   แสดงหลักไว้ตามจริงดังนี้   รับรองหมดทั้งประเทศไทยว่าเป็นข้อที่ถูกต้องแน่นอนแล้ว   ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป

    พิจารณาจะแสดงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย   นี้เป็นข้อที่ลึกซึ้ง   ของยาก   ได้ไม่ยาก   แต่ว่าไม่ง่าย   ไม่ยากแก่บุคคลที่ทำได้   ไม่ง่ายสำหรับบุคคลที่ทำไม่ได้   ตำราได้กล่าวไว้ว่า  เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่   เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่   เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่   เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ 4 ข้อ

    เห็นกายในกาย น่ะเห็นอย่างไร   บัดนี้กายมนุษย์ที่ปรากฏอยู่   นั่งเทศน์อยู่นี่   นั่งฟังเทศน์อยู่นี่   นี่กายมนุษย์แท้ๆ   แต่ว่ากายมนุษย์นี่แหละเวลานอนหลับฝันไปก็ได้   พอฝันออกไปอีกกายหนึ่ง   เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด   นี่รู้จักกันทุกคนเชียวกายนี้   เพราะเคยนอนฝันทุกคน   รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร   เป็นเหมือนมนุษย์คนนี้แหละ   คนที่ฝันนี่แหละ   นุ่งห่มอย่างไร   อากัปกิริยาเป็นอย่างไร   สูงต่ำอย่างไร   ข้าวของเป็นอย่างไร   ก็ปรากฏเป็นอย่างนั้น   ก็ปรากฏเป็นคนนี้แหละ   แบบเดียวกันทีเดียว   คนเดียวกันก็ว่าได้   แต่ว่าเป็นคนละคน   เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด   เวลานอนหลับสนิทถูกส่วนเข้าแล้ว ก็ฝันออกไป   ออกไปอีกคนหนึ่ง   ก็เป็นกายมนุษย์คนนี้แหละ   รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้แหละ   ถึงได้ชื่อว่าเป็นกายมนุษย์ละเอียด   กายมนุษย์คนที่ฝันออกไปนั่นแหละเขาเรียกว่า กายมนุษย์ในกายมนุษย์   นี่แหละ กายในกาย หละ   เห็นจริงๆ อย่างนี้   ไม่ใช่เห็นตามเหลวไหล   เห็นอย่างนี้   ก็เป็นหลักเป็นพยานได้ทุกคน   เพราะเคยนอนฝันทุกคน   นี่เห็นในกาย   เห็นอย่างนี้นะ   เมื่อเห็นกายในกายอย่างนี้แล้ว

    เห็นเวทนาในเวทนา ล่ะ   ก็ตัวมนุษย์คนนี้มีเวทนาอย่างไรบ้าง   สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์   ดีใจ เสียใจ   เวทนาเป็นอย่างนั้นมิใช่หรือ   ก็ส่วนกายที่ฝันออกไปนั้นก็มีสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์   ดีใจ เสียใจ เหมือนกัน   แบบเดียวกันกับกายมนุษย์คนนี้แหละ   ไม่ต่างอะไรกันเลย

    จิตล่ะ   เห็นจิตในจิต ก็แบบเดียวกันกับเวทนาในเวทนา  เห็นจิตในจิตนี่  ต้องกล่าว “เห็น” นะ   ไม่ใช่กล่าว “รู้” นะ   เห็นจิตในจิต   ดวงจิตของมนุษย์นี้เท่าดวงตาดำข้างนอก   อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ   ตำรับตำรากล่าวไว้ว่า หทยคุหา  จิตฺตํ  สรีรํ  จิตฺตํ  เนื้อหัวใจเป็นที่อยู่   แล้วก็กล่าวไว้อีกหลายนัย   ปกติมโน ใจเป็นปกติ   ภวงฺคจิตฺตํ ใจเป็นภวังคจิต   ตํ ภวงฺคจิตฺตํ อันว่าภวังคจิตนั้น   ปสนฺนํ อุทกํ วิย   จิตเป็นดังว่าน้ำ   จิตนั่นแหละเป็นภวังคจิต   เวลาตกภวังค์แล้วใสเหมือนกับน้ำที่ใส   จิตดวงนั้นแหละเป็นจิตของมนุษย์   ที่ต้องมีปรากฏว่า จิตในจิต   นั่นแหละอีกดวงหนึ่งคือ จิตของกายมนุษย์ละเอียด   ที่ฝันออกไปนั้นเรียกว่า จิตในจิต

    ธรรมในธรรม   เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ เป็นไฉนเล่า   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  มีอยู่ในศูนย์กลางกายมนุษย์   ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่   ติดอยู่ในกลางกายมนุษย์   นี่เห็นธรรมในธรรมหละ   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดมีอยู่   ไม่เท่าฟองไข่แดงของไก่   2 เท่าฟองไข่แดงของไก่   อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่แหละ   2 เท่าฟองไข่แดงของไก่   นั่นเป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด   นั่นอีกดวงหนึ่ง  นั่น เห็นอย่างนี้   “เห็น” หรือ “รู้” ล่ะ   รู้กับเห็นมันต่างกันนะ   เห็นอย่างหนึ่ง รู้อย่างหนึ่ง นะ   ไม่ใช่ เอา “รู้” กับ “เห็น” มาปนกัน ไม่ได้

    กาเย กายานุปสฺสี เห็นกายในกาย   เห็นเหมือนอะไร   เห็นเหมือนนอนฝันอย่างนั้นซี   เห็นจริงๆ อย่างนั้น   ตากายมนุษย์นี่เห็นหรือ   ตากายฝันมันก็เห็นละซี   จะไปเอาตากายมนุษย์นี่เห็นได้อย่างไรล่ะ   ตากายมนุษย์นี่มันหยาบนี่   อ้ายที่เห็นได้นั่นมันตากายมนุษย์ละเอียดนี่   มันก็เห็นกายโด่ๆ อย่างนั้น

    เห็นเวทนาในเวทนา เล่า   ถ้าว่าเมื่อทำถูกส่วนเข้าเช่นนั้นละก้อ   เห็นเวทนาจริงๆ   สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์   ดีใจ เสียใจ  เวทนา 3 หรือ เวทนา 5  เห็นจริงๆ  เป็นดวง  เป็นดวงใส   เวทนา  เวทนาแท้ๆ  สุขก็ดวงใส  ทุกข์ก็ดวงข้นดวงขุ่น  ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดวงปานกลาง   เห็นชัดๆ  เป็นดวงขนาดไหน   ถ้าเต็มส่วนมันเข้าก็เท่ากับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น   ดวงเวทนาขนาดนั้น   ถ้าลดส่วนลงไปก็โตได้เล็กได้   นั่นเห็นเวทนาในเวทนา   เห็นอย่างนั้นเชียว   เห็นเหมือนนอนฝัน   กายละเอียดทีเดียว   เห็นเวทนาเป็นดวงทีเดียว   แต่ว่าสุขก็อยู่ในสุขของมนุษย์นี่   ทุกข์ก็อยู่ในทุกข์ของมนุษย์นี่   ไม่สุขไม่ทุกข์ก็อยู่ในไม่สุขไม่ทุกข์ของมนุษย์นี่   ดีใจ ก็อยู่ในดีใจของมนุษย์นี่   เสียใจก็อยู่ในเสียใจของมนุษย์นี่   เขาเรียกว่า เวทนาในเวทนา   เป็นดวงพอๆ กัน  เท่าๆ กัน

    เห็นจิตในจิต ล่ะ   ดวงจิตตามส่วนของมันก็เท่าดวงตาดำข้างนอก   ถ้าไปเห็นเข้ารูปนั้น   มันขยายส่วน   วัดเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน   ดวงจิตก็ขนาดเดียวกัน   ไปเห็นจริงๆ   เข้าเช่นนั้น   ขยายส่วนเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์   ปรากฏอยู่ในดวงจิตกายมนุษย์หยาบนี่แหละ   แต่ว่าเป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด   อยู่ในกายมนุษย์ละเอียดโน่น   แต่ว่าล้อมอยู่ข้างในนี่แหละ

    เห็นธรรมในธรรม ล่ะ   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่   เมื่อไปเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ขยายส่วนได้   โตได้ขนาดดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน   ขนาดๆ เดียวกัน  ขยายส่วนออกไป   นั้นได้ชื่อว่า เห็นธรรมในธรรม  คือในกายมนุษย์นั้นเอง   ในกายมนุษย์ละเอียดนั้น   นี่รู้จักชั้นหนึ่งละนะ

    เมื่อเห็นเข้าเช่นนี้เราจะทำอย่างไร   ตำรากล่าวไว้ว่า อาตาปี เพียรให้กลั่นกล้าอาจหาญทีเดียว   เพียรไม่ย่อไม่ท้อไม่ถอยทีเดียว   เป็นเป็นเป็น ตายเป็นตายทีเดียว   เพียรกันจริงๆ   ต้องใช้ความเพียรประกอบด้วยองค์ 4 ทีเดียว   ประกอบด้วยองค์ 4 นั่นอะไรบ้างล่ะ   เนื้อ เลือด กระดูก หนัง   เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหมดไปไม่ว่า   เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน   ไม่ละล่ะ   ใจต้องจรดอยู่ทีเดียว   ในกาย เวทนา จิต ธรรมนั้น   ไม่เคลื่อนล่ะ  ใจจะต้องจรดอยู่ทีเดียว  ไม่ปล่อยกันละ   ฝันไม่กลับกันละ   ฝันกันเรื่อย   แม้จะกลับมาก็เล็กน้อย   ฝันมันอีก   ฝันไม่เเลิกกันละ   ให้ชำนาญทีเดียว     นั่งฝันนอนฝัน   นั่งก็ฝันได้   นอนก็ฝันได้   เดินก็ฝันได้   ยืนก็ฝันได้   ขี้เยี่ยวฝันได้ทีเดียว   นี่เขาเรียกว่า อาตาปี เพียรเร่งเร้าเข้าอย่างนี้   สมฺปชาโน สติมา รู้อยู่เสมอ   ไม่เผลอ   เผลอไม่ได้   เผลอหายเสีย    ถ้าได้ใหม่ๆ ละ ถ้าเป็นใหม่ๆ เป็นใหม่ๆ เผลอไม่ได้ หายเสีย  ไม่เผลอกันทีเดียว   ไม่วางธุระ  เอาใจใส่    ไม่เอาใจไปจรดอื่น   จรดอยู่ที่กาย เวทนา จิต ธรรม ในกายนั่น

    จรดอยู่ที่กายในกาย  เวทนาในเวทนา  จิตในจิต  ธรรมในธรรม   4 อย่างนั่นจรดได้หรือจรดตรงไหนละ   ที่จรดเขามี   ที่ตั้งของใจเขามี   ที่จรดเขามี   แต่ว่าที่ 4 อย่างนั้นจะดูเวลาไรเห็นเวลานั้น เหมือนกายมนุษย์นี่   ถ้าว่ามีความเห็นละก็ ก็จะเห็นปรากฏ    ทีนี้ไม่มีความเห็น มีแต่ความรู้   กายของตัวเห็นอยู่เสมอ   เวทนาของตัวก็รู้สึกอยู่เสมอ   จิตของตัวก็รู้สึกอยู่เสมอ จะคิดอะไร    ธรรมของตัวก็รู้อยู่เสมอ   ความดีของตัวไม่มีชั่ว ไ่ม่เจือปน   มนุษย์รู้ได้เท่านี้    ส่วนกายมนุษย์ละเอียดเห็น เห็นปรากฏ   เมื่อเห็นปรากฏดังนี้ละก็   นี่แหละ ความจริงในพระพุทธศาสนา   รู้จักเท่านี้แหละ และก็เมื่อรู้จักเท่านี้    อย่ารู้จักเพียงกายในกาย   เวทนาในเวทนา  จิตในจิต  ธรรมในธรรม แต่เพียงเท่านั้นนะ   ยังมีอีกหลายชั้น   นับชั้นไม่ถ้วน    นี่ชั้นหนึ่งละนะ  เข้าไปอีกชั้นหนึ่ง กายในกายนั่น เขาเรียกว่า ฝันในฝัน ยังไงล่ะ    ฝันในฝัน   ไอ้กายที่ฝันไปน่ะไปทำการงานเหนื่อยเข้า  ไปแสดงฝันเต็มเปรมของการฝันเข้า    เหนื่อยก็ไปนอนหลับเข้า    นอนหลับฝันเข้าอีกแน่ะ   ไอ้กายฝันก็ฝันเข้าอีก   นี่เขาเรียกว่า ฝันในฝัน     ฝันในฝันมันเป็นยังไงล่ะ   ลุกออกไปอีกกายหนึ่งน่ะซิ   ออกไปอีกกายก็เป็นกายทิพย์   อันนี้เป็นกายทิพย์   ออกไปอีกกาย เป็นกายทิพย์     กายทิพย์ก็เห็นโด่อีกนั้นแหละ   เหมือนกับกายมนุษย์ที่ฝันนั่นแหละ   แบบเดียวกัน   ไม่เปลี่ยนไม่แปลงอะไรกัน  หน้าตา   เอากระจกคันฉ่องมาส่องเงาหน้า  เอามาเทียบกันดู   จำได้ทีเดียว   นีคนเดียวกัน  ไม่ใช่แยกจากคนนี้ไป คนเดียวกัน   เมื่อรู้จักเช่นนั้นน่ะ เห็นกายในกายที่ 3 เข้าไปแล้ว   ไม่ใช่ที่ 2 แล้ว   เวทนาก็แบบเดียวกัน   เห็นอย่างเดียวกัน   เวทนาตั้งอยู่ตรงไหน   ถ้าเขาถามว่าเวทนาตั้งอยู่ตรงไหน ที่เห็นน่ะ   อยู่กลางกาย   กายที่ฝันในฝันนั่นแหละ   กายที่ 3 นั่นแหละ   อยู่กลางกายนั่นแหละเวทนา จิตในจิตล่ะ จิตก็อยู่ในกลางเวทนานั่นแหละ   ธรรมในธรรมก็อยู่กลางจิตนั่นแหละ   ธรรมในธรรมน่ะไม่ได้อยู่ที่ไหนหรอก   เป็นดวงเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์   บริสุทธิ์สนิทเท่าๆ กัน   นี้เหมือนฝันในฝัน ตัวจริงอย่างนี้   ไม่ใช่คลาดเคลื่อน   ที่วัดปากน้ำดำเนินปฏิบัติ   น่ะไม่ได้เอาเรื่องอื่นมาเหลวไหล    ค้นเข้าไปตัวจริงในตัวอย่างนี้   นี่ก็เป็น 2 กายละนะ   เข้าไป 3 กายแล้ว  กายฝันในฝันแล้ว  ได้เท่านี้ก็พอแล้วนี่    ได้เท่านี้ก็พอเอาเป็นตัวอย่างได้แล้ว   ทีนี้ก็เดินไปในแนวนี้ตำรานี้ อย่าถอยหลังก็แล้วกัน   มันจะมีสักกี่ร้อยพันกายก็ไปเถอะ    กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เข้าไปอย่างนี้แหละ   ไม่คลาดเคลื่อนทีเดียว   แต่ว่าที่จะเข้ารูปนี้น่ะ   แสดงไว้วานแล้ว  แสดงไว้เมื่อวันพระแล้ว   แสดงไว้แล้วตั้งแต่ เอกายนมรรค มาโน่้น   ยังค้างอยู่   กายในกายยังไม่ได้อธิบายให้กว้างออกไป   ก็รึจะอธิบายให้กว้างออกไปว่า ได้ความอย่างนี้   กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม   อย่างนี้แหละ นี่เป็นกายที่ 3

    กายที่ 4    กายทิพย์น่ะฝันอีก ฝันในฝันเข้าไปอีก  เป็น 3 ชั้น  3 ฝันแล้ว    แบบเดียวกัน  พอเห็นกาย ก็เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แบบเดียวกัน   แบบเดียวกันน่ะแหละ  แล้วกายทิพย์ละเอียดนั่นแหละฝันเข้าไปในฝันเข้าอีก   เป็น 4   ฝัน 4 ชั้นเข้าไป   ก็เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม อีก   ก็มีความเพียรไปอีก   อย่าเผลอ ไม่ได้นะ   เพียรไว้ มีสติไว้เสมอ   ไม่เผลอ    เพียรไว้ มีสติไว้เสมอ   นำอภิชฌาโทมนัสในโลกเสีย   อย่าให้ความดีใจเสียใจแลบเข้าไปได้นะ   ถ้าความดีใจเสียใจแลบเข้าไปได้เดี๋ยวก็ต้องเลิกฝันละ ต้องตื่นหละ   ต้องกลับมาแล้ว   ฝันไม่ได้ซะแล้ว   ความดีใจแลบเข้าไป   แลบเข้าไปยังไงล่ะ   แลบเข้าไปมันลึกซึ้งนัก   กำลังฝันๆ อย่างนั้นแหละ   ความดีใจ จะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เข้าไปแต่งแล้ว  เสียใจ มันก็ไม่ได้สมเจตนาก็เสียใจละ   พอดีใจเสียใจแวบเข้าไปก็ขุ่นมัวทีเดียว   ประเดี๋ยวก็ต้องถอยออก   ต้องฝันไม่ได้ ต้องเลิกฝันกัน   เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจนี่ร้ายนัก   ไม่ใช่ร้ายแต่เมื่อเวลาปฏิบัติธรรมะ   เห็นธรรมะอย่างนี้นะ   ถึงเวลาเราดีๆ อยู่   อ้ายความดีใจเสียใจนี่แหละ ตีอกชกใจน่ะ กินยาตาย   ผูกคอตาย  โดดน้ำตาย    ดีใจเสียใจนี่แหละมันเต็มขีดเต็มส่วนของมันเข้า บังคับอย่างนี้   เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจนี่เป็นมารร้ายทีเดียว   ถ้าว่าใครให้เข้าไปอยู่ในใจบ่อยๆ แล้วก็หน้าดำคร่ำเครียดซิ   กายไม่สดชื่นซิ   ไม่เศร้าหมองไม่ผ่องใสหรอก   เพราะอะไร  มันดีใจเสียใจ บังคับใจมัน เดือดร้อนมัน   หน้าดำคร่ำเครียดทีเดียว   ก็บางคนไม่อ้วนทีเดียว   ผอม ผอมเกลียวทีเดียว   ไอ้นี่มันเอาความดีใจเสียใจหมกมาทุกวัน   ไม่ปล่อยมันออกไป   ถ้าว่าทำใจให้สบาย  ให้ชื่นมื่น ให้เย็นอกเย็นใจ  สบายใจ   จะมั่งมีดีจนอะไรก็ช่าง   ทำใจให้เบิกบานไว้   ทำใจให้สบายไว้  ร่างกายมันก็ชุ่มชื่นสบาย   นี่อ้ายดีใจเสียใจมันฆ่ากายมนุษย์อย่างนี้   กายมนุษย์ละเอียดก็ฆ่า   กายทิพย์ก็ฆ่า   กายทิพย์ละเอียดก็ฆ่า   ฆ่าทั้งนั้น   ทุกกาย   ดีใจเสียใจน่ะคอยระวังไว้   ท่านจึงได้สอนนักว่า นำความดีใจและเสียใจในโลกเสียให้พินาศ

    ดีใจเสียใจในโลกนี่นะ   ดีใจเสียใจในอัตตภาพร่างกาย   โลกน่ะคือ ขันธ์ 5 นี้แหละ ร่างกายอันนี้แหละมันตัวโลกสำคัญละ   เขาเรียกว่า สัตว์โลก    โอกาสโลก  ขันธโลก สัตว์โลก     โอกาสโลก  ว่างๆ   ที่ว่างๆ อยู่นี้    ที่ว่างๆ เปล่า ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณ อากาศ นี่เขาเรียกว่าโอกาสโลก     ขันธโลก ที่มันรวมเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเดียว   สัตวโลก ไอ้ที่อาศัยขันธ์นั่นแหละไปเกิดมาเกิด ไอ้ที่เป็นกายๆ เข้าไปในข้างใน นี่เป็นสัตว์ทั้งนั้น    เป็นกายเข้าไปข้างใน เป็นชั้นๆๆ เข้าไป   สัตวโลกเป็นชั้นๆ เข้าไป   สัตวโลกทั้งนั้น   เมื่อเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมของกายมนุษย์ละเอียดแล้ว  กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละฝันในฝันเข้าไปอีก เป็นข้อที่ 4 ออกไปอีกกาย

    ธรรมในธรรมของกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว,   กายทิพย์ละเอียดนั่นแหละ ฝันในฝัน เป็นข้อที่ 4 ออกไปอีกกาย

    เป็นกายที่ 5 ก็คือ กายรูปพรหม   กายรูปพรหมก็มีกาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน ปรากฏดังกล่าวแล้ว   ไม่ต้องอธิบาย   เวลาจะไม่พอ   ย่นย่อพอควรแก่กาลเวลา   กายรูปพรหมนั่นแหละ ฝันในฝันเข้าไปได้อีกเหมือนกัน ออกไปอีกกาย   เป็น รูปพรหมละเอียด   [ก็เห็น]กาย เวทนา จิต ธรรม อีกแบบเดียวกัน   กายรูปพรหมละเอียด ฝันในฝันเข้าไปอีก ได้อีกเหมือนกัน   ออกไปอีกกาย   เรียกว่า กายอรูปพรหม   มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน   กายอรูปพรหมฝันออกไปอีกได้เหมือนกัน  ออกไปอีกกายเรียกว่า กายอรูปพรหมละเอียด   มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน   กายอรูปพรหมละเอียดนั่นแหละ ฝันในฝันเหมือนกัน  ออกไปอีกกายหนึ่ง  เรียกว่า กายธรรม

    กายธรรม   ก็มี กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน    กายก็คือ ธรรมกาย  เวทนาก็คือ เวทนาของธรรมกายนั้น   จิตก็จิตของธรรมกายนั้น   ธรรมก็เป็นธรรมของธรรมกายนั้น   ขยายส่วนแน่ะ    ดวงใหญ่ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย   ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น   นั่นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเท่าหน้าตักธรรมกาย   ธรรมกายนั่นแหละฝันได้อีกเหมือนกัน   ออกไปอีกกาย  เรียกว่า กายธรรมละเอียด   ใหญ่ออกไป   หน้าตัก 5 วา  สูง 5 วา   เกตุดอกบัวตูม   ใสหนักเข้าไป   มี กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน

    ธรรมกายละเอียดนั่นแหละฝันออกไปอีกเหมือนกัน   ออกไปอีกกาย   มีกายพระโสดา   เป็น กายพระโสดา   หน้าตัก 5 วา  สูง 5 วา   เกตุดอกบัวตูม  ใสหนักขึ้นไป   กายพระโสดานั่นแหละ   พอประกอบธาตุธรรมถูกส่วนเข้า   ออกไปอีกกาย  แบบฝันนั่นแหละ  ออกไปอีกกาย   เป็น กายพระโสดาละเอียด   หน้าตักกว้าง 10 15วา   สูง 10 15วา   มี กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  เหมือนกัน

    ธรรมกายละเอียดของพระโสดานั่นแหละ  ฝันเข้าไปอีกเหมือนกัน   ออกไปอีกกายหนึ่ง   เรียกว่า ธรรมกายพระสกิทาคา   หน้าตัก 10 วา   สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม  ใสหนักขึ้นไป   มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน   มีกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แบบเดียวกัน    พระสกทาคาก็ฝันเข้าไปอีก  ออกไปอีกกายหนึ่ง   เป็น กายพระสกทาคาละเอียด   หน้าตัก 15 วา   สูง 15 วา   มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน   มี กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แบบเดียวกัน

    กายพระสกทาคาละเอียดฝันไปอีกเหมือนกัน   ออกไปอีกกายหนึ่ง   เรียกว่า  กายพระอนาคา   หน้าตัก 15 วา  สูง 15 วา  ธรรมกายพระอนาคาฝันไปอีกเหมือนกัน  ออกไปอีกกายหนึ่ง   เรียกว่า กายพระอนาคาละเอียด   หน้าตัก 20 วา  สูง 20 วา

    ธรรมกายพระอนาคาละเอียดฝันไปได้อีกเหมือนกัน  ออกไปอีกกายหนึ่ง   เรียกว่า กายพระอรหัต   หน้าตัก 20 วา  สูง 20 วา   เกตุดอกบัวตูม   ใสหนักขึ้นไป   กายพระอรหัต นั้นแหละฝันไปอีกเหมือนกัน  ออกไปอีกกายหนึ่ง   เรียกว่า กายพระอรหัตละเอียด   ใหญ่หนัก ขึ้นไป   มี กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  แบบเดียวกัน   ฝันออกไปอย่างนี้แหละ   มี กายพระอรหัต-พระอรหัตละเอียดๆๆ   นับอสงไขยไม่ถ้วน

    ฝันออกไปอย่างนี้แหละ   ตรวจกายพระอรหัต   มีกายพระพุทธเจ้าอีกก็ได้   กายในกาย   กายในๆๆๆๆ   มันอย่างนี้แหละ  ผู้เทศน์นี้ได้ทำวิชชานี้ 23 ปี   ออกพรรษา   วันออกพรรษานี้   ก็ 3 เดือนเต็มล่ะ   ยังไม่หมดกายละเอียดเหล่านี้เลย   ไม่ได้ถอยกลับเลย   ยังไม่หมดกายละเอียดเหล่านี้เลย   ยังไม่ถึงที่สุด   ไปทูลถามพระพุทธเจ้าองค์เก่าองค์แก่ที่เข้านิโรธเข้านิพพานไปแล้ว   ถอยเข้าไปหากายละเอียดนี้นะ   ไปถึงแล้วหรือยัง   ยังไม่มีใครรู้เลยว่าไปถึงหรือไม่มีใครไปถึง   เอาละซิคราวนี้   นี่ศาสนาตัวจริงของกายมนุษย์เป็นอย่างนี้   เมื่อเป็นพระอรหันต์ขึ้น   ก็ต้องไปตรวจของตัว   เข้านิพพานแล้วต้องไปตรวจของตัว   เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นแล้ว   เข้านิพพาน  ก็ต้องไปตรวจกายของตัวอย่างนี้แหละ ว่าที่สุดอยู่ที่ไหน   ต้องไปถึงที่สุดให้ได้   ต้องไปบอกที่สุดให้ได้   นี่ความจริงเป็นอย่างนี้   เมื่อรู้จักความจริงอย่างนี้แล้วละก็ อย่าเหลวไหล   อย่าเลอะเทอะ   ที่อื่นไม่ใช่ของตัว   ให้เอาใจจรดจี้อยู่ในตัว   ไม่มีถอยกลับ   ให้เข้าไปถึงกายที่สุดให้ได้  ว่ากายที่สุดของตัวอยู่ที่ไหน   เมื่อไปถึงที่สุดของตัวได้ละก้อ ตัวก็รักษาตัวได้   ไม่มีใครมาเป็นอิสระ   ไม่มีใครมาบังคับบัญชา   ถ้ายังไม่ถึงที่สุดของตัวแล้วก็อย่าหมายเลย   เขาจะต้องบังคับบัญชาแต่ท่าเดียวเท่านั้นแหละ   แกจะต้องเป็นบ่าวเป็นทาสของเขา   เวลามีพญามารมาบังคับ  ใช้ให้เป็นบ่าวเป็นทาส   ให้ทำอะไรทำได้   ให้ด่า ให้ตี ให้ชก ให้ฆ่า ให้ฟันกันก็ได้   ธรรมกาย อ้า! มาร  (ฝ่ายอกุศล)  บังคับ   มันบังคับได้อย่างนี้   ให้เป็นบ่าวเป็นทาสเขา   ให้เลวทรามต่ำช้า   ให้เป็นคนจนอนาถาติดขัดทุกสิ่งทุกอย่าง   เครื่องกินเครื่องใช้ขาดตกบกพร่อง   เครื่องกินเครื่องใช้มากมีมูลมอง   จะใช้สอยก็มี   ทำได้   มารเขาทำได้   บังคับได้   เมื่อเป็นเช่นนี้  เพราะตัวไม่เป็นอิสระในตัว   เพราะตัวไม่เป็นใหญ่ในตัว   เพราะตัวไม่รู้จักที่สุดของตัว   นี่มนุษย์โง่ขนาดนี้ เห็นไหมล่ะ   ไม่ใช่มนุษย์โง่เท่านั้น   พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ท่านก็ไปไม่ถึงที่สุดเหมือนกัน   ถ้าใครไปยังไม่ถึงที่สุดก็ยังไม่ฉลาดเต็มที่   ต่อเมื่อใดไปถึงที่สุดกายของตัว   ไม่มีสุดต่อไปแล้วนั่นฉลาดเต็มที่แล้ว   ตัวของตัวเองเป็นที่พึ่งแก่ตัวเองได้แล้ว   นี้เป็นข้อสำคัญอย่างนี้นะ   นี่เจอพุทธศาสนานี่แหละเป้าหมายใจดำ   อย่าไปทำแง่อื่น   อย่าไปหลงเน้อ   อย่าไปหลง   เลอะเทอะเหลวไหล   เอ้า! ต่างว่ามีครอบครัวแล้ว   ได้อะไรบ้าง   ได้ลูกคนหนึ่ง   แล้วเอามาทำไมล่ะ   เอามาเลี้ยง   เด็ก 10 คน   เอ้า! เอาไว้เลี้ยงอย่างไงก็เลี้ยงไป   บ่นโอ๊กแล้ว   เด็ก 10 คนนั่นแหละ   เอ้าได้ 50 คน   เอ้า! เอาละซิทีนี้   เอ้า! เปะปะไปซี   เอ้า! อยากได้ลูกใช่ไหมล่ะ   ไม่จริง   เหลว!   โกหกตัวเอง   โกงตัวเอง   พาให้เลอะเลือน   ไม่เข้าไปค้นกายของตัวให้ถึงที่สุด   ไม่ให้ตรวจตัวถึงที่สุด   เป็นมนุษย์กับเขาทั้งที   เพราะเชื่อกิเลสเหลวไหลเหล่านี้แหละพาให้เลอะเลือน   จะครองเรือนไปสักกี่ร้อยปีก็ครองไปเถิด   งานเรื่องของคนอื่นเขาทั้งนั้น   เรื่องของพญามารทั้งนั้น   ไม่ใช่เรื่องของตัว   ไม่ใช่งานของตัว   ไปทำงานให้พญามารเขาทั้งวันทั้งคืน   เอาเรื่องอะไรไม่ได้

    เพราะอะไรล่ะ  เพราะไม่รู้อิโหน่อิเหน่   เกิดมาพบอย่างไงก็ไปอย่างนั้นแหละ   เพราะไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์   นี่ไม่ได้ฝึกใจในธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์   ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ   ไม่ได้ฝึกใจของสัตบุรุษ   ความเห็นก็พิรุธเหลวไหลไปดังนี้   เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว   นี่แหละ เป็นความจริงทางพระพุทธศาสนาตัวจริงทีเดียว   นี้เป็นข้อที่ลึกซึ้ง

    ให้หนึ่งไว้ในใจว่า   ต่อแต่นี้ไปเราจะต้องเข้าให้ถึงที่สุด   เข้าไปในกายที่สุดของเราให้ได้   เป็นกายๆ ออกไป   เมื่อเป็นกายๆ เข้าไปแล้ว   ถ้าทำเป็นแล้ว   ไม่ใช่เดินท่านี้นะ   เดินในไส้ทั้งนั้นๆ   ไส้เห็น ไส้จำ ไส้คิด ไส้รู้  ในกำเนิดดวงธรรมที่ทำให้เป็นสุดหยาบสุดละเอียด  เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด...  เดินไส้ทั้งนั้น  (หยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดๆๆๆ)   เดินไส้ ไม่ใช่ เดินท่าอื่น   เดินในกลางดวงปฐมมรรค  มรรคจิต  มรรคปัญญา  เดินไปในกลางดวงศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  วิมุตติญาณทัสสนะ  นั้นเป็นทางเดินของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์   เดินไปในไส้  ไม่ใช่เดินไปในไส้เพียงเท่านั้น   ในกลางว่างของดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  ของดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ  ว่างในว่างเข้าไป   ในเหตุว่างในเหตุว่าง  เหตุเปล่า  ในเหตุดับ  เหตุลับ  เหตุหาย  เหตุสูญ  เหตุสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษในเหตุไม่เหลือเศษ  หล่อเลี้ยง  เป็นอยู่  ปราสาท  เหตุรส  เหตุชาติ  เหตุไอ  เหตุแก๊ส  เหตุแก๊สกรด  หนักเข้าไป  เหตุสุดในเหตุสุด  ในแก๊สกรดหนักเข้าไปอีก   ไม่มีถอยหยุดกลับ   นับอสงไขยไม่ถ้วน   นับชาติอายุบารมีไม่ถ้วน1  ไม่มีถอยกลับกัน   เดินเข้าไปอย่างนี้นะ   พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ใช่เดินโลเลเหลวไหลนะ   ที่เรากราบที่เราไหว้เรานับถือนะ   ท่านวิเศษวิโสอย่างนี้   นี่แหละเป็นผู้วิเศษแท้ๆ   นี่แหละเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกแท้ๆ   ท่านเป็น ผู้รู้จริง เห็นจริง ได้จริง   เราจึงเอาเป็นตำรับตำราได้   เมื่อรู้จักหลักธรรมอันนี้แล้ว   อย่าเข้าใจว่าได้ฟังง่ายๆ นะ   ตั้งแต่เราเกิดมาเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา น่ะ   อย่างนี้ไม่เคยได้ฟังเลยไม่ใช่หรือ   ไม่เคยฟัง   ได้ฟังแล้วจำเอาไว้   ทำให้เป็นเหมือนอย่างแสดงนี้ทุกสิ่งทุกประการ   ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้   ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา   ตามมตยาธิบาย  พอสมควรแก่เวลา   เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้   สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า   อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา  สมมติว่ายุติธรรมมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้   เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.

    1 มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือ "วิชชามรรคผลพิสดาร" (สำหรับผู้ถึงธรรมกายที่สามารถเจริญวิชชาขั้นละเอียดด้วยเจโตสมาธิแล้ว) เป็นการทำวิชชาสะสางธาตุธรรม โดยเข้าให้ถึงต้นๆ ธาตุ ต้นๆ ธรรม เพื่อเก็บอวิชชาธรรมฝ่ายดำ หรือดับอวิชชา อันเป็นมูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งมวล ให้เหลือเป็นแต่เฉพาะบุญกุศล และแก้ธาตุธรรมสายกลางให้กลับเป็นฝ่ายขาวด้วย จึงเป็นวิชชาที่คมกล้ายิ่งนัก ที่ให้ผลเป็นความบริสุทธิ์แก่ ทั้งฝ่ายผู้เจริญ กับทั้ง ผู้ที่ถูกแก้ไข ตามส่วน   เพราะเหตุนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงได้เคยกล่าวไว้ว่า "ธรรมกายคนหนึ่ง [ที่สามารถเจริญวิชชาขั้นละเอียดได้] ช่วยคนได้ครึ่งเมือง"
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...